๒. ทิฏฐิกถา ว่าด้วยทิฏฐิ
โดย บ้านธัมมะ  25 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40949

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 1

มหาวรรค

๒. ทิฏฐิกถา

ว่าด้วยทิฏฐิ

อรรถกถาทิฏฐิกถาในมหาวรรค

อรรถกถาอัสสาททิฏฐินิเทศ หน้า 36

อรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ หน้า 52

อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ หน้า 62

อรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ หน้า 63

อรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ หน้า 63

อรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ หน้า 64

อรรถกถาอันตคาหิกทิฏฐินิเทศ หน้า 64

อรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ หน้า 67

อรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ หน้า 68

อรรถกถาสัญโญชนิกาทิฏฐินิเทศ หน้า 69

อรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ หน้า 69

อรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ หน้า 70

อรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ หน้า 70

อรรถกถาภววิภวทิฏฐินิเทศ หน้า 71


เปิดอ่านห้วข้ออื่นๆ ... (เล่ม 69)


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 69]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

เล่มที่ ๗ ภาคที่ ๒

มหาวรรค ทิฏฐิกถา

ว่าด้วยทิฏฐิ

[๒๙๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเท่าไร ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด (๑) เท่าไร.

ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ถามว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ ถามว่า ทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ทิฏฐิ ๑๖ ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร ตอบว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๓๐ ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน ตอบว่า โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.

[๒๙๕] คำว่า ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ตอบว่า ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา


(๑) อรรถกถาแก้เป็น ความถือผิดและความลูบคลำ.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 2

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๖] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัสว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๗] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตกว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่ง


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 3

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจารว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๘] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๒๙๙] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ฯลฯ น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมอง ศีรษะว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๓๐๐] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๓๐๑] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 4

[๓๐๒] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ กามภพ รูปภพ (๑) สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเปกขาเจโตวิมุตติ อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

[๓๐๓] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชราและมรณะว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดอย่างนี้.

[๓๐๔] ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เป็นไฉน แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ แม้อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่น ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.

ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ อวิชชา ผัสสะ สัญญา วิตก อโยนิโสมนสิการ มิตรชั่ว เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ เพราะอรรถว่าเป็นที่อาศัยตั้งขึ้น แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ เหล่านี้.

[๓๐๕] ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน ทิฏฐิ คือทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นความคับแคบ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน


(๑) พม่า อรูปภพ.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 5

ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๐๖] ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน คืออัสสาททิฏฐิ ๑ อัตตานุทิฏฐิ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ สักกายทิฏฐิ ๑ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิ ๑ ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑ อปรันตานุทิฏฐิ ๑ สัญโยชนิกาทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑ ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่าของเรา ๑ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ๑ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๑ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ทิฏฐิ ๑๖ เหล่านี้.

[๓๐๗] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร อัตตานุทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ อันตคาหิกทิฏฐิ ปุพพันตานุทิฏฐิ อปรันตานุทิฏฐิ สังโยชนิกาทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตวาทะ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ภวทิฏฐิ วิภวทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร.

[๓๐๘] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ มิจฉาทิฏฐิ ๑๐ สักกายทิฏฐิ ๒๐ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑๕ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๕ อันตคาหิกทิฏฐิ ๕๐ ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑๘ อปรันตานุทิฏฐิ ๔๔ สังโยชนิกาทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเรา ๑๘ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ๑๘ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ๒๐ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๘ ภวทิฏฐิ ๑๙ วิภวทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๙.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 6

[๓๐๙] อัสสาททิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัสอาศัยรูปใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะ (ความยินดี) แห่งรูป ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะมิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ท่านกล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ ทานที่ให้ในบุคคลผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ เป็นทานไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น ๒ คือนรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน อนึ่ง บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ สมาทานกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ธรรมทั้งปวง คือเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจและสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม ที่เขาฝังลงในแผ่นดินเปียก อาศัยรสแผ่นดินและรสน้ำ พืชทั้งปวงนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของมีรสขม รสปร่า ไม่เป็นสาระ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นเป็นพืชเลว ฉันใด บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมาทานกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 7

ธรรมทั้งปวง คือเจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจและสังขารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ คือทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ.

[๓๑๐] ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า สุขโสมนัสอาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนาใดเกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิดและลูบคลำ ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุมด้วยอาการ ๑๘ นี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ (๑).

[๓๑๑] สังโยชน์และทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิมีอยู่ สังโยชน์และทิฏฐิเป็นไฉน ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ (๒) สักกายทิฏฐิและสีลัพพตปรามาสเหล่านี้เป็นสังโยชน์และทิฏฐิ สังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิเป็นไฉน กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่มิใช่ทิฏฐิ อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้.


(๑) วลีว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิซึ่งจัดเป็นอัสสาททิฏฐิ ฉบับพม่าและยุโรปไม่มี.

(๒) วลีว่า ความลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ ฉบับพม่าและยุโรปไม่มี.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 8

[๓๑๒] อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็น รูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง.

[๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีรูปเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฏฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง คือนรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็น อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 9

เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีรูปเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๒ ซึ่งมีรูปเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้.

[๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 10

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่ง กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุรุษบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นรูปในตน ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๓ ซึ่งมีรูปเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้.

[๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในรูป ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 11

วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๔ ซึ่งมีรูปเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้.

[๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีเวทนาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ดังนี้ ชื่อว่า เห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 12

ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๒ ซึ่งมีเวทนาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างนี้.

[๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ในตัวตนนี้มีเวทนานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็เเลในตัวตนนี้มีเวทนาดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นเวทนาในตน ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๓ ซึ่งมีเวทนาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 13

[๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบเหมือน ฯ ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๔ ซึ่งมีเวทนาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้.

[๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีสัญญาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 14

[๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาเปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา ฯ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๒ ซึ่งมีสัญญาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้.

[๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสัญญานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ฯ ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๓ ซึ่งมีสัญญาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้.

[๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ฯ ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 15

โดยความเป็นตน ฯ นี้เป็นอัตตานุทิฏฐิมี่ ๔ ซึ่งมีสัญญาเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้.

[๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่เป็นสอง มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีสังขารเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบ เหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้อย่างนี้ ฯ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นว่าต้นไม้มีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๒ ซึ่งมีสังขารเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างนี้.

[๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 16

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสังขารเหล่านี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นสังขารในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๓ ซึ่งมีสังขารเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้.

[๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ฯ ชื่อว่า เห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๔ ซึ่งมีสังขารเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารเหล่านี้.

[๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีวิญญาณเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 17

เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้.

[๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา ฯ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๒ ซึ่งมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้.

[๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีวิญญาณดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๓ ซึ่งมีวิญญาณเป็นวัตถุ อัตตานุทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้.

[๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 18

แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ฯ ชื่อว่า ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฏฐิที่ ๔ ซึ่งมีวิญญาณเป็นวัตถุ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้.

อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๓๓๓] มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีวัตถุผิด มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯ การเซ่นสรวงไม่มีผล ฯ ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี ฯ โลกนี้ไม่มี ฯ โลกหน้าไม่มี ฯ มารดาไม่มี ฯ บิดาไม่มี ฯ สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี ฯ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตามไม่มีในโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิที่ ๑๐ ซึ่งมีวัตถุผิด มิจฉาทิฏฐิเป็นทิฏฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้.

[๓๓๔] สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 19

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง.

ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิน ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ ฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นสักกายทิฏฐิที่ ๑ ซึ่งมีรูปเป็นวัตถุ สักกายทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๓๓๕] สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นไฉน.

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง ฯ เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง ฯ เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง ฯ เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 20

ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีรูปด้วยรูปนี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา ฯ โดยความเป็นตน ฯลฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นสัสสตทิฏฐิที่ ๑ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ สัสสตทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.

[๓๓๖] อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วย อาการ ๕ เป็นไฉน.

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดยความเป็นตน เห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน.

ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิที่ ๑ อันมีสักกายะเป็นวัตถุ อุจเฉททิฏฐิ


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 21

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้.

[๓๓๗] อันตคาหิกทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน.

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มีย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร.

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕.

[๓๓๘] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ ฯ นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงที่ ๕


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 22

อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๓๙] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิที่ถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านั้นเป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๐] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 23

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสงสว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกมีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๑] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่าง แผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 24

[๓๔๒] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็นสรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๓] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระไม่ใช่ชีพ รูปนั้นเป็นสรีระ (๑) ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระไม่ใช่ชีพ สัญญาเป็นสรีระไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.


(๑) พม่า แปลว่า ชีพไม่ใช่สรีระ.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 25

[๓๔๔] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๕] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายเเตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 26

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

[๓๔๖] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฏฐินี้ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ฯลฯ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 27

[๓๔๗] ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ทิฏฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฏฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ ทิฏฐิและวัตถุนี้เป็นทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันคาหิกทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้.

อันตคาหิกทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้.

[๓๔๘] ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 28

สัสสตทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจสมุปปันนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ) ๒ ปุพพันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๔๙] อปรันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน.

สัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๖ อสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิ (ทิฏฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๕ อปรันตานุทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เหล่านี้.

[๓๕๐] สังโยชนิกาทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน.

ทิฏฐิ คือทิฏฐิคตะ ทิฏฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฏฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๕๑] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน.

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา (๑) ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า


(๑) พม่า. ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่าเป็นเรา คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตาเป็นเรา.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 29

หูเป็นเรา ฯลฯ จมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ ความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑๘ มานวินิพันธทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ เเต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๕๒] ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน.

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา (๑) ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯ จมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯ ธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑๘ มานวินิพันธทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้.

[๓๕๓] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน (สัมปยุตด้วยอัตตวาทะ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน.

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ฯลฯ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


(๑) พม่า. ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่าของเรา คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตาของเรา.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 30

โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯลฯ.

ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้.

[๓๕๔] ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก (สัมปยุตด้วยโลกวาทะ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน.

ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็น มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ.

ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็มีไม่เที่ยงก็มี ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ไม่เที่ยงก็หามิได้ ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุด ฯลฯ ตนและโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุดก็มีไม่มีที่สุดก็มี ฯลฯ ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฏฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฏฐิ ฯ นี้เป็นทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๘ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 31

เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘ เหล่านี้.

[๓๕๕] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฏฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฏฐิ.

อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร.

อัตตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร ฯลฯ.

ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฏฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฏฐิเท่าไร.

อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี.

อัตตานุทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕.

มิจฉาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด.

สักกายทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕.

สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด.

อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด.

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 32

ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มีย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี อปรันตานุทิฏฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี สังโยชนิกาทิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ทิฏฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฏฐิ ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฏฐิ เป็นวิภวทิฏฐิ ชนเหล่าใดยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตวโลกนี้ยึดถือในทิฏฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น.

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฏฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างนี้แล.


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 33

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไปอย่างไร ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่า เมื่อใดตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เมื่อนั้นตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้นความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นภูตะ (ขันธ์ ๕) ตามความเป็นจริง ครั้นเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะแล้ว ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภูตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้แล.

ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นภูตะโดยความเป็นภูตแล้ว และเห็นความก้าวล่วงซึ่งภูตะแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้นกำหนดรู้ภูตะ เป็นผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งภูตะ.

[๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฏฐิสมบัติ.

บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑ บุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้นมีทิฏฐิวิบัติ.

บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฏฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวกพระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฏฐิสมบัติ.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 34

นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ.

[๓๕๘] ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓.

ทิฏฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฏฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้.

ทิฏฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฏฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้.

