ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนทนาธรรม เรื่อง การปฏิบัติธรรมณ ห้องประชุมใหญ่ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ มิถุนายน พศ. ๒๕๕๒ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านอาจารย์ ยังสนใจ คำว่า "จนปัญญา" หมายความว่าอะไร
ท่านผู้ฟัง ความเข้าใจ ยังน้อยอยู่ความเข้าใจ ยังไม่มาก..
ท่านอาจารย์ มี "ทางที่จะมีปัญญา" อีกไหมคะ.?
ท่านวิทยากร พระพุทธพจน์ ใน "คาถาธรรมบท" ที่พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ในเรื่อง "ความสันโดษ เป็น ทรัพย์ อย่างยิ่ง" ... "ความไม่มีโรค เป็น ลาภ อย่างยิ่ง" ... "ความหิว เป็น โรค อย่างยิ่ง" ... "ขันธ์ เป็น ทุกข์ อย่างยิ่ง" เป็นต้น
เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ ก็ได้ให้ "ความเข้าใจ" ในเรื่องนี้แล้วก็เข้าใจได้แล้ว ใช่ไหมครับตัวอย่างต่างๆ ก็แสดงให้เห็นได้ ว่า "ผู้ที่มีทรัพย์" นี้นะครับ "ทรัพย์ นำมาซึ่ง ความปลื้มใจ เป็นสุข" ใช่ไหมครับ ถ้าหากมีความยินดี พอใจ เท่าที่มี เท่าที่ได้ รายละเอียดในเรื่อง "สันโดษ" มีมากแต่ โดยพื้นฐานทั่วๆ ไป นั้น ผู้ที่มีทรัพย์ไม่มาก แต่ว่า พอใจคือ ไม่โลภมากไม่ดิ้นรนขวนขวาย จนไม่รู้จักเพียงพอนั่น คือ "ลักษณะ"ของคนที่ "ไม่จน" แต่ "ลักษณะ" ของคนที่ "จน" คนที่คิดแต่จะเอา คิดแต่จะได้.แสวงหาอยู่เสมอ ไม่รู้จักจบสิ้น
ไม่มีวันเต็ม สำหรับ "ผู้ที่มีความโลภมาก" คือ โลภมาก อยู่ร่ำไปไม่ว่าจะมีมากสักเท่าไร ก็ยังรู้สึกไม่พอเช่นนี้ ก็คือ คนที่ "จน" อยู่เสมอ แต่ ในขณะเดียวกันผู้ที่มี เพียงไม่มากแต่ว่า พอใจ ในสิ่งที่พึงมี พึงได้และมีความสุขอยู่กับทรัพย์ เท่าที่มี นั้นนั่น คือ พื้นฐานทั่วๆ ไป.แต่ ไม่ได้หมายความว่า พระธรรมส่วนนี้ จะสอนให้คนไม่ขยัน ซึ่ง ถ้ามี "การศึกษา" โดยละเอียดแล้วพระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงธรรม ในเรื่องของ "ความขยันหมั่นเพียร" พระองค์ทรงยกย่องเรื่อง "ความขยันหมั่นเพียร"
เรื่อง "การแสวงหาทรัพย์"และ ทรงแสดงเรื่อง "โทษของความเกียจคร้านในการทำงาน" ว่า เป็น "อบายมุข"และเป็น "ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์"ดังนั้นเมื่อ "ศึกษา" พระธรรม โดยละเอียดแล้วก็จะไม่เข้าใจสับสนระหว่าง "ความสันโดษ" กับ "ความเกียจคร้าน""ความเป็นผู้ขยัน" และ "ความยินดีในทรัพย์" ตามมี ตามได้ ตามกำลังหรือ ตามสมควร
ขออนุโมทนา
สาธุ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