เคยได้อ่านหนังสือว่าแต่ละคน จะมีจริตต่างกัน จริตมีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต และ พุทธิจริต ซึ่งอ่านดูแล้วตัวดิฉันน่าจะมี ๓ จริต คือ
๑. ราคะจริต ชอบซื้อของโดยไม่จำเป็น ประเภทเสื้อผ้า ของใช้ต่างถ้าชอบ ทั้งๆ ที่มีมากพอแล้ว ก็ยังซื้ออยู่
๒. โทสะจริต โกรธง่าย หายเร็ว พยายามเจริญเมตตาอยู่ แต่ทำยากจัง
๓. พุทธิจริต ชอบใช้เหตุผล เชื่อเรื่องกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ดิฉันจึงไม่ได้แขวนพระเลย แต่ที่บ้านก็มีโต๊ะหมู่บูชาค่ะ คิดว่าถ้าเราทำดี พระต้องคุ้มครอง จนพี่สาวว่าดิฉันว่ เป็นคนขวางโลก ดิฉันก็บอกว่า ถ้าเราทำดีแล้วเกิดอะไรขึ้น ก็ถือว่าเป็นวิบากกรรมที่ต้องชดใช้
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
จริยา ๖ (วิสุทธิมรรคแปล)
ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวจริตมี ๒ อย่าง ดังนี้
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
ตัณหาจริต ทิฏฐิจริต (มหาวรรค)
ได้อ่านข้อความนี้จากพระไตรปิฎกแล้ว ชัดเจน ลึกซึ้ง กระจ่างจริงๆ ครับ
ขออนุโมทนา
โดยอรรถทั้งหมดแล้ว ก็พอจะเข้าใจได้ แต่ก็ยังติดพยัญชนะที่ว่า "มีส่วนเสมอกัน" จะแปลอย่างไร ให้ได้ใจความที่ชัดเจนโดยใช้ภาษาง่ายๆ ดีครับ ผมไม่อยากจะคิดเดาเอาเอง จึงขอถามผู้รู้ดีกว่าครับ
ขอบพระคุณอย่างยิ่งในคำตอบครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความเห็นที่ 3
คำว่ามีส่วนเสมอกัน ไม่ได้หมายความว่า สภาพธัมมะนั้นเหมือนกัน เช่น ที่ยกมา ราคะกับศรัทธา สภาพธัมมะทั้งสองนี่ ไม่เหมือนกันแน่นอน เพราะศรัทธาเป็นธรรมฝ่ายดี
ส่วนราคะหรือโลภะเป็นธรรมฝ่ายไม่ดี แต่ที่กล่าวว่า มีส่วนเสมอกัน หมายถึง ลักษณะที่แสดงออกของสภาพธัมมะทั้งสองอย่างนั้นเสมอกัน เสมอกันโดยอะไร เช่น มีการแสวงหาเหมือนกัน (เสมอกัน) คือ ราคะแสวงหาวัตุกาม แต่ศรัทธาก็แสวงหาเหมือนกัน แต่แสวงหา คุณธรรม มี ศีล เป็นต้น
ดังนั้น ส่วนที่มีส่วนเสมอกันคือ การแสวงหาเหมือนกัน แต่แสวงหาคนละอย่างเท่านั้น มีส่วนเสมอกัน ในความไม่ทอดทิ้ง เช่น ราคะก็ไม่ทอดทิ้ง สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนศรัทธาก็ไม่ทอดทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนั้น จึงมีส่วนเสมอกัน ลักษณะเดียวกัน คือการไม่ทอดทิ้ง ส่วนจะไม่ทอดทิ้งอะไร ก็แล้วแต่สภาพธัมมะนั้นครับ
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ตอบ กระทู้
การที่เราจะรู้ว่าเรามีจริตอะไร ไม่ได้รู้ด้วยการคิดนึกเท่านั้น เพราะเป็นความละเอียดของจิต ที่สะสมในอดีตชาตินับไม่ถ้วนมากมายซึ่งการจะมีจริตอะไรนั้น ก็เกิดจากกรรมที่นำเกิดว่า กรรมที่นำเกิดนั้น ประกอบด้วยโลภะอ่อนหรือกล้า โทสะอ่อนหรือกล้า โมหะอ่อนหรือกล้า เช่น ถ้ากรรมที่ทำนำเกิดนั้น เป็นกรรมที่ทำด้วยโลภะมีกำลังกล้า โทสะมีกำลังกล้า โมหะมีกำลังกล้า ก็ทำให้เป็นคน มีราคะจริต โทสะจริตและโมหะจริตด้วย ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำด้วย