[๓๕๙] ทิฏฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า เราเป็นนั่น เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร ทิฏฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฏฐิเท่าไร ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร.

ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา (ปุพพันตานุทิฏฐิ) เป็นทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า เราเป็นนั่น (อปรันตานุทิฏฐิ) เป็นทิฏฐิ ๔๔ ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา และสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ เป็นทิฏฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ทิฏฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต.

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเรา ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้ (* สำเร็จในโลกนี้) บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ (* ละโลกนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จ).


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 35

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ (* สำเร็จในโลกนี้) บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกลโสดาบัน ๑ เอกพีชีโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อในธรรมนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ (*ละโลกนี้ไปแล้ว จึงสำเร็จ) บุคคล ๕ จำพวกนี้ คืออันตราปรินิพพายีอนาคามี ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามี ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามี ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามี ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้.

[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเรา อย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาสในธรรมนี้.

บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ ฯ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้.

บุคคล ๕ จำพวกนี้ คืออันตราปรินิพพายีอนาคามี ๑ ฯ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเรา อย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวมเป็น ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฉะนี้แล.

จบทิฏฐิกถา


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 36

อรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค

ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี ในขุททกนิกาย

ภาคที่ ๒

ทิฏฐิกถาในมหาวรรค

๑. อรรถกถาอัสสาททิฏฐินิเทศ

บัดนี้ ถึงคราวที่จะพรรณนาความตามลำดับแห่งทิฏฐิกถา อันท่านกล่าวแล้วในลำดับแห่งญาณกถา จริงอยู่ ทิฏฐิกถานี้ชำระมลทิน คือมิจฉาทิฏฐิของผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ ซึ่งสะสมญาณที่ทำไว้แล้ว ด้วยญาณกถาเป็นอันทำไว้ด้วยดี อนึ่ง สัมมาทิฏฐิท่านกล่าวไว้ในลำดับแห่งญาณกถาว่า เป็นความบริสุทธิ์ด้วยดี.

ในทิฏฐิกถานั้นมีอยู่ ๔ ปริเฉท คือคำถาม มีอาทิว่า ทิฏฐิ คืออะไร ๑.

การตอบคำถามที่ถาม มีอาทิว่า คำว่า ทิฏฐิ คืออะไร ตอบว่า คือการลูบคลำด้วยความถือผิด ๑.

แสดงถึงความพิสดารของการตอบ ที่ตอบมีอาทิว่า ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความถือผิดเป็นอย่างไร ๑.

การเปรียบเทียบกับทิฏฐิสูตร มีอาทิว่า ทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดเป็นอัสสาททิฏฐิ (ความเห็นด้วยความพอใจ) ๑.

ใน ๔ ปริเฉทนั้น พึงทราบวินิจฉัยในปุจฉาปริเฉท (ปริเฉทแห่งคำถาม) ก่อน คำถามว่า ทิฏฐิเป็นอย่างไร (กา ทิฏฺฐิ) (๑) เป็นธรรมปุจฉา (ถามถึงธรรม) เป็นสภาวปุจฉา (ถามตามสภาพ).


(๑) สฺยา. ไม่มี


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 37

ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฏฐิเท่าไร (กติ ทิฏฺฐิฏฺฐานานิ) เป็นเหตุปุจฉา (ถามตามเหตุ) เป็นปัจจยปุจฉา (ถามตามปัจจัย) อธิบายว่า เหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลายมีเท่าไร.

ถามว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิเท่าไร (กติ ทิฏฺฐิปริยุฏฐานานิ) เป็นสมุทาจารปุจฉา (ถามตามความปรากฏ) เป็นวิการปุจฉา (ถามทำให้แปลกไป) จริงอยู่ ทิฏฐิทั้งหลายนั่นแลชื่อว่า ทิฏฐิปริยุฏฐานะ (ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ) เพราะตั้งขึ้นหุ้มห่อจิตด้วยอำนาจแห่งความปรากฏ.

ถามว่า ทิฏฐิเท่าไร (กติ ทิฎฺโย) เป็นสังขยาปุจฉา (ถามตามจำนวน) เป็นคณนาปุจฉา (ถามตามการนับ) แห่งทิฏฐิทั้งหลาย.

ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฏฐิเท่าไร (กติ ทิฎฐาภินิเวสา) เป็นทิฏฐิปเภทปุจฉา (ถาม ตามประเภทของทิฏฐิ) ด้วยประเภทแห่งวัตถุ ด้วยความต่างกันแห่งอารมณ์ เพราะว่า ทิฏฐิทั้งหลายนั่นแล ย่อมยึดถือ ย่อมลูบคลำวัตถุนั้นๆ อารมณ์นั้นๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิปรามาส (ความลูบคลำทิฏฐิ).

ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน (กตโม ทิฏฐิฏฺฐานสมุคฺฆาโต) เป็นปฏิปักขปุจฉา (คำถามเป็นปฏิปักษ์กัน) เป็นปหานูปายปุจฉา (คำถามหาอุบายที่จะละ) แห่งทิฏฐิทั้งหลาย จริงอยู่เหตุแห่งทิฏฐิเหล่านั้นมีขันธ์เป็นต้น เป็นเหตุแห่งทิฏฐิ จึงเป็นไปไม่ได้ด้วยการถอนทิฏฐิ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า เป็นอันต้องถอนเหตุเหล่านั้น ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิฐานสมุคฆาตะ (ความถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) เพราะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นเหตุเบียดเบียนอย่างร้ายกาจ.

บัดนี้พึงทราบคำตอบ ๖ ข้อ มีอาทิว่า ทิฏฐิเป็นอย่างไร ของคำถามทั้ง ๖ ข้อเหล่านั้น ในคำถามเหล่านั้น พึงทราบคำถามที่ควรตอบว่า ทิฏฐิ เป็นอย่างไร ดังต่อไปนี้.

คำตอบว่า ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความเห็นผิด ก็ทิฏฐินั้นชื่อว่า อภินิเวสะ เพราะยึดถือ ตั้งมั่น ถือมั่น ด้วยอำนาจแห่งความเที่ยงเป็นต้น


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 38

ในวัตถุอันไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะก้าวล่วงอาการไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วลูบคลำยึดถือต่อไป เป็นไปด้วยอำนาจแห่งความเป็นของเที่ยงเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปรามาสะ เพราะลูบคลำยึดถือสิ่งอื่น มีอาทิว่าเป็นของเที่ยง ว่าเป็นของจริงอย่างสูงสุด ความยึดถือและการลูบคลำนั้น ชื่อว่า อภินิเวสปรามาสะ พระสารีบุตรเถระย่อมตอบสภาวะของทิฏฐิโดยกิจว่า ทิฏฐิมีประการอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า ตีณิ สตํ คือ ๓๐๐ (๑) เป็นความคลาดเคลื่อนของวจนะ ถามว่า การถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเป็นไฉน เป็นการยกคำถามขึ้นแล้วตอบว่า โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิ.

บัดนี้ พึงทราบการแสดงโดยพิสดารของบทมีอาทิว่า กถํ อภินิเวสปรามาโส การลูบคลำด้วยการถือผิดเป็นอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ (ซึ่งรูป) เป็นทุติยาวิภัตติ เชื่อมความว่า การลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป อนึ่ง ในบทว่า รูปํ นี้ ได้แก่ รูปูปาทานขันธ์และกสิณรูป ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความถือผิดว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา พึงประกอบเฉพาะอย่าง.

บทว่า เอตํ (นั่น) เป็นสามัญวจนะ ด้วยบทนั้นท่านทำให้เป็นนปุงสกลิงค์และเอกวจนะว่า นั่นเวทนาของเรา นั่นสังขารของเรา แต่บทว่า เอโส (นั่น) ท่านเพ่งถึงสิ่งที่ควรกล่าวถึง จึงทำให้เป็นปุงลิงควจนะ.


(๑) พระสูตรเป็น ติํสสตํ (๑๓๐) แต่อรรถกถาใช้คำว่า ตีณิสตํ (๓๐๐) เป็นวจนะวิปลาส นับจำนวนดังนี้คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ วิญญาณ ๖ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ๖ สัญญา ๖ สัญเจตนา ๖ ตัณหา ๖ วิตก ๖ วิจาร ๖ ธาตุ ๖ กสิณ ๑๐ โกฏฐาส ๓๒ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๑๕ ธาตุ ๒๓ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ รวม ๑๙๓ นับที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ๘ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ ทิฏฐิ ๑๖ ทิฏฐิอีก ๓ (คือนั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา) และทิฏฐิ ๖๒ รวมทั้งหมด ๓๐๐ พอดี.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 39

บทว่า เอตํ มม (นั่นของเรา) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญเพราะตัณหาเป็นมูล.

บทว่า เอโสหมสฺมิ (เราเป็นนั่น) เป็นทิฏฐิมีความสำคัญเพราะมานะเป็นมูล.

บทว่า เอโส เม อตฺตา (นั่นเป็นตัวตนของเรา) มีความสำคัญเพราะทิฏฐินั่นเอง.

ส่วนอาจารย์บางพวกพรรณนาความแห่งคำทั้ง ๓ เหล่านี้ว่า ความดำริด้วยมมังการ (ความถือว่าเป็นของเรา) ว่านั่นเป็นของเรา ๑ ความดำริด้วยอหังการ (ความถือว่าเป็นเรา) ว่าเราเป็นนั่น ๑ และการถือมั่นตัวตนอันดำริด้วยอหังการและมมังการว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา ๑.

โดยจัดตามลำดับเหมือนกันนั่นแหละ เป็นความตั้งมั่นโดยมีตัณหาเป็นมูล ๑ เป็นความยึดถือด้วยมานะ ๑ เป็นความยึดมั่นตัวตนที่ตั้งมั่นโดยมีตัณหาเป็นมูลและที่ยึดถือด้วยมานะ ๑.

อนึ่ง การไม่เห็นลักษณะที่เป็นทุกข์แห่งสังขารทั้งหลาย ๑ การไม่เห็นลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย ๑ และการยึดถือตัวตนอันเป็นเหตุไม่เห็นพระไตรลักษณ์แห่งสังขารทั้งหลาย ๑.

อนึ่ง การยึดถือตัวตนของผู้ที่ถึงความวิปลาส ในความทุกข์ว่าเป็นความสุขและในความไม่งามว่าเป็นความงาม ๑ ในความเป็นของไม่เที่ยงว่าเป็นของเที่ยง ๑ และผู้ถึงความวิปลาส ๔ อย่าง ๑.

อนึ่ง ความดำริด้วยอาการแห่งปุพเพนิวาสญาณ ๑ ความดำริเพื่อจะได้ในอนาคตแห่งทิพพจักขุญาณ ๑ และการยึดถือตัวตนของผู้อาศัยความดำริในธรรมทั้งหลายอันเป็นส่วนอดีต ส่วนอนาคต อิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนี้) และปฏิจจสมุปบาท ๑.

อนึ่ง เป็นความยึดมั่นตัวตนของบุคคลผู้คำนึงถึงอดีตด้วยความพอใจ ๑ ของบุคคลผู้หวังอนาคตด้วยความพอใจ ๑ ของบุคคลผู้ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน ๑.

อนึ่ง เป็นทิฏฐิมีความไม่รู้เป็นเหตุในส่วนอดีต ๑ เป็นทิฏฐิมีความไม่รู้เป็นเหตุในส่วนอนาคต ๑ เป็นความยึดมั่นตัวตนมีความไม่รู้เป็นเหตุในส่วนอดีตและอนาคต ๑ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นอิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท.


