[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 120
อุรควรรคที่ ๑
๑๒. อุรคเปตวัตถุ
ว่าด้วยมาอย่างไรไปอย่างนั้น
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 120
๑๒. อุรคเปตวัตถุ
ว่าด้วยมาอย่างไรไปอย่างนั้น
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะบอกเหตุแห่งการไม่เศร้าโศก จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
[๙๗] บุตรของเราละสรีระอันคร่ำคร่าของตนไป เหมือนงูลอกคราบฉะนั้น เมื่อสรีระแห่งบุตรของเราใช้สอยไม่ได้ ละไปแล้ว มีกาละอันกระทำแล้วอย่างนี้ บุตรของเราเมื่อญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา คติอันใดของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
นางพราหมณีกล่าวว่า
บุตรของดิฉัน ดิฉันไม่ได้เชิญมา ก็มาแล้วจากปรโลก ดิฉันไม่ได้อนุญาตให้ไป ก็ไปแล้วจากมนุษยโลกนี้ เขามาอย่างไร เขาก็ไปอย่างนั้น ทำไมจะต้องไปร่ำไรในการไปจากโลกนี้ของเขาเล่า บุตรของดิฉันเมื่อพวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของหมู่ญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงบุตรนั้น คติอันใดของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 121
น้องสาวกล่าวว่า
ถ้าดิฉันร้องไห้ก็จะเป็นผู้ซูบผอม ผลอะไรจะพึงมีแก่ดิฉันในการร้องไห้นั้น ความไม่สบายใจก็จะพึงมีแก่ญาติและมิตรสหายทั้งหลายโดยยิ่ง พี่ชายของดิฉันอันญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงพี่ชายของดิฉันนั้น คติอันใดของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
ส่วนภรรยาของเขากล่าวว่า
ผู้ใดเศร้าโศกถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนทารกร้องไห้ถึงพระจันทร์อันลอยอยู่ในอากาศฉะนั้น สามีของดิฉันอันญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใดของเขามีอยู่ เขาได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
ส่วนนางทาสีกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นเหล่ากอแห่งพรหม หม้อน้ำอันแตกแล้ว พึงประสานให้ติดอีกไม่ได้ ฉันใด ผู้ใดเศร้าโศกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนฉันนั้น นายของดิฉันอันพวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของญาติทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 122
เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงท่าน คติอันใดของท่านมีอยู่ ท่านได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
จบ อุรคเปตวัตถุที่ ๑๒
อรรถกถาอุรคเปตวัตถุที่ ๑๒
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่ง จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า อุรโคว ตจํ ชิณฺณํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี บุตรของอุบาสกคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรมลง. เพราะเหตุที่บุตรตายลง อุบาสกนั้นจึงถึงความเศร้าโศกร่ำไร ออกไปข้างนอก ไม่อาจจะทำการงานอะไรๆ ได้ จึงอยู่แต่ในเรือนเท่านั้น. ครั้นในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกจากพระมหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นอุบาสกนั้น ในเวลาเช้า ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร ได้เสด็จไปยังเรือนของอุบาสกนั้นแล้วประทับยืนอยู่ที่ประตู. ฝ่ายอุบาสกทราบว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงรีบลุกขึ้นไปต้อนรับ แล้วรับบาตรจากพระหัตถ์ แล้วให้เสด็จเข้าบ้าน ให้คนปูลาดอาสนะถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายอุบาสกไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอุบาสกนั้นว่า ดูก่อนอุบาสก ทำไมจึงปรากฏดูเหมือนเศร้าโศกไป. อุบาสกกราบทูลว่า พระเจ้าข้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 123
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุตรที่รักของข้าพระองค์ตายไป เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศก. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบรรเทาความเศร้าโศกของเขา จึงตรัสอรุคชาดกว่า :-
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ได้มีตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่า ธรรมปาละ. ในตระกูลพราหมณ์นั้น มีคนเหล่านี้คือ พราหมณ์ พราหมณี บุตร ธิดา ลูกสะใภ้ และทาสี ทั้งหมดได้มีความยินดีในการเจริญมรณานุสสติ. บรรดาชนเหล่านั้น คนผู้ที่จะออกไปจากเรือนจะให้โอวาทคนที่เหลือแล้ว ไม่ห่วงใย ออกไป. ครั้นวันหนึ่ง พราหมณ์กับบุตรออกจากเรือนไปไถนา. บุตรสุมหญ้าใบไม้และฟืนแห้งๆ อยู่. งูเห่าตัวหนึ่งในที่นั้นเลื้อยออกจากโพรงไม้ เพราะกลัวถูกเผาไฟจึงกัดบุตรคนนี้ของพราหมณ์. เขาสลบไปเพราะกำลังพิษล้มลงตรงนั้นเองตายแล้ว เกิดเป็นท้าวสักกเทวราช. พราหมณ์เห็นบุตรตายแล้ว จึงพูดกะบุรุษคนหนึ่ง ผู้เดินไปใกล้ที่ทำงานอย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย ท่านจงไปเรือนของเรา แล้วบอกนางพราหมณีอย่างนี้ว่า จงอาบน้ำ นุ่งผ้าขาว ถือเอาภัตรและดอกไม้ของหอมเป็นต้น สำหรับคนผู้เดียวแล้วจง รีบมา. บุรุษนั้นไปที่เรือนนั้นแล้ว บอกให้ทราบอย่างนั้น. ฝ่ายชนในเรือนก็ได้ทำตาม. พราหมณ์ อาบน้ำ บริโภคอาหารแล้วลูบไล้ มีชนบริวารห้อมล้อม ยกร่างของบุตรขึ้นเชิงตะกอน จุดไฟเผา ไม่เศร้าโศก ไม่เดือดร้อน ได้ยืนมนสิการถึงอนิจจสัญญา เหมือนเผาท่อนไม้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 124
ลำดับนั้น บุตรของพราหมณ์บังเกิดเป็นท้าวสักกะ. และท้าวสักกะนั้นก็ได้เป็นพระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย. พระองค์ทรงพิจารณาชาติก่อนของพระองค์ และบุญที่ได้ทำไว้ เมื่อจะอนุเคราะห์บิดาและพวกญาติ จึงแปลงเพศเป็นพราหมณ์มาในที่นั้น เห็นพวกญาติไม่เศร้าโศก จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญเผามฤค จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้าบ้าง ข้าพเจ้าหิวจริง. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่ใช่มฤค แต่เป็นมนุษย์นะพราหมณ์. ท้าวสักกะกล่าวว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของพวกท่านหรือไง. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่ใช่ศัตรู เขาเป็นบุตรรุ่นหนุ่ม มีคุณมาก เป็นโอรสเกิดในอก. ท้าวสักกะกล่าวว่า เมื่อบุตรรุ่นหนุ่มมีคุณเห็นปานนั้นตายไป ทำไมพวกท่านจึงไม่เศร้าโศกกันเล่า. พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่เศร้าโศก จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
บุตรของเราละสรีระอันคร่ำคร่าของตนไป เหมือนงูลอกคราบ เมื่อสรีระใช้สอยไม่ได้ ละไปแล้วทำกาละไปแล้วอย่างนี้ บุตรของเราเมื่อญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ถึงความร่ำไรของพวกญาติได้ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงเขา. คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็ได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุรโค ความว่า ชื่อว่า อุรคะ เพราะไปด้วยอก. คำว่า อุรโค นี้ เป็นชื่อของงู. บทว่า ตจํ ชิณฺณํ ได้แก่ หนังคือคราบของตนอันคร่ำคร่าคือเก่า เพราะความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 125
ทรุดโทรม. บทว่า หิตฺวา คจฺฉติ สนฺตนุํ ความว่า งูลอกละทิ้งคราบเก่าของตนจากร่าง ในระหว่างต้นไม้ ในระหว่างไม้ฟืน ในระหว่างโคนต้นไม้ หรือในระหว่างแผ่นหิน เหมือนคนถอดเสื้อแล้วไปตามความต้องการ ฉันใด สัตว์ผู้หมุนเวียนไปในสงสาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละร่างของตน คือสรีระของตน อันชื่อว่า เป็นของคร่ำคร่า เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไป คือ ไปตามกรรม. อธิบายว่า อุบัติ โดยภพใหม่. พราหมณ์เมื่อจะแสดงถึงร่างกายของบุตรที่กำลังพากันเผาอยู่ จึงกล่าวว่า เอวํ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สรีเร นิพฺโภเค ได้แก่ เมื่อร่างกายแม้ของคนเหล่าอื่นที่ใช้สอยไม่ได้อย่างนี้ ก็ไม่เกิดประโยชน์ เหมือนร่างกายของบุตรนี้. บทว่า เปเต ได้แก่ ปราศจากอายุ ไออุ่น และวิญญาณ. บทว่า กาลกเต สติ ได้แก่ ตายไปแล้ว. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะร่างกายที่ถูกเผาย่อมไม่รู้สึกถึงการร้องไห้ ทั้งความร่ำไรของพวกญาติ เหมือนบุตรของเรา ไม่รู้ความทุกข์ที่เกิดแต่การเผา เพราะปราศจาก วิญญาณ ฉะนั้น เราทำบุตรคนนี้ของเราให้เป็นเหตุ จึงไม่ร้องไห้. บทว่า คโต โส ตสฺส ยา คติ ความว่า หากว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วทั้งหลายไม่ขาดศูนย์ไซร้ ถึงกระนั้น ผู้ตายพึงหวังคติใด ด้วยอำนาจกรรมที่มีโอกาสได้กระทำไว้ เขาก็ไปสู่คตินั้น ถัดจากการจุติทีเดียว, อธิบายว่า เขาย่อมไม่หวังการร้องไห้ หรือความร่ำไรของพวกญาติคนก่อนๆ ทั้งการร้องไห้ของพวกญาติคนก่อนๆ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรๆ เสียโดยมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 126
เมื่อพราหมณ์ได้กล่าวถึงเหตุที่ตนไม่เศร้าโศก เมื่อได้ประกาศถึงความฉลาดในมนสิการโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะผู้มาในรูปร่างพราหมณ์ จึงตรัสกะนางพราหมณีว่า แม่คุณ ผู้ตายนั้นเป็นอะไรกับท่าน. พราหมณีกล่าวว่า นาย เขาเป็น บุตรของฉัน ฉันบริหารครรภ์มาถึง ๑๐ เดือน ให้ดื่มน้ำนม ประคบประหงมมือและเท้าจนเติบโต. ท้าวสักกะตรัสว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ เริ่มแรกบิดาไม่ร้องไห้ เพราะเขาเป็นผู้ชาย, แต่ธรรมดาว่ามารดามีหทัยอ่อนโยน เพราะเหตุไรท่านจึงไม่รู้องไห้เล่า. นางได้ฟังดังนั้น เมื่อจะบอกเหตุที่ไม่รู้องไห้จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
บุตรของดิฉัน ดิฉันไม่ได้เชิญมาก็มาจากปรโลกนั้น ดิฉันไม่ได้อนุญาตให้ไป ก็ไปแล้วจากมนุษยโลกนี้ เขามาอย่างใด เขาก็ไปอย่างนั้น ทำไมจะต้องไปร่ำไรในการไปจากโลกนี้ของเขาเล่า. เขาถูกพวกญาติเผาอยู่ ย่อมไม่รู้สึกถึงความร่ำไร ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา, คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็ ได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนพฺภิโต แปลว่า ไม่ได้เรียกมา คือ ไม่ได้ร้องเรียกอย่างนี้ว่า เจ้าจงมาเป็นบุตรของเราเถิด. บทว่า ตโต ได้แก่ จากปรโลกที่เขาเคยอยู่มาก่อน. บทว่า อาคา แปลว่า มาแล้ว. บทว่า นานุญฺาโต แปลว่า ไม่ได้อนุมัติ คือ พวกเรามิได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 127
ปล่อยไปอย่างนี้ว่า จงไปปรโลกเถิดพ่อ. บทว่า อิโต โยคว่า อิธโลกโต แปลว่า จากโลกนี้. บทว่า คโต แปลว่า ไปปราศแล้ว. บทว่า ยถาคโต ได้แก่ มาแล้วโดยอาการใด, อธิบายว่า พวกเราไม่ได้เรียกก็มา. บทว่า ตถา คโต ได้แก่ ไปแล้วโดยอาการนั้นเหมือนกัน. พราหมณีแสดงถึงกรรมที่บุตรนั้นกระทำว่า เขามาด้วยกรรมของตนเองอย่างใด เขาก็ไปด้วยกรรมของตนเองอย่างนั้น. บทว่า ตตฺถ กา ปริเทวนา ความว่า ทำไมจะไปมัวร่ำไร เพราะอาศัยความตายในการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ที่ไม่อยู่ในอำนาจอย่างนี้เล่า. พราหมณีแสดงว่า ความร่ำไรนั้นไม่สมควร ผู้มีปัญญา ไม่พึงกระทำ.
