ศีลอันเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิต
โดย tonnkhaow  8 มิ.ย. 2556
หัวข้อหมายเลข 23017

สภาพธรรมขณะวิรัติศีล เข้าใจว่าเป็นกุศลจิตใช่ไหมครับ จึงใคร่ขอความกระจ่างเพิ่มเติม

1.ขณะวิรัติศีล คือ ขณะที่เจตนางดเว้นเมื่อมีเหตุปัจจัยอันจะก่อให้เกิดการละเมิดศีล

เท่านั้นใช่ไหมครับ อย่างเช่น ขณะที่ โดนสุนัขกัดแล้วไม่ทำร้ายมันตอบแต่หลีกเลี่ยง

แทนขณะนั้นคือกุศลจิตที่อย่างน้อยมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่อาจมีหรือไม่มีปัญญา

เจตสิกก็ได้ และหากอยู่เฉยเฉยไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดการวิรัติศีล เช่นขณะที่พนม

มือกล่าวคำบาลีว่าจะถือศีล หรือขณะนึกคิดว่าศีลมีอะไรบ้าง ลักษณะนี้คือ ยังไม่เกิด

กุศลจิตอันมีเหตุมาจากวิรัติศีลใช่ไหมครับ

2.สัมปัตตวิรัติ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตด้วยหรือไม่ครับ เข้าใจว่าคือ การงดเว้นด้วย

ระลึกชาติ ตระกูล ประเทศตน ลักษณะของหญิงบางศาสนาแต่งตัวมิดชิด แม้กระทั่ง

ปกปิดใบหน้า เพราะความเหมาะสมตามข้อบัญญัติในศาสนาและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

นั้น จัดเป็นสัมปัตวิรัติหรือไม่ แล้วขณะเจตนาแต่งตัวให้สุภาพของคนไทย เพื่อไปติด

ราชการหรือกระทั่งไปฟังธรรมถือเป็นสัมปัตวิรัติด้วยหรือไม่ครับ

ขณะที่ฝรั่งหรือวัยรุ่นในยุคใหม่ ไม่มีความชัดเจนในเรื่องการแต่งตัวมิดชิด เป็นสิ่งที่

เหมาะสมในยุคสมัยของตน ดังนั้นหากฝรั่งหรือวัยรุ่นดังกล่าว คิดจะแต่งตัวมิดชิดใน

ท้องถิ่นตนเหมือนเช่นผู้หญิงบางศาสนาที่มีกฏข้อห้าม ก็ไม่จัดเป็นกุศลจิตเพราะสัม

ปัตตวิรัติใช่หรือไม่ครับ

3.สมาทานวิรัติ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตด้วยหรือไม่ครับ หากใช่ นั่นหมายความว่า

พระ หรือภิกษุณี ย่อมมีเหตุให้เกิดการสั่งสมกุศลจิต หรือสติมากกว่าบุคคลทั่วไป

เพราะมีปัจจัยมากมายให้เกิดการละเมิดการวิรัติได้ เช่น การตัดต้นไม้ดึงใบไม้สีเขียว

ของพระเป็นต้น ในทางตรงข้ามหากเว้นไม่สำเร็จก็เป็นเหตุให้สั่งสมอกุศลจิต มากกว่า

คนทั่วไปเช่นกัน

4.คนที่ไม่ได้บวชเป็นพระ จะสมาทานวิรัติ เช่นพระภิกษุได้หรือไม่ครับ เป็นกุศลจิต

หรือไม่ หากวิรัติได้ครับ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 9 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศีล โดยนัย การงดเว้น ที่เป็น วิรัติ มีดังนี้

๑. สัมปัตตวิรัติ แปลว่า ความละเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า โดยไม่ได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ล่วงหน้า แต่บุคคลนั้นพิจารณาเห็นการที่ทำดังนั้นไม่สมควรแก่ตนโดย

ชาติ ตระกูล ยศศักดิ์ ทรัพย์ บริวาร ความรู้ หรือมีใจเมตตาปรานี คิดถึงเราบ้าง

เขาบ้าง มีหิริ คือความละอายแก่ใจ มีโอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวจะได้บาป

หรือคิดเห็นประโยชน์ในการเว้นอย่างอื่นๆ อีก และเขาไม่กระทำกรรมเห็นปานนั้น

๒. สมาทานวิวัติ แปลว่า ความละเว้นด้วยการสมาทาน ได้แก่ความละเว้น

ของพวกคนจำศีล เช่น ภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา เป็นต้น การงดเว้นจากวัตถุอันถึงเข้า ด้วยเห็นว่า ไม่สมควรจะทำและการงดเว้นด้วยการสมาทาน คือ การ

ไม่ล่วงข้อห้ามของนักบวช นักพรตทั้งหลาย นอกจากจะจัดเป็นวิรัติแล้ว ยังจัดเป็น

พรต คือ ข้อควรประพฤติของเขาด้วย

๓. สมุจเฉทวิรัติ แปลว่า ความละเว้นด้วยตัดขาด ได้แก่ ความเว้นของ

พระอริยเจ้า ผู้มีปกติไม่ประพฤติล่วงข้อห้ามเหล่านั้นจำเดิมแต่ท่านได้เป็นพระอริยเจ้า

ซึ่งจากคำถาม ข้อที่ 1 ที่ว่า

1.ขณะวิรัติศีล คือ ขณะที่เจตนางดเว้นเมื่อมีเหตุปัจจัยอันจะก่อให้เกิดการละเมิดศีล

เท่านั้นใช่ไหมครับ อย่างเช่น ขณะที่ โดนสุนัขกัดแล้วไม่ทำร้ายมันตอบแต่หลีกเลี่ยง

แทน ขณะนั้นคือ กุศลจิตที่อย่างน้อยมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่อาจมีหรือไม่มี

ปัญญาเจตสิกก็ได้ และหากอยู่เฉยเฉยไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดการวิรัติศีล เช่น ขณะ

ที่พนมมือกล่าวคำบาลีว่าจะถือศีล หรือขณะนึกคิดว่าศีลมีอะไรบ้าง ลักษณะนี้คือ ยัง

ไม่เกิดกุศลจิตอันมีเหตุมาจากวิรัติศีลใช่ไหมครับ

- วิรัติศีล ที่เป็นการงดเว้นเฉพาะหน้าที่เป็น สัมปัตติวิรัติ เช่น งดเว้นจากฆ่าสุนัข

ในขณะนั้น มีสติด้วย และ งดเว้นจากการล่วงศีลด้วย แต่ไม่จำเป็นจะต้องมีปัญญา

ในขณะนั้น ครับ และ ขณะที่ สมาทานศีล มีเจตนาที่จะถือเอา ที่จะรักษาศีล ก็เป็น

วิรัติศีล โดยนัย สมาทานวิรัติ

ส่วนขณะที่นึกถึงศีลว่ามีอะไรบ้าง ขณะนั้น เป็นการนึกถึงคำ ไม่ได้มีเจตนาที่จะ

ถือเอาในศีล หรือ งดเว้นในศีลข้อต่างๆ จึงไม่ได้เป็นศีลในขณะนั้น แต่ ขณะใดที่

นึกถึงคำในศีลนั้นแล้ว มีเจตนางดเว้น หรือ ถือเอาที่จะรักษาศีลนั้น ก็เป็น วิรัติศีล

ได้ในขณะนั้น ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2.สัมปัตตวิรัติ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตด้วยหรือไม่ครับ เข้าใจว่าคือ การงดเว้นด้วย

ระลึกชาติ ตระกูล ประเทศตน ลักษณะของหญิงบางศาสนาแต่งตัวมิดชิดแม้กระทั่ง

ปกปิดใบหน้า เพราะความเหมาะสมตามข้อบัญญัติในศาสนาและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

นั้น จัดเป็นสัมปัตวิรัติหรือไม่ แล้วขณะเจตนาแต่งตัวให้สุภาพของคนไทยเพื่อไปติด

ราชการ หรือกระทั่งไปฟังธรรม ถือเป็นสัมปัตวิรัติด้วยหรือไม่ครับ

- สัมปัตติวิรติ คือ เจตนางดเว้นจากการล่วงศีล เฉพาะหน้าในขณะนั้น ซึ่งการงดเว้น

ที่เป็นการงดเว้นเฉพาะหน้า เป็นกุศลจิต ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตในภายหน้าได้

เช่น งดเว้นจากการฆ่ายุง ไม่ตบในขณะนั้น ก็เป็นปัจจัยให้ ต่อไป เกิดความละอาย ที่

จะไม่ตบต่อไป ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตมากขึ้นได้ครับ ที่เป็นปัจจัยที่เรียกว่า

ปกตูปนิสสยปัจจัย ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3.สมาทานวิรัติ เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลจิตด้วยหรือไม่ครับ หากใช่ นั่นหมายความว่า

พระ หรือภิกษุณี ย่อมมีเหตุให้เกิดการสั่งสมกุศลจิต หรือสติมากกว่าบุคคลทั่วไป

เพราะมีปัจจัยมากมายให้เกิดการละเมิดการวิรัติได้ เช่น การตัดต้นไม้ดึงใบไม้สีเขียว

ของพระ เป็นต้น ในทางตรงข้าม หากเว้นไม่สำเร็จก็เป็นเหตุให้สั่งสมอกุศลจิต

มากกว่าคนทั่วไปเช่นกัน

- สมาทานวิรัติ ไม่ใช่แค่เพียงชื่อที่จะกล่าวเป็นคำ ขออาราธนาศีล 5 หรือศีล 227

แต่ จะต้องเป็นการสมาทาน ที่มีเจตนาที่จะถือเอาที่จะรักษาศีลด้วยใจจริง ขณะนั้น

จึงเป็นกุศลจิต ซึ่ง ไม่จำเป็นว่า เพศบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ จะเกิดกุศลจิตมากกว่า

ในเพราะเหตุการสมาทานวิรัติ แต่กุศลจิตจะเกิดมากกว่าหรือไม่ สำคัญที่ความเข้าใจ

ถูก ปัญญา หากมีปัญญา ศีลก็มั่นคงขึ้น กุศลจิตก็มากขึ้น ตามกำลังของปัญญาเป็น

สำคัญ ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

4.คนที่ไม่ได้บวชเป็นพระ จะสมาทานวิรัติ เช่นพระภิกษุได้หรือไม่ครับ เป็นกุศลจิต

หรือไม่หากวิรัติได้ครับ

สมาทานวิรัติ คือ ขณะที่ถือเอา ที่จะรักษาศีล อันไม่ใช่ขณะที่งดเว้นจากการ

ล่วงศีล เช่น ในขณะที่สมาทานศีล 5 ศีล 10 ศีล 227 ด้วยเจตนาที่จะรักษาก็ชื่อว่า

สมาทานวิรัติ เพราะฉะนั้น กุศลศีลไม่ได้จำกัดเพศชาย เพศหญิง เพศบรรพชิต หรือ

คฤหัสถ์ก็สามารถเกิด สมาทานวิรัติ กุศลศีลที่มีเจตนาจะรักษาศีลได้ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา


ความคิดเห็น 3    โดย nong  วันที่ 15 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย guy  วันที่ 20 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย papon  วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 6    โดย orawan.c  วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย ก.ไก่  วันที่ 3 ก.ย. 2564

สาธุ