[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 531
ยุคนัทธวรรค
๔. เมตตากถา
ว่าด้วยอานิสงส์และอาการแผ่เมตตา หน้า 531
อรรถกถาเมตตากถา หน้า 543
อรรถกถาอินทริยวาร หน้า 547
อรรถกถาพลาทิวารัตตยะ (วาระ ๓ มีพละเป็นต้น) หน้า 550
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 531
ยุคนัทธวรรค เมตตากถา
สาวัตถีนิทาน
ว่าด้วยอานิสงส์และอาการแผ่เมตตา
[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพ แล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่องๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน? คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ ฝันลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดา ย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาสตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตา เป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่องๆ อบรมแล้ว ปรารภดี แล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้.
[๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจง ก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ เท่าไร? แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร? แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ เท่าไร? เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะ จงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน?
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 532
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่ในสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไป โดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕๑ นี้.
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน?
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗๒ นี้.
[๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน?
เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจง เป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ ทั้งปวงในทิศประจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศอีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอ สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเป็นสุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารย-
๑. แผ่โดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ คือ ๑. สพฺเพ สตฺตา ๒. สพฺเพ ปาณา ๓. สพฺเพ ภูตา ๔. สพฺเพ ปุคฺคลา ๕. สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา ๒. เจาะจงด้วยอาการ ๗ คือ สพฺพา อิตฺถิโย ๒. สพฺเพ ปุริสา ๓. สพฺเพ อริยา ๔. สพฺเพ อนริยา ๕. สพฺเพ เทวา ๖. สพฺเพ มนุสฺสา ๗. สพฺเพ วินิปาติกา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 533
ชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่ มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศปัจฉิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ พายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียนเบียดกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปสู่สัตว์ ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้น การเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็น ทุกข์ จิตชื่อว่า เมตตา เพราะรัก ชื่อว่า เจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่า วิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็น เจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ.
[๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียร ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรม แล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 534
ตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนา ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการ นี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลทำให้ มากซึ่งเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการ ของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคล ย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติดีแล้ว ด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังกร เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นพิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในความไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 535
ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญ เมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ. ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนิน ขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจง เป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 536
ความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติ ด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำ ให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร มีความปลอดโปรง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาทิฏฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญ เมตตาย่อมกำหนดโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้ง การงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้ โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 537
อันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเจโตวิมุตติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์ มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมประดับ เมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์ มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์ มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็น ความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสม แล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษ แล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 538
[๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุตติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการ เบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่า มีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุตติ ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจ ไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการ เบียดเบียด ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ใน ทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 539
ในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้น จากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไป ด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบนจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการ เบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ใน ทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศ พายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมี ความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุตติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลส ทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุตติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ.
[๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 540
มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญ เมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จง เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตา เจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สัทธาพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวใน ความประมาท เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญ เมตตาไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน เมตตาอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้ รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้นั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 541
เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา เลือกเฟ้นด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับ ความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิ สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
[๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดย ชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา กำหนดโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความ เพียรไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 542
ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุตติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุตติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุตติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็น ภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐาน ดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้ รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว.
จบเมตตากถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 543
อรรถกถาเมตตากถา
บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งเมตตากถา อันมีพระสูตรเป็นเบื้องต้น ดำเนินตามโพชฌงคกถาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ในลำดับแห่งโพชฌงคกถา.
พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรนั้นดังต่อไปนี้. บทว่า อาเสวิตาย อัน บุคคลเสพแล้ว คือ เสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ภาวิตาย คือ เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตาย ทำให้มากแล้ว คือ ทำแล้วบ่อยๆ. บทว่า ยานีกตาย ทำให้เป็นดังยาน คือ ทำเช่นกับยานที่เทียมแล้ว. บทว่า วตฺถุกตาย ทำให้ เป็นที่ตั้ง คือ ทำดุจวัตถุเพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺิตาย ตั้งไว้ เนืองๆ คือ ปรากฏแล้ว. บทว่า ปริจิตาย อบรมแล้ว คือ สะสมดำรงไว้ โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธาย ปรารภดีแล้ว คือ ปรารภแล้วด้วยดี ทำ ด้วยดีแล้ว. บทว่า อานสํสา คือ คุณ. บทว่า ปาฏิกงฺขา หวัง คือ พึงหวัง พึงปรารถนา.
บทว่า สุขํ สุปติ หลับเป็นสุข คือ หลับเป็นสุขไม่หลับเหมือนตน ส่วนมาก กรนกลิ้งเกลือกไปมาหลับเป็นทุกข์ แม้ก้าวลงสู่ความหลับก็เป็น เหมือนเข้าสมาบัติ. บทว่า สุขํ ปฏิพุชฺฌติ ตื่นเป็นสุข คือ ตื่นเป็นสุข ไม่ผิดปกติ เหมือนดอกปทุมแย้ม ไม่ตื่นเหมือนคนอื่นที่ทอดถอนบิดกาย พลิกไปมาตื่นเป็นทุกข์. บทว่า น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ ไม่ฝันลามก คือ เมื่อฝันย่อมเห็นฝันอันเจริญ เหมือนไหว้พระเจดีย์ เหมือนทำการบูชา และ เหมือนฟังธรรม ไม่เห็นความฝันลามกเหมือนคนอื่นฝันเห็นเหมือนถูกโจร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 544
ล้อมตน เหมือนถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนและเหมือนตกลงไปในเหว. บทว่า มนุสฺสานํ ปิโย โหติ เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย คือ เป็นที่รัก เป็นที่ ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย ดุจแก้วมุกดาหารสวมไว้ที่อกและดุจดอกไม้ประดับ ไว้บนศีรษะ. บทว่า อมนุสฺสานํ ปิโย โหติ เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย คือ เป็นที่รักแม้ของอมนุษย์เหมือนเป็นที่รักของมนุษย์. บทว่า เทวตา รกฺขนฺติ เทวดาย่อมรักษา คือ เทวดาย่อมรักษาดุจมารดาบิดารักษาบุตรฉะนั้น.
บทว่า นาสฺส อคฺคิ วา วิสํ วา สตฺถํ วา กมติ ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกลายเขา คือ ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่ก้าวเข้าไป ในกายของผู้อยู่ด้วยเมตตา อธิบายว่า ไม่ยังกายของเขาให้กำเริบ. บทว่า ตุวฏํ จิตฺตํ สมาธิยติ จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็ว คือ จิตของผู้อยู่ด้วยเมตตาย่อม ตั้งมั่นได้เร็ว ไม่มีความชักช้า. บทว่า มุขวณฺโธ วิปฺปสีทติ สีหน้าผ่องใส คือ หน้าของเขามีสีผ่องใส ดุจตาลสุกพ้นจากขั้ว. บทว่า อสมฺมูฬฺโห กาลํ กโรติ ไม่หลงใหลกระทำกาละ คือ ผู้อยู่ด้วยเมตตาไม่หลงตาย ไม่หลงทำ กาละดุจคนก้าวลงสู่ความหลับ. บทว่า อุตฺตรึ อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต เมื่อยัง ไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง คือเมื่อยังไม่สามารถบรรลุพระอรหัตอันยิ่งกว่าเมตตา สมาบัติได้เคลื่อนจากโลกนี้ดุจหลับแล้วตื่น. บทว่า พฺรหฺมโลกูปโค โหติ คือ ย่อมเข้าถึงพรหมโลก.
พึงทราบวินิจฉัยในเมตตานิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า อโนธิโส ผรณา คือ แผ่ไปโดยไม่เจาะจง เขตแดนชื่อว่า โอธิ ไม่มีเขตแดนชื่อว่า อโนธิ โดยไม่มีเขตแดนนั้น ความว่าโดยไม่เจาะจง ท่านอธิบายว่า แผ่ไปโดยไม่มี ที่กำหนด. บทว่า โอธิโส โดยเจาะจง คือ โดยมีกำหนด. บทว่า ทิสา ผรณา คือ แผ่ไปในทิศทั้งหลาย. บทว่า สพฺเพ ทั้งหมด คือ กำหนดโดย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 545
ไม่มีเหลือ. อรรถแห่งบทว่า สตฺตา ท่านกล่าวไว้แล้วในอรรถกถามาติกา แห่งญาณกถา. โวหารนี้ย่อมเป็นไปแม้ในผู้ที่ปราศจากราคะแล้ว ด้วยรุฬหิศัพท์ ดุจโวหารว่า พัดใบตาลย่อมเป็นไปในพัดวิชนี แม้ทำด้วยไม้ไผ่. บทว่า อเวรา ไม่มีเวร คือ ปราศจากเวร. บทว่า อพฺยาปชฺฌา ไม่เบียดเบียน คือ เว้นจาก ความพยาบาท. บทว่า อนีฆา คือ ไม่มีทุกข์. บทว่า สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด คือ มีความสุขยังอัตภาพให้เป็นไปได้. พึงทราบความ สัมพันธ์ของคำในบทนี้อย่างนี้ว่า แสดงความไม่มีเวร อาศัยสันดานของตนและ คนอื่น อาศัยสันดานของคนอื่น และคนนอกนี้ในบทว่า อเวรา แสดงความ ไม่มีพยาบาทอันไม่มีเวรนั้นเป็นมูล เพราะความไม่มีเวร ในบทมีอาทิว่า อพฺยาปชฺฌา แสดงความไม่มีทุกข์อันไม่มีความพยาบาทนั้นเป็นมูล เพราะ ไม่มีความพยาบาทในบทว่า อนีฆา แสดงการบริหารอัตภาพด้วยความสุข เพราะไม่มีทุกข์ ในบทว่า สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แผ่เมตตาด้วยอำนาจ แห่งคำอันปรากฏแล้วในคำทั้งหลาย ๔ มีอาทิว่า อเวรา โหนฺตุ จงอย่าได้ มีเวรเลยเหล่านี้.