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 40

อนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายในทิฏฐิกถานี้ มีขันธ์ ๕ เป็นวัตถุ (เป็นที่ตั้งอาศัย) เป็นที่หนึ่ง (เป็นอันดับแรก) แต่นั้นท่านกล่าวถึงทิฏฐิทั้งหลาย มีอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ หมวดสัมผัส หมวดเวทนา หมวดสัญญา หมวดเจตนา หมวดตัณหา วิตก วิจาร ธาตุ กสิณ ๑๐ อาการ ๓๒ เป็นวัตถุ.

อนึ่ง ในอาการ ๓๒ พึงทราบว่า ในที่ใด ความถือมั่นแยกส่วนไม่สมควร ในที่นั้น ความถือมั่นด้วยอำนาจความถือมั่นสรีระทั้งสิ้น เป็นอันกระทำแล้วให้เป็นเหมือนการถือมั่นแยกส่วน แต่นั้นก็กระทำการประกอบด้วยอำนาจอายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๑๙ ไม่ประกอบอินทรีย์ ๓ อันเป็นโลกุตระล้วนๆ เพราะทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่มีโลกุตระเป็นวัตถุ (เป็นที่ตั้งอาศัย). อนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระแม้ทั้งปวง พึงถือเอาโลกิยะอย่างเดียว ยกเว้นโลกุตระ และไม่ควรถือรูปอันเนื่องด้วยอนินทรีย์เลย แต่นั้นก็ทำการประกอบด้วยธาตุ ๓ ภพ ๙ ฌาน พรหมวิหาร (อรูป) สมาบัติ และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท การบริหารในการถือเอาชาติ ชราและมรณะไว้ต่างหาก มีนัยดังได้กล่าวแล้ว บททั้งหลายมีรูปเป็นต้นเหล่านี้ทั้งหมด อันมีชราและมรณะเป็นที่สุด มีอยู่ ๑๙๘ บท.

พึงทราบวินิจฉัยในที่ตั้งแห่งทิฏฐิทั้งหลาย ดังต่อไปนี้.

บทว่า ขนฺธาปิ ทิฏฺิฏฺานํ แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ ความว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะขันธ์ ๕ นั่นแล เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งสักกายทิฏฐิแม้มีวัตถุ ๒๐ และเพราะเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นตน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าทั้งหมด ย่อมพิจารณาในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล หรือขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 41

บทว่า อวิชฺชาปิ ทิฏฺิฏฺานํ (แม้อวิชชาก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า อวิชชาเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิของคนบอดทั้งหลาย และเพราะบาลีว่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในท่านผู้ที่มิได้ตรัสรู้เองโดยชอบ ดังนี้ ทิฏฐินี้ย่อมปรากฏเพราะอาศัยอะไร พระเจ้าข้า.

ดูก่อนกัจจานะ ธาตุนี้ใหญ่นักแล คืออวิชชาธาตุ ดูก่อนกัจจานะ สัญญาเลว ทิฏฐิเลว ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยธาตุเลว.

บทว่า ผสฺโสปิ ทิฏฺิฏฺานํ (แม้ผัสสะก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า ผัสสะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความกระทบด้วยผัสสะนั้นเป็นความเกิดขึ้นแห่งทิฏฐิ และเพราะบาลีว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใด ดำริส่วนเบื้องต้น (อดีต) มีความเห็นตามส่วนเบื้องต้น (อดีต) ย่อมกล่าวถึงบทที่พอใจหลายๆ อย่าง ปรารภส่วนเบื้องต้น (อดีต) แม้ข้อนั้นก็เป็นปัจจัยแห่งผัสสะ.

บทว่า สญฺาปิ ทิฏฺิฏฺานํ (แม้สัญญาก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า สัญญาเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความที่สัญญาเป็นเหตุถือเอาตามสภาพที่ไม่เป็นจริง โดยถือเอาเพียงอาการ เพราะคำอันสภิยปริพาชกทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน พระองค์ทรงกำจัดทิฏฐิ ๓ และ ๖๐ ที่อาศัยคัมภีร์อันเป็นวาทะเป็นประธานของสมณะผู้ถือลัทธิอื่น ที่อาศัยอักขระ คือความหมายรู้กัน (ว่าหญิงว่าชาย) และสัญญาอันวิปริต ก้าวล่วงความมืด คือโอฆะ ได้แล้ว.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 42

และเพราะบาลีว่า.

ธรรมเป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้า มีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้.

บทว่า วิตกฺโกปิ ทิฏฺิฏฺานํ (แม้วิตกก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า วิตกเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความเกิดแห่งทิฏฐิด้วยวิตกถึงอาการ และเพราะบาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า.

เว้นจากสัญญาเสีย สัจจะมากหลายต่างๆ กันชื่อว่า เที่ยง ไม่มีในโลก ก็สมณพราหมณ์ทั้งหลายมากำหนดความคาดคะเนในทิฏฐิทั้งหลายแล้ว จึงกล่าวทิฏฐิธรรมอันเป็นคู่กัน ว่าจริง ว่าเท็จ.

บทว่า อโยนิโสมนสิกาโรปิ ทิฏฺิฏฺานํ (แม้อโยนิโสมนสิการก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า อโยนิโสมนสิการเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุทั่วไปแห่งอกุศลทั้งหลาย และเพราะบาลีว่า เมื่อพระโยคาวจรนั้นกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ทิฏฐิ ๖ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า ปาปมิตฺโตปิ ทิฏฺิฏฺานํ (แม้มิตรชั่วก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า มิตรชั่วเป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะมิตรชั่วเป็นความเกิดแห่งทิฏฐิ ด้วยการคล้อยตามไปกับความเห็น และเพราะบาลีว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นเหตุอื่นในภายนอกแม้เหตุเดียว ที่จะเป็นไปเพื่อความฉิบหายอันใหญ่อย่างนั้นเหมือนความมีมิตรชั่วนี้เลย.

บทว่า ปรโต โฆโสปิ ทิฏิฏฺานํ (แม้เสียงแต่ที่อื่นก็เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ความว่า เสียงแต่ที่อื่นทำให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ กถาประกอบด้วย


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 43

มิจฉาทิฏฐิ เป็นเหตุแห่งทิฏฐิทั้งหลาย เพราะความเกิดแห่งทิฏฐิด้วยการฟังธรรมที่กล่าวไม่ดี และเพราะบาลีว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ อย่าง ปัจจัย ๒ อย่างเหล่านี้ คือเสียงแต่ที่อื่นและอโยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะไขความแห่งบทว่า ทิฏฺฐิฏฺานํ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ขันธ์ทั้งหลายเป็นเหตุ เป็นปัจจัย (ขนฺธา เหตุ ขนฺธา ปจฺจยา) ดังนี้ อธิบายว่า ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นเป็นเหตุเกิดและเป็นปัจจัยอุปถัมภ์เพราะอาศัยทิฏฐิทั้งหลาย.

บทว่า สมุฏฺานตฺเถน (เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งขึ้น) ความว่า ชื่อว่า สมุฏฐาน เพราะเป็นเหตุตั้งขึ้น คือเกิดขึ้น อธิบายว่า เป็นเหตุ เพราะอรรถว่าตั้งขึ้นนั้น คือเพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ เมื่อจะแสดงถึงประเภทของทิฏฐิโดยประเภทแห่งกิจ จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า กตมานิ อฏฺารส ทิฏฺิปริยุฏฺานานิ (ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ๑๘ เป็นไฉน).

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยา ทิฏฺิ (ทิฏฐิ คือ) เป็นบทต้นเหตุอันทั่วไปแก่บททั้งหลาย ๑๘ บทซึ่งจะกล่าวในบัดนี้ พึงทำการเชื่อมด้วยบททั้งปวงว่า ทิฏฐิ คือทิฏฐิคตะ ทิฏฐิรกชัฏ เป็นต้น ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะอรรถว่าไม่เห็นตามความเป็นจริง การเห็นไปในทิฏฐิทั้งหลายนั้นนั่นแล ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ เพราะหยั่งลงภายในทิฏฐิ ๖๒ ท่านกล่าวความแห่งทิฏฐิคตะนั่นแล้วแม้ในหนหลัง ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ แม้เพราะยึดถือที่สุดอย่างเดียวในบรรดาที่สุดสองอย่าง.

ทิฏฐินั้นชื่อว่า ทิฏฐิรกชัฏ (ทิฏฺฐิคหนํ) เพราะอรรถว่า ก้าวไปได้ยาก ดุจรกด้วยหญ้า ป่าและภูเขา.

ชื่อว่า ทิฏฐิกันดาร (ทิฏฺฐิกนฺตารํ) เพราะอรรถว่า มีความรังเกียจและมีภัยเฉพาะหน้า ดุจกันดารเพราะโจร เพราะสัตว์ร้าย เพราะไม่มีน้ำ เพราะหาภิกษาได้ยาก


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 44

ในธรรมสังคณีมาแล้วโดยลิงค์ของตนว่า ทิฏฺิกนฺตาโร (กันดารด้วยทิฏฐิ).

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม (ทิฏฺฐิวิสูกํ) เพราะอรรถว่า เสียดแทงและตรงข้ามกับสัมมาทิฏฐิ จริงอยู่ การเห็นผิดย่อมเจาะทะลุและตรงข้ามกับการเห็นชอบ ซึ่งเกิดขึ้น ในธรรมสังคณีมาแล้วว่า เป็นข้าศึกของทิฏฐิ (ทิฏฺฐิวิสูกายิกํ).

ชื่อว่า ทิฏฐิวิบัติ (ทิฎฺฐิวิปฺผนฺทิตํ) เพราะเป็นทิฏฐิปรวนแปรผิดรูป โดยที่บางครั้งถือเอาสัสสตทิฏฐิ บางครั้งถือเอาอุจเฉททิฏฐิ จริงอยู่ เจ้าทิฏฐิไม่สามารถตั้งอยู่ในทิฏฐิเดียวได้ บางครั้งระลึกถึงสัสสตทิฏฐิ บางครั้งระลึกถึงอุจเฉททิฏฐิ.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ (ทิฏฺฐิสญฺโญชนํ) เพราะทิฏฐินั่นแลประกอบในสิ่งไม่เป็นประโยชน์.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นลูกศร (ทิฏฺฐิสลฺลํ) เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า เป็นลูกศร เพราะอรรถว่า เจาะเข้าไปในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกได้ยาก.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นความคับแคบ (ทิฏฺฐิสมฺพาโธ) เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า คับแคบ เพราะทำการบีบคั้น.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล (ทิฏฺฐิปลิโพโธ) เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า เป็นเครื่องกังวล เพราะปิดกั้นความหลุดพ้น.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน (ทิฏฺฐิพนฺธนํ) เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า เป็นเครื่องผูกพัน เพราะแก้ได้ยาก.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเหว (ทิฏฺฐิปปาโต) เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า เป็นเหว เพราะขึ้นได้ยาก.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นอนุสัย (ทิฏฺฐานุสโย) เพราะทิฏฐินั่นแล ชื่อว่า เป็นอนุสัย เพราะไปด้วยเรี่ยวแรง (เป็นสภาพมีกำลัง).


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 45

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน (ทิฏฺฐิสนฺตาโป) เพราะทิฏฐินั่นแล ทำตนให้เดือดร้อน.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน (ทิฏฺฐิปริฬาโห) เพราะทิฏฐินั่นแล ตามเผาผลาญตน.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยรัด (ทิฏฺฐิคนฺโถ) เพราะทิฏฐินั่นแล ร้อยรัดกองกิเลสเอาไว้.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น (ทิฏฺฐุปาทานํ) เพราะทิฏฐินั่นแล ยึดถือไว้อย่างมั่น.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด (ทิฏฺฐาภินิเวโส) เพราะถือผิดด้วยการยึดว่า เป็นจริง เป็นต้น.

ชื่อว่า ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ (ทิฏฺฐิปรามาโส) เพราะทิฏฐินั่นแล ย่อมลูบคลำว่า นี้เป็นอื่น หรือลูบคลำโดยเป็นอื่น.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะชี้ถึงทิฏฐิ ๑๖ ด้วยอำนาจแห่งหมู่ (กอง) จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทิฏฐิ ๑๖ เป็นไฉน (กตมา โสฬส ทิฏฺฐิโย).

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิ ๑๖ นั้น ดังต่อไปนี้.

ทิฏฐิในความพอใจ คือสุขและโสมนัส ชื่อว่า อัสสาททิฏฐิ.

ทิฏฐิอันไปตามตน ชื่อว่า อัตตานุทิฏฐิ.

ทิฏฐิอันวิปริต เพราะเป็นไปว่า ไม่มี ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ.

ทิฏฐิในกายอันมีอยู่ หรือทิฏฐิอันมีอยู่ในกาย ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ อนึ่ง ในบทว่า กาย (กาโย) นี้ คือขันธปัญจก ทิฏฐิชื่อว่า มีสักกายะเป็นวัตถุ (สกฺกายวตฺถุกา) เพราะมีสักกายะ คือขันธบัญจกเป็นวัตถุ คือเป็นที่ตั้ง.

ทิฏฐิอันเป็นไปแล้วว่า เที่ยง ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ.

ทิฏฐิอันเป็นไปแล้วว่า สูญ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ.

ชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือเอาที่สุดมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้น หรือเพราะมีการถือเอาที่สุด.

ทิฏฐิอันไปตามที่สุดเบื้องต้น คืออดีต ชื่อว่า ปุพพันตานุทิฏฐิ.

ทิฏฐิอันไปตามที่สุดเบื้องปลาย คืออนาคต ชื่อว่า อปรันตานุทิฏฐิ.

ชื่อว่า สัญโยชนิกาทิฏฐิ เพราะประกอบในสิ่งไม่มีประโยชน์.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 46

ทิฏฐิอันผูกพัน สืบต่อ ให้เกิดขึ้นด้วยมานะอันเกิดขึ้นว่า เป็นเรา ด้วยอำนาจอหังการ (การถือตัว) อันเป็นมูลแห่งทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่า เป็นเรา (อหนฺติ มานวินิพนฺธา ทิฏฺฐิ).

อนึ่ง ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะอันเกิดขึ้นว่า ของเรา ด้วยอำนาจมมังการ (การถือว่า เป็นของเรา) ชื่อว่า ทิฏฐิอันผูกพันด้วยมานะว่า ของเรา (มมนฺติ มานวินิพนฺธา ทิฏฺฐิ).

การพูด การกล่าวของตน ชื่อว่า อัตตวาทะ ทิฏฐิอันสัมปยุตเกี่ยวข้องด้วยอัตตวาทะนั้น ชื่อว่า ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ (อตฺตวาทปฏิสํยุตฺตา ทิฏฺฐิ).

การพูด การกล่าวว่า โลกของตน ชื่อว่า โลกวาทะ ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะนั้น ชื่อว่า ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ (โลกวาทปฏิสํยุตฺตา ทิฏฺฐิ).

ความเที่ยงท่านกล่าวว่า ภพ (ภวะ) ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยความเที่ยง ชื่อว่า ภวทิฏฺฐิ.

ความสูญท่านกล่าวว่า วิภวะ ทิฏฐิอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจความสูญ ชื่อว่า วิภวทิฏฺฐิ.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงความถือผิดด้วยทิฏฐิ ๓๐๐ จึงถามว่า การถือผิดด้วยทิฏฐิ ๓๐๐ เป็นไฉน (แต่) ไม่แก้ความถือผิดเหล่านั้น ประสงค์จะแก้โดยแก้ความถือผิดไว้แผนกหนึ่ง จึงถามถึงอาการถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๖ อย่างโดยนัยมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการเท่าไร แล้วแก้การนับอาการถือผิดแห่งทิฏฐิ ๑๖ อย่างเท่านั้น มีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ ต่อไป เมื่อจะแก้การนับเหล่านั้นอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นไฉน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ ปฏิจฺจ คืออาศัยรูปขันธ์.

บทว่า อุปฺปชฺชติ สุขํ โสมนสฺสํ (สุข โสมนัสเกิดขึ้น) ความว่า สุข โสมนัส สัมปยุตด้วยราคะอาศัยเรือน ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสมบัติว่า กายของเรานี้ เป็นเช่นนี้ ดังนี้ สุขและโสมนัสโดยอรรถได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

บทว่า รูปสฺส อสฺสาโท (อัสสาทะแห่งรูป) คือความยินดีอาศัยรูป ชื่อว่า อัสสาทะ เพราะยินดีเสวยสุขนั้นด้วยอำนาจแห่งตัณหา.


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 47

บทว่า อภินิเวสปรามาโส ทิฏฺิ (ทิฏฐิ คือการลูบคลำด้วยความถือผิด) ความว่า ความยินดีนั้น (อัสสาทะ) เป็นการลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เที่ยงก็ดี จักสูญก็ดี ย่อมทำตนเที่ยงหรือสูญให้มีความสุขก็ดี เพราะฉะนั้น บทว่า ยา จ ทิฏฺิ โย จ อสฺสาโท (ทิฏฐิและอัสสาทะ) ทิฏฐิและอัสสาทะแม้ทั้งสอง ท่านรวมกัน อธิบายว่า ทิฏฐินั้นเว้นอัสสาทะจะมีไม่ได้ แม้อัสสาทะจะเป็นทิฏฐิก็ตาม ไม่เป็นก็ตาม.

บทว่า อสฺสาททิฏฺิ (อัสสาททิฎฐิ) ท่านอธิบายว่า ได้แก่ ทิฏฐิที่เป็นไปในความยินดี.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระครั้นเทียบเคียงด้วยสูตรต่างๆ แล้ว ประสงค์ติเตียนมิจฉาทิฏฐิและผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ (อสฺสาททิฏฐิ มิจฺฉาทิฏฐิ).

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิวิปตฺติ (เป็นทิฏฐิวิบัติ) ได้แก่ วิบัติด้วยทิฏฐิ คือมิจฉาทิฏฐิอันยังสัมมาทิฏฐิให้พินาศ.

บทว่า ทิฏฺิวิปนฺโน (เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ) อธิบายว่า ชื่อว่า ทิฏฺิวิปนฺโน เพราะมีสัมมาทิฏฐิวิบัติ มีความเห็นวิบัติ คือพินาศหรือวิบัติด้วยทิฏฐิ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัตินั้น ไม่ควรเสพ (น เสวิตพฺโพ) ด้วยการเข้าไปหา ไม่ควรคบ (น ภชิพฺโพ) ด้วยจิต ไม่ควรนั่งใกล้ (น ปยิรุปาสิตพฺโพ) ด้วยการเข้าไปหาแล้วนั่งลง.

บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ (ข้อนั้นเพราะเหตุไร) เป็นการณปุจฉา (ถามถึงเหตุ) ของบุคคลนั้นว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรทำการเสพเป็นต้นนั้น ตอบถึงเหตุว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก (ทิฏฺฐิ หิสฺส ปาปิกา) ฉะนั้นจึงไม่ควรทำการเสพ เป็นต้นนั้น.

บทว่า ทิฏฺิ โย ราโค (ทิฏฐิใด ราคะใด) ความว่า ราคะเกิดขึ้นด้วยทิฏฐิปรารภทิฏฐิว่า ทิฏฐิของเราดี ดังนี้.

บทว่า ทิฏฺิราครตฺโต (๑) (เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ) ความว่า เป็นผู้ยินดีด้วยทิฏฐิราคะนั้นดุจผ้าย้อมด้วยสี.


(๑) สฺยา. ทิฏฺฐิราครโต.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 48

บทว่า น มหปฺผลํ (ไม่มีผลมาก) คือด้วยผลอันเป็นวิบาก.

บทว่า น มหานิสํสํ (ไม่มีอานิสงส์มาก) คือด้วยผลอันหลั่งไหลหรือผลลัพธ์.

บทว่า ปุริสปุคฺคลสฺส (บุรุษบุคคล) คือแห่งบุรุษบุคคล เพราะโดยโวหารของชาวโลก สรีระท่านเรียกว่า ปุํ ชื่อว่าบุรุษ (ปุริส) เพราะไป คือเป็นไปในสรีระนั้น นรก ท่านเรียกว่า ปุํ ชื่อ ปุคฺคล (บุคคล) เพราะเคลื่อน คือไปสู่นรกนั้น จริงอยู่ โดยมากสัตว์ทั้งหลาย จุติจากสุคติแล้ว ย่อมเกิดในทุคติทั้งนั้น.

บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ (ข้อนั้นเพราะเหตุไร) คือความที่ไม่มีผลมากนั้น เป็นเพราะเหตุไร.

บทว่า ทิฏฺิ หิสฺส ปาปิกา ความว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก ฉะนั้น จึงไม่มีผลมาก.

บทว่า เทฺวว คติโย ย่อมมีคติเป็น ๒ คือมีคติเป็น ๒ ในคติ ๕ (๑) เป็นนรก (นิรโย) เพราะทิฏฐิวิบัติ เป็นกำเนิดดิรัจฉาน (ติรจฺฉานโยนิ) เพราะทิฏฐิสมบัติ.

บทว่า ยญฺเจว กายกมฺมํ (กายกรรม) คือกายกรรมมีการดำรงเพศของตน การประกอบข้อปฏิบัติ อภิวาท ลุกรับ และทำอัญชลีเป็นต้น.

บทว่า ยญฺจ วจีกมฺมํ (วจีกรรม) คือวจีกรรมมีการเล่าเรียน ท่อง แสดง ชักชวนในลัทธิของตนเป็นต้น.

บทว่า ยญฺจ มโนกมฺมํ (มโนกรรม) คือมโนกรรมประกอบด้วยความคิดคำนึงถึงโลกนี้ โลกหน้า สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ.

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในหญ้า ขอนไม้ ข้าวเปลือก พืชทั้งหลาย และในการมอบให้ การรับ การบริโภคทานของสัตว์ผู้มีทิฏฐิ ๗ (๒).

บทว่า ยถาทิฏฺิ (ตามทิฏฐิ) คือสมควรแก่ทิฏฐินั้น.

บทว่า สมตฺตํ (ให้บริบูรณ์) คือให้เต็มเปี่ยม.

บทว่า สมาทินฺนํ (สมาทาน) คือถือเอา.


(๑) ม. มู. ๑๒/๑๗๐/๑๔๘. นรก ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย มนุษย์ เทวดา.

(๒) อภิ. วิ. ๓๕/๑๐๑๑/๕๑๘.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 49

แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า กายกรรมนั้นมี ๓ อย่าง คือกายกรรมตั้งไว้ตามทิฏฐิ ๑ กายกรรมเกิดร่วมกับทิฏฐิ ๑ กายกรรมอนุโลมตามทิฏฐิ ๑ ในกายกรรม ๓ อย่างนั้น กายกรรมกล่าวคือ ปาณาติบาต อทินนาทาน และมิจฉาจารของผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามไม่มีบาป อันมีกายกรรมนั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง นี้ชื่อว่า กายกรรมตั้งไว้ตามทิฏฐิ กายกรรมเกิดร่วมกันด้วยความเห็นตามทิฏฐินี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ ผู้ลักทรัพย์ ผู้ประพฤติผิดในกามไม่มีบาป อันมีกายกรรมนั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง นี้ชื่อว่า กายกรรมเกิดร่วมกันกับทิฏฐิ กายกรรมนั้นนั่นแลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิสมาทานแล้ว ถือเอาแล้ว ลูบคลำแล้วให้บริบูรณ์ ชื่อว่า กายกรรมอนุโลมตามทิฏฐิ แม้ในวจีกรรม มโนกรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน อนึ่ง ในวจีกรรม มโนกรรมนี้พึงประกอบว่า ผู้พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดไม่มีบาป อันมีวจีกรรม มโนกรรม นั้นเป็นเหตุ บาปไม่มาถึง ดังนี้ อนึ่ง นัยที่กล่าวด้วยการดำรงเพศเป็นต้น การเล่าเรียนเป็นต้น และความคิดของชาวโลกเป็นต้น เป็นนัยที่ดีในข้อนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาเป็นต้นดังต่อไปนี้ ความคิดอันเกิดร่วมกับทิฏฐิ ชื่อว่า เจตนา ความต้องการอันเกิดร่วมกับทิฏฐิ ชื่อว่า ความปรารถนา (ปตฺถนา) การตั้งจิตด้วยอำนาจแห่งเจตนาและความปรารถนา ชื่อว่า ความตั้งใจ (ปณิธิ) ก็ธรรมทั้งหลายอันนับเนื่องด้วยสังขารขันธ์มีผัสสะเป็นต้น สัมปยุตด้วยเจตนาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร.

