ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ให้ทราบว่า ไม่พ้นจากความเป็น กามาวจร คือ ความวนเวียนติดข้องในรูปทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ มีความติดข้องโดยที่ไม่รู้เลยว่า แท้ที่จริงเป็นธรรม ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน แต่เมื่อไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีในชีวิต จึงเป็นที่มาของการแสวงหารูป การค้นหาสาระในรูป ทั้งหมดมีก็ด้วยความไม่รู้ว่าเกิด แล้วก็ดับด้วย ซึ่งหาสาระไม่ได้
ข้อความเตือนสติเรื่องปฐมสุขสูตร
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
หาอะไร?
ตั้งแต่เช้าเมื่อลืมตาตื่นขึ้นมาหาอะไร? รู้บ้างหรือไม่ว่า หารูปทันที เพราะสิ่งที่ทำเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา มีรูปที่เห็นได้ทางตา แม้ว่าไม่ต้องหาเลย แต่ขณะที่จะเดินไปไหน รู้บ้างหรือไม่ว่า หารูปนั้นแล้ว ทั้งๆ ที่มีรูปปรากฏอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นรูปยังหารูป
ที่ลึกไปกว่านั้น คือ ไม่เพียงแต่หารูป ยังค้นหารูป เพื่อหาสาระประโยชน์ในรูป เช่น ในตู้ที่บ้านก็มีเสื้อหลายตัว ยาสีฟันก็มีหลายประเภท และก็เลือกตามความพอใจ ค้นรูปที่น่าพอใจที่เป็นยาสีฟัน เป็นต้น
ข้อความเตือนสติเรื่องปฐมสุขสูตร
ผู้ที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระอริยบุคคลนั้น เมื่อจุติแล้วก็ไม่แน่นอนว่าจะปฏิสนธิในสุขติภูมิหรือทุคติภูมิ จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรมและเจริญสติปัฏฐานอีกหรือไม่ ความตายพรากทุกอย่างจากชาตินี้ไปหมดสิ้น ไม่มีอะไรเหลืออีกเลยแม้แต่ความทรงจำ เหมือนเมื่อเกิดมาชาตินี้ก็จำไม่ได้ว่าชาติก่อนเป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำอะไร หมดความเป็นบุคคลในชาติก่อนโดยสิ้นเชิง ฉันใด ชาตินี้ทั้งหมดไม่ว่าจะเคยทำกุศลกรรม อกุศลกรรมอะไรมาแล้ว เป็นบุคคลที่มีมานะในชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียงอะไรๆ ก็ตาม ก็จะต้องหมดสิ้น ไม่มีเยื่อใยหลงเหลือเกี่ยวข้องกับภพนี้ชาตินี้อีกเลย หมดความผูกพันยึดถือทุกขณะในชาตินี้ว่าเป็น “เรา” อีกต่อไป ฉันนั้น
การระลึกถึงความตายเนืองๆ บ่อยๆ มีประโยชน์แก่การเจริญสติ
"ชื่อ" ปิดบังลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ชื่อย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปกว่าชื่อ ไม่มี สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ ชื่อ
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค อันธวรรคที่ ๗
นามสูตร ว่าด้วยเทวตาปัญหา ๓ ข้อ
"บุคคลพึงดับไฟที่ไหม้ลุกลามไปด้วยน้ำ ฉันใด นรชนผู้เป็นปราชญ์ มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นเสียโดยฉับพลัน เหมือนลมพัดนุ่น ฉะนั้น"
สัลลสูตรที่ ๘ ว่าด้วยความเป็นธรรมดาของสัตว์โลก
จิตวิจิตรเพราะอารมณ์ที่วิจิตร
ฟังเพิ่มเติม ...
จิตวิจิตรเพราะอารมณ์ที่วิจิตร
สามัญญลักษณะ
สามญฺญ (เสมอกัน, ทั่วไป) + ลกฺขณ (เครื่องกำหนด, สภาวะ) เครื่องหมายรู้ที่เสมอกันทั่วไป หมายถึง ลักษณะทั้ง ๓ ที่เป็นสาธาณะแก่สังขารธรรมทั้งปวง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งได้แก่ ไตรลักษณ์นั่นเอง จิต เจตสิก รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ส่วนนิพพานเป็นวิสังขารธรรม จึงเป็นสภาพที่เที่ยง (นิจจัง) เป็นสุข (สุขัง) แต่ก็ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา)
สามัญญลักษณะ
การหลงยึดสภาพธรรมทั้งหลายว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลนั้น อุปมาเหมือนคนเดินทาง ในที่ซึ่งย่อมเห็นเหมือนกับว่ามีเงาน้ำอยู่ข้างหน้า แต่เมื่อเข้าใกล้ เงาน้ำก็หายไป เพราะแท้จริงหามีน้ำไม่ เงาน้ำที่เห็นเป็นมายา เป็นภาพลวงตา ฉันใด การเข้าใจผิดว่า สภาพธรรมทั้งหลาย เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เพราะความไม่รู้ เพราะความจำ เพราะความยึดถือ ก็ฉันนั้น
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