๑๐. กิมิลสูตร การเจริญอานาปานสติสมาธิ
โดย บ้านธัมมะ  13 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 38053

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 239

๑๐. กิมิลสูตร

การเจริญอานาปานสติสมาธิ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 239

๑๐. กิมิลสูตร

การเจริญอานาปานสติสมาธิ

[๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมิลา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูก่อนกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.

[๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสถามท่านกิมิละว่า ดูก่อนกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ท่านกิมิละก็นิ่งอยู่.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 240

[๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๕๘] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 241

ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๕๙] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งสมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๐] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 242

เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๑] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๒] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น ถ้าผ่านมาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้.

จบกิมิลสูตรที่ ๑๐

จบเอกธรรมวรรคที่ ๑


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 243

อรรถกถากิมิลสูตร

กิมิลสูตรที่ ๑๐.

คำว่า ใกล้เมืองกิมิลา (๑) คือ ในนครมีชื่ออย่างนั้น.

คำว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เทศนานี้มิได้ทำอย่างมีอนุสนธิ เราจะให้ถึงอย่างมีอนุสนธิ (ยถานุสนธิ) เมื่อจะสืบต่ออนุสนธิแห่งเทศนา จึงได้กล่าวคำนี้.

คำว่า กายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย คือ เรากล่าวกายอย่างใดอย่างหนึ่งในกายทั้งหลายมีกายคือ ดินเป็นต้น หมายความว่า เรากล่าวถึงกายคือ ลม.

อีกอย่างหนึ่ง ส่วนแห่งรูป ๒๕ ชนิด คือ อายตนะ คือ ตา ฯลฯ อาหารที่ทำเป็นคำๆ ชื่อว่ารูปกาย.

ในส่วนแห่งรูปเหล่านั้น ลมหายใจออกและหายใจเข้าย่อมเป็นกายอย่างหนึ่ง เพราะรวมเข้าในอายตนะ คือ สิ่งที่จะพึงถูกต้อง. แม้เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงได้กล่าวอย่างนั้น.

คำว่า ตสฺมา ติห ความว่า เพราะย่อมพิจารณาเห็นกายคือ ลม ซึ่งเป็นกายอย่างหนึ่งในกายทั้ง ๔ หรือย่อมพิจารณาเห็นลมหายใจออกและหายใจเข้า ซึ่งเป็นกายอย่างหนึ่งในรูปกาย ในส่วนแห่งรูป ๒๕ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย.

พึงทราบใจความในทุกบทอย่างนี้.

คำว่า เวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย คือ เวทนาอย่างหนึ่งในเวทนาทั้ง ๓ อย่าง คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาสุขเวทนา.

คำว่า การทำไว้ในใจให้ดี คือ ความเอาใจใส่อย่างดี ที่เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจการเสวยปีติเป็นต้น.

ถามว่า ก็ความเอาใจใส่เป็นสุขเวทนา หรือ.

ตอบว่า ไม่เป็น นี้เป็นหัวข้อเทศนา เหมือนอย่างว่า สัญญาท่านเรียกโดยชื่อว่าสัญญา ในคำนี้ว่า เป็นผู้ประกอบตามการอบรมอนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าไม่เที่ยง) ฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านเรียก


(๑) สี. ในเมืองกิมพิลา.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 244

เวทนาในฌาน โดยชื่อว่าความเอาใจใส่ (มนสิการ).

จริงอยู่ ในหมวด ๔ นี้ ท่านเรียกเวทนาโดยหัวข้อแห่งปีติในบทแรก. ในบทที่ ๒ เรียกโดยสรุปว่าสุข เท่านั้น ในจิตตสังขาร ๒ บท เพราะพระบาลีว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัญญาและเวทนานี้เป็นเจตสิก เกี่ยวกับจิต เป็นเครื่องปรุงจิต ท่านจึงกล่าวเวทนาโดยชื่อว่าจิตตสังขาร (เครื่องปรุงจิต) เพราะพระบาลีว่า ยกเว้นความตรึกและความตรองแล้ว ธรรมที่ประกอบกับจิตแม้ทั้งหมด รวมลงในจิตตสังขาร.

พระเถระรวมธรรมทั้งหมดนั้น โดยชื่อว่า มนสิการ (คือ ความเอาใจใส่) แล้วกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจให้ดี ในที่นี้.

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เลยมีผู้ค้านว่า เพราะเหตุที่เวทนานี้เป็นอารมณ์ไม่ได้ ฉะนั้น การพิจารณาเห็นเวทนาก็ไม่ถูกนะซิ เพราะแม้ในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นต้น บุคคลทำวัตถุมีสุขเป็นต้นนั้นๆ ให้เป็นอารมณ์แล้วย่อมเสวยเวทนา แต่วัตถุมีสุขเป็นต้นนั้น เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งเวทนาจึงเป็นเพียงโวหารว่า เราเสวยอยู่ ท่านหมายเอาวัตถุมีสุขเป็นต้นนั้น จึงกล่าวว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา (ก็รู้ชัดว่า) เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านยังได้กล่าวคำตอบของปัญหานี้ไว้ในการพรรณนาเนื้อความของ คำว่า ปีติปฏิสํเวที เป็นต้น ไว้เหมือนกัน.

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค ว่า

ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ ๑ โดยความไม่หลงใหล ๑.

ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์เป็นอย่างไร ภิกษุย่อมเข้าฌานที่มีปีติ ๒ ฌาน ในขณะเข้าฌานนั้น ปีติย่อมเป็นอันผู้ได้ฌานรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์อันตนรู้แจ้งแล้ว.

ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้ว โดยความไม่หลงใหลอย่างไร ภิกษุเข้าฌานที่มีปีติ ๒ ฌานออกแล้ว ย่อมพิจารณาปีติที่ประกอบกับฌานโดยความเป็นของสิ้นไป โดยความ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 245

เป็นของเสื่อมไป ในขณะการเห็นแจ่มแจ้งของภิกษุนั้น ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้ว เพราะความไม่หลงใหลด้วยการแทงตลอดลักษณะ.

ดังที่พระสารีบุตรได้กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า เมื่อภิกษุรู้ชัดความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ความไม่ซัดส่ายของจิตด้วยอำนาจการหายใจออกยาว สติย่อมเป็นอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว ปีตินั้นย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น บัณฑิตพึงทราบใจความ แม้บทที่เหลือ โดยทำนองนี้แหละ.

เครื่องปรุงจิตคือปีติและสุข โดยอารมณ์ ย่อมเป็นอันผู้ได้บรรลุฌาน ได้รู้แจ้งแล้ว ดังที่ว่ามานี้ ฉันใดนั่นแหละ เวทนาโดยอารมณ์ก็ย่อมเป็นอันได้รู้แจ้งแล้ว ด้วยการได้เฉพาะซึ่งมนสิการ กล่าวคือเวทนาที่ประกอบด้วยฌานแม้นี้ ฉันนั้น.

เพราะเหตุนั้น คำว่า ภิกษุเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่ในสมัยนั้น จึงเป็นคำที่กล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว.

ในคำว่า นาหํ อานนฺท มุฏฺสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ เพราะเหตุที่ภิกษุผู้เป็นไปแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกำหนดรู้จิต หายใจออก ย่อมเอาลมหายใจออกและหายใจเข้ามาเป็นอารมณ์ แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อเข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์ของจิตนั้นแล้ว ย่อมชื่อว่า ภิกษุนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เพราะความเป็นไปโดยแท้.

อานาปานสติภาวนา (การเจริญสติในการหายใจออกและหายใจเข้า) ของผู้ลืมสติ ผู้ไม่มีความรู้สึกตัว ย่อมมีไม่ได้เลย ฉะนั้น โดยอารมณ์แล้ว ในสมัยนั้น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยสามารถรู้แจ้งจิต ดังนี้.

อภิชฌา ทรงแสดงไว้ในคำว่า เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ด้วยปัญญาเป็นอย่างดี นี้


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 246

ได้แก่ กามฉันทนีวรณ์นั่นเอง.

ทรงแสดงพยาบาทนีวรณ์ด้วยอำนาจแห่งโทมนัส ก็แลหมวดสี่นี้ ตรัสด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่านั้น ส่วนธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง (๑) ด้วยอำนาจนีวรณบรรพเป็นต้น นีวรณบรรพเป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น แม้ของนีวรณบรรพนั้นมีหมวดสองแห่งนีวรณ์นี้ขึ้นต้น.

เพื่อจะทรงชี้ถึงคำขึ้นต้นแห่งธัมมานุปัสสนา ดังที่ว่ามานี้ จึงตรัสว่า อภิชฌาและโทมนัส ดังนี้.

คำว่า การละ หมายเอาความรู้สำหรับละอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมละความสำคัญว่าเที่ยง ด้วยการตามพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง.

คำว่า ตํ ปญฺาย ทิสฺวา คือ ญาณเครื่องละอันได้แก่อนิจจญาณ วิราคญาณ นิโรธญานและปฏินิสสัคคญาณนั้น ย่อมมีด้วยวิปัสสนาปัญญา อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงถึงความสืบต่อถัดๆ กันแห่งวิปัสสนา แม้นั้นอย่างนี้ว่า อย่างอื่นอีก.

คำว่า จึงวางเฉยเสียได้ คือ ชื่อว่า ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งโดยสองทางคือ ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งกะผู้ดำเนินไปในความสงบ ๑ ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งกะการบำรุงพร้อมกัน ๑.

ในกรณีนั้น ความวางเฉยอย่างยิ่ง ย่อมมีแม้ต่อธรรมที่เกิดร่วมกันบ้าง ความวางเฉยอย่างยิ่ง ย่อมมีต่ออารมณ์บ้าง ในที่นี้ประสงค์เอาความวางเฉยอย่างยิ่งต่ออารมณ์.

คำว่า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ คือ เพราะเหตุที่อานาปานสติสมาธิเป็นไปแล้วโดยทำนองเป็นต้นว่า เราจักตามพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก ไม่ใช่เป็นไปแต่ในธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเท่านั้น แต่ภิกษุได้เห็นญาณเครื่องละธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ คือ อภิชฌาและโทมนัส ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง ฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้นอยู่.


(๑) พม่า - ๕ อย่าง


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 247

ในคำว่า ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ พึงเห็นอายตนะทั้ง ๖ อย่าง เหมือนทางใหญ่ ๔ แพร่ง กิเลสในอายตนะทั้ง ๖ อย่างเหมือนกองฝุ่น (ขยะ) สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๔ เหมือนเกวียนและรถที่กำลังมาจากทิศทั้ง ๔.

พึงทราบการเข้าไปฆ่าธรรมที่เป็นบาปอกุศลด้วยกายานุปัสสนาเป็นต้น เหมือนการกำจัดกองฝุ่น ด้วยเกวียนหรือรถนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากิมิลสูตรที่ ๑๐

จบเอกธรรมวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกธรรมสูตร

๒. โพชฌงคสูตร

๓. สุทธิกสูตร

๔.. ปฐมผลสูตร

๕. ทุติยผลสูตร

๖. อริฏฐสูตร

๗. กัปปินสูตร

๘. ทีปสูตร

๙. เวสาลีสูตร

๑๐. กิมิลสูตร และอรรถกถา.