เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า ให้ตามดูจิต ไม่ทราบเป็นพุทธพจน์หรือไม่ ถ้าเป็น หมายความว่าอย่างไร
ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ใช้คำว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ เป็นต้น คำว่า ตามดูจิต เหมือนกับเราใช้ตาตามดู ซึ่งเป็นพยัญชนะที่ไม่ชัดเจน
การพิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นปัญญาใช่ไหมครับ เป็นปัญญาที่รู้สภาพธรรมที่เกิดกับจิตใช่ไหมครับ คือ รู้ปรมัตถ์ใช่ไหม และไม่ใช่ตัวเรา หรือมีตัวเรา ที่จะไปพิจารณาใช่ไหมครับ ไม่ทราบว่าเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ เพราะอ่านดูแล้วเหมือนกับว่า ให้เราพิจารณา
คำว่า การพิจารณา เป็นกิจของปัญญาเจตสิกที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ปัญญาขั้นต้นรู้ลักษณะของจิตก่อน ต่อมารู้ปัจจัยทำให้จิตเกิดขึ้น ต่อมาจึงรู้ความเกิดและดับ ทั้งหมดไม่มีตัวเราเข้าไปรู้เลย เป็นธรรมที่ทำกิจของธรรม
ตามดูจิต ไม่ใช่ตัวตนที่ตามดู สติเป็นอนัตตา บังคับให้ตามดูไม่ได้
มีหลายท่าน แนะนำให้หมั่นเพียรตามดูจิต แต่พอถามว่าแล้วปัญญารู้อะไร ... ก็ตอบไม่ได้. ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่มีปัญญาทางโลกมากทั้งนั้น เมื่อถูกถามเช่นนั้น ... ท่านมักจะไม่พอใจ เดี๋ยวนี้เลิกถามแล้ว ... เพราะไม่มีประโยชน์.
ใช่ สำคัญที่ปัญญานะ ตรงนี้เข้าใจ
อนุโมทนาด้วยนะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ผมก็เหมือนกับ ความเห็นที่ 5 และส่วนมากจะแนะนำให้ผมปฏิบัติธรรม ผมบอกคู่สนทนาว่าปฏิบัติหมายถึง ถึงเฉพาะ แล้วผมถามต่อไปว่าถึงเฉพาะขณะปฏิบัติธรรมของคุณเป็นอย่างไร เขาจะตอบไม่ได้ (เพราะเหตุไม่รู้ ปัญญารู้อะไรนั่นเอง)
ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