ด้วยบทมีอาทิว่า อนิฏฺาย (เพื่อผลไม่น่าปรารถนา) ท่านกล่าวถึงทุกข์ทั้งนั้น จริงอยู่ ทุกข์ ชื่อว่า ไม่น่าปรารถนา เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความสุขไม่แสวงหา ชื่อว่า ไม่น่าใคร่ เพราะไม่เป็นที่รัก ชื่อว่า ไม่น่าพอใจ เพราะไม่ทำให้เจริญใจและเพราะไม่ซาบซ่านใจ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 50

ชื่อว่า มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพราะไม่เจริญต่อไป ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะบีบคั้น.

บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ (ข้อนั้นเพราะเหตุไร) ความว่า การเป็นไปอย่างนั้นย่อมมีเพราะเหตุไร แสดงถึงเหตุนั้นว่า เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิลามก อธิบายว่า เพราะทิฏฐิของบุคคลนั้นเลวทราม ลามก ฉะนั้นจึงเป็นไปอย่างนั้น.

บทว่า อลฺลาย ปวิยา นิกฺขิตฺตํ (ที่เขาฝังลงในแผ่นดินเปียก) คือปลูกลงไปในแผ่นดินที่ชุ่มด้วยน้ำ.

บทว่า ปวีรสํ อาโปรสํ (รสแผ่นดินและรสน้ำ) ความว่า ในที่นั้นๆ สมบูรณ์ด้วยแผ่นดินและน้ำ เพราะในที่ที่ฝังพืช แผ่นดินทั้งหมดและน้ำทั้งหมด ไม่ยังพืชและผลให้ผลิตได้ ส่วนพื้นที่ของแผ่นดินและน้ำเหล่านั้นเท่านั้นที่สัมผัสพืช ย่อมทำให้พืชออกผลได้ เพราะฉะนั้น พื้นที่นั้นจึงเป็นปัจจัยเพื่อเลี้ยงพืช พึงทราบว่าเป็นรสแผ่นดิน เป็นรสน้ำ.

เพราะ รส ศัพท์มีอรรถว่า สมบัติ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า รส ด้วยอรรถว่ากิจและสมบัติ อนึ่ง เมื่อชาวโลกกล่าวว่า คนธรรพ์มีเสียง (รส) ดี ย่อมรู้ความว่า คนธรรพ์สมบูรณ์ดีแล้ว.

บทว่า อุปาทิยติ (อาศัย) คือถือเอา ได้แก่ ดูดซับ เพราะพืชได้พื้นที่ที่เป็นปัจจัย ย่อมดูดซับเอารสแผ่นดินและรสน้ำนั้นได้.

บทว่า สพฺพนฺตํ คือรสทั้งปวงนั้น.

บทว่า ติตฺตกตฺตาย (เพื่อความเป็นของมีรสขม) ความว่า รสแผ่นดินและรสน้ำนั้น แม้ไม่มีรสขม อาศัยพืชที่ขม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขมแห่งต้นสะเดาเป็นต้นและแห่งผล เหล่านั้น.

บทว่า กฏุกตฺตาย (มีรสปร่า) นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นเอง พึงทราบว่า รสขมในที่นี้ชื่อว่า รสปร่า เพราะไม่เป็นที่ชอบใจดุจในอาคตสถาน (* เนื้อความ) ว่า.

มะม่วงนี้ เมื่อก่อนมีสี กลิ่นและรสสมบูรณ์ ได้รับความนิยม เพราะเหตุไร มะม่วงจึงมีรสปร่าไป. (๑)


(๑) ขุ. ชา. ๒๗/๒๒๑/๖๗.


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 51

บทว่า อสารตาย (ไม่เป็นสาระ) คือไม่มีรสหวาน ปาฐะว่า อสาทุตฺตาย บ้าง ความว่า มีรสไม่อร่อย เพราะบทว่า สาทุ แปลว่า อร่อย.

บทว่า พีชํ หิสฺส (เพราะสะเดาเป็นต้นนั้นเป็นพืช) ได้แก่ พืชของสะเดาเป็นต้นนั้น.

บทว่า เอวเมวํ (ก็ฉันนั้นเหมือนกัน) ตัดบทเป็น เอวํ เอวํ เพราะสุขเวทนาเป็นความยินดีอย่างยิ่ง ฉะนั้นท่านจึงแสดงถึงโทษแห่งมิจฉาทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งทุกขเวทนา.

พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงถึงโทษแห่งทิฏฐิโดยประเภท ๑๘ อย่าง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ บทนั้นมีความดังได้กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า อิเมหิ อฏฺารสหิ อากาเรหิ ปริยุฏฺิตจิตฺตสฺส สญฺโญโค (ความเกี่ยวข้องแห่งจิตอันทิฏฐิกลุ้มรุมด้วยอาการ ๑๘ อย่างเหล่านี้) ท่านแสดงถึงความผูกพันในสงสารด้วยทิฏฐินั่นเอง.

ก็เพราะสังโยชน์แม้เป็นทิฏฐิก็มี แม้ไม่เป็นทิฏฐิก็มี ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงประเภทนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อตฺถิ สญฺโชนานิ เจว (สังโยชน์มีอยู่) ดังนี้.

ในบทนั้น เพราะกามราคสังโยชน์มีที่มาว่า อนุนยสฺโชนํ คือสังโยชน์ที่มีนัยตามกัน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุนยสฺโชนํ พึงทราบว่า อนุนยสังโยชน์นี้ ท่านกล่าวหมายถึง ความโลภที่เป็นไป ยังไม่ถึงความเป็นกามราคะ ในวาระแม้เป็นมูลเหตุ มีขันธ์และอายตนะที่เหลือเป็นต้น ก็พึงทราบความโดยนัยนี้เหมือนกัน.

อนึ่ง เพราะอัสสาทะมีเวทนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงทำเทศนามีเวทนาเป็นที่สุด ไม่ถือเอาสัญญาเป็นต้น.

บทว่า อิเมหิ ปฺจตฺติํสาย อากาเรหิ (ด้วยอาการ ๓๕ เหล่านี้) คือด้วยอาการ ๓๕ ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ คืออัสสาทะอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ ๓๕ เหล่านี้ คือเบญจขันธ์ และหมวด ๖ อีก ๕ หมวด มีอายตนะภายในเป็นต้น.

จบอรรถกถาอัสสาททิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 52

อรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ

(แสดงถึงอัตตานุทิฏฐิ)

พึงทราบวินิจฉัยในอัตตานุทิฏฐิ ดังต่อไปนี้ บทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน (ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ) คือผู้ควรรู้ว่าไม่ได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษาเล่าเรียนและการบรรลุ ผู้ที่ชื่อว่า ไม่มีการศึกษา ทำการปฏิเสธอัตตานุทิฏฐิ เพราะปราศจากการเล่าเรียน การสอบถามและการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการและสติปัฏฐานเป็นต้น และผู้ที่ชื่อว่า ไม่บรรลุ เพราะไม่บรรลุข้อปฏิบัติที่ควรบรรลุ ชื่อว่า ผู้ไม่ได้สดับ เพราะไม่มีการศึกษาและการบรรลุ.

จริงอยู่ บทว่า สุตํ (สดับแล้ว) คือมีการศึกษาพุทธวจนะ และบรรลุด้วยโวหารว่าสุตะเป็นเหตุ เพราะเป็นผลแห่งสุตะ ชื่อว่า สุตวา ผู้สดับเพราะมีสุตะนั้น ผู้ไม่มีสุตะ ชื่อว่า ผู้ไม่ได้สดับ บุคคลผู้ไม่ได้สดับนี้นั้น เป็นปุถุชนด้วยเหตุยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น ชนนี้เป็นผู้ชื่อว่า มีกิเลสหนาเพราะเป็นผู้ยังกิเลสหนาให้เกิดขึ้นหยั่งลงถึงภายใน.

จริงอยู่ ชนนั้นเป็นปุถุชน (ปุถุชโน) ด้วยเหตุยังกิเลสเป็นต้นอันหนามีประการต่างๆ ให้เกิดขึ้น สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะยังกิเลสหนาให้เกิดขึ้น เพราะกำจัดสักกายทิฏฐิอันหนาไม่ได้ เพราะเห็นแก่หน้าของศาสดาทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะร้อยรัดไว้ด้วยคติต่างๆ เป็นอันมาก เพราะปรุงแต่งอภิสังขารต่างๆ มาก เพราะถูกห้วงน้ำ คือกิเลสต่างๆ มาก พัดพาไป


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 53

เพราะเดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่างๆ เป็นอันมาก เพราะถูกความเร่าร้อนต่างๆ เป็นอันมากเผาผลาญ เพราะกำหนัด อยาก ยินดี สยบ ซบ ติด ข้อง พัวพันในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก เพราะกั้น ล้อม ขัดขวาง ปิด ปกปิด ครอบ ด้วยนิวรณ์ ๕ เป็นอันมาก.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นชนมีความประพฤติธรรมต่ำหยั่งลงในภายใน มีการเบือนหน้าจากอริยธรรม จะเลยการนับครั้งที่หนึ่งเป็นอันมาก (* จำนวนมาก) หรือเพราะชนนี้มาก แยกพวกออกไปไม่สมาคมกับพระอริยะผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น.

ด้วยบท ๒ บทเหล่านั้นว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ท่านกล่าวปุถุชน ๒ จำพวกว่า

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสถึงปุถุชนไว้ ๒ จำพวก คืออันธปุถุชน ๑ กัลยาณปุถุชน ๑.

ในปุถุชน ๒ จำพวกนั้น พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงอันธปุถุชน.

บทว่า อริยา ในบทมีอาทิว่า อริยานํ อทสฺสาวี ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายและพระพุทธสาวกทั้งหลายท่านกล่าวว่า เป็นอริยะ ในที่นี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นเป็นอริยะ เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลส เพราะไม่ทรงนำไปในทางเสื่อม เพราะทรงนำไปในทางเจริญ เพราะยังโลกพร้อมด้วยเทวโลกให้พ้นทุกข์ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ เรากล่าวว่า ตถาคตเป็นอริยะ.

อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกของพระตถาคต พึงทราบว่า เป็นสัตบุรุษ ในบทว่า สปฺปุริสา นี้ จริงอยู่ท่านเหล่านั้นชื่อว่า เป็นสัตบุรุษ


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 54

เพราะเป็นบุรุษผู้งามด้วยการประกอบโลกุตรคุณ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้นทั้งหมด ท่านก็กล่าวไว้ทั้งสองอย่าง แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้พระพุทธสาวกทั้งหลาย เป็นทั้งพระอริยะและเป็นทั้งสัตบุรุษ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

ผู้ใดแลเป็นคนกตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ เป็นกัลยาณมิตรและเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง ย่อมทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมกล่าวถึงผู้เป็นอย่างนั้นว่า เป็นสัตบุรุษ.

ในบทนี้ ท่านกล่าวพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าว่า เป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์ ท่านกล่าวพระพุทธสาวกว่าเป็นกัลยาณมิตรและเป็นผู้มีความภักดีมั่นคง กล่าวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ย่อมทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยความเคารพ.

บัดนี้ พึงทราบว่า ผู้ที่ปกติไม่เห็นพระอริยะเหล่านั้นและไม่ทำความดี ในการเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้นั้นมี ๒ อย่าง คือไม่เห็นด้วยจักษุ ๑ไม่เห็นด้วยญาณ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาไม่เห็นด้วยญาณ จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลาย แม้เห็นด้วยมังสจักษุ หรือ ด้วยทิพยจักษุ ก็ไม่เป็นอันเห็น เพราะจักษุเหล่านั้นถือเอาเพียงสี เพราะไม่เป็นอารมณ์แห่งความเป็นอริยะ เพราะว่า แม้สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นก็เห็นพระอริยะด้วยจักษุ ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะ เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุจึงไม่เป็นการเห็น การเห็นด้วยญาณเท่านั้นจึงเป็นการเห็น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

ดูก่อนวักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอเห็นกายอันเปื่อยเน่านี้ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา.


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 55

เพราะฉะนั้น แม้เห็นด้วยจักษุ ก็มิได้เห็นด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นที่พระอริยะเห็นแล้วด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่า ชื่อว่า ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย เพราะไม่เห็นความเป็นอริยะของธรรมอันทำให้เป็นอริยะ.

บทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ได้แก่ ไม่ฉลาดในธรรมของอริยะ คือไม่ฉลาดในอริยธรรมอันมีสติปัฏฐานเป็นต้น อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะนี้ ดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า วินัยนี้มี ๒ อย่าง ในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัยข้อหนึ่งๆ มี ๕ อย่าง เพราะไม่มีวินัยนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผู้นี้ไม่ได้รับแนะนำ.

จริงอยู่ วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือสังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ ในวินัยแม้ ๒ อย่างนี้ วินัยข้อหนึ่งๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง.

แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือศีลสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วีริยสังวร ๑.

แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือตทังคปหาน ๑ วิกขัมภนปหาน ๑ สมุจเฉทปหาน ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน ๑ นิสสรณปหาน ๑.

ในสังวรวินัยนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ภิกษุเข้าถึง คือพร้อมด้วยปาฏิโมกขสังวร นี้ชื่อว่า ศีลสังวร.

ภิกษุรักษาจักขุนทรีย์ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร.

สติเป็นเครื่องกั้นกระแสในโลก เรากล่าวสติว่า เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นย่อมปิดได้ด้วยปัญญา นี้ชื่อว่า ญาณสังวร.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 56

เป็นผู้อดทนต่อหนาวและร้อน นี้ชื่อว่า ขันติสังวร.

ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วทับถมได้ นี้ชื่อว่า วีริยสังวร.

สังวรแม้ทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวว่า สํวร (สังวร) เพราะสำรวมกายทุจริตเป็นต้นที่ควรสำรวมและที่ควรกำจัดออกไปตามหน้าที่ของตน ท่านกล่าวว่า วินัย เพราะกำจัดออกไป พึงทราบสังวรวินัยแบ่งออกเป็น ๕ ส่วนด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง การละสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เพราะเป็นปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณมีกำหนดนามรูปเป็นต้น ดุจละความมืดด้วยแสงประทีปฉะนั้น เช่นการละสักกายทิฏฐิด้วยกำหนดนามรูป ละความเห็นว่า ไม่มีเหตุและเป็นเหตุลุ่มๆ ดอนๆ ด้วยกำหนดปัจจัย ละความสงสัยด้วยข้ามพ้นความสงสัย ละการถือว่า เป็นเรา เป็นของเราด้วยพิจารณาเป็นกองๆ (*ขันธ์) เป็นกลาป ละความสำคัญในสิ่งไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรคด้วยกำหนดมรรคและมิใช่มรรค ละอุจเฉททิฏฐิด้วยเห็นความเกิด ละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม ละความสำคัญในสิ่งมีภัยว่าไม่มีภัยด้วยการเห็นภัย ละความสำคัญในสิ่งที่น่าพอใจด้วยการเห็นโทษ ละความสำคัญในสิ่งที่น่ายินดีด้วยการพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ละความใคร่ในอันที่จะไม่พ้นไปด้วยญาณคือความใคร่ในอันที่จะพ้นไป ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละความโต้แย้งต่อสิ่งที่ตั้งอยู่โดยธรรมและโต้แย้งนิพพานด้วยอนุโลมญาน (กำหนดรู้ด้วยการคล้อยตาม) ละความยึดถือในสังขารนิมิตด้วยโคตรภูญาณ (ญาณข้ามพ้นโคตรปุถุชน) นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.

การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นเหล่านั้นๆ โดยป้องกัน (ห้าม) ความเป็นไปด้วยสมาธิอันเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ดุจทำลายสาหร่ายบนหลังน้ำด้วยการเกลี่ยให้กระจายไป นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 57

การละความยึดถือกิเลสอันเป็นฝ่ายแห่งสมุทัย ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายในสันดานของตนๆ โดยมรรคนั้นๆ เพราะเจริญอริยมรรค ๔ แล้วโดยความไม่ให้เป็นไปอีกต่อไป นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.

ความที่กิเลสทั้งหลายสงบ ในขณะแห่งผล นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิปหาน.

การดับอันเป็นการละเครื่องปรุงแต่งทั้งหมด เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งหมดได้แล้ว นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.

ก็ปหานทั้งหมดนี้ชื่อว่า ปหาน เพราะอรรถว่า สละ ชื่อว่า วินัย เพราะอรรถว่า แนะนำให้วิเศษ ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปหานวินัย อีกอย่างหนึ่ง ปหานนี้เรียกว่า ปหานวินัย เพราะละอกุสลนั้นๆ เพราะมีวินัยนั้นๆ แม้ปหานวินัยพึงทราบว่าแบ่งออกเป็น ๕ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่างอย่างนี้ และโดยประเภทมี ๑๐ อย่าง ไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เพราะขาดสังวรและเพราะไม่ละสิ่งที่ควรละฉะนั้น ปุถุชนนี้ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น.

แม้ในบทว่า สปฺปุริสานํ อทสฺสาวี สปฺปุริสธมฺมสฺส อโกวิโท สปฺปุริสธมฺเม อวินีโต ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ นี้ก็มีนัยนี้ โดยความบทนี้ ไม่มีเหตุต่างกันเลย.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเป็นอริยะ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ผู้ใดเป็นสัตบุรุษ ผู้นั้นเป็นอริยะ ธรรมใดของพระอริยะ ธรรมนั้นของสัตบุรุษ ธรรมใดของสัตบุรุษ ธรรมนั้นของพระอริยะ วินัยใดเป็นวินัยของพระอริยะ วินัยนั้นเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยใดเป็นวินัยของสัตบุรุษ วินัยนั้นเป็นวินัยของพระอริยะ รวมความว่า อริยะก็ดี สัตบุรุษก็ดี ธรรมของอริยะก็ดี ธรรมของสัตบุรุษก็ดี


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 58

วินัยของอริยะก็ดี วินัยของสัตบุรุษก็ดี เหล่านั้นเป็นอันเดียวกัน ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน เสมอกัน เสมอภาคกัน เกิดในที่นั้นเหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามว่า อัตตานุทิฏฐิมีความเห็นผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน แล้วไม่เเก้คำถามนั้น กลับอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ดังนี้ พึงทราบว่า พระเถระเพื่อจะทำความนั้นให้แจ่มแจ้งด้วยเทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงอ้างถึงปุถุชนก่อน.

พระเถระครั้นอ้างถึงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงอุเทศแห่งการถือผิด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังต่อไปนี้.

บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นรูปขันธ์และกสิณรูปโดยเห็นด้วยทิฏฐิว่า เป็นตัวตน แต่ในนิเทศพึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงรูปนั้นว่า การถือผิดในรูปขันธ์ของปุถุชนนั้นปรากฏเพราะอธิการแห่งเบญจขันธ์ แล้วกล่าวถึงกสิณรูปโดยเป็นสามัญว่า รูป.

บทว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ (เห็นตนว่ามีรูป) คือถือสิ่งไม่มีรูปว่าตัวตน แล้วเห็นตนนั้นว่ามีรูป.

บทว่า อตฺตนิ วา รูปํ (เห็นรูปในตน) คือถือสิ่งไม่มีรูปนั่นแลว่าตัวตน แล้วเห็นรูปในตนนั้น.

บทว่า รูปสฺมิํ วา อตฺตานํ (เห็นตนในรูป) คือถือสิ่งไม่มีรูปนั่นแลว่าตัวตน แล้วเห็นตนนั้นในรูป.


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 59

ในบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ (เห็นรูปโดยความเป็นตน) ท่านกล่าวถึง รูปอย่างเดียวเป็นตัวตน.

สิ่งไม่ใช่รูปในฐานะ ๗ เหล่านี้ คือเห็นตนว่ามีรูป ๑ เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนา ๑ สัญญา ๑ สังขาร ๑ วิญญาณ ๑ โดยความเป็นตน ท่านกล่าวว่า เป็นตัวตน.

ท่านกล่าวถึงตัวตนปนด้วยรูปและอรูปในฐานะ ๑๒ อย่างด้วยอำนาจแห่งเวทนา ๓ ในขันธ์ ๔ อย่างนี้ว่า เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา อนึ่ง ทิฏฐิแม้ ๒๐ เหล่านั้น ห้ามมรรค ไม่ห้ามสวรรค์ ทำลาย (ปหาน) เสียด้วยโสดาปัตติมรรค.

บัดนี้ พระเถระเมื่อจะชี้แจงถึงรูปนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กถํ รูปํ (รูปอย่างไร) เห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปวีกสิณํ ได้แก่ ปฐวีกสิณอันเป็นปฏิภาคนิมิตที่ให้เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวีมณฑล (วงดิน) โดยการแผ่ไปทั่ว.

บทว่า อหํ (เรา) ท่านหมายถึง ตนนั่นเอง.

บทว่า อตฺตํ คือตน.

บทว่า อทฺวยํ (ไม่เป็นสอง) คือหนึ่งนั่นเอง.

บทว่า เตลปฺปทีปสฺส คือประทีปมีน้ำมัน.

บทว่า ฌายโต คือลุกโพลงอยู่.

บทมีอาทิว่า ยา อจฺฉิ โส วณฺโณ (เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น) ท่านกล่าวเพราะปราศจากเปลวไฟเสียเเล้วก็ไม่มีแสงสว่าง.

บทว่า ยา จ ทิฏฺิ ยญฺจ วตฺถุ (ทิฏฐิและวัตถุ) อธิบายว่า ท่านทำทั้งสองอย่างนั้นรวมกัน แล้วกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ.

อาโปกสิณเป็นต้น เป็นกสิณนิมิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยน้ำเป็นต้น.

อนึ่ง อากาศกสิณที่กำหนดไว้ (ปริจฉินนากาสกสิณ) แม้เป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน เมื่อท่านกล่าวว่าเป็น อากาศกสิณ เป็นอันระคนแล้วด้วยกสิณุคฆาฏิมากาศ อันเป็นอารมณ์แห่งอรูปฌาน


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 60

เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านจึงไม่ถือเอา เพราะอธิการแห่งรูป (กำลังพูดถึงรูป) จึงไม่ควรถือเอาวิญญาณกสิณโดยแท้ฉะนี้แล.

