ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ หน้าที่ 386
ขอเชิญอ่าน...
จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน
ขอนอบพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ท่านพระสารีบุตร ผู้เป็นอัครสาวกเลิศด้านปัญญา คือ หากเว้นพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่มี ใครมีปัญญาเสมอท่านพระสารีบุตร แม้แต่ท่านพระอานนท์ ท่านพระมหากัสสปะ ต่างก็ยกย่องชื่นชมปัญญาของท่าน สามารถนับหยาดฝนได้แม้จะตกทั้งจักรวาล ท่านมีปัญญา ที่ไว เร็ว เพราะสะสมบุญบารมีมา ๑ อสงไขยแสนกัป เพื่อถึงความเป็นผู้เลิศด้านปัญญา และเป็นอัครสาวก พระพุทธเจ้ายกย่องท่านพระสารีบุตรว่า สารีบุตรอยู่ในทิศใด ทิศนั้น ไม่ว่างเปล่า คือ ทิศนั้นประกอบด้วยประโยชน์ คือ ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรมตามที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ พระพุทธเจ้าแสดงอย่างไร พระสารีบุตรก็แสดงอย่างนั้น พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่านพระสารีบุตรอีกว่า สารีบุตร เป็นผู้หมุนพระธรรมจักรให้เป็นไป คือ เป็นผู้ที่แสดงธรรมของเราให้เป็นไป ดำเนินไปกับชนทั้งหลาย แม้เทวดาทั้งหลาย ต่างก็กล่าวกันทั้งเทวโลก ยกย่องท่านพระสารีบุตร แม้พราหมณ์ผู้หนึ่งได้ยินกิตติศัพท์อันงามของท่านพระสารีบุตร ว่าเป็นผู้ไม่โกรธ ได้เอามือทุบหลังท่านพระสารีบุตรอย่างแรง ท่านพระสารีบุตรไม่หันมาแม้แต่มอง เดินไป และไม่เกิดความโกรธในจิตใจ ชาว บ้านที่เห็นเหตุการณ์โกรธพราหมณ์ผู้นั้น จึงจะทำร้ายพราหมณ์ผู้นั้น พราหมณ์ผู้นั้นมา ขอโทษท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรถามชาวบ้านว่า ท่านเป็นอะไร ชาวบ้าน กล่าวว่าเราโกรธที่พราหมณ์ผู้นี้ทำร้ายท่าน ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า เขาตีใครหละ ชาว บ้านก็กล่าวว่าตีท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรจึงแนะนำว่า ท่านทั้งหลายควรโกรธ หรือไม่ ท่านพระสารีบุตรแสดงธรรม จนพราหมณ์ที่ทำร้ายเกิดความเลื่อมใส นี่แสดง ถึงคุณธรรมของท่านพระสารีบุตรที่เป็นผู้อดทนไม่โกรธ
ส่วนจากพระสูตร ที่คุณหมอ ยกมา แสดงถึง คุณธรรมของท่านพระสารีบุตรที่ว่า ใจ ของท่านเปรียบเหมือนแผ่นดินเปรียบเหมือนเสาเขื่อน และเปรียบเหมือนน้ำ คือ แผ่นดิน ที่เป็นรูปธรรมย่อมเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย เพราะฉะนั้น ใครจะนำสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี มาทิ้งที่แผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ยินดี ยินร้าย ไม่หวั่นไหว ใจของท่านพระสารีบุตร ผู้ปราศจากกิเลส ก็ไม่หวั่นไหวแม้ได้รับสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี ก็มีจิตเสมอกัน เสมอเพราะ ไม่มีกิเลส เป็นกิริยาจิตในขณะนั้น ใจของท่านยังเป็นดังเช่น เสาเขื่อน คือ ไม่หวั่นไหวว่าใครจะทำ ไม่ดีกับเสาเขื่อน หรือ ใครจะไหว้ทำสักการะเสาเขื่อน เสาเขื่อนก็ไม่หวั่นไหว และ เปรียบ จิตของท่านดังเช่น น้ำ น้ำก็ไม่หวั่นไหวในสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี และย่อมให้ความชุ่มชื้นกับทั้ง คนดี ไม่ดี หรือ ใครก็ตาม ครับ และขออธิบายจิต คุณธรรม คือ จิตของท่านพระสารีบุตรว่า ท่านเปรียบเหมือนเด็กจัณฑาลที่เดินเข้าสภา ย่อมจะต้องเจียมตัว อ่อนน้อมเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นยิ่งมีคุณธรรมมาก ก็ยิ่งอ่อนน้อม ด้วยจิตที่ดีงามมากตามไปด้วย ท่านยังเปรียบ ตัวท่านดังเช่น โคเขาขาด ย่อมทำอะไรใครไม่ได้ จึงต้องเจียมตัวเป็นอย่างยิ่ง คุณธรรม ของท่านมีมากมาย ไม่สามารถบรรยายกล่าวได้หมด เพราะปัญญาของข้าพเจ้าไม่ สามารถอธิบายได้ และคุณธรรมของท่านก็หาประมาณไม่ได้ เพียงแต่ทำให้ได้น้อมระลึก ถึงคุณของพระสงฆ์สาวกผู้เลิศด้านปัญญา และ ขออนุโมทนาคุณหมอ ที่นำพระธรรมที่ กล่าวถึงคุณธรรมของท่านพระสารีบุตรมาให้อ่านกันครับ
ขออนุโมทนา มา ณ ที่นี้
ขอบคุณและอนุโมทนาคุณผเดิม คุณผู้ร่วมเดินทางและทุกท่านครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ๘
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ อาจารย์ผเดิม และทุกๆ ท่านครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