ดังนั้น เราไม่สามารถรู้จริตของเราได้ทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องของปัญญาและไม่ใช่เพียงสังเกตเพียงอาการเท่านั้น ผู้ที่จะรู้จริตก็ต้องมีปัญญาครับ แต่ก็พอสังเกตได้ แต่ไม่ทั้งหมด ดังนั้นหนทางที่จะดับกิเลส คือ สติปัฏฐานนั้นก็มี ๒ จริตคือ ตัณหาและทิฏฐิจริต คงไม่มีใครคิดเองว่า เป็นตัณหาหรือทิฏฐิจริต เพราะไม่มีปัญญารู้ได้ แต่ก็อบรมปัญญาได้ด้วยการระลึกรู้ว่าเป็นธรรมในขณะนี้ไม่ใช่เราครับ หนทางที่จะดับกิเลสคือ สติปัฏฐานและอบรมบารมี ๑๐
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
แสดงว่าคนเราทุกคนต้องมีทั้ง ๖ จริต แต่มากน้อยไม่เท่ากัน และต้องใช้เป็นพื้นฐานในการเจริญปัญญาใช่หรือไม่ โดยต้องมีความสมดุลย์กัน
จริต หมายถึง ความประพฤติ (กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรมที่ทำไว้แล้ว) เป็นการสั่งสมอุปนิสัยให้เป็นไปอย่างนั้น เช่น คนที่มีราคะจริต กุศลจิตก็เกิดได้ เห็นโทษของความติดข้อง เขาก็เจริญอสุภะ เป็นปัญญาที่เขาสะสมมา กุศลขั้นต่างๆ จึงจะเจริญขึ้นค่ะ ส่วนคำว่า พุทธิจริต หมายถึง การสั่งสมอัธยาศัย หาความรู้ คือการใฝ่รู้ค่ะ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ความคิดเห็นที่ 6
จริตแต่ละคน แตกต่างกัน ในการอบรมเจริญปัญญานั้น ไม่ใช่การทำให้จริตเสมอกัน แต่เป็นการทำอินทรีย์ให้เสมอกัน (อินทรีย์ ๕) ซึ่งก็คือการอบรมเจริญสติปัฏฐานนั่นเองที่ทำให้อินทรีย์เสมอกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ฟังให้เข้าใจในสภาพธัมมะที่กำลังปรากฎ ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นก็กำลังปรับอินทรีย์แล้ว เพราะเป็นหน้าที่ของธรรม ไม่ใช่เราไปจัดการปรับอินทรีย์ครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ปรับอินทรีย์ ๕ ให้เสมอกัน ทำอย่างไร ยังไม่เข้าใจค่ะ
เพราะยังไม่เข้าใจ จึงยังปรับไม่ได้ เจริญเหตุด้วยการอบรมเจริญปัญญาต่อไป จนกว่าเหตุนั้นจะสมควรแก่ผล
ปัญญา เท่านั้น จึงจะละกิเลส ได้
น้อมถาม
การทำสมาธิภาวนาอาทิ ๔๐ กรรมฐาน อันไหนที่เหมาะแก่จริตที่มีความสงสัยครับ จึงขอน้อมถามมา ณ ที่นี้ครับ
เราไม่สามารถทราบได้หรอกว่าเรามีจริตอะไรบ้าง เราอาจจะคาดเดาจากอกุศลที่เกิดบ่อยๆ เช่น บางคนมักโกรธ บางคนก็ติดในรูปสวยๆ ก็แล้วแต่ขณะจิต เพราะเรามีทั้งโลภะ โทสะ โมหะ พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยของแต่ละคน ที่สั่งสมมาไม่เหมือนกัน เช่น สามเณรท่านติดในรส ท่านก็ไม่รู้ท่านติดในรส ท่านพระสารีบุตรเอาอาหารมาให้สามเณร พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าถ้าสามเณรฉันแล้วจะไม่บรรลุ ก็มาถามปัญหาธรรมะพระสารีบุตรเพื่อถ่วงเวลา ภายหลังสามเณรก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกับพระสารีบุตรตอบปัญหาจบค่ะ
แสดงว่าต้องอบรมเจริญสติปัฏฐาน และฟังธรรมให้เข้าใจ จึงจะปรับอินทรีย์ได้ ขอบคุณค่ะ พอดียังสับสนอยู่ค่ะ
อนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