บทว่า อิเธกฺจโจ เวทนํ สญฺํ สงฺขาเร วิญฺาณํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ (บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน) ท่านไม่แยกขันธ์ ๔ แล้วกล่าวด้วยสามารถการถือรวมกัน จริงอยู่ เพราะไม่สามารถแยกจิตและเจตสิกไว้ต่างหากกันได้ จึงทำขันธ์ทั้งหมดรวมกันแล้วถือเอาว่า เป็นตัวตน.

ในบทว่า อิมินา รูเปน รูปวา (มีรูปด้วยรูปนี้) ย่อมได้สรีรรูปบ้าง กสิณรูปบ้าง.

บทว่า ฉายาสมฺปนฺโน (ต้นไม้มีเงา) คือถึงพร้อม (สมบูรณ์) ด้วยเงา ไม่โปร่ง.

ศัพท์ว่า เอน ในบทนี้ว่า ตเมน เป็นเพียงนิบาต เป็น ตเมตํ บ้าง.

บทว่า ฉายาว คือมีเงา ท่านกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิมีรูปเป็นวัตถุ เพราะแม้เมื่อไม่ถือว่ารูปเป็นตัวตนก็ไม่ปล่อยรูป จึงเกิดขึ้นด้วยทิฏฐิ.

บทว่า อตฺตนิ รูปํ สมนุปสฺสติ (ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตน) คือเห็นรูปนั้นในตนอันเป็นกองแห่งอรูปนั้น เพราะสรีรรูปและกสิณรูปอาศัยจิต.

บทว่า อยํ คนฺโธ (นี้กลิ่นหอม) กล่าวถึงกลิ่นที่สูดเข้าไป.

บทว่า อิมสฺมิํ ปุปเผ (มีอยู่ในดอกไม้นี้) กล่าวอย่างนี้เพราะกลิ่นหอมอาศัยดอกไม้.

บทว่า รูปสฺมิํ อตฺตานํ สมนุปสฺสติ (เห็นตนในรูป) คือรูปไป ณ ที่ใด จิตย่อมไป ณ ที่นั้น เพราะฉะนั้นยึดจิตอาศัยรูปแล้ว เห็นตนอันเป็นกองอรูปนั้นในรูปนั้น ท่านกล่าวถึงหีบรองรับของหยาบ เพราะรูปเป็นของหยาบ.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อิเธกฺจโจ จกฺขุสมฺผสฺสชํ เวทนํ (บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา) ความว่า แม้


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 61

เมื่อไม่มีการยึดถือทิฏฐิในเวทนาต่างหากกัน ก็ยึดถือโดยถือเป็นอันเดียวกันว่า เวทนา เพราะเวทนาทั้งปวงหยั่งลงในภายใน จึงเป็นอันถือเอาต่างหากกัน เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ท่านประกอบไว้ต่างหากกัน เพราะปุถุชนนั้นย่อมถือเวทนานั่นแลว่า เป็นตัวตน เพราะเวทนาเป็นของหยาบด้วยอำนาจการเสวย.

บทว่า สญฺํ สงฺขาเร วิญฺาณํ รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ (ปุถุชนย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน) ความว่า ทำอรูปธรรมมีสัญญาเป็นต้นและรูปรวมกัน แล้วเห็นว่าเป็นตัวตน เพราะปุถุชนย่อมถือตามที่ปรากฏ ดุจคนบ้าฉะนั้น.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชํ สญฺํ (จักขุสัมผัสสชาสัญญา) มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อมถือสัญญาว่า เป็นตัวตน เพราะสัญญาปรากฏด้วยอำนาจแห่งการรู้พร้อม บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในเวทนา.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชํ เจตนํ (จักขุสัมผัสสชาเจตนา) มีอธิบายว่า ท่านแสดงถึงเจตนาเท่านั้น เพราะเจตนาเป็นประธานและปรากฏในธรรมทั้งหลายอันเนื่องด้วยสังขารขันธ์ แม้ขันธ์นอกนี้ก็เป็นอันว่าท่านแสดงด้วยเจตนานั้น ส่วนปุถุชนนั้นย่อมถือเจตนาว่า เป็นตัวตน เพราะปรากฏด้วยความเป็นเจตสิก บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ในบทมีอาทิว่า จกฺขุวิญฺาณํ (จักขุวิญญาณ) มีอธิบายว่า ปุถุชนย่อมถือจิตว่า เป็นตัวตน เพราะจิตปรากฏด้วยอำนาจแห่งการรู้แจ้ง บทที่เหลือแม้ในที่นี้ก็มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอัตตานุทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 62

อรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ

มิจฉาทิฏฐิมีเนื้อความดังได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง แต่พึงทราบนัยอื่นดังต่อไปนี้.

บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วไม่มีผล) คือปฏิเสธผลของทาน เพราะเป็นอุจเฉททิฏฐิ.

บทว่า ยิฏฺํ (ยัญที่บูชาแล้ว) ในบทว่า นตฺถิ ยิฏฺํ (ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล) นี้เป็นยัญเล็กน้อย.

บทว่า หุตํ (การบวงสรวง) เป็นมหายัญ มิจฉาทิฏฐิย่อมปฏิเสธผลของยัญทั้งสอง.

บทว่า นตฺถิ สุกฏทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํ วิปาโก (ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี) คือปฏิเสธผลแห่งบุญกรรมมีศีลเป็นต้น ปฏิเสธผลแห่งบาปกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น เพราะปฏิเสธผลแห่งทาน.

บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก (โลกนี้ไม่มี) คือไม่มีโดยกรรมที่ทำไว้ในก่อน.

บทว่า นตฺถิ ปโร โลโก (โลกหน้าไม่มี) คือไม่มีโดยกรรมที่ทำไว้ในโลกนี้.

บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา (มารดาไม่มี บิดาไม่มี) คือปฏิเสธผลของกรรมที่ทำไว้ในมารดาบิดาเหล่านั้น.

บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี) คือปฏิเสธการผุดเกิดขึ้นอันมีกรรมเป็นเหตุ.

บทว่า นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา ฯลฯ ปเวเทนฺติ (สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตามไม่มีในโลก) คือปฏิเสธปฏิปทาในการได้อภิญญาเพื่อเห็นโลกนี้และโลกหน้า.

แต่ในบาลีนี้ บทว่า นตฺถิ ทินฺนนฺติ วตฺถุ (วัตถุทานที่ให้แล้วไม่มีผล) ได้แก่ วัตถุ คือทานที่มิจฉาทิฏฐิบุคคลกล่าวว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล อธิบายว่า วัตถุที่ตั้งที่อาศัยแห่งทิฏฐินั้น.

บทว่า เอวํวาโท มิจฺฉา (มิจฉาทิฏฐิอันกล่าวถึงอย่างนี้) วาทะอย่างนี้ผิด คือวาทะคำพูดว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล อย่างนี้ผิด คือวิปริต.

จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 63

อรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ

บทว่า สกฺกายทิฏฺิ (สักกายทิฏฐิ) คืออัตตานุทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงคำโดยปริยายอันมาแล้วในที่อื่น.

จบอรรถกถาสักกายทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ

บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย สสฺสตทิฏฺิยา (สัสสตทิฏฐิมีสักกายะเป็นวัตถุ) เป็นกัมมธารยสมาส.

พึงเชื่อมบทว่า สมนุปสฺสติ (ย่อมเห็น) ไว้ในท้ายคำ ๑๕ คำ มีอาทิว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ (ตนว่ามีรูป) เพราะจะได้ไม่ลืมตัวด้วยอย่างอื่น ทิฏฐิที่เหลือ ๑๔ อย่าง แสดงย่อไว้เป็นอย่างเดียวกันว่า รูปวนฺตํ วา อตฺตานํ สมนุปสฺสติ ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสัสสตทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 64

อรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ

บทว่า สกฺกายวตฺถุกาย อุจฺเฉททิฏฺิยา (อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ) ท่านแสดงไว้อย่างเดียวเท่านั้นอย่างนี้ว่า ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน แล้วย่อ ๔ อย่างที่เหลือเอาไว้.

จบอรรถกถาอุจเฉททิฏฐินิเทศ

อรรถกถาอันตคาหิกทิฏฐิ

บทว่า อนฺตคาหิกาย ทิฏฺิยา (ทิฏฐิอันถือเอาที่สุด) เป็นการถามตามอาการในวาระที่หนึ่ง ถือเอา (แสดง) ตามอาการในวาระที่สอง กล่าวแก้ (เฉลย) อาการในวาระที่สาม.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลโก (โลก) คือตัวตน.

บทว่า โส อนฺโต (โลกนั้นมีที่สุด) คือในที่สุดของความเที่ยงและความสูญอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ที่สุดของความเที่ยงในการถือว่าเที่ยง ที่สุดของความสูญในการถือว่าไม่เที่ยง.

บทว่า ปริตฺตํ โอกาสํ (สู่โอกาสนิดหน่อย) คือสู่ที่เล็กน้อยเพียงกระด้งหรือขัน (ชาม).

บทว่า นีลกโต ผรติ (ทำสีเขียวแผ่ไป) คือเป็นอารมณ์ว่า สีเขียว.

บทว่า อยํ โลโก (โลกนี้) ท่านกล่าวหมายถึงตน.

บทว่า ปริวฏุโม (โลกกลม) คือมีกำหนดไว้โดยรอบ.

บทว่า อนฺตสญฺี (ความสำคัญว่าโลกมีที่สุด) คือมีความสำคัญว่ามีที่สุด.


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 65

บทว่า ยํ ผรติ (ที่ที่แผ่ไป) คือที่ที่กสิณรูปแผ่ไป.

บทว่า ตํวตฺถุ เจว โลโก จ (นั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก) คือกสิณรูปนั้นเป็นอารมณ์และโลก ด้วยอรรถว่าพึงแลดู.

บทว่า เยน ผรติ (เครื่องที่แผ่ไป) คือแผ่ไปด้วยจิต.

บทว่า โส อตฺตา เจว โลโก จ (นั้นเป็นตนและเป็นโลก) ได้แก่ ตนและโลกทำให้เป็นปุงลิงค์เพราะเพ่งตน (อัตตา) ท่านอธิบายว่า ตนนั่นแล คือจิต และชื่อว่าโลก เพราะอรรถว่า พึงมองดู.

บทว่า อนฺตวา (มีที่สุด) ได้แก่ ที่สุด.

บทว่า โอภาสกโต ผรติ (ทำแสงสว่างแผ่ไป) คือทำแสงสว่างแผ่ไปด้วยอำนาจอาโลกกสิณ เตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ เพราะยึดกสิณมีแสงสว่าง ๕ ชนิดมีนีลกสิณเป็นต้น จึงควรถือว่า ไม่มีการถือผิดว่าเป็นตนด้วยอำนาจปฐวีกสิณ อาโปกสิณและวาโยกสิณ.

บทว่า วิปุลํ โอภาสํ (สู่โอกาสอันกว้าง) คือสู่ที่ใหญ่โดยมีประมาณบริเวณลานเป็นต้น.

บทว่า อนนฺตวา (ไม่มีที่สุด) คือขยายไปไม่มีที่สุด.

บทว่า อปริยนฺโต (หาที่สุดมิได้) คือแผ่ไปหาที่สุดมิได้.

บทว่า อนนฺตสญฺี (ความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด) คือมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด (โลกมีที่สุดหามิได้).

บทว่า ตํ ชีวํ (ชีพอันนั้น) คือชีพอันนั้น (โส ชีโว) คำนั้นท่านทำเป็นลิงควิปลาส.

