คตสัญญกเถราปทานที่ ๒ (๘๒) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์ ๗ ดอก
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41072

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 304

เถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

คตสัญญกเถราปทานที่ ๒ (๘๒)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์ ๗ ดอก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 304

คตสัญญกเถราปทานที่ ๒ (๘๒)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์ ๗ ดอก

[๘๔] เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำหนด บรรพชาเป็นสามเณร มีใจ เลื่อมใส ได้ถวายบังคมพระบาทของพระศาสดา ได้โยน ดอกไม้กรรณิการ์ ๗ ดอกขึ้นไปในอากาศ อุทิศเฉพาะพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้ทรงพระคุณอนันต์ดังสาคร.

มีใจยินดีและเลื่อมใส บูชาหนทางที่พระสุคตเสด็จดำเนิน ได้กระทำอัญชลีด้วยมือทั้งสองของตน.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยกรรม นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรคิ ๓ ครั้ง มี พระนามว่าอัคคิสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระคตสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบคตสัญญกเถราปทาน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 305

๘๒. อรรถกถาคตสัญยกเถราปทาน

อปทานของท่านพระคตสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติยา สตฺตวสฺโสหํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ได้ศรัทธาด้วยอำนาจวาสนาที่คนทำไว้ในกาลก่อน บวชในกาลที่ตนมีอายุ ๗ ขวบนั้นแล ได้ปรากฏโดยการกระทำการนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง. วันหนึ่งท่านถือเอาดอกไม้ ๗ ดอกที่ตั้งขึ้นในที่ที่เขาไถด้วยไถ มีสีเขียวดุจสีแก้วมณีฉะนั้นเทียวบูชาบนอากาศ. ท่านการทำสมณธรรมจน ตลอดอายุ ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั่งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะ แล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดศรัทธา เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สตฺตวสฺโสหํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติยา สตฺตวสฺโส ความว่า ตั้งแต่ เวลาที่ออกจากท้องมารดา จนอายุครบ ๗ ขวบ. บทว่า ปพฺพชึ อนคาริยํ ความว่า ชื่อว่า อนคาริยะ เพราะกรรมอันเป็นประโยชน์แก่เรือน คือ กสิกรรมและวาณิชกรรมไม่มี, ความว่า เราได้บวชในพระพุทธศาสนา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 306

บทว่า สุคตานุคตํ มคฺคํ ความว่า ทางอันพระพุทธเจ้าทรงดำเนิน ไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ทางอันพระองค์แสดงแล้ว เชื่อมความว่า เรามีใจ ร่าเริงคือมีจิตยินดีบูชา ด้วยอำนาจบำเพ็ญข้อปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ ธรรม. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาคตสัญญกเถราปทาน