[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 480
๑๐. เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระ [๙๐]
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 41]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 480
๑๐. เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระ [๙๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระขานุโกณฑัญญเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสตํ ชีเว" เป็นต้น.
พระเถระนั่งเข้าฌาน โจรเอาห่อของทับไม่รู้สึก
ได้ยินว่า พระเถระนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา อยู่ในป่า บรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า จักทูลพระศาสดา เมื่อมาจากที่นั้น เหน็ดเหนื่อยในระหว่างทาง แวะจากทางนั่งเข้าฌานบนศิลาดาด (๑) แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น โจร ๕๐๐ คนปล้นบ้านแห่งหนึ่งแล้ว ผูกห่อสิ่งของตามสมควรแก่กำลังของตน เอาศีรษะเทินเดินไป ครั้นเดินไปไกลก็เหน็ดเหนื่อย คิดว่า เรามาไกลแล้ว จักพักเหนื่อยบนศิลาดาดนี้ แวะจากทางไปยังที่ใกล้ศิลาดาด แม้เห็นพระเถระแล้วก็มีความสำคัญว่า นี่เป็นตอไม้ ลำดับนั้น โจรคนหนึ่งวางห่อสิ่งของลงบนศีรษะพระเถระ โจรคนอื่นๆ ก็วางห่อสิ่งของพิงพระเถระนั้น ด้วยประการฉะนี้ โจรแม้ทั้ง ๕๐๐ คน เอาห่อสิ่งของ ๕๐๐ ห่อล้อมรอบพระเถระ แม้ตนเองก็นอนหลับ ตื่นในเวลาอรุณขึ้น คว้าห่อของตนๆ ได้เห็นพระเถระก็เริ่มจะหนีไป ด้วยสำคัญว่า เป็นอมนุษย์.
ทันใดนั้น พระเถระกล่าวกะพวกโจรนั้นว่า "อย่ากลัวเลย อุบาสก
(๑) ปิฏฺฐิปาสาเณ บนแผ่นหินมีหลัง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 481
ฉันเป็นบรรพชิต" โจรเหล่านั้นหมอบลงที่ใกล้เท้าพระเถระ ให้พระเถระอดโทษด้วยคำว่า "โปรดอดโทษเถิด ขอรับ พวกกระผมได้สำคัญว่า ตอไม้" เมื่อหัวหน้าโจรบอกว่า "เราจักบวชในสำนักพระผู้เป็นเจ้า" พวกโจรที่เหลือก็กล่าวว่า "แม้พวกเราก็จักบวช" มีฉันทะเป็นอันเดียวกันทั้งหมดเทียว ขอบรรพชากะพระเถระ พระเถระให้โจรเหล่านั้นทั้งหมดบวช ดุจสังกิจจสามเณร จำเดิมแต่นั้น พระเถระปรากฏชื่อว่า ขานุโกณฑัญญะ ท่านไปสำนักพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า โกณฑัญญะ เธอได้อันเตวาสิกแล้วหรือ จึงกราบทูลเรื่องนั้น.
คนมีปัญญาดีกว่าคนทรามปัญหา
พระศาสดาตรัสถามว่า "เขาว่าอย่างนั้นหรือ ภิกษุทั้งหลาย" เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า "ถูกแล้ว พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ไม่เคยเห็นอานุภาพเห็นปานนั้นของผู้อื่นเลย ด้วยเหตุนั้น พวกข้าพระองค์จึงบวช" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่แม้วันเดียวของพวกเธอ ผู้ประพฤติในปัญญาสัมปทาในบัดนี้ ประเสริฐกว่าความตั้งอยู่ในกรรมของผู้มีปัญญาทรามเห็นปานนั้น เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า.
๑๐. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโ อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺวนฺตสฺส ฌายิโน.
"ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีปัญญา มีฌาน ประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น) ".
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้า 482
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺปญฺโ ความว่า ผู้ไร้ปัญญา.
บทว่า ปญฺวนฺตสฺส ความว่า ผู้เป็นไปกับด้วยปัญญา.
คำที่เหลือ เช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั่นแล.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ ๕๐๐ รูป บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระจบ.