[เล่มที่ 74] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 153
๙. เวสสันตรจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเวสสันดร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 74]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 153
๙. เวสสันตรจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเวสสันดร
[๙] นางกษัตริย์พระนามว่าผุสดี พระชนนีของเรา พระนางเป็นมเหสีของท้าวสักกะในชาติที่ล่วงมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพทรงเห็นว่า พระนางจะสิ้นอายุ จึงตรัสดังนี้ว่า เราจะให้พร ๑๐ ประการแก่เธอ นางผู้เจริญ จะปรารถนาพรอันใด พอท้าวสักกะตรัสอย่างนี้เท่านั้น พระเทวีนั้นได้ทูลท้าวสักกะดังนี้ว่า หม่อมฉันมี ความผิดอะไรหรือ หรือพระองค์เกลียดหม่อมฉันเพราะเหตุใด จึงจะให้หม่อมฉันเคลื่อนจากสถานอันรื่นรมย์เหมือนลมพัดให้ต้นไม้ หวั่นไหว ฉะนั้น เมื่อพระนางผุสดีตรัสอย่างนี้ ท้าวสักกะนั้นได้ตรัสกะพระนางดังนี้อีกว่า เธอไม่ได้ทำความชั่วเลย และจะไม่เป็นที่รักของเราก็หามิได้ แต่อายุของเธอมีประมาณเท่านี้เอง เวลานี้เป็นเวลาที่เธอจักต้องจุติ เธอจงรับเอาพร ๑๐ ประการอัน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 154
ประเสริฐสุดที่ฉันให้เถิด พระนางผุสดีนั้นมีพระทัยยินดี ร่าเริงเบิกบานพระทัย ทรงรับเอาพร ๑๐ ประการซึ่งเป็นพรอันท้าวสักกะ พระราชทาน ทรงทำเราไว้ในภายในพระนางผุสดีนั้น จุติจากดาวดึงส์นั้นแล้ว มาบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ได้สมาคมกับพระเจ้า กรุงสญชัย คือเป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัย ในพระนครเชตุดร ในกาลเมื่อเราลงสู่พระครรภ์ของพระนางผุสดี พระมารดาที่รัก ด้วยเดชของเรา พระมารดาของเราเป็นผู้ยินดีในทานทุกเมื่อ ทรงให้ทานแก่คนยากจน คนป่วยไข้กระสับกระส่าย คนแก่ ยาจก คน เดินทาง สมณพราหมณ์ คนสิ้นเนื้อประดาตัว คนไม่มีอะไรเลย พระนางผุสดีทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน เมื่อพระเจ้าสญชัยทรงทำประทักษิณพระนคร พระนางก็ประสูติเรา ณ ท่ามกลางถนนของพวกคนค้าขาย นามของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 155
เราจึงไม่เนื่องข้างฝ่ายพระมารดา และไม่เกิดเนื่องข้างฝ่ายพระบิดา เพราะเราเกิดที่ถนนของคนค้าขายนี้ ฉะนั้น เราจึงมีชื่อว่าเวสสันดร ในกาลเมื่อเราเป็นทารกมีอายุ ๘ ปีแต่กำเนิด ในกาลนั้น เรานั่งอยู่ในปราสาท คิดเพื่อจะให้ทานว่า เราพึงให้หทัย จักษุ แม้เนื้อและเลือด เราพึงให้ทานทั้งกาย ถ้าใครได้ยินแล้ว พึงขอกะเรา เมื่อเราคิดถึงความเป็นจริง จิตของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ ในขณะนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ได้หวั่นไหว ในเดือนเต็มวันอุโบสถที่ ๑๕ ทุกกึ่งเดือน เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาค เข้า ไปยังศาลาเพื่อจะให้ทาน พราหมณ์ทั้งหลาย ชาวกาลิงครัฐ ได้มาหาเรา ได้ขอพระยาคชสารทรงอันประกอบด้วยมงคลหัตถีกะเราว่า ชนบทฝนไม่ตก เกิดทุพภิกขภัย อดอยากมากมาย ขอพระองค์ทรงโปรดพระราชทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 156
พระยาคชสารตัวประเสริฐ เผือกผ่อง อันเป็นช้างมงคลอุดม พราหมณ์ทั้งหลายขอสิ่งใดกะเรา เราย่อมให้สิ่งนั้น ไม่หวั่นไหวเลย เราไม่ซ่อนเร้นของที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน เมื่อยาจกมาถึงแล้ว การห้าม คือ การไม่ให้ ไม่สมควรแก่เรา กุศลสมาทานของเราอย่าทำลายเสีย เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ เราได้จับงวงพระยาคชสารวางลงบนมือพราหมณ์ แล้วจึงหลั่งน้ำเต้าทองลงบนมือ ได้ให้พระยาคชสารแก่พราหมณ์ เมื่อเราให้พระยามงคลคชสารอันอุดม เผือกผ่องอีก แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ก็ได้หวั่นไหว เพราะเราให้พระยาคชสารนั้น ชาวพระนครสีพีพากันโกรธเคือง มาประชุมกันแล้ว ขับไล่เราจากแว่นแคว้นของตนว่า จงไปยังภูเขาวงกต เมื่อชาวพระนครเหล่านั้นขับไล่ จิตของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ เรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 157
ได้ขอพรอย่างหนึ่ง เพื่อจะยังมหาทานให้เป็นไป เมื่อเราขอแล้ว ชาวพระนครสีพีทั้งหมดได้ให้พรอย่างหนึ่งแก่เรา เราจึงให้เอากลองคู่หนึ่งไปตีประกาศว่า เราจะให้มหาทาน ครั้งเมื่อเราให้ทานอยู่ในโรงทานนั้น เสียงดังกึกก้องอึงมี่ย่อมเป็นไปว่า ชาวพระนครสีพีขับไล่พระเวสสันดรนี้เพราะให้ทาน พระองค์จะยังให้ทานอะไรอีกเล่า เราได้ให้ช้าง ม้า รถ ทาสี ทาส แม่โค ทรัพย์ ครั้นให้มหาทานแล้ว ก็ออกจากพระนครไปในกาลนั้น ครั้นเราออกจากพระนครแล้ว กลับผินหน้ามาเหลียวดู แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ก็หวั่นไหว เราให้ม้าสินธพ ๔ ตัวและรถ แล้วยืนอยู่ที่ทางใหญ่ ๔ แยกผู้เดียวไม่มีเพื่อนสอง ได้กล่าวกะพระนางมัทรีเทวีดังนี้ว่า ดูก่อนแม่มัทรี เธอจงอุ้มกัณหากุมารีเถิด เพราะเธอเป็นน้องคงเบากว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 158
พี่จะอุ้มพ่อชาลี เพราะเขาเป็นพี่คงจะหนัก พระนางมัทรีทรงอุ้มแม่กัณหาผู้อ่อนนุ่ม ดังดอกปทุมและบัวขาว เราได้อุ้มพ่อชาลีหน่อกษัตริย์ เปรียบดังแท่งทองคำ ชนทั้ง ๔ เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติเกิดในสกุลสูง ได้เสด็จดำเนินไปตามทางอันขรุขระและราบเรียบ ไปยังเขาวงกต มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเดินตามมาในหนทางก็ดี สวนทางมาก็ดี เราทั้งหลายได้ไต่ถามเขาถึงหนทางว่า เขาวงกตอยู่ที่ไหน เขาเห็นเราทั้งหลาย ณ ที่นั้นแล้ว ได้เปล่งเสียงอันประกอบด้วยกรุณาว่า กษัตริย์เหล่านี้คงจะต้องได้เสวยทุกข์อย่างยิ่ง เพราะเขาวงกตยังไกล ถ้าพระกุมารทั้งหลายเห็น ต้นไม้อันมีผลในป่าใหญ่ พระกุมารกุมารีก็จะทรงกันแสง เพราะเหตุแห่งผลไม้เหล่านั้น ต้นไม้ทั้งหลายอันสูงใหญ่ไพศาล เห็นพระกุมารกุมารีทรงกันแสง ก็โน้มยอดลงมาหา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 159
พระกุมารและพระกุมารีเอง พระนางมัทรีผู้ทรงความงามทั่วสรรพางค์ ทรงเห็นความอัศจรรย์นี้อันไม่เคยมีมา น่าขนลุกขนพอง จึงยังสาธุการให้เป็นไปว่า ความอัศจรรย์อันไม่เคยมีในโลก บังเกิดขนชูชันหนอ หมู่ไม้น้อมยอดลงมาเอง ด้วยเดชแห่งพระเวสสันดร เทวดาทั้งหลายช่วยย่นทางให้ด้วยความเอ็นดูพระกุมารกุมารี ในวันที่เราออกจากพระนครสีพีนั้นเอง เราทั้ง ๔ ได้ไปถึงเจตรัฐ ในกาลนั้น พระราชา (เจ้า) หกหมื่นองค์ อยู่ในพระนครมาตุละ ต่างก็ประนมกรอัญชลีพากันร้องไห้มาหาเราเจรจาปราศรัยกับโอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านี้อยู่ ณ ที่นั้น ให้โอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านั้นกลับที่ประตูนั้นแล้ว ได้ไปยังเขาวงกต ท้าวสักกะจอมเทวดา ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก แล้วรับสั่งให้ไปเนรมิตบรรณศาลาอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 160
สวยงาม น่ารื่นรมย์ สำหรับเป็นอาศรม เราทั้ง ๔ คน มาถึงป่าใหญ่อันเงียบเสียงอื้ออึง ไม่เกลื่อนกล่นด้วยฝูงชน อยู่ในบรรณศาลานั้น ณ เชิงเขา ในกาลนั้นเรา พระนางมัทรีเทวี พ่อชาลีและแม่กัณหาทั้งสอง บรรเทาความเศร้าโศกของกันและกันอยู่ในอาศรม เรารักษาเด็กทั้งสองอยู่ในอาศรม อันไม่ว่างเปล่า พระนางมัทรีนำผลไม้มาเลี้ยงคนทั้งสาม เมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์เดินเข้ามาหาเรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา คือ พ่อชาลี และแม่กัณหาชินา เพราะได้เห็นยาจกเข้ามาหา ความร่าเริงเกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้น เราได้พาบุตรทั้งสองมาให้แก่พราหมณ์ เมื่อเราสละบุตรทั้งสองของตนให้แก่ชูชกพราหมณ์ในกาลใด แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ก็หวั่นไหว ท้าวสักกะทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เสด็จ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 161
ลงจากเทวโลก มาขอนางมัทรีผู้มีศีล มีจริยาวัตรอันงามกะเราอีก เรามีความดำริแห่งใจอันเลื่อมใส จับพระหัตถ์พระนางมัทรียัง ฝ่ามือให้เต็มด้วยน้ำ ได้ให้พระนางมัทรีแก่พราหมณ์นั้น เมื่อเราให้พระนางมัทรี หมู่เทวดาในอากาศเบิกบาน พลอยยินดี แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราชและป่าหิมพานต์ก็หวั่นไหว เราสละพ่อชาลี แม่กัณหาชินาผู้ธิดา และพระนางมัทรีเทวีผู้มีจริยาวัตรอันงาม ไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง เราจะเกลียดบุตรทั้งสองหามิได้ จะเกลียดพระนางมัทรีก็หามิได้ แต่ สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา ฉะนั้นเราให้บุตรและภรรยาผู้เป็นที่รักอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมารดาและพระบิดาเสด็จมาพร้อมกัน ณ ป่าใหญ่ ทรงกันแสงสะอึกสะอื้นน่าสงสาร ตรัสถามถึงสุขทุกข์กันอยู่ เราได้เข้าเฝ้าพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 162
มารดาและพระบิดาทั้งสองผู้เป็นที่เคารพด้วยหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ก็หวั่นไหว อีกครั้งหนึ่ง เรากับบรรดาพระญาติของเราออกจากป่าใหญ่ จักเข้าสู่พระนครเชตุดร อันเป็นนครน่ารื่นรมย์ แก้ว ๗ ประการตกลงแล้ว มหาเมฆยังฝนให้ตก (มหาเมฆยังฝนแก้ว ๗ ประการให้ตกลง) แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าหิมพานต์ก็หวั่นไหว แม้แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจ ไม่รู้สุขและทุกข์ ก็หวั่นไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังแห่งทานของเรา ฉะนั้นแล.
จบ เวสสันตรจริยาที่ ๙
อรรถกถาเวสสันตรจริยาที่ ๙
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาเวสสันตรจริยาที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า เม ในบทนี้ว่า ยา เม อโทสิ ชนิกา นางกษัตริย์พระนามว่าผุสดี พระชนนีของเรา พระศาสดาตรัสหมายถึงพระองค์ครั้งเป็นพระเวสสันดร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 163
ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงตรัสว่า ผุสฺสตี นาม ขตฺติยา นางกษัตริย์ พระนามว่าผุสดี. เป็นความจริงดังนั้นพระมารดาของพระโพธิสัตว์เป็นนางกษัตริย์พระนามว่าผุสดี.
บทว่า สา อตีตาสุ ชาตีสุ คือพระนางในชาติที่ล่วงมาแล้วเป็นลำดับจากชาตินั้น. จริงอยู่บทนี้เป็นพหูพจน์ในความเดียวกัน. พึงทราบการเชื่อมความว่า พระนางเป็นมเหสีเป็นที่รักของท้าวสักกะ. อนึ่งพระนางได้เป็นพระชนนีของเราในอัตภาพสุดท้าย. ในชาติอันล่วงแล้วนั้น พระนางมีพระนามว่า ผุสดี. กษัตริย์ทั้งหลายในชาติอัน ล่วงแล้วนั้น. เราได้เกิดเป็นเวสสันดรในพระครรภ์ของพระนางในชาติใดก่อนแต่ชาตินั้น พระนางได้เป็นพระมเหสีเป็นที่รักของท้าวสักกะ พึงทราบเรื่องราวเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้.
ในกัป ๙๑ จากกัปนี้ พระศาสดาพระนามว่า วิปัสสี ทรงอุบัติขึ้นในโลก. เมื่อพระศาสดาพระนามว่า วิปัสสีประทับอาศัยพันธุมดืนคร ประทับ อยู่ ณ มฤคทายวัน ชื่อ เขมะ พระเจ้าพันธุมราชได้พระราชทานแก่นจันทน์มีค่ามากซึ่งพระราชาองค์หนึ่งส่งไปถวาย แก่พระธิดาองค์ใหญ่ของพระองค์. พระธิดาได้เอาแก่นจันทน์นั้นบดเป็นผงละเอียดบรรจุลงผอบ เสด็จไปวิหารบูชาพระสรีระของพระศาสดาซึ่งมีผิวดุจทองคำ แล้วเกลี่ยผงที่เหลือลงในพระคันธกุฎี ทรงตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้หม่อมฉันพึงเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์ในอนาคตเถิด ครั้น พระนางจุติจากมนุษยโลก ด้วยผลแห่งการบูชาผงจันทน์นั้น มีพระสรีระดุจ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 164
อบด้วยจันทน์แดง ทรงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ทรงเกิดเป็นอัครมเหสีของท้าวสักกเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ครั้นพระนางจะสิ้นพระชนม์ได้เกิดบุรพนิมิต ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า พระนางจะสิ้นอายุ เพื่ออนุเคราะห์พระนาง จึงตรัสว่า แม่นางผุสดีผู้เจริญ เราจะให้พร ๑๐ ประการแก่เจ้า. เจ้าจงรับพรเถิด. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า :-
ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบว่า พระนางจะสิ้นอายุ จึงตรัสดังนี้ว่า เราจะให้พร ๑๐ ประการแก่เจ้า นางผู้เจริญจะปรารถนาพรอันใด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วร คือจงเลือกรับพร.