ในบทมีอาทิว่า ปาณา มีความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ปาณา เพราะมี ชีวิต ความว่า เพราะยังเป็นไปอาศัยลมหายใจเข้าและลมหายใจออกอยู่. ชื่อว่า ภูตา เพราะยังเป็นอยู่ ความว่า เพราะยังเกิดอยู่. ชื่อว่า ปุคฺคลา เพราะ ไปในนรกซึ่งท่านเรียกว่า ปุํ นั้น. สรีระหรือขันธปัญจกท่านเรียกว่าอัตภาพ หมายถึงอัตภาพ เพราะปรากฏเพียงบัญญัติ ชื่อว่า อตฺตภาวปริยาปนฺนา ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพ เพราะนับเนืองกำหนดหยั่งลงในอัตภาพนั้น. ท่านยกคำ ที่เหลือด้วยอำนาจแห่งรุฬหิศัพท์ (ศัพท์ที่ขยายความ) แล้วพึงทราบว่า คำ ทั้งหมดนั้นเป็นไวพจน์ของสัตว์ทั้งปวง เหมือนคำว่า สตฺตา ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 546
คำแม้อื่นเป็นไวพจน์ของสัตว์ทั้งปวงมีอาทิว่า สพฺเพ ชนฺตู สพฺเพ ชีวา สัตว์เกิดทั้งปวง สัตว์มีชีวิตทั้งปวงก็มีอยู่โดยแท้ แต่ท่านถือเอาคำ ๕ เหล่านี้ ด้วยเป็นคำปรากฏอยู่แล้วจึงกล่าวว่า เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะ จงด้วยอาการ ๕. อนึ่ง มิใช่โดยเพียงคำพูดอย่างเดียวเท่านั้น แห่งบทมีอาทิว่า สตฺตา ปาณา ที่แท้แล้วสัตว์เหล่าใดพึงปรารถนาความต่างกันแม้โดยอรรถ การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงของสัตว์เหล่านั้นย่อมผิด เพราะฉะนั้นไม่ถือเอาอรรถ อย่างนั้นแล้วแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๕ เหล่านี้.
อนึ่ง ในการแผ่ไปโดยเจาะจง พึงทราบความดังนี้. บทว่า อิตฺถิโย ปุริสา ท่านกล่าวถึงเพศ. บทว่า อริยา อนริยา ท่านกล่าวถึงอริยะและปุถุชน. บทว่า เทวา มนุสฺสา วินิปาติกา ท่านกล่าวถึงการเกิด. แม้ในการแผ่ไป ในทิศ ไม่ทำการจำแนกทิศแล้วแผ่ไปโดยไม่เจาะจง เพราะแผ่ไปโดยนัยมี อาทิว่า สพฺเพ สตฺตา ในทิศทั้งปวง แผ่ไปโดยเจาะจงเพราะแผ่ไปโดย นัยมีอาทิว่า สพฺพา อิตฺถิโย ในทิศทั้งปวง.
