๘. อาทิตตชาดก ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ
โดย บ้านธัมมะ  25 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 35886

[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 571

๘. อาทิตตชาดก

ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 571

๘. อาทิตตชาดก

ว่าด้วยการให้ทานกับการรบ

[๑๑๘๐] เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ ขนเอาสิ่งของอันใดออกได้ สิ่งของอันนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น แต่ของที่ถูกไฟไหม้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา.

[๑๑๘๑] โลกถูกชรา และมรณะ เผาแล้วอย่างนี้ บุคคลพึงนำออกเสีย ด้วยการให้ทาน ทานที่ให้แล้ว จะน้อยก็ตาม มากก็ตาม ชื่อว่า เป็นอันนำออกดีแล้ว.

[๑๑๘๒] คนใดให้ทานแก่ผู้มีธรรม อันได้แล้ว ผู้บรรลุธรรม ด้วยความเพียร และความหมั่น คนนั้นล่วงเลยเวตรณีนรก ของพระยายมไปได้แล้ว จะเข้าถึงทิพยสถาน.

[๑๑๘๓] ท่านผู้รู้กล่าว ทานกับการรบว่า มีสภาพเสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อย ก็ชนะคนมากได้ เจตนาเครื่องบริจาค ก็เหมือนกัน แม้


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 572

จะน้อย ย่อมชนะหมู่กิเลสแม้มากได้ ถ้าบุคคลเชื่อกรรม และผลแห่งกรรม ย่อมให้ทานแม้น้อย เขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการบริจาค มีประมาณน้อยนั้น.

[๑๑๘๔] การเลือกทักขิณาทาน และพระทักขิไณยบุคคล แล้วจึงให้ทาน พระสุคตเจ้าทรงสรรเสริญทาน ที่บุคคลถวาย ในพระทักขิไณยบุคคล มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสัตวโลกนี้ ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงในนาดี ฉะนั้น.

[๑๑๘๕] บุคคลใด ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาป เพราะกลัวคนอื่น จะติเตียน บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ บุคคลผู้กลัวบาปนั้น ย่อมไม่สรรเสริญ บุคคลผู้กล้าในการทำบาป เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำบาป เพราะความกลัวถูกติเตียน.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 573

[๑๑๘๖] บุคคลย่อมเกิด ในตระกูลกษัตริย์ เพราะพรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิดในเทวโลก เพราะพรหมจรรย์อย่างกลาง และบริสุทธิ์ได้ เพราะพรหมจรรย์อย่างสูง.

[๑๑๘๗] ทาน ท่านผู้รู้สรรเสริญ โดยส่วนมากก็จริง แต่ว่าบทแห่งธรรมแล ประเสริฐกว่าทาน เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ในครั้งก่อน หรือว่าก่อนกว่านั้นอีก ท่านมีปัญญา เจริญสมถ วิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระนิพพานทีเดียว.

จบ อาทิตตชาดกที่ ๘

อรรถกถาอาทิตตชาดกที่ ๘

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ อสทิสทาน จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาทิตฺตสฺมึ ดังนี้. เรื่องอสทิสทาน มีเนื้อความพิสดาร ในอรรถกถา มหาโควินทสูตร.

ก็ในวันที่ ๒ จากวันที่พระเจ้าโกศล ถวายอสทิสทานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าโกศล


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 574

ทรงฉลาดเลือก เนื้อนาบุญอันประเสริฐ ถวายมหาทานแด่อริยสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลือกถวายทาน ในเนื้อนาบุญอันสูงยิ่ง ของพระเจ้าโกศล ไม่น่าอัศจรรย์ โบราณกบัณฑิต ก็ได้เลือกเฟ้นแล้ว จึงได้ถวายมหาทานเหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล พระเจ้าเภรุวมหาราช ครองราชสมบัติ ในเภรุวนคร สีวิรัฐ ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม สงเคราะห์มหาชน ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ทรงดำรงอยู่ในฐานะ เป็นมารดาบิดาของมหาชน ได้ให้ทานแก่ คนกำพร้า วณิพก และยาจกทั้งหลายมากมาย. พระองค์มีอัครมเหสี พระนามว่า สมุททวิชยา เป็นบัณฑิตสมบูรณ์ด้วยญาณ. วันหนึ่ง พระเจ้าเภรุวมหาราช เสด็จทอดพระเนตรโรงทาน ทรงพระดำริว่า ปฏิคาหกทั้งหลาย ล้วนเป็นผู้ทุศีล เหลวไหล บริโภคทานของเรา ข้อนั้น ไม่ทำให้เรายินดีเลย เราใคร่จะถวายทานแด่ พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มีศีล เป็นอรรคทักขิไณยบุคคล แต่ท่านเหล่านั้น อยู่ในหิมวันตประเทศ ใครหนอ จักไปนิมนต์ท่านมาได้ เราจักส่งใครไปนิมนต์ได้ ทรงพระดำริ ดังนี้แล้ว ได้ตรัสบอกความนั้นแด่พระเทวี. ลำดับนั้น พระเทวีได้ทูล พระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์อย่าทรงวิตกเลย เราจักส่งดอกไม้


