ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ท่านอาจารย์ ท่านผู้ฟังปรารถนาอะไรคะ แต่ละท่าน เป็นเรื่องเฉพาะแต่ละบุคคล แล้วแต่กำลังของปัญญา ถ้ายังมีปัญญาน้อยและปรารถนาปัญญาเพี่มขึ้น นั่นเป็นกุศล แต่ถ้ามีปัญญาน้อย ก็เลยขอ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เพราะว่าในขณะนั้น ปัญญาไม่เกิด จึงติดในรูป เสียง....พะ ในขณะนั้นก็ต้องเป็น อกุศล
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา จะทำให้เข้าใจเหตุและผลตรงขึ้นว่าสี่งใด เป็นสี่งที่ควรจะปราถนา อย่างเช่นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในอดีต ก่อนที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เช่นท่านพระอัญญาโกญทัญญะ ท่านปราถนาสี่งที่ประเสริฐ คือปรารถนาที่จะได้เป็นสาวกองค์แรกของพระอรหันตสัมมามัมพุทธเจ้า องค์หลังๆ ก็ยังช้าไป ใช่ไหมคะ จะต้องเกิดแล้วเกิดอีก ตายแล้วตายอีก เพราะฉะนั้น เมื่่อท่านเห็นประโยชน์ ท่านก็ใคร่ทีจะได้เป็น ปฐมสาวก คือสาวกองค์แรก แต่ต้องเจริญเหตูให้สมควรแก่ผล
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ที่เป็นอริยเจ้าทั้งหลาย ก่อนที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจจธรรม ท่านตั้งความปรารถนาที่เป็นกุศล แต่ผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่มาก แล้วก็มีปัญญาน้อย ก็ย่อมเป็นของธรรมดา ที่ยังติดในรูป....พะ แม้จะรู้ว่าปัญญาเป็นสี่งที่ดี แต่ก็ยังอดปราถนารูป....พะ แถมนิดหน่อยบ้างไม่ได้ หรือว่า อาจจะมากก็ได้ นั่นเป็นเรื่องซึ่งเฉพาะแต่ละท่านจริงๆ ที่จะทราบได้ว่าในปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้ ท่านปราถนาอะไร ย่อมเป็นไปตามการสะสมทั้งนั้น
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
อนุโมทนาด้วยค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ความปรารถนาไม่ว่าจะเป็นไปในทางกุศล หรือ อกุศล ล้วนเกิดเพราะมีเหตุปัจจัยให้ปรารถนาแต่การจะสมความปรารถนาที่ตั้งไว้ได้ ต้องอบรมเจริญเหตุที่สมควรแก่ผลที่ปรารถนา เมื่อกระทำเหตุสมบูรณ์ ผลที่ได้ก็คือสมตามความปรารถนาที่ตั้งไว้ครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
เรียน ท่านเจ้าของกระทู้
หากว่าตั้งปรารถนาที่ จตุอริยมัคค จตุสสามัญผล และเอกนิพพาน นั้นขอเรียนถามว่า
๑. เป็นการเหมาะสมหรือไม่
๒. เป็นสิ่งที่ยากยิ่งหรือไม่ที่จะถึงความปรารถนานี้
๓. หากว่า คำตอบของคำถามที่๑ นั้นว่าเหมาะสม แล้วผู้ตั้งความปรารถนาจะต้อง ทำอย่างไรนอกจากสิกขาธัมม 84,000 พระธรรมขันธ์ให้เข้าใจสภาวธรรมอย่างแท้จริง โปรด ชี้แนะ ตัวอย่างอริยบุคคลที่ท่านได้เคยตั้งปรารถนาดังนี้และวิถีการดำเนินชีวิตของท่านด้วย
อนุโมทนา
ขอบคุณและอนุโมทนาทุกท่านครับ
ขออภัย กรุณาให้ท่าน วิทยากร ตอบ จะได้ประโยชน์มากกว่าครับ
แม้จะรู้ว่าปัญญาเป็นสี่งที่ดี แต่ก็ยังอดปราถนา รูป....พะ แถมนิดหน่อยบ้างไม่ได้ หรือว่า อาจจะมากก็ได้ นั่นเป็นเรื่องซึ่งเฉพาะแต่ละท่านจริงๆ ที่จะทราบได้ว่าในปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้ ท่านปราถนาอะไร ย่อมเป็นไปตามการสะสมทั้งนั้น
....ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ....
การฟังธรรม การศึกษาพระธรรม (ด้วยความเข้าใจ) .เป็นการสะสมปัญญา..ที่จะตั้งความปรารถนาในสิ่งที่เป็นประโยชน์..เป็นกุศลและสูงสุดคือปัญญาที่จะละอกุศลทั้งปวงความปรารถนากับอธิษฐาน..เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร....?
เชิญคลิกอ่าน...
การขอกับการอธิษฐานต่างกันอย่างไร
อธิษฐานธรรม [ปกิณณกกถา]
การ อธิษฐาน
เรียน ความเห็นที่ 8
ทั้งหมดอยู่ที่เหตุเป็นสำคัญ ใครๆ ก็ตั้งความปรารถนาได้ แต่การสะสมเหตุเพื่อให้ถึงผลที่ปรารถนาเริ่มสะสมหรือยัง ขณะนี้กำลังทำอะไรอยู่ ส่วนตัวอย่างพระอริยบุคคล สามารถศึกษาได้จากพุทธประวัติ เถรคาถา เถรีคาถา อปาทาน เป็นต้นครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
@ สิ่งทั้งปวง ไม่มีอะไรที่ยึดถือได้ว่าเป็นของเรา อันสมควรแก่การใคร่หรือปรารถนาใดๆ
@ ทุกสิ่งได้มาเพื่อละ ได้มาเพื่อสละทิ้ง ได้มาเพื่อไปสู่ความดับสูญ
ขออนุโมทนา ทุกดวงจิตที่ใฝ่ธรรม
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
คงจะไม่มีใครรู้จิตใจใคร ปรารถนาอะไร แล้วแต่เหตุปัจจัย ก็ขออนุโมทนาในกุศลทุกท่านที่กำลังสร้างเหตุที่ดีคือศึกษาเพื่อเข้าใจธรรมะค่ะ ท่านอาจารย์สุจินต์ได้เคยบอกว่า ในโลกนี้มีสิ่งที่ให้เรียนรู้มากมาย แต่เมื่อใดที่เราได้ฟังธรรม และพอใจที่จะศึกษาธรรมย่อมแสดงถึงการสะสมของตนได้ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