ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรมที่เขาเต่า ๑ - ๔ สิงหาคม ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ การที่เราพูดถึง "คำ" ตาม "ปริยัติ" มีการใช้ "คำ" ว่า "สติ"
"สติ" คือ "สภาพธรรมที่ระลึก" ใช่ไหม แต่ให้ทราบว่าเดี๋ยวนี้ ที่กำลัง "เข้าใจ" มี "สติ" เกิดแล้ว โดยที่ไม่ต้องไป "นึกถึงคำ" ว่า ระลึก อย่างเช่น "แข็ง"มีการกระทบ "แข็ง" ตั้งแต่เช้า ... ก็ยังไม่เคยสนใจและ ยังไม่เคยรู้ "แข็ง" เพราะฉะนั้นขณะที่เริ่ม ที่ จะ รู้ หมายความว่า กำลัง เริ่ม ที่จะ รู้ "ลักษณะแข็ง" และ "รู้ลักษณะที่รู้แข็ง" จากความไม่รู้ก็มา รู้ ตรง "ลักษณะแข็ง" และ "ลักษณะที่รู้แข็ง" (คือ รู้ รูปธรรม และ นามธรรม) เพราะฉะนั้น ขณะที่ "เข้าใจ"และ เริ่มที่จะ "รู้ความต่างกัน" ของ สภาพรู้ คือ นามธรรม และ สภาพที่ถูกรู้ คือ รูปธรรมอันนี้ หมายความว่า "สติ" เกิดแล้ว ไม่ใช่ขณะที่กำลัง "คิด"ว่า กำลังระลึก ในการศึกษา เราใช้ "คำ" อธิบาย "เรื่องสติระลึก"แต่เวลาที่ "สติ" เกิด ไม่ต้องใช้ "คำ" ว่า ระลึก (เมื่อได้มีโอกาสฟังพระธรรม) และ ขณะที่ กำลังค่อยๆ "เข้าใจ" ขึ้นๆ คือ ขณะที่ สติ เกิดแล้ว เพราะว่า แม้ "แข็ง" จะเกิดและกระทบมาตลอดท้งวันแต่ว่าไม่เข้าใจ "ลักษณะแข็ง"และไม่เข้าใจ "ลักษณะที่รู้แข็ง" จนกว่า จะ "เข้าใจ" คือ ... "เข้าใจ" ตรง ลักษณะ แข็ง "เข้าใจ" ตรงลักษณะ ที่รู้แข็ง.! เพราะว่าขณะนี้ นามธรรม และ รูปธรรม เท่านั้นที่กำลังปรากฏ ตลอดเวลา เราจึงได้ศึกษา "เรื่องสิ่งที่ปรากฏ"
ท่านผู้ฟัง อาจารย์ หมายความว่า ไม่ต้องไป "จดจ้องที่จะรู้" แต่ว่า เมื่อมีอะไร ปรากฏ ก็รู้สิ่งที่ปรากฏนั้น
ท่านอาจารย์ ธรรมะ หมายถึง ธรรมดาไม่มีอะไรที่ "ผิดปกติ" เลยขณะที่ "สติ" เกิด ก็มี การที่จะค่อยๆ รู้ อย่าง "เป็นปกติ" ไม่ใช่ไปตั้งใจ หรือ จงใจ เป็นปกติ เป็นธรรมดา ไม่ว่าจะมี "โลภะ" เกิด หรือจะยิ้ม จะหัวเราะ ฯลฯ หรืออะไร ก็แล้วแต่ สิ่งต่างๆ ที่เกิด ปรากฏ นั้น ต้องมี "เหตุปัจจัย" ให้เกิดทั้งนั้น และ ถ้าหากทราบตามความเป็นจริง ว่าเพราะมี "เหตุปัจจัย" จึงเกิด (สติ) "สติ" ที่ระลึก ก็ระลึกตามสบาย แล้วแต่ "สติ" ไม่ใช่ว่า "เรา" จะไปรู้ ไประลึก ตรงนั้นตรงนี้ ฯซึ่ง นอกจากจะเหนื่อย ไม่เป็นประโยชน์แล้วก็ ไม่ถูกต้อง ด้วย เพราะว่า มี "ความเป็นตัวเรา "ที่พยายามไประลึก ด้วยความ "ไม่เข้าใจ" ซึ่ง ตามปกติ ตามความเป็นจริง แล้ว "สติ" เกิดที่ไหนก็ได้ ตรงไหนก็ได้ แต่ ต้องเป็น ขณะนี้ ที่กำลังปรากฏ
ท่านผู้ฟัง หมายความว่า "ความเข้าใจ" เป็น "เหตุปัจจัย" ให้ "สติ" เกิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นมรรคมีองค์ ๘ องค์ที่ ๑ คือ "สัมมาทิฏฐิ"
"สัมมาทิฏฐิ" หมายถึง "ความเห็นที่ถูกต้อง" และ "สัมมาทิฏฐิ" ก็ไม่ใช่ "ตัวท่านผู้ฟัง" แต่ เป็น "กุศลญาณสัมปยุต" ซึ่งหมายถึง "กุศล" ที่ประกอบด้วย "ปัญญา" ขณะที่ "เข้าใจ" หมายถึง "ปัญญา" เป็น "ปัญญาสัมปยุต" ที่เราใช้ "คำ" ว่า "มหากุศลญาณสัมปยุต" ซึ่ง ก็คือ"ความเข้าใจ" ขณะนี้เอง
ท่านผู้ฟัง หมายความว่าขณะที่ "สติ" เกิด ก็ เป็นกุศล แล้วไม่ต้องไปคอยดูกุศล คอยดูโลภะ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ และ "สติ" ก็เกิดตามสบาย ง่าย สะดวกมิฉะนั้น เหนื่อย
ท่านอาจารย์ กล่าวไว้ตอนหนึ่ง ว่า พยายามไป อย่างช้าๆ แต่ให้คนฟัง "เข้าใจ ละเอียด มั่นคงขึ้น" ประโยชน์ คือ มีความเข้าใจขึ้น อย่างนี้ ก็คุ้มค่า ของการฟังแล้ว ให้ผู้ฟัง "เข้าใจ" ในสิ่งที่ปรากฏ
(ขอขอบพระคุณ ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ)
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
สาธุ
สาธุ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