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 575

ไปนิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยกำลังทาน ที่จะพึงถวาย กำลังศีล และกำลังความสัตย์ ของเราทั้งหลาย ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มาถึงแล้ว จึงจักถวายทานที่สมบูรณ์ ด้วยบริขารทุกอย่าง. พระราชาทรงรับสั่งว่า ดีแล้ว ดังนี้แล้ว รับสั่งให้ตีกลองประกาศว่า ชาวพระนครทั้งสิ้น จงสมาทานศีล ส่วนพระองค์เอง พร้อมด้วยราชบริพาร ก็ทรงอธิษฐานองค์แห่งอุโบสถ บำเพ็ญมหาทาน แล้วให้ราชบุรุษ ถือกระเช้าทอง ใส่ดอกมะลิเต็ม เสด็จลงจากปราสาท ประทับที่พระลานหลวง ทรงกราบ เบญจางคประดิษฐ์ เหนือพื้นดิน แล้วผินพระพักตร์ ไปทางทิศปราจีน ถวายนมัสการแล้ว ประกาศว่า ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระอรหันต์ทั้งหลาย ในทิศปราจีน ถ้าคุณความดีอะไรๆ ของข้าพเจ้ามีอยู่ไซร้ ขอท่านทั้งหลาย จงอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้า โปรดมารับภิกษาหาร ของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ประกาศดังนี้แล้ว ทรงซัดดอกมะลิไป ๗ กำมือ. ในวันรุ่งขึ้น ไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้ามา เพราะในทิศปราจีน ไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้า. ในวันที่ ๒ ทรงนมัสการ ไปทางทิศทักษิณ ก็หามีพระปัจเจกพุทธเจ้ามาไม่ วันที่ ๓ ทรงนมัสการไปทางทิศปัจฉิม ก็หามีพระปัจเจกพุทธเจ้ามาไม่. วันที่ ๔ ทรงนมัสการไปทางทิศอุดร. ก็แหละ ครั้นทรงนมัสการแล้ว ทรงซัดดอกมะลิไป ๗ กำมือ อธิษฐานว่า ขอพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่อยู่ในหิมวันตประเทศ ด้านทิศอุดร จงมารับภิกษาหารของข้าพเจ้า.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 576

ดอกมะลิได้ลอยไปตกลง เหนือพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ๕๐๐ องค์ ที่เงื้อมภูเขานันทมูลกะ. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พิจารณาดูก็รู้ว่า พระราชานิมนต์ วันรุ่งขึ้น จึงเรียกพระปัจเจกพุทธเจ้า มา ๗ องค์ แล้วกล่าวว่า แน่ะ ท่านผู้เช่นกับด้วยเรา พระราชานิมนต์ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงสงเคราะห์ พระราชาเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เหาะมาลงที่ประตูพระราชวัง. พระเจ้าเภรุวมหาราช ทอดพระเนตร เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วทรงโสมนัส นมัสการแล้ว นิมนต์ขึ้นปราสาท ทรงสักการะบูชาเป็นการใหญ่ แล้วถวายทาน ครั้นฉันเสร็จแล้ว ได้นิมนต์ให้มาฉันวันต่อๆ ไปอีกจนครบ ๖ วัน ในวันที่ ๗ ทรงจัดแจง บริขารทานทุกอย่าง แต่งตั้งเตียงตั่งที่วิจิตร ด้วยแก้ว ๗ ประการ ทรงวางเครื่องสมณบริโภคทั้งปวง มีไตรจีวร เป็นต้น ในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ถวายนมัสการตรัสว่า ข้าพเจ้าขอถวายบริขาร เหล่านี้ทั้งหมด แด่พระคุณเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ฉันเสร็จแล้ว พระราชา และพระเทวีทั้ง ๒ พระองค์ ประทับยืนนมัสการอยู่.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ เมื่อจะอนุโมทนาแด่พระราชา และพระเทวี จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้เป็นเจ้าของ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 577

ขนเอาสิ่งของอื่นใดออกได้ สิ่งของอันนั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าของนั้น แต่ของที่ถูกไฟไหม้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่เขา.

