[เล่มที่ 72] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 300
เถราปทาน
กัจจายนวรรคที่ ๕๔
อุรุเวทกัสสปเถราปทานที่ ๘ (๕๓๘)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุรุเวลกัสสปเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 72]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 300
อุรุเวทกัสสปเถราปทานที่ ๘ (๕๓๘)
ว่าด้วยบุพจริยาของพระอุรุเวลกัสสปเถระ
[๑๒๘] ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิต มาร พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์มีจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์เป็นผู้ตรัสสอน ทรงแสดงให้สัตว์รู้ชัด ได้ยัง สรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ฉลาดในเทศนา เป็นผู้เบิกบาน ทรงช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไป เสียเป็นอันมาก
พระองค์เป็นผู้อนุเคราะห์ประกอบด้วย พระกรุณา แสวงหาประโยชน์ให้สรรพสัตว์ ยัง เดียรถีย์ที่มาเฝ้าให้ดำรงอยู่ในเบญจศีลได้ทุกคน
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระศาสนาจึงไม่มีความ อากูล ว่างสูญจากเดียรถีย์ วิจิตรด้วยพระอรหันต์ ผู้คงที่มีความชำนิชำนาญ
พระมหามุนีพระองค์นั้น สูงประมาณ ๕๘ ศอก มีพระฉวีวรรณงามคล้ายทองคำอันล้ำค่า มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ
ครั้งนั้น อายุของสัตว์แสนปี พระชินสีห์พระองค์นั้น เมื่อดำรงพระชนม์อยู่โดยกาล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 301
ประมาณเท่านั้น ได้ทรงยังประชุมชนเป็นอันมาก ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารไปได้
ครั้งนั้นเราเป็นพราหมณ์ชาวเมื่อหังสวดี อันชนสมมติว่าเป็นคนประเสริฐ ได้เข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าผู้ส่องโลก แล้วสดับพระธรรมเทศนา
ครั้งนั้น เราได้ฟังพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งสาวกของพระองค์ในตำแหน่งเอตทัคคะ ในที่ประชุมใหญ่ ก็ชอบใจจึงนิมนต์พระมหาชินเจ้ากับบริวารเป็นอันมาก แล้วได้ถวายทานพร้อม กันกับพราหมณ์อีก ๑,๐๐๐ คน
ครั้นแล้วเราได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นายก ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เป็นผู้ร่าเริง ได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าด้วยความเชื่อใน พระองค์และด้วยอธิการคุณ ขอให้ข้าพระองค์ ผู้เกิดในภพนั้นๆ มีบริษัทมากเถิด
ครั้งนั้น พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียง เหมือนคชสารคำรณ มีพระสำเนียงเหมือนนก การเวกได้ตรัสกะบริษัทว่า จงดูพราหมณ์ผู้นี้ ผู้มี วรรณะเหมือนทองคำ แขนใหญ่ ปากและตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 302
เหมือนดอกบัวมีกายและใจสูงเพราะปีติ ร่าเริง มีความเชื่อในคุณของเรา
เขาปรารถนาตำแหน่งแห่งภิกษุผู้มีเสียง เหมือนราสีห์ ในอนาคตกาล เขาจักได้ ตำแหน่งนี้สมดังมโนรถปรารถนา
ในกัปนับแต่นั้นไปหนึ่งแสน พระศาสดามีพระนามชื่อว่า โคดม ซึ่งสมภพในวงศ์ พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พราหมณ์นี้จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนรมิต จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่ากัสสปะ
