[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 99
๖. ปัญจขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 99
๖. ปัญจขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕
[๙๕] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 100
ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าขันธ์ ๕.
[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕.
จบ ปัญจขันธสูตรที่ ๖
อรรถกถาปัญจขันธสูตรที่ ๖
ในปัญจขันธสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
รูปขันธ์เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ เป็นไปในภูมิ ๔ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ). บทว่า สาสวํ ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งอาสวะโดยเป็นอารมณ์. บทว่า อุปาทานียํ ได้แก่ และเป็นปัจจัยแก่อุปาทานอย่างนั้นเหมือนกัน. ก็ในข้อนี้มีอรรถแห่งคำดังต่อไปนี้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 101
รูปชื่อว่า สาสวะ เพราะเป็นไปกับด้วยอาสวะทั้งหลายที่ทำอารมณ์เป็นไป ชื่อว่า อุปาทานียะ เพราะพึงยึดมั่น. ในที่นี้ รูปขันธ์ท่านกล่าวว่าเป็นกามาวจร ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือท่านกล่าวด้วยอำนาจการประพฤติวิปัสสนา. ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ รูปจัดเข้าในขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง เวทนาเป็นต้นทั้งที่มีอาสวะทั้งที่ไม่มีอาสวะ จัดเข้าในอุปาทานขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกองธรรมที่มีอาสวะ ทั้งหมดจัดเข้าในขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง. แต่ในที่นี้ ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ จัดเข้าในอุปาทานขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกองธรรมมีอาสวะ.
จบ อรรถกถาปัญจขันธสูตรที่ ๖