ข้อความที่ว่า "บุคคลผู้ที่พบ ไม่เห็น แต่ผู้ที่เห็น ไม่พบ" ในพระไตรปิฎกหมายความว่าอะไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยจากที่อ่านในข้อความในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ยังไม่พบข้อความนี้ครับ
ซึ่งโดยทั่วไป คำว่า พบและเห็นนั้น โดยทั่วไปจะใช้คู่กัน หมายถึง พบ เห็นด้วยปัญญา
เมื่อพบก็ย่อมเห็นตามความเป็นจริง คือ พบและเห็นสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม
ไม่ใช่เราครับ
แต่น่าจะเป็นข้อความนี้ที่ใกล้เคียงกันคือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 665
สิ่งใดที่บุคคลเห็นอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นแล้ว
สิ่งใดที่บุคคลเห็นแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นอยู่
เมื่อไม่เห็น (ตามความเป็นจริง) จึงหลงติดอยู่
เมื่อ (หลง) ติดอยู่ ย่อมไม่หลุดพ้น.
ซึ่งเป็นข้อความที่อธิบายการเจริญสติปัฏฐาน การรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงเพราะขณะ
นี้ สิ่งที่กำัลังเห็นอยู่ คือ สัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ และยึดถือด้วยอำนาจกิเลสว่าเป็นเรา เป็นสิ่ง
ต่างๆ เป้นสัตว์ บุคคลจริงๆ ดังนั้นสิ่งที่บุคคลเห็นอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่เห็นแล้ว เพราะเห็นด้วยตา
เนื้อ และด้วยความไม่รู้และสำคัญผิด แม้เห็นก็ชื่อว่าไม่เห็นครับ เพราะไม่ได้เห็นด้วย
ปัญญา และสิ่งใดที่บุคคลเห็นแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เห็นอยู่ เพราะในความเป็นจริง เห็น
หรือ จักขุวิญญาณเห็นเพียง สีเท่านั้นที่เป็นรูปธรรม แต่สิ่งที่เราเห็นแล้ว คือ นึกคิดเป็นสัตว์
บุคคล เป็นสิ่งต่างๆ แล้ว ซึ่งไม่ใช่ขณะทีเ่ห็นจริงๆ ที่ต้องเป็นเพียงสีเท่านั้น จึงขื่อว่า สิ่งใดที่
บุคคลเห็นแล้ว ไม่ชื่อว่าเห็นอยู่ เพราะล่วงเลยความจริง กลายเป็นบัญญัติไปแล้ว และไม่รู้
ด้วยปัญญาว่าขณะก็เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นครับ และข้อความต่อไปที่ว่า
เมื่อไม่เห็นตามความเป็นจริง จึงหลงติดอยู่ เพราะไม่เห็นเป็นเพียงสภาพธรรมขณะที่เห็น
ได้ยิน ได้กลิ่น ว่าเป็นเพียงรูปธรรม เป็นธรรม ก็หลงยึดติดด้วยอำนาจกิเลสว่ามีเรา มีสัตว์
บุคคล ก็ยึด ติดข้องด้วยโลภะ ไม่พอใจด้วยโทสะในเมื่อเป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ เพราะไม่เห็น
ตามความเป็นจริงครับ และข้อความต่อไปที่ว่า เมื่อหลงติดอยู่ย่อมไม่หลุดพ้น คือ เมื่อหลง
ติดด้วยอำนาจกิเลส ไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็ย่อมไม่หลุดพ้น ออกจากสังสารวัฏฏ์การเกิด
ได้เลยครับ
ซึ่งข้อความที่อรรถใกล้เคียงและเป็นประโยชน์ในประเด็นนี้อีกอย่างคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 243
๒. ลกุณฏกเถรคาถา
ชนเหล่าใดถือรูปร่างเราเป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้น
ตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา คนพาลถูก
กิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภาย-
นอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา แม้บุคคลผู้เห็นผล
ภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่กายนอก ก็ลอยไปตาม
เสียงโฆษณา ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัด
ทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้นย่อมไม่ลอย
ไปตามเสียงโฆษณา.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ชนเหล่าใดถือรูปร่างเรา เป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้น ตก
อยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา .. ท่านพระลกุณฏกเถระ เป็นผู้มีรูปร่างเตี้ย ไม่ดี
แต่ท่านเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงคุณวิเศษ ดังนั้น ผู้ที่ยึดถือเพียงภายนอก เพียงการเห็น รูป
ร่าง ลักษณะ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเพียงสีที่ปรากฎทางตาเท่านั้น แต่เพราะยึดถือด้วย
อำนาจ ฉันทราคะ หรือ อำนาจกิเลสที่ยังติดข้องในรูปที่ปรากฎ ย่อมเห็นรูปของท่านที่น่า
เกลียด ไม่ดี ก็สำคัญผิดว่า ท่านไม่มีคุณธรรมวิเศษอะไร เพราะไม่เลื่อมใสในรูปภายนอก
ที่เห็น เพราะรูปร่างท่านไม่ดี ดังนั้น แม้พบเห็นท่านอยู่ก็เหมือนไมได้เห็น เพราะอะไร
เพราะ พบเห็น ยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ก็ชื่อว่าไม่เห็นท่านตามความเป็นจริง เพราะต้อง
