[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 66
๗. อัสสาทสูตรที่ ๓
ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 66
๗. อัสสาทสูตรที่ ๓
ว่าด้วยคุณโทษและเครื่องสลัดออกแห่งขันธ์ ๕
[๖๒] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในรูป แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากรูปได้ แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไปจากรูปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในวิญญาณ แต่เพราะคุณแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในวิญญาณ ถ้าโทษแห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ แต่เพราะโทษแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ ถ้าเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณจักไม่มีไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกไปจากวิญญาณได้ แต่เพราะเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไปจากวิญญาณได้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 67
[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอัน หาขอบเขตมิได้อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไป มีใจอันหาขอบเขตมิได้อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
จบ อัสสาทสูตรที่ ๗
อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙
สูตรที่ ๔ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในธาตุสังยุต นั่นแล. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวสัจจะ ๔ ไว้ในสูตรที่ ๕ ที่ ๖ และที่ ๗ ในธาตุสังยุตนั้นตามลำดับ. ในสูตรที่ ๙ ท่านกล่าววัฏฏะและนิพพานไว้.
จบ อรรถกถาฉันทราคสูตรที่ ๔ - ๙