คนที่ออกกำลังกายให้ร่างการแข็งแรง รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ระวังรักษาสุขภาพตลอดเวลา เพราะต้องการมีชีวิตอยู่ไปนานๆ เพื่อศึกษาและฟังธรรมได้นานๆ มากๆ แบบนี้เป็นความโลภ และมีตัวตนหรือไม่ครับ
เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้เป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตนและทุกคนคิดไม่เหมือนกันกุศลจิตและอกุศลจิตก็เกิดดับสลับกันเร็วมากลองสังเกตดูในชีวิตประจำวัน...อะไรเกิดมาก.
ขณะใดก็ตามที่จิตไม่ได้เป็นไปในทาน ในศีล ในภาวนา ขณะนั้นก็เป็นอกุศลจิตค่ะ
ปุถุชน แปลว่า ผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส มีปกติหลงลืมสติ ในแต่ละวันส่วนใหญ่ที่กระทำกิจกรรมอะไรที่เกี่ยวเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ล้วนเป็นไปตามโลภะกว่ากุศลขั้นทาน หรือขั้นศีลจะเกิด ก็เกิดเพียงขณะสั้นๆ ส่วนผู้ที่มีโอกาสอบรมเจริญปัญญาในขั้นสมถวิปัสสนาที่ถูกต้อง ย่อมมีโอกาสที่จะเข้าใจสภาพธรรมะมากขึ้น จิตเป็นกุศลบ่อยขึ้นตามเหตุปัจจัยและการสะสมครับ
กุศลและอกุศลเกิดดับสลับกันเร็วมากและขณะใดไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนาก็เป็นอกุศลครับ เห็นด้วยกับที่ความเห็นอื่นที่กล่าวมาครับ
ขออนุโมทนาครับ
ผมตอบคุณแสวงหามาหลายกระทู้แล้ว กระทู้นี้ผมขอเป็นฝ่ายถามบ้างนะครับ
๑.คนที่ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ระวังรักษาสุขภาพตลอดเวลา นั้น ชื่อว่า รักษาประโยชน์ในโลกนี้ของตนหรือไม่
๒.การกระทำตามข้อ ๑. ทำให้ประโยชน์โลกหน้าของผู้นั้น เสียหาย หรือไม่
๓.การกระทำตามข้อ ๑. ทำให้ประโยชน์อย่างยิ่งของผู้นั้น เสียหาย หรือไม่
ผมรอฟังคำตอบอยู่ ขอบคุณครับ
ขอพระสัทธรรม ทำให้ใจของคุณเบิกบาน
ออกกำลังกายก็น่าจะเป็นโลภะหรือเปล่าคะ? ออกกำลังเพราะไม่อยากมีสุขภาพไม่ดีมีทุกข์ในอนาคต หรือว่าออกกำลังกายเพื่อรูปร่างที่สวยงาม
กรุณาตอบด้วยค่ะ
ตอบคุณ suwit02
ข้อ ๑ ใช่
ข้อ ๒ ไม่
ข้อ ๓ ไม่
ตอบคุณ Pararawee
เพื่อสุขภาพแข็งแรงครับ
การออกกำลังกาย ถ้าด้วยความต้องการ เป็นโลภะแต่การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเป็นปัจจัยแก่การเจริญกุศลทุกประการ เป็นกุศลเช่น การเดินจงกรมของพระภิกษุ เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อรักษาร่างกายให้ควรแก่การงาน พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญการปล่อยปละละเลยร่างกาย หรือทรมานร่างกาย อะไรไม่เป็นโทษแต่มีคุณต่อร่างกาย พระองค์ไม่ทรงห้าม แต่ต้องไม่ผิดพระวินัย
แต่ พระองค์ทรงสอนให้ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตรงต่อความจริงการกระทำทุกอย่างจะด้วยโลภะ เช่น อยากสวย อยากแข็งแรง เป็นต้นหรือด้วยโทสะ เช่น กลัวไม่แข็งแรง กลัวป่วย กลัวเจ็บ กลัวตาย เป็นต้น ต้องตรงต่อความจริงว่า ปุถุชน ยังมีความคิดอย่างนี้กันบ้างไม่มากก็น้อย.
แต่พระพุทธองค์ ยังสอนอีกว่า กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลได้ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งใจจะรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อมี รูปร่างกายที่แข็งแรงที่จะไปฟังธรรมไปเจริญกุศลได้สม่ำเสมอ มีสายตาดี หูไม่ตึง ฟังธรรมชัดเจน แต่ปัจจัยไม่อำนวยให้เป็นอย่างนั้น ก็เสียใจ (เป็นโทสะ) เป็นต้น.
และอกุศลก็เป็นปัจจัยแก่กุศลได้ เช่นบางคนไม่สนใจพระธรรม แต่สะสมมาที่จะรักษาสุขภาพ เพื่อสวย หรือแข็งแรง เป็นต้น แต่เมื่อมีเหตุปัจจัย ให้พบพระธรรม เข้าใจพระธรรม รูปร่างกายที่แข็งแรง เช่นหูดีตาดี เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว ย่อมเกื้อกูลต่อการเจริญกุศลทุกประการ เป็นต้น.
แต่ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา คือบังคับบัญชา ไม่ได้สุขภาพจะดีหรือไม่ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย (ที่ละเอียดซับซ้อนมาก) ไม่ใช่จะสั่งได้แต่เหตุดี ผลย่อมดี มั่นคงในเรื่องกรรม แม้เดือดร้อนใจ ก็ไม่นานหากรักษาธรรม.
คำถามยาว และเรื่องราวของคำถามก็ยาวมากค่ะ กว่าจะกิน กว่าจะออกกำลังกาย กว่าจะไปศึกษาธรรม มึจิดและรูปเกิดดับมากมาย หลายขณะ นับไม่ถ้วน ไม่มีใครอาจหาญตอบหรอกค่ะ ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล คนที่ตรงต่อสภาพธรรมของตนเองเท่านั้น ที่จะตอบได้ หมายความว่า ต้องรู้จัก กุศลและอกุศลจิต จากการได้ยินได้ฟังธรรมมาพอควร ไม่ใช่คิดเอาเองว่า อย่างนี้กุศลจิต อย่างนี้อกุศลจิต
และ การพิจารณาสภาพของจิต ไม่ใช่พิจารณาที่เรื่องราว ต้องพิจารณาที่ขณะที่เกิดค่ะ ว่ากันไปทีละขณะ จะจะกันไป ไม่ใช่เหมารวมทั้งหมด ซึ่งมีการสลับได้ระหว่างกุศลและอกุศล ทั้งโลภะ ทั้งมานะ ทั้งทิฏฐิ ทั้งตัณหา ล้วนเป็นตัวตนทั้งนั้นค่ะ
แม้การคิดว่า จะกินอาหาร ออกกำลังให้แข็งแรงเพื่อศึกษาธรรม ก็เป็นการคิดอย่างมีตัวตน คิดเมื่อไร มีตัวตนเมื่อนั้น เพราะเราคิดในเรื่องราว ในบัญญัติ ในสมมติ ไม่ใช่การประจักษ์ในสภาพธรรม
ถ้าคิดว่าเราควรอยู่นานๆ เพื่อจะได้ฟังธรรมก็เป็นตัวตนแน่ แต่ถ้าเข้าใจว่ากายนี้เป็นแค่เครื่องอาศัยในการฟังธรรม จึงจำเป็นต้องบริหารบำรุงรักษาตามสมควร เพื่อที่จะได้ฟังธรรมและไม่ต้องมีกายนี้อีกก็ไม่เป็นตัวตน
วาระจิตเป็นเรื่องรู้ได้เฉพาะตน ตอบแทนคนอื่นไม่ได้แต่ควรทราบว่า อกุศล และกุศล ต่างกันอย่างไร จากการศึกษาพระธรรมโดยละเอียดคำตอบที่ดีที่สุด คือพระพุทธพจน์ ซึ่งต้องศึกษาอย่างรอบคอบและเป็นผู้ตรงต่อตนเองพระธรรมไม่ง่าย จึงต้องใช้ความอดทนที่จะค่อยๆ ทำความเข้าใจ