โลกถูกชรา และมรณะเผาแล้ว อย่างนี้ บุคคลพึงนำออกเสีย ด้วยการให้ทาน ทานที่ให้แล้ว จะน้อยก็ตาม มากก็ตาม ชื่อว่า เป็นอันนำออกดีแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺตสฺมึ ความว่า ขณะเมื่อเรือนถูกไฟไหม้นั้น. บทว่า ภาชนํ ได้แก่ อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง บทว่า โน จ ยํ ตตฺถ ความว่า แต่สิ่งใดในเรือนนั้น ไม่ได้ขนออก ย่อมถูกไฟไหม้ ไม่เหลือแม้แต่หญ้า สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่เป็นคุณประโยชน์แก่เราเลย. บทว่า ชราย มรเณน จ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. แต่โดยอรรถ โลก คือ เบญจขันธ์นั้น ชื่อว่า ถูกไฟ ๑๑ กอง เผาผลาญแล้ว บทว่า นีหเรเถว ความว่า เพราะเหตุนั้น โลก คือ เบญจขันธ์ ถูกไฟ ๑๑ กอง เผาผลาญอยู่เช่นนี้ บุคคลต้องนำออก ด้วยการตั้งใจ ให้บริขารทาน ต่างโดยทานวัตถุ ๑๐ อย่างเท่านั้น. ทานที่ให้แล้วจะน้อย หรือมากก็ตามนั้น ชื่อว่า เป็นการนำออกดีแล้ว.

พระสังฆเถระ ครั้นอนุโมทนาอย่างนี้แล้ว ได้ให้โอวาทแด่


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 578

พระราชาว่า มหาบพิตร พระองค์อย่าทรงประมาท แล้วเหาะขึ้นอากาศ ทำช่อฟ้าปราสาท ให้แยกเป็นสองช่อง ไปลง ณ เงื้อมภูเขานันทมูลกะ. แม้บริขารที่พระราชาถวาย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ลอยตามไปกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ลงที่เงื้อมภูเขานั้น เหมือนกัน. พระสกลกายของพระราชา และพระเทวี เต็มตื้นไปด้วยปีติ. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ ไปอย่างนี้แล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ยังคงเหลืออยู่ ๖ องค์ ได้อนุโมทนา ด้วยคาถา องค์ละคาถาว่า :-

คนใดให้ทานแก่ท่าน ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้บรรลุธรรม ด้วยความเพียร และความหมั่น คนนั้นล่วงเลย เวตรณีนรก ของพญายมไปได้ แล้วจะเข้าถึงทิพยสถาน.

ท่านผู้รู้กล่าวทาน กับการรบว่า มีสภาพเสมอกัน นักรบแม้จะมีน้อย ก็ชนะคนมากได้ เจตนาเครื่องบริจาค ก็เหมือนกัน แม้จะน้อย ย่อมชนะหมู่กิเลส แม้มากได้ ถ้าบุคคลเชื่อกรรม และผลแห่งกรรม ย่อมให้ทานแม้น้อย เขาก็เป็นสุขในโลกหน้า เพราะการบริจาค มีประมาณน้อยนั้น.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 579

การเลือกทักขิณาทาน และพระทักขิไณยบุคคล แล้วจึงให้ทาน พระสุคตเจ้า ทรงสรรเสริญ ทานที่บุคคลถวาย ในพระทักขิไณยบุคคล มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสัตวโลกนี้ ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชที่หว่านลงในนาดี ฉะนั้น.

บุคคลใด ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาป เพราะกลัวคนอื่นจะติเตียน บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญบุคคล ผู้กลัวบาปนั้น ย่อมไม่สรรเสริญบุคคล ผู้กล้าในการทำบาป เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำบาป เพราะความกลัวถูกติเตียน.

บุคคลย่อมเกิด ในตระกูลกษัตริย์ เพราะพรหมจรรย์อย่างต่ำ เกิดในเทวโลก เพราะพรหมจรรย์อย่างกลาง และบริสุทธิ์ได้ เพราะพรหมจรรย์อย่างสูง.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 580

ทาน ท่านผู้รู้สรรเสริญ โดยส่วนมากก็จริง แต่ว่าบทแห่งธรรมแล ประเสริฐกว่าทาน เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ในครั้งก่อน หรือว่าก่อนกว่านั้นอีก ท่านมีปัญญาเจริญสมถ วิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุพระนิพพานทีเดียว.

ครั้นกล่าวอนุโมทนาอย่างนี้แล้ว ก็ได้เหาะไป เหมือนอย่างนั้นแหละ พร้อมกับบริขารทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมลทฺธสฺส ความว่า บุคคลมีพระขีณาสพ เป็นต้น จนถึงพระโยคาวจร ผู้สุกขวิปัสสก ชื่อว่า ธัมมลัทธะ เพราะความเป็นผู้มีธรรม อันได้บรรลุแล้ว. บุคคลประเภทนั้นแหละ ชื่อว่า อุฏฺานวิริยาธิคต เพราะธรรมวิเศษนั้น ท่านได้บรรลุแล้ว ด้วยความเพียร คือ ความหมั่น. อธิบายว่า ชนผู้ต้องเกิด ตาย เป็นธรรมดา ให้ทานวัตถุที่ควรให้ แก่บุคคล ผู้บรรลุธรรมวิเศษแล้วนั้น. อีกนัยหนึ่ง มีอธิบายว่า ชนผู้ต้องเกิด ต้องตาย เป็นธรรมดา ถือเอาส่วนอันเลิศของไทยธรรม ที่ตนได้แล้ว โดยธรรม คือ ได้มาด้วยความเพียร กล่าวคือ ความขยันขันแข็ง แล้วให้ทาน ในท่านผู้มีศีลทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ความในคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบ โดยทำทุติยาวิภัติ ให้เป็นฉัฏฐีวิภัติ. บทว่า เวตรณี นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา. อธิบายว่า พระขีณาสพ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 581

ตลอดถึงพระสุกขวิปัสสก ย่อมจะล่วงเลย เวตรณีนรก คือ มหานรก ๘ อุสสทนรก ๑๖ ของพญายมไปได้. บทว่า ทิพฺพานิ านานิ อุเปติ ความว่า ย่อมไปบังเกิดในเทวโลก. บทว่า สมานมาหุ ความว่า ท่านผู้รู้กล่าวว่าเหมือนกัน. อธิบายว่า คนกลัวความสิ้นเปลือง ย่อมไม่มีการให้ คนขลาดต่อภัย ย่อมไม่มีการยุทธนา คือ นักรบ สละความอาลัยในชีวิตได้ ก็อาจเข้ารบกันได้ ทายกสละความอาลัย ในโภคะเสียได้ ก็อาจบริจาคได้ ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านผู้รู้จึงกล่าว การให้ และการรบ ทั้งสองอย่างนั้น ว่ามีสภาพเสมอกัน. บทว่า อปฺปาปิ สนฺตา ความว่า นักรบถึงมีพวกน้อย แต่พร้อมใจกันสละชีวิต ก็อาจรบคนพวกมาก เอาชัยชนะได้ ฉันใด เจตนาคิดบริจาค ถึงจะมีน้อย ก็ย่อมชนะหมู่กิเลส พวกมากมีมัจฉริยจิต และโลภะ เป็นต้น ได้ฉันนั้น บทว่า อปฺปมฺปิ เจ ความว่า ถ้าทายกใด เชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม บริจาคไทยธรรม แม้เล็กน้อยไซร้. บทว่า เตเนว โส ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทายกนั้น ย่อมเป็นสุขในโลกหน้า ด้วยผลแห่งไทยธรรม เล็กน้อยนั้น ทีเดียว. บทว่า วิเจยฺย ทานํ ได้แก่ ทานที่บุคคลเลือกทักขิณาทาน และทักขิไณยบุคคลก่อน แล้วจึงถวาย. ในทักขิณาทาน และทักขิไณยบุคคล สองอย่างนั้น เมื่อบุคคลไม่ให้ของ ตามมีตามเกิด เลือกให้แต่ไทยธรรมที่เลิศ ที่ประณีต ชื่อว่า ย่อมเลือกให้ แม้ซึ่งทักขิณาทาน. เมื่อไม่ให้แก่บุคคลทั่วไป เลือกให้แต่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยคุณธรรม มีศีล เป็นต้น ชื่อว่า


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 582

ย่อมเลือกเป็น พระทักขิไณยบุคคล บทว่า สุคตปฺปสฏฺํ ความว่า ทานเห็นปานนี้ แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ทรงสรรเสริญ.

ใน ๒ อย่างนั้น เพื่อจะแสดงถึงการเลือกเฟ้น พระทักขิไณยบุคคล ท่านจึงกล่าวคำ มีอาทิว่า เย ทกฺขิเณยฺยา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิเณยฺยา ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ผู้สมควรแก่ทักษิณา. บทว่า ปาณภูตานิ ได้แก่ ภูต กล่าวคือ สัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย. บทว่า อเหยนฺโต มีความกรุณา ไม่เบียดเบียนสัตว์ ให้เดือดร้อน ท่องเที่ยวไป. บทว่า ปรูปวาทา ความว่า ไม่ทำบาป เพราะกลัวคนอื่นติเตียน. บทว่า ภีรุํ ได้แก่ ผู้กลัวการถูกติเตียน. บทว่า น หิ ตตฺถ สูรํ ความว่า ส่วนบุคคลใด ไม่กลัวการติเตียนนั้น จึงกล้าทำบาป โดยอโยนิโสมนสิการ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่สรรเสริญบุคคลนั้นเลย. บทว่า ภยา หิ ความว่า เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่ทำบาป เพราะกลัวเขาติเตียน. บทว่า หีเนน พฺรหฺมจริเยน ความว่า จะกล่าวในลัทธิภายนอกพระศาสดาก่อน ผลเพียงเมถุนวิรัติ และศีล ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างต่ำ. บุคคลเกิดในขัตติยตระกูล ด้วยอำนาจพรหมจรรย์อย่างต่ำนั้น. ผลเพียงอุปจารฌาน ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างกลาง บุคคลเกิดในเทวโลก ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลางนั้น. สมาบัติ ๘ เป็นพรหมจรรย์อย่างสูง บุคคลย่อมชื่อว่า บริสุทธิ์ เข้าถึงพรหมโลกได้ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูงนั้น.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 583

ส่วนในทางพระพุทธศาสนา การประพฤติพรหมจรรย์ โดยมุ่งเทวนิกาย ของผู้มีศีล นั่นแล ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างต่ำ การยังสมาบัติให้บังเกิดขึ้น ของผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์ นั่นแล ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างกลาง. การที่ภิกษุดำรงอยู่ ในปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า พรหมจรรย์อย่างสูง.

คาถาสุดท้าย มีอรรถาธิบายดังนี้ ดูก่อนมหาบพิตร ได้มีผู้สรรเสริญ คือ ยกย่องทานโดยส่วนมากก็จริง แต่ถึงกระนั้น ธรรมบท ซึ่งเป็นส่วนแห่งธรรม กล่าวคือ สมถวิปัสสนาก็ดี กล่าวคือ พระนิพพานก็ดี ประเสริฐกว่าทาน.

เพราะเหตุไร?

เพราะว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ในกาลก่อน คือ ในภัทรกัปนี้ มีพระกัสสปทศพล เป็นต้น หรือในกาลก่อนกว่านั้นอีก มีพระเวสสภูทศพล เป็นต้น ท่านมีปัญญา เจริญสมถวิปัสสนา ได้บรรลุถึงพระนิพพานทีเดียว.

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ พระองค์ พรรณนาอมตมหานิพพาน แด่พระราชา ด้วยอนุโมทนาคาถาอย่างนี้แล้ว กล่าวสอนพระราชา ด้วยอัปปมาทธรรม แล้วไปที่อยู่ของตนๆ ตามนัยดังกล่าวแล้ว นั่นแล.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 เม.ย. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 584

แม้พระราชา พร้อมด้วยพระอัครมเหสี ก็ได้ถวายทาน จนตลอดพระชนมายุ ครั้นเคลื่อนจากอัตตภาพนั้นแล้ว ก็ได้เสด็จไปสู่สวรรค์.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาแสดงแล้ว ตรัสว่า แม้ในกาลก่อน บัณฑิตก็ได้เลือกถวายทาน ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในครั้งนั้น ปรินิพพานแล้ว พระสุททวิชยาเทวี ได้เป็นมารดาพระราหุล พระเจ้าเภรุวราช คือเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบอรรถกถา อาทิตตชาดกที่ ๘