บทว่า ภทฺเท ยทิจฺฉสิ ท้าวสักกะตรัสว่า นางผุสดีผู้เจริญ เจ้าปรารถนาพรอันใด. พรอันใดเป็นที่รักของเจ้า เจ้าจงเลือกรับพรอันนั้น ๑๐ ประการ.
บทว่า ปุนิทมพฺรวิ คือพระนางไม่รู้ว่าตนจะต้องจุติจึงได้ทูลคำเป็นอาทิว่า กึ นุ เม อปราธตฺถิ หม่อมฉันมีความผิดอะไรหรือ? เพราะนางเป็นผู้ประมาทไม่รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ เมื่อท้าวสักกะตรัสว่า เจ้าจงรับพร จึงคิดว่า ท้าวสักกะทรงปรารถนาจะให้เราเกิดขึ้นที่ไหน จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า อปราธตฺถิ คือมีความผิด.
บทว่า กึ นุ เทสฺสา อหํ ตว พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 165
ทรงเกลียดหม่อมฉันเพราะเหตุไร? คือพระองค์ทรงเกลียด หมดความรักเสียแล้ว.
บทว่า รมฺมา จาเวสิ มํ านา คือพระองค์จะให้หม่อมฉันเคลื่อนจากสถานอันน่ารื่นรมย์นี้.
บทว่า วาโตว ธรณีรุหํ เหมือนลมพัดให้ต้นไม้หวั่นไหวฉะนั้น พระนางทูลถามท้าวสักกะว่า พระองค์มีพระประสงค์จะให้หม่อมฉันเคลื่อนจากเทวโลกนี้ เหมือนลมแรงพัดถอนตัดไม้ ฉะนั้น เพราะเหตุไรหนอ?
บทว่า ตสฺสิทํ ตัดบทเป็น ตสฺสา อิทํ ความว่า ท้าวสักกะได้ตรัสกะพระนางดังนี้อีก.
บทว่า น เจว เต กตํ ปาปํ เจ้าไม่ได้ทำความชั่วเลย คือ ความชั่วไรๆ เจ้ามิได้ทำไว้ ความผิดของเจ้าก็ไม่มี.
บทว่า น จ เม ตฺวํสิ อปฺปิยา เจ้ามิได้เป็นที่รักของเราก็หามิได้ อธิบายว่า เป็นที่เกลียดชัง ไม่เป็นที่รักก็หามิได้.
บัดนี้ ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงถึงความประสงค์ที่จะประทานพร จึงตรัสว่า อายุของเจ้ามีประมาณเท่านี้เอง เวลานี้เป็นเวลาที่เจ้าจักต้องจุติ เมื่อจะทรงให้พระนางรับพรจึงตรัสว่า เจ้าจงรับพร ๑๐ ประการอันประเสริฐสุดที่เราให้เถิด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วรุตฺตเม คือพรอันประเสริฐสุดกว่าพรทั้งหลาย.
บทว่า ทินฺนวรา คือพรอันท้าวสักกะประทานแล้วด้วยทรงให้ ปฏิญญาว่า เราจักให้พร.
บทว่า ตุฏฺหฏฺา นางมีพระทัยยินดีร่าเริง คือยินดีด้วยความพอใจในลาภที่พระนางปรารถนาไว้ และร่าเริงด้วยเห็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 166
ความปรารถนานั้นถึงที่สุด.
บทว่า ปโมทิตา คือมีพระทัยเบิกบานด้วยความปราโมทย์มีกำลัง.
บทว่า มมํ อพฺภนฺตรํ กตฺวา คือทรงทำเราไว้ในภายใน ในพรเหล่านั้น.
บทว่า ทส วเร วริ ความว่า พระนางทรงทราบว่า พระนางจะสิ้นอายุ ท้าวสักกะให้โอกาสเพื่อประทานพร จึงทรงตรวจดูทั่วพื้นชมพูทวีป ทรงเห็นพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีพีสมควรแก่ตน จึงทรงรับพร ๑๐ ประการเหล่านี้คือ ๑. ขอให้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงสีพีในแคว้นสีพีนั้น ๒. ขอให้มีดวงตาดำ ๓. ขอให้มีขนคิ้วดำ ๔. ขอให้มีชื่อว่าผุสดี ๕. ขอให้ได้โอรสประกอบด้วยคุณวิเศษ ๖. ขออย่าให้ครรภ์นูนโต ๗. ขออย่าให้ถันหย่อนยาน ๘. ขออย่าให้ผมหงอก ๙. ขอให้ผิวละเอียด ๑๐. ขอให้ปล่อยนักโทษที่ต้องประหาร ชีวิต.
ครั้นพระนางได้รับพร ๑๐ ประการแล้วก็จุติจากเทวโลกมาบังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ามัททราช. อนึ่งเมื่อพระนางประสูติ มีพระสรีระดุจอบด้วยผงจันทน์. ด้วยเหตุนั้นในวันขนานพระนาม จึงให้ชื่อว่า ผุสดี พระนางผุสดีมีบริวารมาก เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พระพรรษา มีพระรูปพระโฉมงดงามยิ่งนัก. ลำดับนั้น พระเจ้าสีพีมหาราชทรงนำพระนางมาเพื่ออภิเษกสมรสกับพระสญชัยกุมาร ผู้เป็นพระโอรส รับสั่งให้ยกเศวตฉัตร ทรงตั้งพระนางผุสดีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ให้เป็นใหญ่กว่าสตรี ๑๖,๐๐๐ คน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 167
พระนางผุสดีจุติจากดาวดึงส์นั้น แล้วมาบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัยในกรุงเชตุดร
พระนานผุสดีนั้นเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ากรุงสญชัย. ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงรำพึงเห็นว่า พรที่เราให้แก่พระนางผุสดีไป สำเร็จไปแล้ว ๙ ประการ ทรงดำริว่า พรเกี่ยวกับพระโอรสยังไม่สำเร็จ. เราจักให้พรนั้นสำเร็จแก่นาง ทรงเห็นว่า พระโพธิสัตว์จะสิ้นอายุในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ในครั้งนั้น แล้วจึงเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านสมควรถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงสญชัยแคว้นสีพีในมนุษยโลก ทรงรับปฏิญญาของพระโพธิสัตว์และเทพบุตร ๖๐,๐๐๐ เหล่าอื่นที่ปฏิบัติตามเทวบัญชา เสร็จแล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์. แม้พระมหาสัตว์ครั้นจุติจากชั้นดาวดึงส์นั้น แล้วก็ทรง บังเกิดในแคว้นสีพีนั้น. แม้เทพบุตรที่เหลือก็ไปบังเกิดในเรือนของเหล่าอำมาตย์ ๖๐,๐๐๐ เมื่อพระมหาสัตว์ประสูติจากพระครรภ์ พระนางผุสดีเทวีรับสั่งให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนคร ๑ แห่ง ที่ประตูพระนิเวศน์ ๑ แห่ง ทรงสละทรัพย์ ๖๐๐,๐๐๐ ทุกๆ วัน ได้ทรงแพ้พระครรภ์เมื่อทรงให้ทาน. พระราชาทรงสดับว่า พระนางทรงแพ้พระครรภ์ จึงรับสั่งเรียกพราหมณ์ผู้ท่านายโชคชะตามาตรัสถาม ทรงสดับคำกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราชเจ้า สัตว์มีบุญมาก ยินดีใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 168
ทานจะอุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี. สัตว์นั้นจักไม่อิ่มด้วยทาน พระเจ้าข้า ทรงมีพระทัยยินดี ทรงให้ตั้งทานดังได้กล่าวแล้ว. ทรงให้สมณพราหมณ์ คนแก่ คนเดือดร้อน คนยากจน คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย อิ่มหนำสำราญ. ตั้งแต่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ คือความเจริญของพระราชาหาประมาณมิได้. ด้วยบุญญานุภาพของพระโพธิสัตว์นั้น พระราชาทั่วชมพูทวีปต่างส่งเครื่องบรรณาการไปถวาย. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ในกาลเมื่อเราลงสู่พระครรภ์ของพระนางผุสดี พระมารดาที่รัก ด้วยเดชของเรา พระมารดาเป็นผู้ยินดีในทานทุกเมื่อ ทรงให้ ทานแก่คนยากจน คนป่วยไข้ คนแก่ ยาจก คนเดินทาง สมณพราหมณ์ คนสิ้นเนื้อประดาตัว คนไม่มีอะไรเลย.
ในบทเหล่านั้น. บทว่า มม เตเชน ด้วยเดชของเรา คือด้วย อานุภาพแห่งอัธยาศัยในการให้ของเรา.
บทว่า ขีเณ คือหมดสิ้นด้วยโภคะเป็นต้น คือถึงความเสื่อมโทรม.
บทว่า อกิญฺจเน คือไม่มีอะไรยึดถือเลย. ในทุกบทเป็นสัตตมีวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งวิสัยคือเป็นอารมณ์ เพราะว่าคนไม่มีทรัพย์เป็นต้น เป็นอารมณ์แห่งการบริจาคไทยธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 169
พระเทวีทรงได้รับการบริหารพระครรภ์เป็นอย่างมาก เมื่อครบ ๑๐ เดือน มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระนคร จึงกราบทูลพระราชสวามี พระราชารับสั่งให้ตกแต่งพระนครดุจเทพนคร อัญเชิญพระเทวีขึ้นรถอันประเสริฐ แล้วให้ทำประทักษิณพระนคร. เมื่อพระนางเสด็จถึงท่ามกลางถนนของพวกทำการค้า ลมกรรมชวาต (ลมเบ่ง) ได้ปั่นป่วนขึ้นแล้ว พวกอำมาตย์กราบทูลแด่พระราชา. พระราชารับสั่งให้สร้างเรือนประสูติแก่พระนางที่ถนนของพวกทำการค้านั่นเอง แล้วทรงให้จัดตั้งอารักขา พระนางประสูติพระโอรส ณ ที่นั้นเอง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พระนางผุสดีทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน เมื่อพระเจ้าสญชัยทรงทำประทักษิณพระนคร พระนางก็ประสูติเรา ณ ท่ามกลาง ถนนของพวกคนทำการค้า นามของเราจึงไม่เนื่องข้างฝ่ายพระมารดา และไม่เกิดเนื่องข้างฝ่ายพระบิดา เพราะเราเกิดที่ถนนของคนค้าขาย ฉะนั้น เราจึงมีชื่อว่า เวสสันดร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กโรนฺเต ปุรํ ปทกฺขิณํ คือเมื่อพระเจ้าสญชัยมหาราชทรงพาพระเทวีกระทำประทักษิณพระนคร.
บทว่า เวสฺสานํ คือพวกพ่อค้า.
บทว่า น มตฺติกํ นามํ คือนามของเราไม่เนื่องตา ยาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 170
อันมาข้างมารดา.
บทว่า เปตฺติกสมฺภวํ ชื่อว่า เปตฺติกํ เพราะนี้ฝ่ายบิดา. ชื่อว่า สมฺภโว เพราะเกิดจากฝ่ายบิดา. ชื่อว่า เปตฺติกสมฺภวํ เพราะเกิดเนื่องข้างฝ่ายบิดา หมายถึงชื่อ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มิได้ตั้งพระนามด้วยความผูกพันทางมารดาและบิดา.
บทว่า ชาเตตฺถ ตัดบทเป็น ชาโต เอตฺถ คือเกิดที่ถนนของคนค้าขายนี้. ปาฐะว่า ชาโตมฺหิ บ้างคือเราเกิดแล้ว.
บทว่า ตสฺมา เวสฺสนฺตโร อหุ คือ เพราะในครั้งนั้นเราเกิด ณ ถนนของคนค้าขาย ฉะนั้นจึงชื่อว่า เวสสันดร อธิบายว่า พระชนกชนนีทรงขนานพระนามว่า เวสฺสนฺตร.
พระมหาสัตว์ทรงประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ทรงเฉลียวฉลาด ทรงลืมพระเนตรประสูติ. พอทรงประสูตินั่นเองทรงเหยียดพระหัตถ์ให้พระมารดาตรัสว่า แม่จ๋า ลูกจักให้ทาน มีอะไรบ้าง. มารดาของพระมหาสัตว์ทรงมอบถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ที่อยู่ใกล้พระหัตถ์ด้วยพระดำรัสว่า ลูกรัก จงให้ทานตามอัธยาศัยเถิด. จริงอยู่พระโพธิสัตว์พอประสูติก็ทรงพูดได้ในที่ ๓ แห่ง คือในอุมมังคชาดก ๑ ในชาดกนี้ ๑ ในอัตภาพสุดท้าย ๑. พระราชาทรงให้แม่นม ๖๐ คนมีน้ำนมหวาน เว้นจากโทษ มีสูงเกินไปเป็นต้น ดูแลพระมหาสัตว์. พระราชทานแม่นมแก่ทารก ๖๐,๐๐๐ ซึ่งเกิดพร้อมกับพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงเจริญด้วยบริวารมากพร้อมกับทารก ๖๐,๐๐๐ คน. พระราชารับสั่งให้ช่างทำเครื่องประดับพระกุมารมีค่า ๑๐๐,๐๐๐ พระราชทานแก่พระกุมารนั้น. พระกุมารเมื่อมีพระชันษา ๔ - ๕ ขวบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 171
ทรงเปลื้องเครื่องประดับนั้นให้แก่พวกแม่นม พวกแม่นมถวายคืนอีกก็ไม่ทรงรับ. พระราชาทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า เครื่องประดับที่โอรสของเราให้เป็นอันให้ดีแล้ว แล้วทรงให้ช่างทำเครื่องประดับอย่างอื่นอีก. พระกุมารก็ทรงให้อีก. เมื่อเป็นทารกนั่นเองได้ทรงให้เครื่องประดับแก่พวกแม่นมถึง ๙ ครั้ง.
เมื่อพระชนม์ได้ ๘ พระพรรษา บรรทมเหนือพระยี่ภู่ทรงดำริว่า เราให้ทานภายนอก. ทานนั้นก็ไม่พอใจเรา. เราประสงค์จะให้ทานภายใน หากว่าใครๆ พึงขอหทัยกะเรา. เราจะนำหทัยออกให้. หากพึงขอจักษุกะเรา. เราก็จักควักจักษุให้. หากพึงขอเนื้อหรือเลือดในร่างกายทั้งสิ้นของเรา. เราก็จะเชือดเนื้อจากร่างกายทั้งสิ้น เอาดาบเจาะเลือดให้. แม้ใครๆ จะพึงกล่าวว่า ขอท่านจงเป็นทาสของเราเถิด เราก็จะประกาศแล้วให้ตนแก่เขา. เมื่อพระกุมารทรงดำริตามความจริงพร้อมด้วยสมบัติอันสำคัญอย่างนี้ มหาปฐพีนี้หนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์หวั่นไหวจนถึงที่สุดของน้ำ. ภูเขาสิเนรุโน้มแล้วตั้งตรงไปยังพระนครเชตุดร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ในกาลเมื่อเราเป็นทารกอายุ ๘ ปีแต่กำเนิดในกาลนั้น
เรานั่งอยู่ในปราสาท คิดเพื่อจะให้ทานว่า เราพึงให้หทัย จักษุ แม้เนื้อและเลือด เราพึงให้ทานทั้งกาย ถ้าใครได้ยินแล้วพึงขอกะเรา เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 172
เราคิดถึงความเป็นจริง จิตของเราไม่หวั่นไหว ไม่หดหู่ ในขณะนั้นแผ่นดิน ภูเขาสิเนรุได้หวั่นไหว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สาเวตฺวา คือประกาศความเป็นทาสว่า ตั้งแต่วันนี้ไปเราจะเป็นทาสของบุคคลนี้.
บทว่า ยทิ โกจิ ยาจเย มมํ คือผิว่าใครพึงขอกะเรา.
บทว่า สภาวํ จินฺตยนฺตสฺส เราคิดถึงความเป็นจริง คือ เราคิดถึงความเป็นจริงตามสภาพของตน อันไม่วิปริตตามอัธยาศัยอันไม่อิ่ม อธิบายว่า เมื่อเราคิด.
บทว่า อกมฺปิตํ คือปราศจากความหวั่นไหว.
บทว่า อสณฺิตํ คือประกาศความหดหู่. อธิบายว่า เพราะจิตหวั่นไหว กล่าวคือ จิตหวาดสะดุ้งในการให้จักษุเป็นต้นของผู้ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ด้วยความโลภเป็นต้น และจิตซบเซากล่าวคือความหดหู่. เว้นจากจิตนั้น.
บทว่า อกมฺปิ คือได้หวั่นไหว.
บทว่า สิเนรุวนวฏํสกา คือสิเนรุวันอันเป็นสวนย่อมกำหนดด้วยนันทวัน ปารุสกวัน มิสสกวัน จิตรลดาวัน เป็นต้นอันตั้งขึ้นที่ภูเขาสิเนรุ. อีกอย่างหนึ่งสิเนรุและสวนเป็นที่น่ารื่นรมย์ในชมพูทวีป เป็นต้นชื่อว่า สิเนรุวัน ชื่อว่า สิเนรุวนวฏํสกา เพราะสวนนั้นมีลักษณะเป็นเครื่องประดับ.
อนึ่ง เมื่อแผ่นดินไหวเป็นไปอยู่อย่างนี้ ท้องฟ้ากระหึ่มยังฝนชั่วคราวให้ตก. สายฟ้าแลบ. ระลอกซัดในมหาสมุทร. ท้าวสักกเทวราชปรบพระหัตถ์ มหาพรหมซ้องสาธุการ. ความเอิกเกริกโกลาหลได้มีขึ้นจนถึงพรหมโลก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 173
พระมหาสัตว์เมื่อมีพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา ก็ทรงสำเร็จศิลปะทุกแขนง พระบิดาของพระองค์มีพระประสงค์จะทรงมอบราชสมบัติให้ จึงทรงปรึกษากับพระชนนีนำพระราชกัญญาพระนามว่ามัทรี ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้าลุง จากตระกูลมัททราช แล้วทรงแต่งตั้งให้เป็นพระอัครมเหสี เป็นหัวหน้าของสตรี ๑๖,๐๐๐ นาง แล้วอภิเษกพระมหาสัตว์ให้ครองราชสมบัติ. พระมหาสัตว์ตั้งแต่ทรงครองราชสมบัติ ทรงสละพระราชทรัพย์วันละ ๖๐๐,๐๐๐ ทุกวัน ทรงบริจาคมหาทาน เสด็จทรงตรวจตราทานทุกกึ่งเดือน. ครั้นต่อมา พระนางมัทรีประสูติพระโอรส. พวกอำมาตย์รับพระองค์ด้วยข่ายทอง. เพราะเหตุนั้นจึงขนานพระนามว่า ชาลีกุมาร. เมื่อพระชาลีกุมารทรงดำเนินได้ พระนางมัทรีได้ประสูติพระธิดาอีกองค์หนึ่ง. พวกอำมาตย์รับพระธิดานั้นไว้ด้วยหนังหมีดำ. เพราะเหตุนั้นจึงขนานพระนามว่า กัณหาชินา. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ในวันอุโบสถเดือนเต็ม ๑๕ ค่ำ ทุกกึ่งเดือน เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาค เข้าไปยังศาลาเพื่อจะให้ทาน.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนฺวทฺธมาเส ทุกกึ่งเดือน. อธิบายว่าทุกๆ กึ่งเดือน.
บทว่า ปุณฺณมาเส คือในเดือนเพ็ญ พึงทราบการเชื่อมความว่า เมื่อถึงวัน ๑๕ ค่ำ ในเดือนเพ็ญและพระจันทร์เต็มดวง เราเข้าไปยังโรงทานเพื่อให้ทาน. ในบทนั้นโยชนาแก้ไว้ว่า เราขึ้นคอมงคลหัตถีปัจจัยนาคเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 174
ยังโรงทานเพื่อให้ทานทุกกึ่งเดือน. อนึ่ง ในกาลใดเมื่อเราเข้าไปอย่างนี้ ได้เข้าไปเพื่อให้ทานในวันอุโบสถเดือนเพ็ญ ๑๕ ค่ำ ครั้งหนึ่ง. ในกาลนั้น พราหมณ์ชาวแคว้นกาลิงคะได้เข้าไปหาเรา.
บทว่า ปจฺจยํ นาคํ คือมงคลหัตถี ชื่อว่าปัจจัยนาค. เพราะในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ แม้ช้างเที่ยวไปในอากาศเชือกหนึ่ง นำลูกช้างเผือกตลอดตัว เป็นช้างที่เขาถือว่าเป็นมงคลยิ่ง มาปล่อยไว้ในที่ของมงคลหัตถีแล้วก็กลับไป. เพราะช้างนั้นได้มาเพราะพระมหาสัตว์เป็นปัจจัย จึงตั้งชื่อว่าปัจจัยนาค. เราขึ้นช้างมงคลนั้นที่ชื่อว่า ปัจจัยนาคเข้าไปยังโรงทานเพื่อให้ทาน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พราหมณ์ทั้งหลายชาวกาลิงครัฐได้มาหาเรา ได้มาขอพระยาคชสารทรงอันประกอบด้วยมงคลหัตถีกะเราว่า ชนบทฝนไม่ตกเกิดทุพภิกขภัยอดอยากมากมาย ขอพระองค์โปรดพระราชทานพระยาคชสารตัวประเสริฐเผือกผ่องอันเป็นช้างมงคลอุดม.
ในบทเหล่านั้น คาถามีอาทิว่า กาลิงฺครฏฺวิสยา มาแล้วแม้ในกุรุราชจริยาในหนหลัง. เพราะฉะนั้น ความแห่งคาถาเหล่านั้นและกถามรรค พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในกุรุราชจริยานั้นนั่นแล. แต่ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สพฺพเสตํ คชุตฺตมํ เป็นช้างเผือกผ่องเป็นมงคลอุดม. พระโพธิสัตว์นั้นทรงขึ้นคอพระยาคชสาร เมื่อจะทรงประกาศความยินดีอย่างยิ่งในทานของพระองค์ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 175
พราหมณ์ทั้งหลายขอสิ่งใดกะเรา เราย่อมให้สิ่งนั้น ไม่หวั่นไหวเลย เราไม่ซ่อนเร้นของที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน.
ทรงปฏิญาณว่า :-
เมื่อยาจกมาถึงแล้ว การห้ามไม่สมควรแก่เรา กุสลสมาทานของเราอย่าทำลายเสีย เราจักให้คชสารตัวประเสริฐ.
แล้วเสด็จลงจากคอคชสาร ทรงพิจารณาเพื่อตรวจดูสถานที่ที่มิได้ตกแต่ง มิได้ทรงเห็นสถานที่ที่มิได้ตกแต่ง จึงทรงจับพระเต้าทองเต็มไปด้วยน้ำหอมเจือดอกไม้ ตรัสว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงมาข้างนี้ แล้วทรงจับงวงคชสารเช่นกับพวงเงินที่ตกแต่งแล้ววางไว้บนมือของพวกพราหมณ์ ทรงหลั่งน้ำแล้วพระราชทานพระยาคชสารที่ตกแต่งไว้เป็นอย่างดีแก่พวกพราหมณ์. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เราได้จับงวงพระยาคชสารวางลงบนมือพราหมณ์ แล้วจึงหลั่งน้ำในเต้าทองลงบนมือ ได้ให้พระยาคชสารแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ คือไทยธรรมอันมีอยู่.
บทว่า นปฺปฏิคุยฺหามิ คือไม่ปกปิด. เพราะผู้ใดคิดว่า ของของตนต้องเป็นของเราเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 176
ดังนี้. หรือเขาขอแล้วปฏิเสธ. ผู้นั้นชื่อว่าปกปิดแม้ของที่ตั้งไว้ต่อหน้าผู้ขอทั้งหลายโดยใจความ. ส่วนพระมหาสัตว์มีพระประสงค์จะพระราชทานทานภายในตั้งแต่ศีรษะเป็นต้นของพระองค์. จะทรงปฏิเสธทานภายนอกได้อย่างไร. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สนฺตํ นปฺปฏิคุยฺหามิ เราไม่ซ่อนเร้นของมีอยู่. ดังที่ตรัสไว้ว่า ทาเน เม รมเต มโน ใจของเรายินดีในทานดังนี้. บทที่เหลือมีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล
เครื่องประดับที่เท้าทั้ง ๔ ของคชสารนั้น มีค่า ๔๐๐,๐๐๐. เครื่อง ประดับที่ข้างทั้งสอง มีค่า ๒๐๐,๐๐๐. ผ้ากัมพลที่ใต้ท้อง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. ข่ายบนหลัง ๓ ข่าย คือ ข่ายแก้วมุกดา ข่ายแก้วมณี ข่ายทองคำ มีค่า ๓๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับหูทั้งสองข้าง มีค่า ๒๐๐,๐๐๐. ผ้ากัมพลที่ลาดบนหลัง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับกระพอง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐ พวงมาลัย ๓ พวง มีค่า ๓๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับปลายหู มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับงาทั้งสองข้าง มีค่า ๒๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับตาบทาบที่งวง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. เครื่องประดับหาง มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. บันไดพาด มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. ภาชนะใส่อาหาร มีค่า ๑๐๐,๐๐๐. ของประมาณเท่านี้มีค่าสองล้านสี่แสนนอกจากของที่หาค่ามิได้. ของหาค่ามิได้ ๖ อย่างเหล่านี้คือ แก้วมณีที่พุ่มฉัตร ๑ จุฬามณี ๑ แก้วมุกดาหาร ๑ แก้วมณีที่ขอ ๑ แก้วมุกดาหารที่สวมคอคชสาร ๑ แก้วมณีที่กระพอง ๑ แม้ช้างก็หาค่ามิได้เหมือนกัน รวมของหาค่ามิได้ ๗ อย่างกับช้าง. พระโพธิสัตว์ได้พระราชทานของทั้งหมดเหล่านั้นแก่พราหมณ์ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 177
หลาย อนึ่ง ได้พระราชทานตระกูลบำรุงช้าง ๕๐๐ ตระกูลพร้อมด้วยควานช้าง และคนเลี้ยงช้าง. อนึ่ง พร้อมกับพระราชทานได้เกิดอัศจรรย์มีแผ่นดินไหว เป็นต้น. โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เมื่อเราได้ให้พระยาคชสารอันอุดมเผือกผ่องอีก แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน เขาสิเนรุราช และป่าก็ได้หวั่นไหว.
ในเมื่อเราให้คชสารอันประเสริฐ ความน่ากลัว ความสยดสยองพองขนได้เกิดขึ้น แผ่นดินก็หวั่นไหว.
บทว่า ตสฺส นาคสฺส ทาเนน เพราะให้คชสารนั้นคือเพราะ บริจาคมงคลหัตถีนั้น พร้อมด้วยสิ่งของเครื่องประดับมีค่าสองล้านสี่แสนกับของอันหาค่ามิได้อีก ๖ อย่าง.
บทว่า สิวโย คือ สีพีราชกุมารทั้งหลาย และชาวแคว้นสีพี. อนึ่งบทว่า สิวโย นี้เป็นหัวข้อเทศนา. เพราะเหล่าอำมาตย์ ชุมชน พราหมณ์ คหบดี ชาวนิคม ชาวชนบท ชาวเมือง ชาวแคว้นทั้งสิ้น ทั้งหมด ยกเว้นพระสญชัยมหาราช พระนางผุสดี และพระนางมัทรี ชื่อว่า ชาวสีพีในบทว่า สิวโย นั้น.
บทว่า กุทฺธา พากันโกรธเคือง คือโกรธเคืองพระโพธิสัตว์ด้วยเทวดาดลใจ.
บทว่า สมาคตา คือประชุมกัน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 178
นัยว่าพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นได้คชสารแล้วก็ขึ้นคชสารนั้นเข้าไป ทางประตูใหญ่ พากันดื่มถวายพระพร ณ ท่ามกลางพระนคร. อนึ่ง เมื่อมหาชนพูดกันว่า พราหมณ์ผู้เจริญ ท่านขี่ช้างของเรามาจากไหน พราหมณ์ทั้งหลายบอกว่า พระเวสสันดรมหาราช พระราชทานแก่พวกเรา พวกท่านเป็นใคร แล้วโบกมือไล่ พากันเดินทางต่อไป.