พระอัครนายกของโลกพระนามว่าผุสสะ ผู้เป็นศาสดาอย่างยอดเยี่ยม หาผู้เปรียบมิได้ ไม่ มีใครจะเสมอเหมือน ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในกัป ที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้
พระศาสดาพระนามว่าผุสสะพระองค์นั้น แล ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง สางรกชัฏใหญ่ ทรงยังฝนคืออมตธรรมให้ตกลง ให้มนุษย์และ ทวยเทพอิ่มหนำ
ครั้งนั้น เราสามคนพี่น้องเป็นราชมหาอำมาตย์ในพระนครพาราณสี ล้วนแต่เป็นที่ไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 303
วางพระทัยของพระมหากษัตริย์รูปร่างองอาจแกล้ว กล้า สมบูรณ์ด้วยกำลัง ไม่พ่ายแพ้ใครเลยใน สงครามครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินผู้มีเมืองชายแดน ก่อการกำเริบ ได้ตรัสสั่งเราว่า ท่านทั้งหลายจง ไปชนบทชายแดน
พวกท่านจงยังกำลังของแผ่นดินให้เรียบร้อย ทำแว่นแคว้นของเราให้เกษม แล้วกลับมา เถิด
ลำดับนั้น เราได้กราบทูลว่า ถ้าพระองค์ จะพึงพระราชทานพระนายกเจ้าเพื่อให้ข้าพระองค์ ทั้งหลายอุปัฏฐากไซร้ ข้าพระองค์ทั้งหลายก็จัก ทำกิจของพระองค์ให้สำเร็จ
ลำดับนั้น พวกเราผู้ได้รับพระราชทานพร อันสมเด็จพระภูมิบาลส่งไป ทำชนบทชายแดน ให้วางอาวุธแล้ว กลับมายังพระนครนั้น
เราทูลขอการอุปัฏฐากพระศาสดาแด่พระ ราชา ได้พระศาสดาผู้เป็นนายกของโลกผู้ประเสริฐกว่ามุนีแล้ว ได้บูชาพระองค์ตราบเท่าสิ้น ชีวิต
เราทั้งหลายเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วย กรุณา มีใจประกอบด้วยภาวนาได้ด้วยผ้ามีค่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 304
มาก ภัตมีรสอันประณีต เสนาสนะอันน่ารื่นรมย์ และเภสัชที่เป็นประโยชน์ ที่ตนให้เกิดขึ้นโดย ชอบธรรมแก่พระมุนีพร้อมทั้งพระสงฆ์ อุปัฏฐาก พระองค์ด้วยจิตเมตตาตลอดกาล ครั้นพระศาสดา ผู้เลิศพระองค์นั้นเสด็จนิพพานแล้ว เราได้ทำการ บูชาตามลำพัง
เราทุกคนจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสวยมหันต์สุขในดาวดึงส์นั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
เมื่อเรากำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพเป็นเหมือน นายช่างดอกไม้ ได้ดอกไม้แล้วแสดงชนิดแห่ง ดอกไม้แปลกๆ มากมายฉะนั้น ได้เกิดเป็น พระเจ้าวิเทหราช
เพราะถ้อยคำของคุณาเจลก เราจึงมี อัธยาศัยอันมิจาฉาทิฏฐิกำจัดแล้วขึ้นสู่ทางนรก ไม่ เอื้อเฟื้อโอวาทของธิดาเราผู้ชื่อว่ารุจา
เมื่อถูกพรหมนารทะสั่งสอนเสียมากมาย จึงละความเห็นที่ชั่วช้าเสียได้
บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ให้บริบูรณ์โดย พิเศษ ละทิ้งร่างกายแล้วได้ไปสวรรค์เหมือนไป ที่อยู่ของตัว ฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 305
เมื่อถึงภพสุดท้ายเราเป็นบุตรของพราหมณ์ เกิดในสกุลที่สมบูรณ์ในพระนครพาราณสี
เรากลัวต่อความตายความเจ็บไข้และ ความแก่ชราจึงเข้าป่าใหญ่ แสวงหาหนทาง นิพพาน ได้บวชในสำนักของชฎิล
ครั้งนั้น น้องชายทั้งสองของเราก็ได้ บวชพร้อมกับเรา เราได้สร้างอาศรมอาศัยอยู่ที่ ตำบลอุรุเวลา
เรามีนามตามโคตรว่ากัสสปะ แต่เพราะ อาศัยอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเราจึงมีนามบัญญัติว่า อุรุเวลกัสสปะ
เพราะน้องชายของเราอาศัยอยู่ที่ชายแม่น้ำ เขาจึงได้นามว่านทีกัสสปะ เพราะน้องชายของ เรา อีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ตำบลคยา เขาจึงถูก ประกาศนามว่าคยากัสสปะ
น้องชายคนเล็กมีศิษย์ ๒๐๐ คน น้องชาย คนกลางมี ๓๐๐ คน เรามี ๕๐๐ คนถ้วน ศิษย์ทุกคน ล้วนแต่ประพฤติตามเรา
ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าผู้เลิศในโลกเป็น สารถีฝึกนรชน ได้เสด็จมาหาเรา ทรงทำ ปาฏิหาริย์ต่างๆ แก่เราแล้วทรงแนะนำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 306
เรากับบริวารพันหนึ่งได้อุปสมบทด้วย เอหิภิกขุ ได้บรรลุอรหัตพร้อมกับภิกษุเหล่านั้น ทุกองค์
ภิกษุเหล่านั้นและภิกษุพวกอื่นเป็นอันมาก แวดล้อมเราเป็นยศบริวาร และเราก็สามารถที่จะ สั่งสอนได้เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสูงสุด จึงทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะความเป็นผู้มี บริษัทมาก โอ สักการะที่ได้ทำไว้ในพระพุทธเจ้า ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่มีผลแก่เราแล้ว
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบอุรุเวลกัสสปเถราปทาน
๕๓๘. อรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
อปทานของท่านพระอุรุเวลกัสสปเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพนั้นๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 307
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในเรือนอันมี สกุล เจริญวัยแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มองเห็นภิกษุ รูปหนึ่ง ซึ่งพระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีบริ- วารมาก แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น ได้ถวายมหาทาน กระทำปณิธาน ไว้แล้ว. และพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่าเขาไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาล ในพระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า เขาจักเป็นผู้เลิศ กว่าพวกภิกษุผู้มีบริวารมาก. เขากระทำบุญไว้ในภพนั้นเป็นอันมาก จนตลอด อายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ในที่สุด ๙๒ กัปแต่กัปนี้ ได้บังเกิดเป็นพระกนิฏฐภาดาต่างพระมารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เขาได้มีกนิฏฐภาดา ๒ คนแม้เหล่าอื่น. คน ๓ คนเหล่านั้น ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข บูชาด้วยเครื่อง บูชาอย่างยอดเยี่ยมได้กระทำกุศลไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ได้บังเกิดเป็นพี่น้องกัน ๓ คน ในตระกูลพราหมณ์ ในกรุง พาราณสี ก่อนหน้าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นทีเดียว ทั้ง ๓ คนได้มีชื่ออย่างนี้ว่า กัสสปะ ด้วยอำนาจแห่งโคตร. คนทั้ง ๓ คน เหล่านั้นเจริญวัยแล้ว ก็ได้เล่าเรียนจบไตรเพท. บรรดาคนทั้ง ๓ เหล่านั้น คนพี่ชายใหญ่มีบริวาร ๕๐๐ คน คนกลางมีบริวาร ๓๐๐ คน คนน้องเล็กมี บริวาร ๒๐๐ คน คนทั้ง ๓ นั้น ตรวจดูสาระประโยชน์ในคัมภีร์ทั้งหมดของ ตน ได้เห็นแต่เพียงประโยชน์ปัจจุบันเท่านั้น จึงพากันยินดีการบวช. บรรดา พี่น้อง ๓ คนนั้น คนพี่ใหญ่ได้ไปยังตำบลอุรุเวลาพร้อมกับบริวารของตน บวชเป็นฤาษี ได้ปรากฏชื่อว่า อุรุเวลกัสสปะ คนกลางบวชอยู่ที่ทางโค้งแม่น้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 308