ท้าวสักกะครั้นได้สดับคำของนางพราหมณีอย่างนี้แล้ว จึงถามน้องสาวของเขาว่า แม่คุณ เขาเป็นอะไรกับเธอหรือ? น้องสาวตอบว่า เขาเป็นพี่ชายของฉันจ๊ะนาย. ท้าวสักกะถามว่า แน่ะแม่ ธรรมดาว่าน้องสาวจะต้องรักพี่ชาย เพราะเหตุไร เธอจึงไม่รู้องไห้เล่า. ฝ่ายนางเมื่อจะบอกเหตุที่ไม่ร้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
ถ้าดิฉันร้องไห้ก็จะฝ่ายผอม ผลอะไรจะพึงมีแก่ฉันในการร้องให้นั้น ความไม่สบายใจ ก็จะพึงมีแก่ญาติมิตรและสหายยิ่งขึ้น. พี่ชายของดิฉันถูกเผาอยู่ ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 128
พวกญาติเลย เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็ไปสู่คติอันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ โรเท กิสา อสฺสํ ความว่า ถ้าเราจะพึงร้องไห้ คือ เราก็จะซูบผอม มีร่างกายเหี่ยวแห้ง. บทว่า ตตฺถ เม กึ ผลํ สิยา ความว่า จะมีผลชื่อไร จะมีอานิสงส์ชื่อไรในการร้องไห้ ซึ่งมีการตายของพี่ชายฉันเป็นเหตุนั้น, อธิบายว่า พี่ชายของฉันก็จะไม่พึงมา เพราะการร้องไห้นั้น ทั้งเขาก็จะไม่ไปสู่สุคติ เพราะการร้องไห้นั้น. บทว่า าติมิตฺตสุหชฺชานํ ภิยฺโย โน อรตี สิยา ความว่า ความไม่สบายใจ คือความลำบากเท่านั้น แม้ที่ยิ่งกว่าความทุกข์ในเพราะการตายของพี่ชาย จะพึงมีแก่ญาติ มิตร และสหายของพวกเรา เพราะความเศร้าโศกของดิฉัน.
ท้าวสักกะได้สดับคำของน้องสาวอย่างนั้นแล้ว จึงกล่าวกะภริยาของเขาว่า เธอเป็นอะไรกะเขา? นางตอบว่า เขาเป็นสามีของดิฉันจ๊ะนาย. ท้าวสักกะตรัสว่า นางผู้เจริญ ธรรมดาสตรีย่อมมีความเสน่หาในสามี และหญิงหม้ายในสามีนั้นย่อมเป็นคน ร้ที่พึ่ง เพราะเหตุไรเธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายนางเมื่อจะบอกเหตุที่ตนไม่ร้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
ผู้ใดเศร้าโศกถึงคนที่ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนทารก ร้องไห้ถึงพระจันทร์อันลอยอยู่ในอากาศ ฉะนั้น. สามีดิฉันถูกพวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 129
ญาติเผาอยู่ ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องไห้ถึงเขา คติอันใดของเขามีอยู่ เขาก็ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทารโก ได้แก่ เด็กอ่อน. บทว่า จนฺทํ ได้แก่ ดวงจันทร์. บทว่า คจฺฉนฺตํ ได้แก่ ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า. บทว่า อนุโรทติ ความว่า ย่อมร้องไห้ว่า จงจับล้อรถให้ฉันเถิด. บทว่า เอวํ สมฺปหเมเวตํ ความว่า ผู้ใดย่อมเศร้าโศกถึงผู้ล่วง ลับไปแล้ว คือ ตายไปแล้ว, ความเศร้าโศกของผู้นั้นก็เปรียบเหมือนอย่างนั้น คือเห็นปานนั้น, อธิบายว่า เหมือนมีความต้องการจะจับพระจันทร์ซึ่งลอยอยู่กลางอากาศ เพราะความอยากได้ในสิ่งที่ไม่ควรจะได้.
ท้าวสักกะครั้นฟังคำภริยาของเขาอย่างนั้นแล้ว จึงถามทาสีว่า เธอเป็นอะไรกะเขา ทาสีตอบว่า เขาเป็นนายของดิฉันจ๊ะ ท้าวสักกะกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เธอคงจักถูกเขาโบยตีแล้วใช้ให้ทำการงาน เพราะฉะนั้น เธอเห็นจะไม่ร้องไห้ด้วยคิดว่า เราพ้นดีแล้วจากเขา. นางทาสีกล่าวว่า นาย อย่าได้พูดอย่างนั้นกะดิฉันเลย ทั้งข้อนั้นก็ไม่สมควรแก่ดิฉัน, บุตรของเจ้านายดิฉันพร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดูเป็นอย่างยิ่ง ชอบกล่าวความถูกต้อง ได้เป็นเหมือนบุตรที่เติบโตในอก. ท้าวสักกะกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไรเธอจึงไม่ร้องไห้. ฝ่ายนางทาสี เมื่อจะบอกเหตุที่ตนไม่ร้องไห้ จึงกล่าว ๒ คาถาว่า :-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 130
ข้าแต่ท่านผู้เป็นเหล่ากอของพรหม หม้อน้ำที่แตกแล้วจะพึงประสานให้ติดอีกไม่ได้ ฉันใด ผู้ใดเศร้าโศกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้นั้นก็เปรียบเหมือนฉันนั้น นายของดิฉันถูกพวกญาติเผาอยู่ ก็ยังไม่รู้สึกถึงความร่ำไรของพวกญาติ เพราะฉะนั้น ดิฉันจึงไม่ร้องให้ถึงท่าน คติอันใดของท่านมีอยู่ ท่านก็ได้ไปสู่คติอันนั้นแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ พฺรหฺเม อุทกุมฺโภ ภินฺโน อปฺปฏิสนธฺโย ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ หม้อน้ำที่แตกไปด้วยการทุบด้วยไม้ค้อนเป็นต้น จะประสานให้ติดกันอีกไม่ได้ คือจะให้เป็นปกติอย่างเดิมไม่ได้. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวไว้แล้ว.
ท้าวสักกะครั้นได้ฟังถ้อยคำของตนเหล่านั้นแล้ว มีจิตเสื่อมใส จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายเจริญมรณัสสติชอบทีเดียว ตั้งแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายไม่มีกิจที่จะทำมีการไถนาเป็นต้น ดังนี้แล้ว จึงทำเรือนของชนเหล่านั้นให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ โอวาทว่า ท่านทั้งหลาย อย่าประมาทจงให้ทาน รักษาศีล ทำอุโบสถกรรม และบอกให้คนเหล่านั้นรู้จักพระองค์แล้ว เสด็จไปสู่ที่ของพระองค์แล. แม้ชนเหล่านั้น มีพราหมณ์เป็นต้น ทำบุญมีทานเป็นต้น ดำรงอยู่ชั่วอายุแล้วบังเกิดในเทวโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 131
พระศาสดา ครั้นทรงนำชาดกนี้มาแล้ว ทรงถอนลูกศร คือความเศร้าโศกของอุบาสกนั้นแล้ว ทรงประกาศสัจจะให้สูงๆ ขึ้น. ในเวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล.
จบ อรรถกถาอุรคเปตวัตถุที่ ๑๒
จบ ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ
รวมเรื่องในอุรควรรค คือ
๑. เขตตูปมาเปตวัตถุ ๒. สูกรเปตวัตถุ ๓. ปูติมุขเปตวัตถุ ๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ๖. ปัญจปุตตขาทิกเปตวัตถุ ๗. สัตตปุตตขาทิกเปตวัตถุ ๘. โคณเปตวัตถุ ๙. มหาเปสการเปตวัตถุ ๑๐. ขัลลาติยเปตวัตถุ ๑๑. นาคเปตวัตถุ ๑๒. อุรคเปตวัตถุ.
จบ อุรควรรคที่ ๑