ลำดับนั้นมหาชนมีพวกอำมาตย์เป็นต้น พากันมาประชุมที่ประตู พระราชวังกล่าวโทษว่า พระราชาควรพระราชทานทรัพย์ ข้าวเปลือก นา ไร่สวน หรือทาสหญิงชายและนางกำนัลแก่พวกพราหมณ์. พระเวสสันดรมหาราชพระราชทานมงคลหัตถีอันเป็นช้างพระที่นั่งนี้ไปได้อย่างไร. บัดนี้ พวกเราจักไม่ให้ราชสมบัติต้องพินาศไปอย่างนี้ จึงกราบทูลความนั้นแด่พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราช พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงเห็นด้วยตามคำแนะนำ รับจะทำตาม แล้วก็พากันกลับไป. แต่พวกพราหมณ์ยังได้กราบทูลว่า :-
พระองค์อย่าฆ่าพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อนไม้ หรือศัสตราเลยพระเวสสันดรนั้นไม่ควรแก่เครื่องพันธนาการเลย แต่ขอพระองค์ จงขับไล่พระเวสสันดรออกจากแว่นแคว้นไปอยู่ ณ เขาวงกตเถิด พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 179
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปพฺพาเชสุํ สกา รฏฺา, วงฺกํ คจฺฉตุ ปพฺพตํ ชาวกรุงสีพีประชุมกันขับไล่เราจากแคว้นของตนว่า จงไปยังเขาวงกต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพาเชสุํ พากันขับไล่ คือได้ทำความพยายามเพื่อให้ไปอยู่ภายนอกจากราชสมบัติ.
แม้พระราชาก็ทรงดำริว่า นี้เป็นปฏิปักษ์ใหญ่หลวงนัก เอาเถิดโอรสของเราจงอยู่ภายนอกราชสมบัติสักเล็กน้อยก่อน แล้วตรัสว่า :-
หากชาวเมืองสีพีมีความพอใจเช่นนั้น เราก็ไม่ขัดความพอใจ แต่ขอให้โอรสของเราอยู่บริโภคกามทั้งหลายตลอดคืนนี้ก่อน จากนั้นเมื่อสิ้นราตรี พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวเมืองสีพีจงพร้อมใจกันขับไล่ เธอจงออกจากแว่นแคว้นเถิด.
แล้วส่งนักการไปยังสำนักของพระโอรสด้วยพระดำรัสว่า เจ้าจงบอกข่าวนี้แก่โอรสของเรา.
แม้พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสถามถึงเหตุผลว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 180
ดูก่อนนักการ ชาวกรุงสีพีพากันโกรธเราในเพราะเรื่องอะไร เรายังไม่เห็นความชั่วของเรา ท่านจงบอกความชั่วนั้นแก่เรา เพราะเหตุไรจึงพากันขับไล่เรา.
เมื่อนักการกราบทูลว่า เพราะพระองค์พระราชทานคชสาร พระเจ้าข้า พระเวสสันดรทรงมีความโสมนัสยิ่งนัก ตรัสว่า :-
เราจะให้หทัย ให้จักษุ เงินทอง แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ และแก้วมณี เป็นเพียงทรัพย์ภายนอกของเรา จะเป็นอะไร.
เมื่อยาจกมาถึงแล้ว เห็นยาจกแล้ว จะให้แขนขวาซ้าย เราไม่หวั่นไหว เพราะใจของเรายินดีในทาน.
ชาวกรุงสีพีทั้งปวงจงขับไล่ หรือจงฆ่าเราก็ตาม หรือจงตัดเราเป็น ๗ ท่อนก็ตามเถิด เราจักงดการให้ทานเสียมิได้เลย.
แล้วมีพระดำรัสต่อไปว่า ชาวเมืองทั้งหลายจงให้โอกาสแก่เรา เพื่อให้ทานสักวันหนึ่งเถิด พรุ่งนี้เราให้ทานแล้วในวันที่ ๓ จักไป แล้วทรงส่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 181
นักการไปยังสำนักของพวกพราหมณ์ รับสั่งกะอำมาตย์ผู้ดูแลราชกิจทั้งปวงว่า. พรุ่งนี้เราจักให้สัตตสดกมหาทาน (การให้ทานครั้งใหญ่อย่างละ ๗๐๐) คือช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ รถ ๗๐๐ หญิง ๗๐๐ โคนม ๗๐๐ ทาสชาย ๗๐๐ ทาสหญิง ๗๐๐. ท่านจงเตรียมไว้. จงจัดตั้งข้าวและน้ำเป็นต้นหลายๆ อย่าง อันเป็นของควรให้ทั้งหมด แล้วพระองค์องค์เดียวเท่านั้นเสด็จไปยังที่ประทับของพระนางมัทรี แล้วตรัสว่า ดูก่อนแม่มัทรี น้องเมื่อจะฝังทรัพย์อันจะติดตามไป พึงให้ในผู้มีศีลทั้งหลาย แล้วทรงชักชวนพระนางมัทรีในการบริจาคทาน ทรงแจ้งถึงเหตุที่พระองค์จะเสด็จไปให้พระนางทรงทราบแล้ว ตรัสว่า พี่จักไปอยู่ป่า ขอให้น้องจงอยู่ในพระนครนี้เถิด อย่าติดตามไปเลย. พระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่พระราชสวามี หม่อมฉันเว้นพระองค์เสียแล้วจักขออยู่แม้วันเดียว.
ในวันที่สอง พระเวสสันดรทรงบริจาคสัตตสดกมหาทาน. เมื่อพระเวสสันดรทรงบริจาคสัตตสดกมหาทานนั่นเองก็ถึงเวลาเย็น. พระองค์เสด็จโดยรถที่ตกแต่งแล้วไปเฝ้าพระมารดาพระบิดา ทูลลาพระมารดาพระบิดาว่า พรุ่งนี้ลูกจักไป เมื่อพระมารดาพระบิดาไม่ทรงประสงค์ ทรงพระกันแสงมีน้ำพระเนตรนองพระพักตร์ พระเวสสันดรถวายบังคมแล้วกระทำประทักษิณ เสด็จออกจากที่นั้น ในวันนั้นพระองค์ประทับอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ วันรุ่งขึ้นทรงดำริว่า เราจักไปละ จึงเสด็จลงจากปราสาท. พระนางมัทรีแม้พระสัสสุ (แม่ผัว) พระสัสสุระ (พ่อผัว) ขอร้องโดยนัยต่างๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 182
ให้กลับ ก็มิได้ทรงเชื่อฟังพระดำรัสของพระสัสสุและพระสัสสุระ ถวายบังคม แล้วทรงกระทำประทักษิณ ทรงอำลาบรรดาสตรีที่เหลือ พาพระโอรสและธิดาทั้งสองเสด็จไปหาพระเวสสันดรก่อนประทับยืนอยู่บนรถ.
พระมหาบุรุษเสด็จขึ้นรถประทับยืนบนรถทรงอำลามหาชน ทรง ประทานโอวาทแก่มหาชนว่า พวกท่านจงอย่าประมาทกระทำบุญมีทานเป็นต้น แล้วเสด็จออกจากพระนคร. พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า โอรสของเราปลาบปลื้มอยู่กับการให้ทาน จงให้ทานเถิด จึงทรงส่งเกวียนเต็มไปด้วยรตนะ ๗ ประการพร้อมด้วยเครื่องอาภรณ์ไปทั้งสองข้าง. พระมหาบุรุษพระราชทานเครื่องประดับที่ติดไปกับพระวรกายของพระองค์แก่ยาจกที่เข้าไปขอถึง ๑๘ ครั้ง ได้พระราชทานสิ่งที่เหลือจนหมด. พระองค์เสด็จออกจากพระนคร ได้มีพระประสงค์จะเหลียวทอดพระเนตรพระนคร. ทันใดนั้น ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ มหาปฐพีในที่ชั่วคันรถได้แยกหมุนกลับทำรถให้บ่ายหน้าไปยังพระนคร. พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรที่ประทับของพระชนกชนนี. ด้วยพระมหากรุณานั้นมหาปฐพีก็ได้ไหว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เตสํ นิจฺฉุภมานานํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น. บทว่า นิจฺฉุภมานานํ คือเมื่อชาวกรุงสีพีเหล่านั้น คร่าออกไป คือขับไล่. หรือเมื่อกษัตริย์เหล่านั้นเสด็จออกไป.
บทว่า มหาทานํ ปวตฺเตตุํ คือเพื่อบริจาคสัตตสดกมหาทาน.
บทว่า อยาจิสฺสํ คือ เราได้ขอแล้ว.
บทว่า สาวยิตฺวา คือประกาศ.
บทว่า กณฺณเภรึ คือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 183
กลองใหญ่คู่หนึ่ง.
บทว่า ททามหํ คือเราให้มหาทาน.
บทว่า อเถตฺถ ในโรงทานนี้ คือเมื่อเราให้ทานในโรงทานนี้.
บทว่า ตุมูโล คือเสียงดังกึกก้องอึงมี่.
บทว่า เภรโว คือน่ากลัว. จริงอยู่เสียงนั้นทำให้คนอื่นกลัว เว้นพระมหาสัตว์. เพื่อทรงแสดงอาการที่เสียงนั้นให้เกิดความกลัวจึงตรัสว่า ทาเนนิมํ ดังนี้ ความว่า ชาวกรุงสีพีพากันขับไล่พระเวสสันดรมหาราชนี้ออกจากแว่นแคว้น เพราะเหตุการให้. แม้กระนั้นพระเวสสันดรมหาราชนี้ก็ยังให้ทานเช่นนั้นอยู่อีก.
บัดนี้เพื่อทรงแสดงทานนั้น จึงตรัสคาถาว่า หตฺถึ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ควํ คือแม่โคนม.
บทว่า จตฺวาหึ รถํ ทตฺวา เราให้ม้าสินธพ ๔ ตัวและรถ คือม้าชื่อว่า วาหิน เพราะนำไป อธิบายว่า ให้ม้าสินธพอาชาไนย ๔ ตัว และรถแก่พวกพราหมณ์.
จริงอยู่พระมหาสัตว์ เมื่อเสด็จออกจากพระนครอย่างนั้น ทรงให้ อำมาตย์ ๖๐,๐๐๐ และชนที่เหลือซึ่งมีหน้านองด้วยน้ำตา ติดตามไปกลับ ทรงขับรถไปด้วยพระองค์เอง ตรัสกะพระนางมัทรีว่า นี่แน่ะน้อง หากมียาจกตามมาข้างหลัง. น้องคอยดูด้วย. พระนางมัทรีประทับนั่งดูอยู่. ลำดับนั้น พราหมณ์ ๔ คนไม่อาจมาทันรับสัตตสดกมหาทานของพระองค์ และทานที่พระองค์ทรงบริจาคในขณะเสด็จได้จึงพากันเดินทางมาถามว่า พระเวสสันดรประทับอยู่ที่ไหน เมื่อเขาตอบว่า พระองค์ทรงให้ทานเสด็จโดยรถกลับไปแล้ว จึงคิดว่า เราจักขอม้า จึงติดตามไป. พระนางมัทรีทรงเห็นพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 184
เหล่านั้นเดินมา จึงกราบทูลว่า ยาจกมาแล้ว พระเจ้าพี่. พระมหาสัตว์ทรงจอดรถ. พวกพราหมณ์เหล่านั้นจึงกราบทูลขอม้า. พระมหาสัตว์ทรงให้ม้า. พวกพราหมณ์รับม้าแล้วก็พากันกลับ. ก็เมื่อพระราชทานม้าแล้ว แอกรถก็ตั้งอยู่บนอากาศนั่นเอง. ลำดับนั้นเทพบุตร ๔ องค์มาด้วยเพศของละมั่งรับแอกรถไว้แล้วลากไป. พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า ละมั่งนั้นเป็นเทพบุตร จึงตรัสกะพระนางมัทรีว่า :-
ดูก่อนแม่มัทรี เชิญดูเถิด เนื้อละมั่งปรากฏรูปร่างงดงาม เหมือนม้าที่ชำนาญพาเราไป
ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตรูปํว มีรูปน่าอัศจรรย์.
บทว่า ทกฺขิณสฺสา คือเหมือนม้าที่ชำนาญพาเราไป.
ครั้งนั้นพราหมณ์อีกคนหนึ่งมาทูลขอรถที่กำลังแล่นอยู่นั้น. พระมหาสัตว์ทรงให้โอรสและมเหสีลง พระราชทานรถ. เมื่อพระราชทานรถแล้ว เทพบุตรก็หายไป. ตั้งแต่นั้นกษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ก็ทรงดำเนินด้วยพระบาท.
ลำดับนั้นพระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนแม่มัทรี น้องอุ้มกัณหา พี่จะ อุ้มพ่อชาลี ทั้งสองพระองค์ก็เอาพระกุมารกุมารีทั้งสองเข้าเอวไป ทรงสนทนาปราศรัยเป็นที่รักซึ่งกันและกัน. ตรัสถามทางที่จะไปเขาวงกตกะพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 185
มนุษย์ที่เดินสวนทางมา. เมื่อต้นไม้ผลโน้มลงมาเอง ก็เก็บผลไม้ให้พระโอรสและธิดา เพราะเทวดาผู้ใคร่ประโยชน์ย่อทางให้ จึงบรรลุถึงเจตรัฐในวันนั้นนั่นเอง. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จตฺวาหึ รถํ ทตฺวา เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวา จาตุมฺมหาปเถ ยืนอยู่ที่ทางใหญ่ แยก ความว่า ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง เพราะทางที่ตนมาและทางที่พราหมณ์นั้นมาทะลุบรรจบกัน แล้วให้รถแก่พราหมณ์นั้น.
บทว่า เอกากิโย คือ ผู้เดียวไม่มี เพราะไม่มีเพื่อน มีอำมาตย์และเสวกเป็นต้น. ดังที่ท่านกล่าวว่า อทุติโย ไม่มีเพื่อน.
บทว่า มทฺทิเทวึ อิทมพฺรวิ คือได้กล่าวกะพระนางมัทรีเทวีดังนี้.
บทว่า ปทุมํ ปุณฺฑรีกํ ว ดุจดอกประทุมและดุจบัวขาว
บทว่า กณฺหาชินคฺคาหี พระนางมัทรีทรงอุ้มแก้วกัณหา.
บทว่า อภิชาตา คือสมบูรณ์ด้วยชาติ.
บทว่า วิสมํ สมํ คือภูมิประเทศขรุขระและเรียบ
บทว่า เอนฺติ คือมา.
บทว่า อนุมคฺเค ปฏิปฺปเถ คือเดินตามมาก็ดี สวนทางก็ดี. พึงเห็นว่าลบ วา ศัพท์เสีย.
บทว่า กรุณํ คือสงสาร. อธิบายว่า คือความเป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา.
บทว่า ทุกฺขํ เต ปฏิเวเทนฺติ กษัตริย์เหล่านั้นคงได้เสวยทุกข์อย่างยิ่ง คือกษัตริย์เหล่านี้เป็นสุขุมาลชาติ ทรงดำเนินด้วยพระบาทอย่างนี้ เขาวงกตจากนี้ยังอีกไกล เพราะเหตุนั้นกษัตริย์เหล่านั้น ตนเองได้รับทุกข์เพราะความสงสารในพวกเราในครั้งนั้น. หรือเสวยทุกข์อันเกิดขึ้นแก่ตน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 186
บทว่า ปวเน คือในป่าใหญ่.