เห็นท่านด้วยปัญญา ที่คุณธรรมของท่าน ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ที่ถือรูปเราเป็นประมาณ ด้วย
อำนาจกิเลส ย่อมไม่รู้จักเรา จึงไม่ต่างกับ ผู้ที่พบ ย่อมไม่เห็น คือ พบและยึดถือด้วย
อำนาจกิเลส ย่อมชื่อว่าไม่เห็น คือ ไม่เห็นตามความเป็นจริง และ ผู้ที่เห็นย่อมไม่พบ
เพราะเห็นแล้วยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ย่อมไม่พบ ไม่รู้ตามความเป็นจริงครับ
คาถาต่อไป
คนพาลถูกกิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภายนอก ย่อมลอยไปตาม
เสียงโฆษณา แม้บุคคลผู้เห็นผลภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่กายนอก ก็ลอยไป
ตามเสียงโฆษณา
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อธิบายว่า เมื่อยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ก็ย่อมไม่รู้จักบุคคลนั้น แม้จะเห็นบุคคลนั้นก็ไม่รู้
ตามความเป็นจริง และย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา คือ ยึดถือ ว่าคนนี้มีชื่อเสียง เพราะ
ได้ยินเขาพูด หรือเชื่อเพราะเขามีชื่อเสียง จึงยึดถือสิ่งนั้น นับถือบุคคลนั้น ผู้ที่ยึดถือด้วย
เพียง ความมีชื่อเสียง ก็ชื่อว่าลอยไปตามเสียง เพราะยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ก็ชื่อว่า ไม่
รู้จักคนนั้นจริงๆ เพราะยึดถือเพียงชื่อเสียง หรือ เสียงร่ำลือที่ได้ยินเท่านั้นครับ ดังนั้น แม้
ได้ยินเสียงอยู่ ก็ยึดถือด้วยอำนาจกิเลส ก็ชือ่ว่าไม่เห็นตามความเป็นจริง แม้พบเสียงแต่ก็
ไม่เห็น ตามความเป็นจริง เป็นต้นครับ
คาถาต่อไปที่ว่า
ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัดทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก
ผู้นั้นย่อมไม่ลอยไปตามเสียงโฆษณา.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อธิบายคือ เป็นผู้มีปัญญา พิจารณารู้ตาควาเป้นจริงด้วยปัญญาของตน ว่าผู้นั้นมีคุณธรรม
อย่างไร ย่อมไม่ยึดถือเพียงรูปที่เห็น ไม่ยึดถือเพียงเสียงทีได้ยิน ไม่ยึดถือด้วยความอคติ
ชอบหรือไม่ชอบ แต่พิจารณาด้วยปัญญา ก็ย่อมไม่ลอยไปตามเสียงโฆษณา ตามชื่อเสียง
คำร่ำลือ แต่ย่อมเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ย่อมรู้ชัดทั้งภายในและภายนอก โดย
มองที่คุณธรรมภายในเป็นสำคัญครับ
ดังนั้น บุคคลผู้ที่พบ ไม่เห็น แต่ผู้ที่เห็น ไม่พบ ก็ไม่พ้นเรื่องของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา
แม้เห้นอยู่ก็ชื่อไม่พบ แม้พบอยู่ก็ชื่อว่าไม่เห็น เพราะถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้ปิดบังตาม
ความเป็นจริง เพราะยึดถือด้วยอำนาจกิเลสประการต่างๆ นั่นเองครับ
การศึกษาพระธรรม การฟังพระธรรม เมื่อปัญญาเจริญขึ้น ย่อมพิจารณาที่คุณธรรมภายใน
ของบุคลอื่น ไม่ยึดถือ เลื่อมใสเพราะเหตุแห่งอคติประการต่างๆ เพราะเมื่อปัญญาเจริญ
ย่อมเป็นผุ้ตรงตามคงามเป็นจริง และขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ขระทีเห็นถูกว่า
ขณะนี้เป็ฯธรรมใช่เรา ไม่มีสัตว์บุคคล ก็ชื่อว่า พบและเห็นตามความเป็นจริง แต่ขณะใดที่
เป็นอกุศล ไม่รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรม แม้เห้น ได้ยิน ได้กลิ่น ..รู้กระทบสัมผัสอยู่ แต่ยึด
ถือด้วยอำนาจกิเลสและเป็นเรา เป็นเขา ก็ไม่ชื่อว่า พบและเห็นตามความเป็นจริงครับ แม้
เห็นอยู่ก็ชื่อว่าไม่เห็นครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระวัลกลิว่า บุคคลใดเห็นธรรม บุคคลนั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ผู้ที่มีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษามีความเข้าใจถูกเห็นถูก ไปตามลำดับ เมื่อกล่าวถึงพบหรือเห็น แล้ว ควรทีี่จะได้พิจารณาว่า มีการเห็น ๓ อย่าง คือ เห็น อันเป็นกิจหน้าที่ของจักขุวิญญาณ ที่เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา, เห็นถูก ด้วยปัญญาตามความเป็นจริง และ เห็นผิด เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ในขณะที่จักขุิวิญญาณเกิดขึ้นนั้น ทำกิจเพียงเห็น ไม่ได้มีความเห็นผิด หรือ เห็นถูกเกิดร่วมด้วยเลย ไม่มีธรรมฝ่ายดี ไม่มีธรรมฝ่ายที่เป็นอกุศลเกิดร่วมด้วยเลย มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ประเภทเท่านั้น คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และ มนสิการะ จักขุวิญญาณ เกิดเพียงชั่วขณะสั้นๆ แล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปๆ เกิดสืบต่อ เมื่อวิถีจิตทางตา ดับไปแล้ว มีภวังค์คั่น วิถีิจิตทางมโนทวารก็เกิดสืบต่อ มีการเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ อันเป็นความคิดนึกต่อทางใจ, เห็นเป็นเพียงแค่เห็นชั่วขณะสั้นๆ เท่านั้นเอง แต่ที่จะรู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต้องเป็นทางมโนทวาร ดังนั้น สิ่งที่เห็นแล้ว ไม่ใช่สิ่งที่เห็นอยู่ คือ เห็นเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน โดยที่ไม่ได้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า เห็นเป็นเห็น และ สิ่งที่ถูกเห็น เป็นเพียงสีหรือสิ่งที่ปรากกทางเท่านั้น แต่ก็ไม่ได้มีการห้ามว่าไม่ให้เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่าง ๆ เพราะห้ามไม่ได้ แต่สิ่งที่สำคัญ คือ ไม่เข้าใจผิด ว่ามีคน มีสัตว์ จริงๆ เพราะแท้ที่จริงแล้ว เพราะมีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป จึงมีการสมมติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ เป็นสัตว์บุคคลต่างๆ แต่ถ้ามีความยึดถือ ว่า มีคนจริงๆ มีสัตว์ จริงๆ นั้น เป็นความเห็นผิด เป็นนความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีปัญญาที่เข้าใจตามความเป็นจริง ก็ย่อมจะรู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นการเห็นด้วยปัญญาอย่างจริงๆ เห็นด้วยปัญญาว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคลตัว ตน และไม่ใช่ิิสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นการละคลายความเห็นผิด ละคลายความไม่รู้ รวมไปถึงอกุศลธรรมประการอื่นๆ ด้วย การอบรมเจริญปัญญา ต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรม ด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ และประการที่สำคัญ สิ่งที่จะศึกษา นั้น ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้เลย ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ มีให้พิสูจน์ มีให้ศึกษาอยู่ทุกขณะจริงๆ ว่า เป็นธรรม ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่เป็นของใคร เพราะเกิดแล้วดับแล้ว ค่อยๆ เพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรม ไปตามลำัดับ เพราะการที่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง ต้องเป็นการเห็นด้วยปัญญา ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นด้วยการฟัง การศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิัตประจำวัน ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมและอาจารย์คำปั่นมากครับ
ทำให้ผมเข้าใจในอรรถของเรื่องนี้มากขึ้นครับ
ส่วนข้อความที่ว่า "บุคคลผู้ที่พบ ไม่เห็น แต่ผู้ที่เห็น ไม่พบ" นั้น
มีคำอธิบายในทำนองว่า บุคคลผู้ที่พบ คือ ผู้ที่มีปัญญาซึ่งพบสัจจธรรมแล้ว เมื่อท่านรับอารมณ์ทางตา ท่านจึงไม่เห็นเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
ส่วนผู้ที่เห็น คือ ผู้ที่ยังขาดปัญญา เมื่อรับอารมณ์ทางตา ก็เห็นเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ผู้นี้จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้พบสัจจธรรม คือ ปัญญาเห็นความเป็นจริง
ซึ่งคำอธิบายก็สอดคล้องกับพระสูตรที่อาจารย์ผเดิมหยิบยกมาอธิบายให้เห็นได้อย่างชัดเจน และตรงกับที่อาจารย์คำปั่นกรุณาให้ความหมายนัยต่างๆ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ
* * * ------------------------------- * * *
กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ และ อนุโมทนากุศลจิตทุกดวงครับ
* * * ------------------------------------- * * *
ดังนั้น บุคคลผู้ที่พบ ไม่เห็น แต่ผู้ที่เห็น ไม่พบ ก็ไม่พ้นเรื่องของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา
แม้เห้นอยู่ก็ชื่อไม่พบ แม้พบอยู่ก็ชื่อว่าไม่เห็น เพราะถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้ปิดบังตาม
ความเป็นจริง เพราะยึดถือด้วยอำนาจกิเลสประการต่างๆ นั่นเองครับ
"""""""""""""""""''"""""""""""""""""""""""""'
เพราะการที่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง ต้องเป็นการเห็นด้วยปัญญา ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นด้วยการฟัง การศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิัตประจำวัน ไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ.
...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของ อ. คำปั่น และ อ. ผเดิม ด้วยค่ะ...
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