อนึ่ง เพราะการแผ่เมตตาแม้ ๓ อย่างนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งจิต ยังไม่ถึงอัปปนา ฉะนั้นพึงถือเอาอัปปนาในวาระ ๓ ในการแผ่โดยไม่เจาะจง ท่านกล่าวถึงการแผ่ ๔ อย่างเหล่านั้นด้วยรวบรวมประโยชน์นั่นเอง คือ อย่าง หนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงอย่าได้มีเวรกันเลย อย่างหนึ่งว่า จงอย่าได้ เบียดเบียนกันเลย อย่างหนึ่งว่า จงอย่ามีทุกข์เลย อย่างหนึ่งว่า จงมีความสุข รักษาตนเถิด เพราะเมตตามีลักษณะรวบรวมประโยชน์ ด้วยอำนาจแห่ง อัปปนาอย่างละ ๔ๆ ในอาการ ๕ มีอาทิว่า สตฺตา รวมเป็นอัปปนา ๒๐ ในการแผ่โดยเจาะจงด้วยอำนาจแห่งอัปปนาอย่างละ ๔ๆ ในอาการ ๗ มีอาทิว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 547
สพฺพา อิตฺถิโย รวมเป็นอัปปนา ๒๘. อนึ่ง ในการแผ่ไปในทิศ อัปปนา ๔๘๐ คือ อัปปนา ๒๐๐ ทำอย่างละ ๒๐ แห่งทิศหนึ่งๆ โดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก อัปปนา ๒๘๐ ทำอย่างละ ๒๘ แห่งทิศ หนึ่งๆ โดยนัยมีอาทิว่า หญิงทั้งหลายทั้งปวงในทิศตะวันออก อัปปนาทั้งหมด ที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้รวมเป็นอัปปนา ๕๒๘ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวแม้การแผ่กรุณามุทิตาอุเบกขา เหมือนท่านกล่าวการแผ่เมตตาโดย ๓ อย่างฉะนั้น.
อรรถกถาอินทริยวาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอาการประมวลมาซึ่งเมตตาและการอบรมอินทรีย์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สพฺเพสํ สตฺตานํ ปีฬนํ วชฺเชตฺวา เว้นความบีบคั้นสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีฬนํ การบีบคั้น คือ บีบคั้นสรีระข้างใน. บทว่า อุปฆาตํ การฆ่า คือ การฆ่าสรีระข้างนอก. บทว่า สนฺตาปํ การทำให้ เดือดร้อน คือ ทำใจให้เดือดร้อนด้วยประการต่างๆ. บทว่า ปริยาทานํ ความย่ำยี คือ ความสิ้นชีวิตเป็นต้นโดยปกติ. บทว่า วิเหสํ เบียดเบียน คือ เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น. บทว่า วชฺเชตฺวา เว้น คือ นำอย่างหนึ่งๆ ใน การเบียดเบียนเป็นต้นออกไปจากจิตของตนเอง. ท่านกล่าวบท ๕ มีการ เบียดเบียนเป็นต้นเหล่านี้ ด้วยเว้นสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการรวบรวมเมตตา. บทว่า อปีฬนาย ด้วยไม่บีบคั้นเป็นต้น ท่านกล่าวด้วยการรวบรวมเมตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 548
บทว่า อปีฬนาย พึงเชื่อมความว่า ประพฤติเมตตาในสัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ไม่บีบคั้น. แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนั้น.
สามบทแม้เหล่านี้ว่า มา เวริโน มา ทุกฺขิโน มา ทุกฺขิตตฺตา อย่าได้มีเวร อย่ามีทุกข์ อย่ามีตนเป็นทุกข์ เป็นคำปฏิเสธสิ่งเป็นปฏิปักษ์ ของการรวบรวมเมตตา. คำว่า มา คือ จงอย่ามี. สามบทว่า อเวริโน สุขิโน สุขิตตฺตา จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความสุข มีตนเป็นสุข เป็นคำรวบรวมเมตตา. สองบทนี้ว่า อพฺยาปชฺฌา อนีฆา จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ พึงทราบว่าท่านสงเคราะห์เข้าด้วยคำว่า สุขิโน จงมีความสุข.
บทว่า สุขิตตฺตา จงมีตนเป็นสุข แสดงความสุขนั้นเป็นไปเป็นนิจ. อนึ่ง บทว่า สุขิตตฺตา และบทว่า สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ โดยอรรถ เป็นอย่างเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงสงเคราะห์คำว่า ความไม่เบียดเบียนกัน และไม่มีทุกข์ ด้วยบทมีอาทิว่า อปีฬนาย ด้วยไม่บีบคั้น. บทว่า อฏฺหากาเรหิ ด้วยอาการ ๘ เหล่านี้ คือ อาการรวบรวมเมตตา ๕ มีอาทิว่า อปีฬนาย อาการรวบรวมเมตตา ๓ มีอาทิว่า อเวริโน โหนฺตุ. บทว่า เมตฺตายติ ประพฤติด้วยความรัก คือ ความเยื่อใย. บทว่า ตํ ธมฺมํ เจตยติ คิดถึง ธรรมนั้น คือ คิดติดต่อธรรมนั้นอันรวบรวมประโยชน์ อธิบายว่า ประพฤติ. บทว่า สพฺพพฺยาปาทปริยุฏฺาเนหิ วิมุจฺจติ พ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง คือ พ้นจากการข่มด้วยความฟุ้งซ่านของพยาบาททั้งปวง อันเป็น ปฏิปักษ์แห่งเมตตา. บทว่า เมตฺตา จ เจโตวิมุตฺติ จ เมตตาและเจโตวิมุตติ คือ เมตตาอย่างเดียวเท่านั้น ท่านพรรณนาไว้ ๓ อย่าง.
บท ๓ บทเหล่านั้นคือ อเวริโน เขมิโน สุขิโน เป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุข ท่านกล่าวสงเคราะห์อาการดังกล่าวแล้ว ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 549
บทก่อนโดยสังเขป. อินทรีย์ ๕ สัมปยุตด้วยเมตตา ท่านกล่าวแล้วโดยนัยมี อาทิว่า สทฺธาย อธิมุจฺจติ น้อมใจไปด้วยศรัทธา.
พึงทราบวินิจฉัยในวาระ ๖ มีอาทิว่า อาเสวนา ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อาเสวนา เพราะเสพเมตตา. ภาวนา พหุลีกรรมก็อย่างนั้น. บทว่า อลงฺการา อลังการ คือ เครื่องประดับ. บทว่า สฺวาลงฺกตา ประดับด้วยดี คือ ประดับ ตกแต่งด้วยดี. บทว่า ปริกฺขารา คือ สัมภาระทั้งหลาย. บทว่า สุปริกฺขตา ปรุงแต่งด้วยดี คือ เก็บรวบรวมไว้ด้วยดี. บทว่า ปริวารา ด้วยอรรถว่า รักษา. ท่านกล่าว ๒๘ บทมีอาเสวนะเป็นต้นอีก เพื่อกล่าวถึงคุณของเมตตา. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาริปูริ ทำให้เต็ม คือ ความบริบูรณ์. บทว่า สหคตา คือ สหรคตด้วยปัญญา. บทว่า สหชาตา เป็นต้นก็อย่างนั้น. บทว่า ปกฺขนฺทนา แล่นไป คือ เข้าไปด้วยเมตตา ชื่อว่า ปกฺขนฺทนา เพราะ เป็นเหตุแล่นไปแห่งเมตตา. บทว่า สํสีทนา ความผ่องใสเป็นต้นก็อย่างนั้น. บทว่า เอตํ สนฺตนฺติ ปสฺสนา เห็นว่านี้สงบ คือ เห็นว่าเมตตานี้สงบ เพราะเหตุนั้น การเห็นว่านี้สงบเป็นนปุงสกลิงค์ ดุจในคำว่า เอตทคฺคํ นี้เลิศ. บทว่า สิวาธิฏฺิตา อธิษฐานดีแล้ว คือ ตั้งไว้ด้วยดี. บทว่า สุสมุคฺคตา ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว คือ ยกขึ้นแล้วด้วยดี. บทว่า สุวิมุตฺตา พ้นวิเศษแล้ว คือ พ้นด้วยดีแล้วจากข้าศึกของตนๆ. บทว่า นิพฺพตฺเตนฺติ คือ อินทรีย์ ๕ ประการ สัมปยุตด้วยเมตตายังเมตตาให้เกิด. บทว่า โชเตนฺติ ให้รุ่งเรือง คือ ทำให้ปรากฏ. บทว่า ปตาเปนฺติ ให้สว่างไสว คือ ให้รุ่งโรจน์.
จบอรรถกถาอินทริยวาร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 550
อรรถกถาพลาทิวารัตตยะ
พึงทราบแม้พลวารโดยนัยดังกล่าวแล้วในอินทริยวารนั่นแล. ท่าน กล่าววาระองค์แห่งมรรคในโพชฌงค์ไว้โดยปริยาย มิได้กล่าวด้วยอำนาจตาม ลักษณะ. ในวาระแห่งองค์มรรค ท่านกล่าวสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะไว้ด้วยอำนาจแห่งส่วนเบื้องต้นของเมตตา มิใช่ด้วยอำนาจแห่งอัปปนา เพราะธรรมเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดร่วมด้วยเมตตา. พึงทราบอรรถแม้แห่งวาระ ที่เหลือมีอาทิว่า สพฺเพสํ ปาณานํ แห่งสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงโดยนัยดังกล่าว แล้วในวาระ ๗ นั่นแล. ส่วนวิธีเจริญเมตตาพึงถือเอาจากวิสุทธิมรรค.
จบอรรถกถาพลาทิวารัตตยะ
จบอรรถกถาเมตตากถา