บทว่า ผลิเน คือมีผล.
บทว่า อุพฺพิทฺธา คือสูงมาก.
บทว่า อุปคจฺฉนฺติ ทารเก ความว่า ต้นไม้ทั้งหลายโน้มกิ่งเข้าหาพระกุมารกุมารีเอง โดยที่พระกุมารกุมารีเอื้อมพระหัตถ์จับดึง.
บทว่า อจฺฉริยํ คือประกอบด้วยความอัศจรรย์ คือควรแก่ปรบมือให้. ชื่อว่า อพฺภูตํ เพราะไม่เคยมีมาก่อน. ชื่อว่า โลมหํสนํ เพราะสามารถทำให้ขนลุกขนพอง.
บทว่า สาหุการํ คือสาธุการ. ชื่อว่า สพฺพงฺคโสภณา เพราะมีอวัยวะทั้งหมดงดงาม.
บทว่า อจฺเฉรํ วต คือน่าอัศจรรย์.
บทว่า เวสฺสนฺตรสฺส เตเชน คือด้วยบุญญานุภาพของพระเวสสันดร.
บทว่า สงฺขิปึสุ ปถํ ยกฺขา ทวยเทพย่นทางให้ คือทวยเทพอันบุญเดชของพระโพธิสัตว์กระตุ้นจึงย่นทางให้ คือทำให้สั้น. ทำดุจกรุณาในพระกุมารกุมารี ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนุกมฺปาย ทารเก คือด้วยความเอ็นดูในพระกุมารกุมารี. เพราะภูเขาชื่อว่า สุวรรณคิริตาละ จากกรุงเชตุดร ๕ โยชน์. แม่น้ำชื่อว่า โกนติมารา จากภูเขานั้น ๕ โยชน์. ภูเขาชื่อว่า มารัญชนาคีรี จากแม่น้ำนั้น ๕ โยชน์. บ้านทัณฑพราหมณคาม จากภูเขา นั้น ๕ โยชน์. มาตุลนครจากบ้านทัณฑพราหมณคามนั้น ๑๐ โยชน์. รวม ๓๐ โยชน์ จากกรุงเชตุดรถึงแคว้นนั้น. ทวยเทพอันบุญเดชของพระโพธิสัตว์กระตุ้นจึงย่นทางให้. กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์จึงล่วงพ้นที่ทั้งหมดนั้นเพียงวันเดียวเท่านั้น. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นิกฺขนฺตทิวเสเยว เจตรฏฺมุปาคมุํ ในวันที่เราออกจากกรุงสีพีนั้นเอง เราทั้ง ๔ ได้ไปถึง เจตรัฐ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 187
พระมหาสัตว์เสด็จถึงมาตุลนคร แคว้นเจตรัฐในตอนเย็น ประทับนั่งในศาลาใกล้ประตูพระนครนั้น. ลำดับนั้นพระนางมัทรีทรงเช็ดธุลีที่พระบาทของพระมหาสัตว์แล้วทรงนวดพระบาท ทรงดำริว่า เราจักให้ชนทั้งหลายรู้ว่า พระเวสสันดรเสด็จมา จึงเสด็จออกจากศาลา ประทับยืนที่ประตูศาลา พอที่พระเวสสันดรจะทรงเห็น. บรรดาสตรีที่เข้าออกพระนคร เห็นพระนางมัทรี จึงพากันแวดล้อม.
มหาชนเห็นพระนางมัทรี พระเวสสันดร และพระโอรสเสด็จมาอย่างนั้น จึงไปกราบทูลพระราชา. พระราชา ๖๐,๐๐๐ ทรงกันแสงร่ำไร พากันไปเฝ้าพระเวสสันดร บรรเทาความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง แล้วจึงทูลถามถึงเหตุที่เสด็จมาอย่างนั้น.
พระมหาสัตว์ตรัสเล่าเรื่องทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระราชทานคชสาร. พระราชาเหล่านั้นได้สดับดังนั้นแล้ว จึงปรึกษากันมอบราชสมบัติแก่พระองค์. พระมหาบุรุษตรัสว่า การที่เราจะรับราชสมบัติของพวกท่านยกไว้ก่อนเถิด. พระราชาขับไล่เราออกจากแว่นแคว้น. เพราะฉะนั้นเราจักไปเขาวงกต แม้พระราชาเหล่านั้นทูลวิงวอนให้ประทับอยู่ ณ เจตรัฐนั้นมีประการต่างๆ ก็มิได้ทรงพอพระทัยจะรับ ทรงขอร้องให้พระราชาเหล่านั้นจัดอารักขา ประทับอยู่ ณ ศาลานั้น ตลอดราตรี รุ่งขึ้นแต่เช้าตรู่ เสวยพระกระยาหารมีรสเลิศต่างๆ แล้วแวดล้อมด้วยพระราชาเหล่านั้น เสด็จออกไปสิ้นทาง ๑๕ โยชน์ ประทับ ณ ประตูป่า รับสั่งให้พระราชาเหล่านั้นกลับ ได้เสด็จไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 188
ตามทางที่พระราชาเหล่านั้นทูล สิ้นหนทาง ๑๕ โยชน์ข้างหน้า. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ในกาลนั้นพระราชา ๖๐,๐๐๐ องค์ อยู่ในมาตุลนคร ต่างก็ประนมกรพากันร้องไห้มาหา เราเจรจาปราศรัยกับโอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านี้อยู่ ณ ที่นั้น ให้โอรสของพระเจ้าเจตราชเหล่านั้นกลับที่ประตูนั้นแล้ว ได้ไปยังเขาวงกต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ วตฺเตตฺวา สลฺลาปํ คือเจรจาปราศรัยด้วยคำให้เกิดความเบิกบานกับพระราชาที่มาประชุมกัน ณ ที่นั้น.
บทว่า เจตปุตฺเตหิ คือโอรสของพระราชาเจตราช.
บทว่า เต ตโต นิกฺขมิตฺวาน คือให้พระราชาเหล่านั้นกลับที่ประตู ประตูป่านั้น.
บทว่า วงฺกํ อคมุ ปพฺพตํ เรา ๔ คน ได้มุ่งไปเขาวงกต.
ลำดับนั้นพระมหาสัตว์เสด็จไปตามทางที่พระเจตราชทูล เสด็จถึงภูเขาคันธมาทน์ ทรงเห็นภูเขานั้น ประทับอยู่ ณ ที่นั้น จากนั้นทรงมุ่งพระพักตร์ตรงไปยังทิศอุดร เสด็จไปถึงเชิงเขาเวปุลลบรรพตประทับนั่ง ณ ฝั่งแม่น้ำเกตุมดี เสวยน้ำผึ้งและเนื้อที่พรานป่าถวาย พระราชทานเข็มทองคำแก่พรานป่า ทรงสรงสนาน ทรงดื่มระงับความกระวนกระวาย เสด็จออก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 189
จากฝั่งน้ำไปประทับนั่งพักผ่อน ณ โคนต้นไทร ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ยอดสานุบรรพต เสด็จลุกไปทรงบริหารพระวรกาย ณ นาลิกบรรพต เสด็จไปยังสระมุจลินท์ เสด็จถึงปลายทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางฝั่งของสระ เสด็จเข้าไปยังช่องป่า โดยทางเดินทางเดียวเท่านั้น เลยช่องป่าไปถึงสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยม ข้างหน้าน้ำพุ เป็นภูเขาเข้าไปลำบาก.
ขณะนั้นท้าวสักกะทรงรำพึงว่า พระมหาสัตว์เสด็จเข้าไปยังหิมวันตประเทศ ควรจะได้ที่ประทับ จึงทรงส่งวิษณุกรรมเทพบุตรไป มีเทวบัญชาว่า ท่านจงไปสร้างอาศรมบท ณ ที่รื่นรมย์ในหลืบภูเขาวงกต. วิษณุกรรมเทพบุตรรับเทวบัญชาแล้ว จึงไปสร้างบรรณศาลาสองหลัง ที่จงกรมสองที่ ที่พักกลางคืนและกลางวันสองแห่ง ปลูกไม้ดอกมีดอกสวยงามต่างๆ ไม้ผล กอดอกไม้ และสวนกล้วยเป็นต้น ณ ที่นั้นๆ แล้วมอบบริขารบรรพชิตทั้งหมดให้ จารึกอักษรไว้ว่า ผู้ที่ประสงค์จะบรรพชา จงถือเอาเถิด แล้วมิให้อมนุษย์ เนื้อและนกที่มีเสียงน่ากลัวรบกวน เสร็จแล้วกลับไปยังที่ของตน.
พระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นทางเดินทางเดียวทรงดำริว่า คงจักเป็นที่อยู่ของนักบวช จึงให้พระนางมัทรี พระโอรสและธิดาประทับอยู่ ณ ที่นั้น เสด็จเข้าสู่อาศรมบท ทอดพระเนตรเห็นอักษร ทรงดำริว่า ท้าวสักกะทรงประทาน จึงทรงเปิดประตูบรรณศาลาเสด็จเข้าไป เอาพระขรรค์และธนูออก เปลื้องผ้าสาฎก ทรงถือเพศฤาษี ถือไม้เท้าเสด็จออกไปหาพระกุมารกุมารี ด้วยความสงบเช่นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 190
แม้พระนางมัทรีเทวีทรงเห็นพระมหาสัตว์ก็ทรงหมอบแทบพระบาท ทรงกันแสงเสด็จเข้าอาศรมกับพระมหาสัตว์ แล้วเสด็จไปยังบรรณศาลาของพระนาง ทรงถือเพศเป็นฤาษี. ภายหลังทรงให้พระกุมารกุมารีเป็นดาบสกุมาร.
พระโพธิสัตว์ทรงขอพรพระนางมัทรีว่า ตั้งแต่นี้ไปเราเป็นนักบวช แล้ว. ธรรมดาสตรีย่อมเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์. บัดนี้เธออย่ามาหาเราในกาลอันไม่สมควรเลย. พระนางรับว่าดีแล้ว พระเจ้าข้า แล้วขอพรพระมหาสัตว์บ้างว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์ทรงแลดูโอรสธิดาอยู่ ณ บรรณศาลานี้เถิด หม่อมฉันจักแสวงหาผลาผลมาถวาย. ตั้งแต่นั้นพระนางมัทรีก็ทรงนำผลาผลมาแต่ป่า ทรงปรนนิบัติชนทั้ง ๓. กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ ณ หลืบภูเขาวงกตประมาณ ๗ เดือน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อามนฺตยิตฺวา เทวินฺโท วิสฺสกมฺมํ มหิทฺธิกํ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกวิษณุกรรมเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มากมาดังนี้เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อามนฺตยิตฺวา คือตรัสเรียก.
บทว่า มหิทฺธิกํ คือผู้ประกอบด้วยฤทธิ์มาก.
บทว่า อสฺสมํ สุกตํ คือให้สร้างอาศรมบทให้ดี. ความว่า บรรณศาลาอันสมควรเป็นที่ประทับของพระเวสสันดรน่ารื่นรมย์.
บทว่า สุมาปุยา คือให้สร้างให้ดี.
บทว่า อาณาเปสิ เป็นคำ ที่เหลือ.
บทว่า สุมาปยิ คือให้สร้างโดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 191
บทว่า อสุญฺโ คืออาศรมนั้นไม่ว่างฉันใด เราเป็นผู้ไม่ว่างเพราะ ทำอาศรมนั้นไม่ให้ว่าง. ปาฐะว่า อสุญฺเ คือเรารักษาเด็กทั้งสองคนอยู่ในอาศรมอันไม่ว่าง ด้วยการอยู่ของเรา คือเราตั้งอยู่ในอาศรมนั้น. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระโพธิสัตว์ แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งปวงก็ได้เมตตาในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ.
เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ ณ เขาวงกตนั้น พราหมณ์ ชูชก ชาวเมืองกลิงครัฐ เมื่อภรรยาชื่อว่าอมิตตตาปนาพูดว่า เราไม่สามารถจะทำการซ้อมข้าว ตักน้ำ หุงข้าวยาคู และข้าวสวยแก่ท่านได้เป็นนิจ. ท่านจงนำทาสชายหรือทาสหญิงมารับใช้เราเถิด ชูชกกล่าวว่า น้องเอ๋ย เราหรือก็ยากจน จะได้ทาสชายหรือทาสหญิงแต่ไหนมาให้น้องได้เล่า. เมื่อนางอมิตตตาปนาบอกว่า ก็พระราชาเวสสันดรนั่นอย่างไรเล่า พระองค์ประทับอยู่ที่เขาวงกต ท่านจงขอพระโอรสธิดาของพระองค์มาให้เป็นคนรับใช้เราเถิด ชูชกไม่อาจละเลยถ้อยคำของนางได้ เพราะว่าที่มีใจผูกพันนางด้วยอำนาจกิเลส จึงให้นางเตรียมเสบียง เดินทางถึงกรุงเชตุดรโดยลำดับ แล้ว ถามว่า พระเวสสันดรมหาราชอยู่ที่ไหน.
มหาชนต่างเกรี้ยวกราดว่า พระราชาของพวกเรา เพราะทรงให้ทานยาจกพวกนี้ จึงต้องถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้น. อีตาพราหมณ์เฒ่าผู้นี้ทำให้พระราชาของพวกเราได้รับความพินาศ แล้วยังมีหน้ามาถึงที่นี้อีก ต่างถือก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ด่าว่าติดตามพราหมณ์ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 192
พราหมณ์ชูชกนั้นเทวดาดลใจออกจากกรุงเชตุดร แล้วเดินตรงไปยังทางที่จะไปเขาวงกต ถึงประตูป่าโดยลำดับ หยั่งลงสู่ป่าใหญ่ หลงทางเที่ยวไป เตลิดไปพบกับเจตบุตรซึ่งพระราชาเหล่านั้นทรงตั้งไว้เพื่ออารักขาพระโพธิสัตว์. เจตบุตรถามว่า จะไปไหนพราหมณ์. ชูชกบอกว่า จะไปหาพระเวสสันดรมหาราช. เจตบุตรคิดว่า อีตาพราหมณ์นี้น่าจะไปทูลขอพระโอรสธิดาหรือพระเทวีของพระเวสสันดรเป็นแน่ จึงขู่ตะคอกว่า พราหมณ์ ท่านอย่าไปที่นั้นนะ. หากไปเราจะตัดหัวท่านเสียที่นี่แหละ แล้วให้สุนัขของเรากิน ชูชกถูกขู่ก็กลัวตายจึงกล่าวเท็จว่า พระชนกของพระเวสสันดรส่งเราเป็นทูต มาด้วยหมายใจว่าจักนำพระเวสสันดรกลับพระนคร
เจตบุตรได้ฟังดังนั้นก็ร่าเริงยินดี แสดงความเคารพนับถือพราหมณ์ จึงบอกทางไปเขาวงคตให้แก่พราหมณ์. พราหมณ์เดินทางออกจากที่นั้น ในระหว่างทาง ได้พบกับอัจจุตดาบสจึงถามถึงหนทาง เมื่ออัจจุตดาบสบอกหนทางให้ จึงเดินไปตามทางตามเครื่องหมายที่อัจจุตดาบสบอก ถึงที่ตั้งอาศรมบทของพระโพธิสัตว์โดยลำดับ จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ในเวลาที่พระนางมัทรีเทวีไปหาผลไม้ แล้วทูลขอพระกุมารกุมารีทั้งสอง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เมื่อเราอยู่ในป่าใหญ่ ชูชกพราหมณ์เดินเข้ามาหาเรา ได้ขอบุตรทั้งสองของเรา คือ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 193
เมื่อพราหมณ์ทูลขอพระกุมารกุมารีอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ทรงเกิดโสมนัสด้วยพระประสงค์ว่า นานแล้วยาจกมิได้มาหาเรา วันนี้เราจักบำเพ็ญทานบารมีโดยไม่ให้เหลือ ทรงยังจิตของพราหมณ์ให้ยินดีดุจวางถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ลงบนมือที่เหยียดออก และยังหลืบเขานั้นทั้งสิ้นให้บรรลือ ตรัสว่า เราให้ลูกทั้งสองของเราแก่ท่าน. ส่วนพระนางมัทรีเทวีไปป่าเพื่อหาผลาผลแต่เช้าตรู่ จักกลับก็ตอนเย็น. อนึ่งเมื่อนางมัทรีกลับ ท่านจงแสดงลูกทั้งสองนั้นจงดื่มเคี้ยวรากไม้และผลาผล อยู่ค้างสักคืนหนึ่ง พอหายเมื่อย เช้าตรู่จึงค่อยไป. พราหมณ์คิดว่า พระเวสสันดรนี้พระราชทานพระกุมารกุมารี เพราะมีพระอัธยาศัยกว้างขวางแท้ แต่พระนางมัทรีพระมารดามีความรักบุตร กลับมาจะพึงทำอันตรายแก่ทานได้. ถ้ากระไรเราจะทูลแค่นไค้พระเวสสันดรนี้แล้ว พาโอรสทั้งสองไปวันนี้ให้จงได้ จึงกราบทูลว่า หากพระองค์พระราชทานพระโอรสทั้งสองแก่ข้าพระองค์แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะแสดงกะพระมัทรีแล้วจึงส่งไป. ข้าพระองค์จักขอพาโอรสทั้งสองไปในวันนี้แหละ พระเจ้าข้า. พระเวสสันดรตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ หากท่านไม่ปรารถนาจะเห็นพระนางมัทรีราชบุตรี. ท่านจงพาทารกทั้งสองนี้ไปยังกรุงเชตุดร. ณ ที่นั้น พระสญชัยมหาราชจักรับทารกทั้งสอง แล้วพระราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่ท่าน. ท่านจักมีทาสหญิงทาสชายได้ด้วยทรัพย์นั้น และท่านก็จะมีชีวิตอยู่อย่างสบาย. อีกประการหนึ่งทารกทั้งสองนี้ก็เป็นสุขุมาลชาติ เธอทั้งสองนั้นจักปรนนิบัติท่านได้อย่างไรเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 194
พราหมณ์ทูลว่า ข้าพระองค์มิอาจจะทำอย่างนั้นได้ ข้าพระองค์เกรงพระราชอาญา. ข้าพระองค์จักนำไปบ้านของข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า. ทารกทั้งสองได้สดับการสนทนาของพระบิดาและพราหมณ์ คิดว่า พระบิดามีพระประสงค์จะพระราชทานเราทั้งสองแก่พราหมณ์ จึงเลี่ยงไปยังสระโบกขรณี แอบที่กอปทุม. พราหมณ์ไม่เห็นพระกุมารกุมารี จึงทูลว่า พระองค์ตรัสว่าจะพระราชทานทารกทั้งสอง แล้วให้ทารกทั้งสองหนีไป แล้วจึงทูลต่อว่าว่า นั่นเป็นอุบายวิธีที่ดีงามของพระองค์.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงรีบลุกขึ้นเที่ยวตามหาพระกุมารกุมารี ทรงเห็นทั้งสองแอบอยู่ที่กอปทุมจึงตรัสว่า ลูกรักทั้งสอง จงขึ้นมาเถิด. ลูกทั้งสองอย่าได้ทำอันตรายแก่ทานบารมีของพ่อเลย. จงให้อัธยาศัยในทานของพ่อถึงที่สุดเถิด. อนึ่ง พราหมณ์ผู้นี้พาลูกทั้งสองไป แล้วก็จักไปหาพระเจ้าสญชัยมหาราชซึ่งเป็นพระอัยกาของลูก. พ่อชาลีลูกรัก ลูกต้องการจะเป็นไทก็พึงให้ทอง ๑,๐๐๐ แท่ง แก่พราหมณ์แล้วก็จะได้เป็นไท. ดูก่อน แม่กัณหาชินาลูกรัก ลูกควรให้สิ่งละ ๑๐๐ คือทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ โคอุสภะ ๑๐๐ ทองคำ ๑๐๐ แท่ง แล้วลูกก็จะพึงเป็นไท ทรงตีราคาค่าตัวลูกทั้งสองดังนี้ แล้วทรงปลอบพากลับไปยังอาศรมบท เอาคนโทใส่น้ำแล้วหลั่งน้ำลงในมือของพราหมณ์ ทำให้เป็นปัจจัยแห่ง พระสัพพัญญุตญาณ ทรงเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ยังมหาปฐพีให้บรรลือกัมปนาท ได้พระราชทานบุตรเป็นที่รัก. แม้ในจริยานี้ก็ได้มีแผ่นดินไหว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 195
เป็นต้นโดยนัยดังกล่าวแล้วในจริยาก่อน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ว่า :-
เพราะได้เห็นยาจกเข้ามาหา ความร่าเริงเกิดขึ้นแก่เรา ในกาลนั้นเราได้พาบุตรทั้งสองมาให้แก่พราหมณ์ เมื่อเราสละบุตรทั้งสองของตนให้แก่ชูชกพราหมณ์ในกาลใด แม้ในกาลนั้น แผ่นดิน ภูเขาสิเนรุราชก็หวั่นไหว.
ครั้งนั้น พราหมณ์เอาเถาวัลย์ผูกพระหัตถ์ฉุดคร่าทารกทั้งสองผู้ไม่อยากจะไป. ในพระหัตถ์ที่ผูกนั้นโลหิตไหลออกจากผิวหนัง. พราหมณ์เอาท่อนเถาวัลย์ตีฉุดคร่าไป. พระกุมารกุมารีทรงเหลียวดูพระบิดาแล้วทูลว่า :-
ข้าแต่พระบิดา พระมารดาก็เสด็จไปป่า พระบิดาก็ทรงเห็นแต่ลูกทั้งสอง พระบิดาอย่าเพิ่งทรงให้ลูกไปเลย จนกว่าพระมารดาจะกลับมา เมื่อนั้นแหละ อีตาพราหมณ์เฒ่าจะขายหรือจะฆ่าลูกทั้งสองก็ตามที.
ทูลต่อไปอีก มีอาทิว่า
อีตาพราหมณ์เฒ่านี้ร้ายกาจนัก ทำการหยาบช้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 196
จะเป็นมนุษย์ หรือยักษ์ กินเนื้อและเลือดออกจากบ้านมาสู่ป่า จะมาขอทรัพย์กะพระบิดา เมื่อตาพราหมณ์เฒ่าปีศาจจะนำลูก ไป ไฉนพระบิดาจึงทรงมองดูเฉยอยู่เล่า.
ทั้งสองพระกุมารกุมารีต่างกันแสงไห้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธนํ ได้แก่ทรัพย์คือบุตร.
ชูชก เมื่อพระกุมารกุมารีร่ำไห้อยู่อย่างนั้นก็โบยฉุดกระชากหลีกไป. พระมหาสัตว์ทรงเกิดความเศร้าโศกเป็นกำลัง ด้วยความสงสารลูกทั้งสองที่ร้องไห้ และด้วยความไม่สงสารของพราหมณ์. ในขณะนั้นเองทรงรำลึกถึงประเพณีของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย. ทรงตำหนิพระองค์ว่า ธรรมดาพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทรงสละมหาบริจาค ๕ แล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า แม้เราก็เป็นผู้หนึ่งของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น บริจาคบุตรทาน และมหาบริจาคอย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะฉะนั้น ดูก่อนเจ้าเวสสันดร การให้ทานแล้วเดือดร้อนในภายหลังไม่สมควรแก่เจ้าเลย. แล้วทรงเตือนพระองค์ว่า ตั้งแต่เวลาที่เราให้ทานแล้ว อะไรๆ ก็มิได้เป็นของเจ้า ทรงอธิษฐานกุสลสมาทานมั่นคง ประทับนั่ง ณ ประตูบรรณศาลา ดุจพระปฏิมาทองคำนั่งบนแผ่นหิน ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 197
ลำดับนั้น พระนางมัทรีเทวีหาบผลาผลจากป่าเสด็จกลับ เทพยดาทั้งหลายจึงแปลงกายเป็นมฤคร้ายกั้นทางไว้ ด้วยดำริว่า พระนางมัทรีจงอย่าเป็นอันตรายแก่ทานของพระมหาสัตว์เลย เมื่อมฤคร้ายหลีกไปแล้ว พระนางเสด็จถึงอาศรมช้าไป ทรงดำริว่า วันนี้เราฝันไม่ดีเลย และเกิดนิมิตร้ายขึ้นอีก. จักเป็นอย่างไรหนอ เสด็จเข้าไปยังอาศรม ไม่ทรงเห็นพระกุมารกุมารี จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม หม่อมฉันไม่เห็นลูกทั้งสอง ของเรา. ลูกทั้งสองไปเสียที่ไหนเล่าเพคะ. พระโพธิสัตว์ทรงนิ่ง. พระนางมัทรีค้นหาลูกทั้งสอง เที่ยวหาในที่นั้นๆ มิได้ทรงเห็นจึงกลับไปทูลถามอีก.
พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เราจักให้แม่มัทรีละความเศร้าโศกถึงบุตร ด้วยถ้อยคำหยาบจึงตรัสว่า :-
แม่มัทรีผู้มีรูปสมบัติอันประเสริฐ เป็นราชบุตรี เป็นผู้มียศ เจ้าไปแสวงหามูลผลาหารแต่เช้ามิใช่หรือ ไฉนเจ้าจึงกลับมาจนเย็น เล่า.
เมื่อพระนางทูลถึงเหตุที่ทำให้ล่าช้า ก็มิได้ตรัสอะไรๆ ถึงทารกทั้งสองอีกเลย. พระนางมัทรีด้วยความเศร้าโศกถึงบุตรคิดถึงบุตร จึงรีบออกป่าค้นหาบุตรอีก. สถานที่ที่พระนางมัทรีเที่ยวค้นหาในราตรีเดียวคำนวณดูแล้วประมาณ ๑๕ โยชน์. ครั้นรุ่งสว่างพระนางได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 198
ประทับยืน ถูกความโศกมีกำลังครอบงำ เพราะไม่เห็นลูก จึงล้มสลบลงบนพื้นดินแทบพระบาทของพระโพธิสัตว์นั้นดุจกล้วยถูกตัด.
พระโพธิสัตว์ทรงหวั่นไหวด้วยทรงสำคัญว่า พระนางมัทรีสิ้นพระชนม์ ทรงเกิดความโศกใหญ่หลวง ดำรงพระสติมั่น ทรงดำริว่า เราจักรู้ว่า แม่มัทรียังมีชีวิตอยู่หรือไม่มี แม้ตลอด ๗ เดือนไม่เคยถูกต้องกายกันเลย เพราะไม่มีอย่างอื่น จึงทรงยกพระเศียรของนางวางบนพระอุรุ (ขา) เอาน้ำพรม ลูบคลำพระอุระ พระหัตถ์ และพระหทัย. พระนางมัทรีล่วงไปเล็กน้อยก็ได้พระสติ บังเกิดหิริโอตตัปปะทูลถามว่า ลูกทั้งสองไปไหน. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนเทวี พี่ได้ให้บุตรของเราเพื่อเป็นทาสแก่พราหมณ์คนหนึ่งซึ่งมาขอกะพี่ เมื่อพระนางมัทรีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ เพราะเหตุไรพระเจ้าพี่ทรงให้ลูกทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว จึงไม่บอกแก่น้อง ปล่อยให้ร้องไห้ เที่ยวหาอยู่ตลอดคืนเล่า ตรัสว่า เมื่อพี่บอกเสียก่อน น้องก็จะทุกข์ใจมาก. แต่บัดนี้ทุกข์เบาบางลงแล้ว พระองค์จึงทรงปลอบพระมัทรีว่า :-
ดูก่อนแม่มัทรี น้องจงดูพี่ อย่าปรารถนาที่จะเห็นลูกเลย อย่ากันแสงไปนักเลย เราไม่มีโรค ยังมีชีวิตอยู่ คงจะได้พบลูกเป็น แน่แท้.
แล้วตรัสต่อไปว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 199
สัตบุรุษเห็นยาจกมาขอทาน แล้วพึงให้บุตร สัตว์เลี้ยง ข้าวเปลือก และทรัพย์อย่างอื่นอันมีอยู่ในเรือน. ดูก่อนแม่มัทรี น้องจงอนุโมทนาบุตรทานอันสูงสุดของพี่เถิด.
แล้วทรงให้พระนางมัทรีอนุโมทนาบุตรทานของพระองค์
แม้พระนางมัทรีก็ทูลอนุโมทนาว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ น้องขออนุโมทนาบุตรทานอันสูงสุดของพระเจ้าพี่ ครั้นพระเจ้าพี่พระราชทานบุตรแล้ว ขอจงทรงยังพระทัยให้ผ่องใส จงทรงบำเพ็ญทานให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก.
เมื่อกษัตริย์ทั้งสองทรงสนทนากันเป็นที่สำราญพระทัยของกันและกันอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจึงทรงดำริว่า เมื่อวานพระมหาบุรุษยังปฐพีให้กึกก้องกัมปนาท ได้พระราชทานพระโอรสธิดาแก่ชูชก. บัดนี้จะมีบุรุษชั่ว เราเข้าไปหาพระองค์ แล้วทูลขอพระมัทรีเทวีก็จะพาเอาไปเสียอีก. แต่นั้น พระราชาโพธิสัตว์ก็จะหมดที่พึ่ง. เอาเถิดเราจะแปลงเพศเป็นพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 200
เข้าไปหาพระองค์ทูลขอพระนางมัทรี ทำให้พระโพธิสัตว์ทรงถือเอายอดพระบารมี แล้วจักไม่ทรงกระทำสิ่งที่ไม่ควรสละให้แก่ใครๆ อีกแล้ว จักมาคืนพระนางมัทรีนั้นแก่พระโพธิสัตว์. ท้าวสักกะจึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ ในตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้ไปหาพระโพธิสัตว์ พระมหาบุรุษทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้น ทรงเกิดปีติโสมนัสว่า แขกของเรามาแล้ว ทรงกระทำปฏิสันถารอย่างอ่อนหวานกับพราหมณ์นั้น แล้วตรัสถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านมาที่นี้เพื่อประสงค์อะไร.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงทูลขอพระนางมัทรีเทวี. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ท้าวสักกะทรงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เสด็จลงจากเทวโลก มาขอนางมัทรีผู้มีศีล มีจริยาวัตรอันงามกะเราอีก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุนเทว คือภายหลังจากวันที่เราให้ลูกทั้งสองนั่นแล. อธิบายว่า ในลำดับนั้นนั่นแล.
บทว่า โอรุยฺห คือลงจากเทวโลก.
บทว่า พฺราหฺมณสนฺนิโภ คือแปลงเพศเป็นพราหมณ์
ลำดับนั้นพระมหาสัตว์มิได้ตรัสว่า เมื่อวานนี้เราได้ให้ลูกทั้งสอง แก่พราหมณ์ แม้เราก็อยู่ผู้เดียวเท่านั้นในป่า. เราจักให้แม่มัทรีผู้มีศีล ปฏิบัติสามีดีแก่ท่านได้อย่างไร. มีพระทัยมิได้ถดถอย เพราะไม่สละ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 201
เพราะไม่ผูกมัด ดุจวางรัตนะอันหาค่ามิได้ลงในมือที่เหยียดออกทรงร่าเริงยินดีดุจยังคิรีให้กึกก้องกัมปนาทว่า วันนี้ทานบารมีของเราจักถึงที่สุด ตรัสว่า :-
ท่านพราหมณ์ เราจะให้ เราไม่หวั่นไหว ท่านขอสิ่งใดกะเรา เราไม่ซ่อนเร้นสิ่งที่มีอยู่นั้น ใจของเรายินดีในทาน.
ทรงรีบเอาน้ำใส่คนโทแล้วหลั่งน้ำลงในมือพราหมณ์ ได้พระราชทานภรรยาให้. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เรามีความดำริแห่งใจเลื่อมใส เราจับพระหัตถ์พระนางมัทรี ยังฝ่ามือให้เต็มด้วยน้ำ ได้ให้พระนางมัทรีแก่พราหมณ์นั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทกญฺชลิ คือยังมือให้เต็มด้วยน้ำ. อนึ่ง บทว่า อุทกํ เป็นปฐมาวิภัตติ์ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ์. ความว่า ยังมือคือฝ่ามือที่เหยียดออกของพราหมณ์นั้นให้เต็มด้วยน้ำ.
บทว่า ปสนฺนมนสงฺกปฺโป คือมีความดำริแห่งใจเลื่อมใสแล้วด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันเกิดขึ้นแล้วว่า เราจักยังที่สุดแห่งทานบารมีให้ถึงด้วยการบริจาคภริยานี้แล้ว จักบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 202
ในขณะนั้นนั่นเอง ได้ปรากฏปาฏิหาริย์ทั้งปวงมีประการดังได้กล่าวมาแล้วในหนหลัง. หมู่เทพ หมู่พรหม ได้เกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งว่า บัดนี้พระสัมมาสัมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ไม่ไกล. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
เมื่อเราให้พระนางมัทรี ทวยเทพในท้องฟ้าต่างเบิกบาน แม้ในครั้งนั้น แผ่นดิน เขาสิเนรุราช ก็หวั่นไหว.
อนึ่ง เมื่อเราให้พระนางมัทรีเทวี ไม่มีร้องไห้หน้าเศร้าหรือเพียง คิ้วขมวด. พระนางมัทรีเทวีได้มีพระดำริอย่างเดียวว่า จะทำสิ่งที่พระสวามีปรารถนา. พระนางมัทรีตรัสต่อไปว่า :-
เราเป็นราชกุมารี ได้เป็นภริยาของท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นก็เป็นเจ้าของ เป็นอิสระในตัวเรา เมื่อปรารถนาจะให้เราแก่ผู้ใด ก็ให้ได้ หรือจะขายก็ได้ จะฆ่าเสียก็ได้.
แม้พระมหาบุรุษก็ตรัสว่า ท่านพราหมณ์ผู้เจริญ พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น เรารักยิ่งกว่าแม่มัทรีร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า. ขอทาน ของเรานี้จงเป็นปัจจัยแห่งการรู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณเถิด แล้วพระราชทานทาน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 203
เมื่อเราสละพ่อชาลี แม่กัณหาชินาผู้เป็นธิดา และพระนางมัทรีผู้จงรักสามี ไม่คิดถึงเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณนั่นเอง. บุตร ทั้งสองเราก็ไม่เกลียด พระนางมัทรีเราก็ไม่เกลียด แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรา. เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้บุตรและภริยาอัน เป็นที่รักของเราอีกครั้งหนึ่ง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จชมาโน น จินฺเตสิํ คือเมื่อเราสละก็มิได้คิดถึงด้วยความเดือดร้อน. อริบายว่า เราสละแล้วก็เป็นอันสละไปเลย. ในบทนี้สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็เพราะเหตุไรเล่าพระมหาบุรุษจึงทรงสละบุตรภริยาของพระองค์ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นกษัตริย์ โดยให้เป็นทาสของผู้อื่น. เพราะการทำผู้เป็นไทบางพวกไม่ให้เป็นไท มิใช่สิ่งที่ดี. ตอบว่า เพราะเป็นธรรมสมควร. จริงอยู่การเข้าถึงพุทธการกธรรมเป็นธรรมดานี้ คือ การบริจาควัตถุที่เขาหวงว่า นี้ของเรา เนื่องในตนทั้งปวงได้โดยไม่เหลือ. จริงอยู่การสละวัตถุที่เขาหวงว่า ของเราแก่ยาจกผู้ขอจะไม่สมควรแก่พระโพธิสัตว์ ผู้ถึงความขวนขวายเพื่อบำเพ็ญทานบารมี ปราศจากการกำหนดไทยธรรมและปฏิคาหกก็หามิได้. แม้นี้ก็เป็นธรรมอันสมควรมีมา แต่เก่าก่อน. ธรรมที่ประพฤติสะสมมาสม่ำเสมอนี้ เป็นวงศ์ของตระกูล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 204
เป็นประเพณีของตระกูลของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง คือการบริจาคของทุกสิ่ง. แต่โดยพิเศษออกไปในข้อนั้นก็คือการบริจาคสิ่งอันเป็นที่รักกว่า. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์บางองค์เป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือ บริจาคทรัพย์มีความเป็นอิสระในราชสมบัติเป็นต้นอันสืบวงค์มา ๑ การบริจาคอวัยวะ มีศีรษะและนัยน์ตาเป็นต้นของตน ๑ บริจาคชีวิตอันเป็นที่รัก ๑ บริจาคบุตรเป็นที่รักผู้จะดำรงวงศ์ตระกูล ๑ บริจาคภริยาเป็นที่รักมีความประพฤติเป็นที่ชอบใจ ๑ เคยมีมาแล้วมิใช่หรือ. เป็นความจริงดังนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุมังคละ ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ทรงแสวงหาโพธิญาณ ประทับอยู่ ณ ภูเขาลูกหนึ่ง พร้อมด้วยบุตรภรรยาในอัตภาพที่ ๓ จากอัตภาพก่อน มียักษ์ ชื่อว่า ขรทาฐิกะ (เขี้ยวแหลม) ได้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีอัธยาศัยในการให้ จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ขอทารกทั้งสอง.
พระมหาสัตว์เบิกบานใจว่า เราจะให้บุตรทั้งสองแก่พราหมณ์ ยัง ปฐพีมีน้ำเป็นที่สุดให้หวั่นไหวได้ให้ทารกทั้งสอง. ยักษ์ยืนพิงกระดานสำหรับยึดในที่สุดที่จงกรม เมื่อพระโพธิสัตว์เห็นอยู่นั่นเอง ได้เคี้ยวกินเด็กทั้งสองดุจเง่าบัว. เมื่อพระมหาบุรุษแลดูปากของยักษ์ซึ่งพ่นสายเลือดออกมาดุจเปลวไฟ ไม่ให้โอกาสแก่จิตตุปบาทเกิดขึ้นว่า ยักษ์ลวงเรา เพราะความเป็นผู้ฉลาดในอุบายได้อบรมดีมาแล้ว เพราะสภาพของธรรมในอดีตไม่มีปฏิสนธิ และเพราะความย่ำยีของสังขารทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 205
เป็นต้น จึงเกิดโสมนัสขึ้นว่า ทานบารมีของเราเต็มแล้ว. เรายังประโยชน์ใหญ่ให้สำเร็จแล้วได้บรรลุ ดังนี้ ด้วยกองสังขารอันหาสาระมิได้ผุพังไป ตั้งอยู่เดี๋ยวเดียวอย่างนี้. พระมหาสัตว์ทราบความดีงามแห่งจิตของตนในขณะนั้นอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น จึงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลอันนี้ในอนาคต ขอรัศมีของเราจงออกจากร่างกาย โดยทำนองเดียวกันนี้เถิด.
รัศมีจากสรีระของพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น เพราะอาศัยความปรารถนานั้น ได้แผ่ซ่านตลอดโลกธาตุ ๑๐,๐๐๐ ตั้งอยู่เป็นนิจ. พระโพธิสัตว์แม้เหล่าอื่นก็อย่างนั้น สละสิ่งอันเป็นที่รักของตนและบุตรภรรยา ก็รู้แจ้งแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ. อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่าบุรุษคนใดคนหนึ่งรับจ้างทำการงานบ้านหรือชนบท ในสำนักของใครๆ พึงทำทรัพย์หายไป ด้วยความประมาทของตนหรือของลูกน้อง. เขาถูกจับส่งเข้าไปยังเรือนจำ. เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราทำการงานของพระราชา เก็บทรัพย์ไว้ได้ประมาณเท่านี้ เราถูกพระราชานั้นส่งเข้าไปในเรือนจำ. หากเราอยู่ในเรือนจำนี้. ตนก็จนย่อยยับ. บุตรภรรยากรรมกรและบุรุษของเราปราศจากอาชีพ พึงถึงความพินาศย่อยยับ. ถ้ากระไร เราจักทูลพระราชาทรงตั้งบุตรหรือพี่ชายน้องชายของตนไว้ในที่นี้แล้วพึงออกไป. เราพ้นจากเรือนจำนี้ ไม่ช้าก็จะรวบรวมทรัพย์จากมิตร จากสหายแล้วถวายแด่พระราชา แล้วปล่อยบุตรพี่ชายน้องชายนั้นจากเรือนจำ. เราเป็นผู้ไม่ประมาทจักกระทำสมบัติให้เหมือนเดิมด้วยกำลังความเพียร. บุรุษนั้นก็พึงทำอย่างนั้น ฉันใด. พึงเห็นข้ออุปมาอุปมัยนี้ ฉันนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 206
ในข้อนั้นมีความเปรียบเทียบดังต่อไปนี้. การงานดุจพระราชา. สงสารดุจเรือนจำ. พระมหาบุรุษผู้ท่องเที่ยวไปในสงสารด้วยอำนาจกรรมดุจบุรุษที่พระราชาตั้งไว้ในเรือนจำ. การที่พระมหาบุรุษให้บุตรเป็นต้นของตนแก่คนอื่น แล้วปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวงให้พ้นจากทุกข์ในวัฏฏะ ด้วยการได้พระสัพพัญญุตญาณ ดุจการพ้นจากทุกข์ของบุตรหรือพี่น้องและของตน ซึ่งถูกจำอยู่ในเรือนจำด้วยการพึ่งผู้อื่น. การถึงพร้อมด้วยสมบัติคือพระสัพพัญญุตญาณ มีทศพลญาณเป็นต้น ด้วยความเป็นพระพุทธเจ้า ของพระมหาบุรุษผู้ปราศจากทุกข์ในวัฏฏะด้วยอรหัตตมรรค และการถึงพร้อมด้วยสมบัติมีวิชา ๓ เป็นต้น ของผู้ทำตามคำสอนของตน ดุจการตั้งอยู่ในสมบัติตามความประสงค์กับชนเหล่านั้นของบุรุษผู้พ้นทุกข์แล้ว เพราะเหตุนั้นการบริจาคบุตรภรรยาของพระมหาบุรุษทั้งหลาย จึงเป็นสภาพอันหาโทษมิได้ด้วยประการฉะนี้. โดยนัยนี้แล การทักท้วงใดในการบริจาคอวัยวะและชีวิตของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น แม้การทักท้วงนั้นก็พึงทราบว่า บริสุทธิ์ดีแล้ว.
ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทรงให้พระนางมัทรีเทวีอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะทรงบังเกิดความอัศจรรย์อันไม่เคยมี ได้ทรงสรรเสริญด้วยการอนุโมทนาทานของพระมหาบุรุษโดยนัยมีอาทิว่า :-
ข้าศึกทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ พระองค์ชนะได้ทั้งหมดปฐพี พระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 207
องค์ก็ให้กึกก้องได้ พระเกียรติศัพท์ของพระองค์ก็ระบือไปถึงไตรทิพย์ เมื่อพระองค์ทรงให้สิ่งที่ให้ได้ยาก กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก คนที่เป็นอสัตบุรุษก็ทำตามได้ยาก ธรรมของสัตบุรุษนำไปได้ยาก เพราะฉะนั้นคติของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจากโลกนี้ไป จึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจูหา คือข้าศึก.
บทว่า ทิพฺพา คือ ผู้ห้ามยศอันเป็นทิพย์.
บทว่า มานุสา ผู้ห้ามยศเป็นของมนุษย์. ก็ข้าศึกเหล่านั้นเป็นใคร คือความตระหนี่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความตระหนี่ทั้งหมดนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ทรงให้บุตรภริยา ทรงชนะได้แล้ว.
บทว่า ทุทฺททํ ให้ได้ยาก คือเมื่อบุคคลเช่นท่านให้สิ่งที่ให้ได้ยาก มีบุตรภริยาเป็นต้น กระทำสิ่งที่ทำได้ยากนั้น พระสาวกพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นกระทำตามไม่ได้ จะกล่าวไปใยถึงอสัตตบุรุษ ผู้มีความตระหนี่. เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษนำไปได้ยาก คือธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติของคนดี คือพระมหาโพธิสัตว์ อันบุคคลอื่นตามไปได้ยาก.
ท้าวสักกะทรงสรรเสริญด้วยการอนุโมทนาพระมหาบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงมอบพระนางมัทรีเทวีคืน จึงตรัสว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 208
ข้าพเจ้าขอถวายพระนางมัทรีอัครมเหสีผู้มีพระวรกายงามพร้อมแก่พระองค์ พระองค์เท่านั้นคู่ควรแก่พระนางมัทรี และพระนางมัทรีก็คู่ควรแก่พระองค์ผู้เป็นพระสวามี.
แล้วทรงมอบพระนางมัทรีคืน เสด็จประทับบนอากาศ รุ่งโรจน์ด้วยพระอัตภาพเป็นทิพย์ ดุจดวงอาทิตย์อ่อนๆ ประทับอยู่บนอากาศแสดงพระองค์ตรัสว่า :-
ข้าแต่พระราชฤๅษี ข้าพเจ้าคือท้าวสักกะจอมเทพ มายังสำนักของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงเลือกพร ข้าพระองค์จะถวายพร ๘ ประการแก่พระองค์.
แม้พระมหาสัตว์ก็ทรงขอพร ๘ ประการเหล่านี้ คือ ๑. ข้าแต่จอมเทพ ขอพระบิดาทรงแต่งตั้งข้าพระองค์ให้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ. ๒ ขอให้ข้าพระองค์ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องถึงประหารให้พ้นจากการประหาร. ๓. ขอให้ข้าพระองค์เป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลาย. ๔. ขอให้ข้าพระองค์อย่าได้ล่วงเกินภรรยาของผู้อื่น อย่าได้ลุอำนาจของสัตว์. ๕. ขอให้โอรสของข้าพระองค์มีอายุยืนนาน. ๖. ขอให้ไทยธรรมมีข้าวและน้ำเป็นต้นมีมาก ๗. ขอให้ข้าพระองค์มีจิตผ่องใส บริจาคไทยธรรมนั้นไม่รู้จักหมดสิ้น ๘. ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 209
ให้ข้าพระองค์บริจาคมหาทานอย่างนี้ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ขอให้ไปสู่เทวโลก กลับจากเทวโลกมาเกิดในมนุษยโลกนี้ ขอให้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
ท้าวสักกะตรัสว่า ในไม่ช้าพระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชพระบิดาจักเสด็จมา ณ ที่นี้ รับพระองค์ไปดำรงในราชสมบัติ. อนึ่ง ความปรารถนาของพระองค์นอกนั้นทั้งหมดจักถึงที่สุด พระองค์อย่าทรงวิตกไปเลย. ขอพระองค์อย่าทรงประมาท. ครั้นประทานโอวาทแล้วก็เสด็จกลับเทวโลกทันที. พระโพธิสัตว์และพระนางมัทรีเทวีทรงเบิกบานพระทัย ประทับอยู่ ณ อาศรมที่ท้าวสักกะประทานให้.
แม้เมื่อชูชกพาสองกุมารไป ทวยเทพก็ได้ทำการอารักขา. ทุกๆ วัน จะมีเทพธิดาองค์หนึ่งมาในตอนกลางคืน แปลงเพศเป็นพระนางมัทรีคอยดูแลสองกุมาร.
ชูชกนั้นเทวดาดลใจ คิดว่าจักไปกาลิงครัฐ แต่ก็บรรลุถึงกรุงเชตุดร โดยกึ่งเดือน. พระราชาประทับนั่ง ณ ที่วินิจฉัย ทอดพระเนตรเห็นสองกุมารกับพราหมณ์ไปถึงพระลานหลวง ทรงจำได้ รับสั่งให้เรียกสองกุมารกับพราหมณ์ ทรงสดับเรื่องราวนั้น จึงพระราชทานทรัพย์ตามจำนวนที่พระโพธิสัตว์ทรงตีราคาไว้ไถ่สองกุมาร ให้สองกุมารสรงสนาน เสวยพระกระยาหาร ทรงตกแต่งด้วยเครื่องสรรพาลังการ พระราชาทรงให้พระชาลีประทับบนพระเพลา พระนางผุสดีทรงให้แก้วกัณหาชินาประทับบนพระเพลา ทรงสดับถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ และพระนางมัทรีราชบุตรี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 210
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วทรงสลดพระทัยว่า เราได้ทำลายความดีงาม ทันใดนั้นเอง ทรงจัดกองทัพนับได้ ๑๒ อักโขภินี (อักโขภินีหนึ่งเท่ากับร้อยล้านแสนโกฏิ) ทรงมุ่งพระพักตร์เสด็จไปเขาวงกต พร้อมด้วยพระนางผุสดีเทวี และสองกุมาร. เสด็จถึงโดยลำดับแล้วทรงเข้าไปหาพระโอรสและพระสุณิสา.
พระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นพระปิยบุตร ไม่สามารถอดกลั้น ความโศกได้ ทรงสลบล้มลง ณ ที่บรรณศาลานั่นเอง. พระนางมัทรี พระชนกชนนี และเหล่าอำมาตย์ ๖๐,๐๐๐ ที่เป็นสหชาติต่างก็สลบไสลไปตามๆ กัน. บรรดาผู้เห็นความกรุณานั้นไม่สามารถดำรงอยู่โดยความเป็นตนของตนได้. ตลอดอาศรมบท ได้เป็นเหมือนป่าสาละที่ถูกลมยุคันตวาตโหมกระหน่ำ ฉะนั้น.
ท้าวสักกเทวราช เพื่อให้กษัตริย์และอำมาตย์ฟื้นจากสลบ จึงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา. ผู้ประสงค์จะให้เปียกก็เปียก ดุจฝนตกลงในใบบัว แล้วกลับกลายเป็นน้ำไหลไป. ทั้งหมดก็ฟื้น. แม้ในครั้งนั้นความอัศจรรย์ มีแผ่นดินไหวเป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วในหนหลัง ก็ได้ปรากฏขึ้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระชนกชนนีเสด็จมาพร้อมกัน ณ ป่าใหญ่ ทรงกันแสงสะอึกสะอื้นน่าสงสาร ตรัสถามถึงทุกข์สุขกันและกันอยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 211
เราได้เข้าเฝ้าพระชนกชนนีทั้งสอง ผู้เป็นที่เคารพด้วยหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลนั้นแผ่นดิน เขาสิเนรุราชก็หวั่นไหว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กรุณํ ปริเทวนฺเต คือเมื่อชนมาพร้อมกัน ทั้งหมด มีพระชนกชนนีเป็นต้น ทรงกันแสงสะอึกสะอื้นน่าสงสาร.
บทว่า สลฺลปนฺเต สุขํ ทุกฺขํ คือตรัสถามถึงทุกข์สุข แล้วสนทนากันด้วยการปฏิสันถาร.
บทว่า หิโรตฺตปฺเปน ครุนา อุภินฺนํ เราได้เข้าเฝ้าพระชนกชนนีผู้เป็นที่เคารพด้วยหิริและโอตตัปปะ คือเรามิได้มีจิตโกรธเคืองว่า ชน เหล่านี้ขับไล่เรา ผู้เชื่อฟังคำของชาวสีพี ไม่ประทุษร้าย ตั้งอยู่ในธรรม แล้วเข้าเฝ้าพระชนกชนนีด้วยหิริโอตตัปปะ อันเกิดขึ้นด้วยความเคารพในธรรมในพระชนกชนนีเหล่านี้. ด้วยเหตุนั้น มหาปฐพีจึงหวั่นไหวขึ้นในครั้งนั้น ด้วยเดชะแห่งธรรมของเรา.
ลำดับนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยมหาราช ทรงให้พระมหาสัตว์ยกโทษให้ แล้วทรงมอบราชสมบัติให้ครอบครอง ในขณะนั้นเองทรงให้พระมหาสัตว์ปลงพระเกศาและพระมัสสุเป็นต้น ให้ทรงสรงสนาน ทรงอภิเษกพระมหาสัตว์ ผู้ทรงตกแต่งด้วยสรรพาภรณ์งดงามดังเทวราช ไว้ในราชสมบัติ พร้อมพระนางมัทรีเทวี ทันใดนั้นทรงลุกขึ้นพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่า ประมาณ ๑๒ อักโขภินี แวดล้อมพระโอรสรับสั่งให้ตกแต่งทาง ๖๐ โยชน์ ตั้งแต่เขาวงกตถึงกรุงเชตุดร เสด็จเข้าสู่พระนครโดยสวัสดี เป็นเวลาสองเดือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 212
มหาชนได้เสวยปีติโสมนัสเป็นอันมาก. ต่างยกผืนผ้าเป็นต้น โบก ไปมา. เที่ยวประโคมนันทเภรีไปทั่วพระนคร. สัตว์ทั้งปวงโดยที่สุด แมว ที่อยู่ในเครื่องผูกมัด ก็ได้พ้นจากเครื่องผูกมัด. พระโพธิสัตว์ในวันเสด็จเข้าสู่พระนครนั่นเอง ตอนใกล้รุ่งทรงดำริว่า พรุ่งนี้ตอนสว่าง ยาจกทั้งหลายได้ข่าวว่า เรากลับมาก็จักพากันมา. เราจักให้อะไรแก่ยาจกเหล่านั้น.
ในขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรง รำพึงอยู่ ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว ทันใดนั่นเองทรงบันดาลให้สิ่งของมีอยู่ตอนต้นและมีในตอนหลังของพระราชนิเวศน์เต็มประมาณเอว ประทานให้ตกดุจก้อนเมฆ. ฝนแก้ว ๗ ประการตกทั่วพระนครสูงปานเข่า. ดังที่พระผู้มีภาคเจ้าตรัสว่า :-
อีกครั้งหนึ่ง เรากับบรรดาพระญาติของเราออกจากปาใหญ่ จักเข้าสู่กรุงเชตุดรอันน่ารื่นรมย์ แก้ว ๗ ประการตกลง แล้วมหาเมฆยังฝนให้ตก แม้ในกาลนั้น ปฐพี เขาสิเนรุราชหวั่นไหว แม้แผ่นดินไม่มีจิตใจ ไม่รู้สุขและทุกข์ ก็หวั่นไหวถึง ๗ ครั้ง เพราะกำลังแห่งทานของเรา ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 213
เมื่อฝนแก้ว ๗ ประการตกอย่างนี้ รุ่งขึ้นพระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ทรัพย์ที่อยู่ในวัตถุที่มีอยู่ก่อนและมีทีหลังของตระกูลใด จงเป็นของตระกูลนั้น แล้วพระราชทานให้นำส่วนที่เหลือมาใส่ไว้ในท้องพระคลัง รวมกับทรัพย์ในวัตถุที่อยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แล้วทรงบริจาคมหาทาน.
บทว่า อเจตนายํ ปวี คือปฐพีนี้ใหญ่ปราศจากเจตนา แต่ทวยเทพประกอบด้วยเจตนา.
บทว่า อวิญฺาย สุขํ ทุกฺขํ ไม่รู้สุข ไม่รู้ทุกข์ เพราะไม่มีเจตนานั่นเอง. แม้เมื่อมีการประกอบปัจจัยอันเป็นสุขเป็นทุกข์ ปฐพีนั้นก็มิได้เสวยปัจจัยนั้น.
บทว่า สาปิ ทานพลา มยฺหํ คือมหาปฐพีนั้น แม้เป็นอย่างนั้นก็เพราะเหตุแห่งบุญญานุภาพแห่งการให้ของเรา.
บทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ ปกมฺปถ ความว่า มหาปฐพีหวั่นไหวถึง ๗ ครั้งในฐานะเหล่านี้ คือในเมื่อเรามีอายุได้ ๘ ขวบ เกิดอัธยาศัยในการให้ว่า เราพึงให้แม้หัวใจและเนื้อเป็นต้น แก่ยาจกทั้งหลาย ในเมื่อให้มงคลหัตถี ในการครั้งใหญ่จนถูกขับไล่ ในการให้บุตร ในการให้ภริยา ในคราวหมู่พระญาติมาพร้อมกันที่เขาวงกต ในคราวเข้าสู่พระนคร ในคราวฝนรตนะตก. พระมหาสัตว์ทรงบริจาคมหาทานตราบเท่าพระชนมายุ อันเป็นเหตุปรากฏความอัศจรรย์ มีมหาปฐพีหวั่นไหวเป็นต้นสิ้น ๗ ครั้ง ในอัตภาพเดียวเท่านั้น เมื่อเสด็จสวรรคตได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิตด้วยประการฉะนี้.
ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 214
ครั้นพระเวสสันดรราช ผู้เป็นกษัตริย์มีพระปัญญา พระราชทานมหาทาน ครั้นสวรรคตแล้วก็ทรงอุบัติบนสวรรค์.
ชูชกในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. นางอมิตตตาปนา คือนางจิญจมาณวิกา. เจตบุตร คือพระฉันนะ. อจุตดาบส คือพระสารีบุตรเถระ. ท้าวสักกะ คือพระอนุรุทธะ. พระนางมัทรี คือมารดาพระราหุล. ชาลีกุมาร คือพระราหุล. กัณหาชินา คือนางอุบลวรรณา. พระชนกชนนี คือตระกูลมหาราช. บริษัทที่เหลือ คือพุทธบริษัท. พระเวสสันดรราช คือพระโลกนาถ.
แม้ใน เวสฺสนฺตรจริยา นี้ ก็พึงเจาะจงกล่าวถึงบารมีที่เหลือตาม สมควรโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. พึงประกาศคุณานุภาพของพระมหาบุรุษไว้ในจริยานี้ อันเป็นเหตุปรากฏความอัศจรรย์หลายอย่าง มีมหาปฐพีหวั่นไหวเป็นต้นถึง ๗ ครั้ง มีอาทิอย่างนี้ คือเมื่อพระมหาสัตว์ทรงอยู่ในพระครรภ์ พระชนนีทรงแพ้พระครรภ์ เพราะมีพระประสงค์จะทรงสละทรัพย์ถึง ๖๐๐,๐๐๐ ทุกๆ วัน. อนึ่ง เมื่อทรงให้ทาน พระราชทรัพย์ก็มิได้หมดสิ้นไป. ในขณะประสูตินั่นเอง ทรงเหยียดพระหัตถ์ แล้วเปล่งพระวาจาว่า หม่อมฉันจักให้ทาน. มีอะไรบ้าง. เมื่อมีพระชนม์ได้ ๔ - ๕ พระพรรษา ความที่พระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้เครื่องประดับของพระองค์แก่แม่นมทั้งหลาย อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้เลิศ. เมื่อพระชนม์ ๘
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 215
พระพรรษา ความที่พระองค์มีพระประสงค์จะทรงให้อวัยวะของพระองค์ มีหัวใจและเนื้อเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เหล่านั้น น่าอัศจรรย์ทั้งไม่เคยมีอย่างนี้ แม้เพียงจิตเลื่อมใสในท่านเหล่านั้น ก็พึงพ้นจากทุกข์ จะพูดไปทำไมถึงการทำตามท่านเหล่านั้น โดยธรรมสมควรแก่ธรรม.
จบ อรรถกถาเวสสันตรจริยาที่ ๙