คงคา ปรากฏชื่อว่านทีกัสสปะ คนเล็กบวชอยู่ที่คยาสีสะ ได้ปรากฏชื่อว่า คยากัสสปะ. เมื่อพี่น้อง ๓ คนนั้นได้บวชเป็นฤาษีอย่างนั้น ต่างก็อยู่กันในที่ นั้นๆ โดยล่วงไปได้หลายวัน พระโพธิสัตว์ของพวกเรา ได้เสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร ให้เป็นไปแล้วโดยลำดับ ทรงให้พระเถระปัญจวัคคีย์ ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัต ทรงแนะนำคน ๕ คนซึ่งเป็นสหายกัน อันมียศสกุลบุตรเป็นหัวหน้า (ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต) ทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเถิด ดังนี้แล้ว ทรงแนะนำพวก ภิกษุภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป แล้วได้เสด็จไปยังที่อยู่ของอุรุเวลกัสสปะ เสด็จเข้าไป ยังโรงไฟเพื่อพักอาศัย ณ ที่นั้น ได้ทรงแนะนำอุรุเวลกัสสปะพร้อมทั้งบริวาร ด้วยปาฏิหาริย์ ๓,๕๐๐ มีการทรมานนาคเป็นต้นเสร็จแล้ว จึงให้เขาได้บรรพชา วิธีการบรรพชาของอุรุเวลกัสสปะนั้น และการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งหมด จักมีแจ่มแจ้งในอรรถกถาอปทานของท่านนทีกัสสปะแล. แม้ถึงพี่น้องที่เหลือ อีก ๒ คนนอกนี้ พอได้ทราบข่าวว่าอุรุเวลกัสสปะผู้พี่ใหญ่นั้นบวชแล้ว ต่าง ก็พร้อมด้วยบริวาร พากันมาบวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. พี่น้อง ๓ คน ทั้งหมดนั้นทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วย. ได้เป็นเอหิภิกษุแล้ว. พระศาสดา ทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ องค์นั้น เสด็จไปยังคยาสีสะ ประทับนั่งบน แผ่นหิน ทรงให้สมณะทั้งหมดนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วยอาทิตตปริยายเทศนา.
พระอุรุเวลกัสสปะนั้น พอได้บรรลุพระอรหัตแล้วอย่างนั้น เกิดความ โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้า 309
ของตน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. ข้าพเจ้าจัก พรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น. บทว่า โส สพฺพํ ตมํ หนฺตฺวา ความ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ พระองค์นั้น ทรงกำจัดได้แล้ว ซึ่ง ความมืดคือกิเลสอันได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น. บทว่า วิชเฏตฺวา มหาชฏํ ความว่า สะสาง ทำลายล้างผลาญชัฏเครื่องยุ่งกันใหญ่ ด้วยหมู่ แห่งกิเลส ๑,๕๐๐ มีตัณหาและมานะเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า ทำ เทวโลกคือโลกสันนิวาสทั้งสิ้นให้ยืนดี ให้อิ่มใจ ให้ชุ่มใจอยู่ ยังฝนคืออมตะ มหานิพพานให้ตกลงไหลเอิบอาบแล. บทว่า ตทา หิ พาราณสิยํ มีอรรถ วิเคราะห์ว่า คำว่า พารส แปลว่า ๑๒ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า มนุษย์ ๑๒ คน เมืองที่มี ๑๒ ราศี ฤาษีจากหิมวันตประเทศ และฤาษีคือพระปัจเจกมุนี มาจากภูเขาคันธมาทน์โดยทางอากาศ ย่อมพากันไป คือ หยั่งลง ได้แก่ย่อม เข้าไป ในเมืองที่มี ๑๒ ราศีนั้น เหตุนั้น เมืองนั้นจึงชื่อว่า พาราณสี อีก ความหมายหนึ่งว่า สถานที่อันบุคคลคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลายแสน พระองค์ทรงหยั่งลงเพื่อประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปทั่ว บัณฑิตเรียกกัน ว่า พาราณสี ด้วยอำนาจทางศัพท์เป็นอิตถีลิงค์ เพราะทำ นคร ศัพท์ให้เป็น ลิงควิปลาส. ในพระนครพาราณนั้น. บทว่า นิกฺขิตฺตสตฺถํ ปจฺจนฺตํ ความ ว่า ทำปัจจันตชนบทให้ทิ้งศัสตรา ให้วางอาวุธ ให้สิ้นพยศ. บทว่า กตฺวา ปุนรุปจฺจ ตํ ความว่า แล้วกลับเข้ามาถึงยังพระนครนั้นอีก. คำที่เหลือมีเนื้อ ความพอที่จะกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาอุรุเวลกัสสปเถราปทาน