ภัย 4 อย่าง จาตุมสูตร
โดย mick  30 มี.ค. 2552
หัวข้อหมายเลข 11828

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

ภัย ๔ อย่าง [๑๙๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ภัย ๔อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ๑ ภัยแต่จระเข้ ๑ ภัยแต่น้ำวน ๑ภัยแต่ปลาร้าย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้แล เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ภัย ๔อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย.

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่คลื่นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตรนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่าท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้ ท่านพึงแลอย่างนี้ ท่านพึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 382เหลียวอย่างนี้ ท่านพึงคู้เข้าอย่างนี้ ท่านพึงเหยียดออกอย่างนี้ ท่านพึงทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรอย่างนี้ กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ย่อมตักเตือนบ้าง สั่งสอนบ้าง ซึ่งคนอื่น ก็ภิกษุเหล่านี้ เพียงคราวบุตรคราวหลานของเรา ยังมาสำคัญการที่จะพึงตักเตือนพร่ำสอนเราเขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่คลื่น แล้วบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่คลื่นนี้ เป็นชื่อของความคับใจด้วยสามารถความโกรธ. [๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่จระเข้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้วทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏได้ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตร ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า สิ่งนี้ท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านควรฉัน สิ่งนี้ท่านไม่ควรฉัน

สิ่งนี้ท่านควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านควรดื่ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรดื่มสิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรฉัน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรดื่ม ท่านควรเคี้ยวกินในกาล ท่านไม่ควรเคี้ยวกินในวิกาล ท่านควรฉันในกาล ท่านไม่ควรฉันในวิกาล ท่านควรลิ้มในกาล ท่านไม่ควรลิ้มในวิกาล ท่านควรดื่มในกาล ท่านไม่ควรดื่มในวิกาล ดังนี้ กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็ไม่เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็บริโภคสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็ไม่บริโภคสิ่งนั้นได้ ปรารถนาจะลิ้นสิ่งใด ก็ลิ้มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะลิ้มสิ่งใด ก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้น ได้ ปรารถนาจะดื่มสิ่งใด ก็ดื่มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะดื่มสิ่งใด ก็ไม่ดื่มสิ่งนั้นได้ จะเคี้ยวกินสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้จะลิ้มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะลิ้มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะดื่มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้จะดื่มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินในกาลก็ได้ จะเคี้ยวกินในวิกาลก็ได้จะบริโภคในกาลก็ได้ จะบริโภคในวิกาลก็ได้ จะลิ้มในกาลก็ได้ จะลิ้มในวิกาลก็ได้ จะดื่มในกาลก็ได้ จะดื่มในวิกาลก็ได้ ก็คฤหบดีทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาย่อมให้ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีตในวิกาลเวลากลางวัน อันใดแก่เราทั้งหลาย ชะรอยภิกษุเหล่านั้น จะทำการห้ามปากในสิ่งนั้นเสีย ดังนี้ เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่จระเข้ บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่จระเข้นี้ เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง. [๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่น้ำวนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย เขาเห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยการคุณห้า ในบ้านหรือนิคมนั้นเขามีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรอ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 384อยู่ด้วยกามคุณห้า สมบัติก็อยู่ในสกุล เราสามารถจะบริโภคสมบัติและทำบุญได้ ดังนี้ เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า ผู้กลัวแต่ภัยแต่น้ำวน บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคำว่าภัยแต่น้ำวนนี้ เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า. [๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่ปลาร้ายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้วทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคมไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย เขาย่อมเห็นมาฉุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ในบ้านหรือนิคมนั้น เพราะเหตุมาตุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ความกำหนัด ย่อมตามกำจัดจิตของกุลบุตรนั้นเขามีจิตอันความกำหนัดตามกำจัดแล้ว จึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่ปลาร้าย บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่ปลาร้าย นี้เป็นชื่อแห่งมาตุคาม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้แล เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล. จบจาตุมสูตรที่ ๗



ความคิดเห็น 1    โดย thongkhun1937  วันที่ 14 ส.ค. 2561

สาธุ