อนึ่ง บทว่า ชีโว (ชีพ) คือตัวตนนั้นเอง แม้ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น ก็ชื่อว่าสรีระ เพราะอรรถว่ามีความหมุนไป (ดำเนินไปรอบ).

บทว่า ชีวํ น สรีรํ (๑) (ชีพไม่ใช่สรีระ) คือชีพได้แก่ตน ไม่ใช่สรีระอันได้แก่รูป ในเวทนาเป็นต้นก็มีนัยนี้.

บทว่า ตถาคโต (สัตว์) ได้แก่ สัตว์ผู้ข้อง อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า พระอรหันต์.

บทว่า ปรมฺมรณา (เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว) คือในโลกอื่น หลังจากตายไป.

บทว่า รูปํ อิเธว มรณธมฺมํ (รูปมีความตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ) คือการถือเบญจขันธ์โดยหัวข้อของขันธ์ที่ปรากฏแก่ตน อธิบายว่า รูปนั้นปกติสูญหายไปในโลกนี้แหละ แม้ในขันธ์ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า กายสฺส เภทา (แต่กายแตกแล้ว) คือเบื้องหน้าแต่กายคือขันธ์ ๕ แตก ท่านกล่าวความของอุเทศนี้ว่า ปรมฺมรณา (เบื้องหน้าแต่ตาย) ด้วยคำนี้.


(๑) สฺยา. รูปนั้นเป็นสรีระ (ตํ สรีรํ).


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 66

บทว่า โหติ (ย่อมเป็น) ในบทมีอาทิว่า โหติปิ (ย่อมเป็นอีกบ้าง) เป็นบทหลัก (เป็นคำต้น) อปิ ศัพท์ แม้ในบท (คำ) ทั้ง ๔ เป็นสมุจจยัตถะ (มีความรวม).

บทว่า ติฏฺติ (คงอยู่) คือคงอยู่เพราะเป็นของเที่ยง อธิบายว่า ไม่จุติ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวบทว่า ติฏฺติ เพื่อความต่างแห่งเนื้อความของบทว่า โหติ (ย่อมเป็น).

บทว่า อุปฺปชฺชติ (อุบัติขึ้น) คืออุบัติขึ้นด้วยเข้าไปสู่กำเนิดที่เป็นอัณฑชะ (เกิดแต่ไข่) และชลาพุชะ (เกิดแต่ครรภ์).

บทว่า นิพฺพตฺติ (เกิด) คือเกิดด้วยเข้าไปสู่กำเนิดที่เป็นสังเสทชะ (เกิดแต่เถ้าไคลหรือที่ชื้นแฉะ) โอปปาติกะ (ผุดเกิดขึ้น) พึงทราบการประกอบความดังนี้แล.

บทว่า อุจฺฉิชฺชติ (ย่อมขาดสูญ) คือด้วยไม่มีการเกี่ยวเนื่องกัน.

บทว่า วินสฺสติ (ย่อมพินาศไป) คือด้วยการแตกทำลายไป.

บทว่า น โหติ ปรมฺมรณา (เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก) เป็นการขยายความของบทก่อน อธิบายว่า เบื้องหน้าแต่จุติแล้วย่อมไม่เป็นอีก.

บทว่า โหติ จ น จ โหติ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มีไม่เป็นอีกก็มี) เป็นทิฏฐิของพวกถือว่า เที่ยงเป็นบางอย่าง อธิบายว่า สัตว์ย่อมเป็นโดยปริยายเดียวก็มี ไม่เป็นโดยปริยายเดียวก็มี ท่านอธิบายว่า ย่อมเป็นเพราะความเป็นชีพ ไม่เป็นเพราะไม่มีชีพมาก่อน.

บทว่า เนว โหติ น น โหติ (สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้) เป็นทิฏฐิของพวกอมราวิกเขปิกา (ทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) อธิบายว่า จะว่ามีก็หามิได้ จะว่าไม่มีก็หามิได้ ย่อมทำเพียงการปฏิเสธนัยที่ท่านกล่าวไว้ก่อน เพราะกลัวถูกติเตียนและเพราะกลัวพูดเท็จ เพราะความมีปัญญาทึบและเพราะความงมงาย.

บทว่า อิเมหิ ปญฺาสาย อากาเรหิ (ด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้) คือด้วยอาการ ๕๐ ด้วยสามารถแห่งหมวด ๕ หมวดละ ๑๐ (หมวดห้า ๑๐ หมวด) ตามที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาอันตคหาหิกทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 67

อรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ

เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะกล่าวถึงความเที่ยงในปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ในส่วนอดีต) และอปรันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เป็นเหตุกล่าว.

บทนี้ เป็นชื่อของเจ้าทิฏฐิ แม้วาทะว่าเที่ยง ก็ชื่อว่า สสัสตะ เพราะประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า สัสสตวาทะ เพราะมีวาทะว่าเที่ยง.

อนึ่ง วาทะว่า เที่ยงเป็นบางอย่าง ชื่อว่า เอกัจจสัสสตะ ชื่อว่า เอกัจจสัสสติกา เพราะมีทิฏฐิว่า เที่ยงเป็นบางอย่างนั้น.

อนึ่ง วาทะเป็นไปว่า โลกมีที่สุดไม่มีที่สุด ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด มีที่สุดก็หามิได้ไม่มีที่สุดก็หามิได้ ชื่อว่า อันตานันตะ ชื่อว่า อันตานันติกา เพราะมีทิฏฐิว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด.

ชื่อว่า อมรา เพราะไม่ตาย อะไรไม่ตาย ทิฏฐิและวาจาของเจ้าทิฏฐิผู้ปราศจากที่สุดโดยนัยมีอาทิว่า แม้อย่างนี้ก็ไม่มีแก่เรา ความซัดส่ายไปมี ๒ อย่าง คือซัดส่ายไปด้วยทิฏฐิหรือวาจาอันไม่ตายตัว ชื่อว่า อมราวิกเขปะ ชื่อว่า อมราวิกเขปิกา เพราะมีทิฏฐิซัดส่ายไม่ตายตัว.

บทว่า อธิจฺจสมุปปนฺโน เกิดขึ้นลอยๆ คือความเห็นว่า ตนและโลกเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนะ ชื่อว่า อธิจจสมุปปันนิกา เพราะมีทิฏฐิว่า ตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ.

จบอรรถกถาปุพพันตานุทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 68

อรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ

เจ้าทิฏฐิชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่า ตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา ชื่อว่า อสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่า ตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา ชื่อว่า เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ เพราะกล่าวว่า ตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่.

อีกอย่างหนึ่ง วาทะอันเป็นไปว่ามีสัญญา ชื่อว่า สัญญีวาทะ เจ้าทิฏฐิเหล่านั้นชื่อว่า สัญญีวาทะ เพราะมีวาทะว่ามีสัญญา อสัญญีวาทะและเนวสัญญีนาสัญญีวาทะก็เหมือนอย่างนั้น.

เจ้าทิฏฐิชื่อว่า อุจเฉทวาทะ เพราะกล่าวว่า สูญ (สัตว์ตายแล้วสูญ).

บทว่า ทิฏฺธมฺโม ทิฏฐธรรม คือธรรมที่เห็นประจักษ์ หมายถึงธรรมเป็นปัจจุบัน บทนี้เป็นชื่อของอัตภาพที่ได้ในปัจจุบันนั้นๆ.

นิพพานในปัจจุบันชื่อว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน ความว่า การเข้าไปสงบทุกข์ในอัตภาพนี้แล ชื่อว่า ทิฏฐิธรรมนิพพานวาทะ เพราะกล่าวถึงนิพพานเป็นปัจจุบันธรรมนั้น.

อนึ่ง เมื่อบทนี้พิสดารในนิเทศนี้ จึงควรกล่าวถึงพรหมชาลสูตรทั้งสิ้นพร้อมด้วยอรรถกถา ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ย่อมช้าเกินไป เพราะฉะนั้น จึงไม่ให้พิสดาร ผู้มีความต้องการสูตรนั้น ควรค้นคว้าหาดูเอาเอง.

จบอรรถกถาอปรันตานุทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 69

อรรถกถาสัญโญชนิกทิฏฐินิเทศ

เพราะสังโยชนิกทิฏฐิ (ทิฏฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) เป็นทิฏฐิทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด ฉะนั้น ท่านจึงแสดงความทั่วไปแก่ทิฏฐิทั้งหมด เพราะสังโยชนิกทิฏฐินั้นเป็นเครื่องประกอบทิฏฐิไว้ทั้งหมด พึงทราบความนั้น โดยการครอบงำทิฏฐิ ดังได้กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาสัญโญชนิกทิฏฐินิเทศ

อรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ

ในมานวินิพันธทิฏฐิ (ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะ) ทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การลูบคลำด้วยการถือผิดว่า ตาเป็นเรา จกฺขุ อหนฺติ อภินิเวสปรามาโส ชื่อว่า ลูบคลำด้วยการถือผิด มีมานะเป็นเบื้องต้น เพราะทิฏฐิไม่ได้สัมปยุตด้วยมานะ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มานวินิพนฺธา (อันผูกพันด้วยมานะ) ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะ ความว่า ทิฏฐิกางกั้นด้วยมานะมีมานะเป็นมูล.

แม้ในบทนี้ว่า จกฺขุํ มมนฺติ อภินิเวสปรามาโส (การลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตาของเรา) ก็มีนัยนี้ อนึ่ง ในบท จกฺขุํ มมนฺตํ นี้ ควรกล่าวว่า มมาติ พึงทราบว่าลงนิคหิตอาคมเป็น มมนฺติ.

พึงทราบว่า อายตนะภายในมีรูปเป็นต้นด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมไม่ถืออายตนะภายนอกว่า เป็นเรา เว้นกสิณรูป แม้อายตนะภายนอกก็ย่อมได้ด้วยทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา เพราะย่อมถือแม้อายตนะภายนอกว่า ของเรา ก็เพราะทุกขเวทนาไม่เป็นวัตถุของมานะ เพราะเป็นสิ่งไม่น่าปรารถนา ฉะนั้น เวทนา ๖ และผัสสะ ๖ จึงไม่ถือเอาเป็นมูลปัจจัยของเวทนาเหล่านั้น แต่สัญญาเป็นต้น พึงทราบว่าท่านไม่ถือเอาในที่นี้ เพราะตัดขาดแล้ว.

จบอรรถกถามานวินิพันธทิฏฐินิเทศ


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 70

อรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยการปรารภตน) ได้แก่ อัตตานุทิฏฐินั่นเอง ท่านกล่าวถึงทิฏฐิอย่างนี้อีก เพราะปฏิสังยุตด้วยวาทะว่า ตัวตน ดังนี้.

จบอรรถกถาอัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

โลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ (ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยการปรารภโลก) บทว่า อตฺตา จ โลโก จ (ตนและโลก) ความว่า ตนนั้นนั่นแลชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า พึงแลดู.

บทว่า สสฺสโต (เที่ยง) คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าเที่ยง.

บทว่า อสสฺสโต (ไม่เที่ยง) คือทิฏฐิของผู้มีวาทะว่าสูญ.

บทว่า สสฺสโต จ อสสฺสโต จ (เที่ยงก็มีไม่เที่ยงก็มี) คือทิฏฐิของผู้เห็นว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง.

บทว่า เนว สสฺสโต นาสสฺสโต ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ คือทิฏฐิของผู้ซัดส่ายไม่ตายตัว.

บทว่า อนฺตวา (มีที่สุด) คือทิฏฐิของผู้หลอกลวง (นักคิด) และของนิครนถ์อาชีวกผู้ได้กสิณนิดหน่อย อีกอย่างหนึ่ง พวกอุจเฉททิฏฐิย่อมกล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วนอดีตโดยกำเนิด มีขันธ์ส่วนอนาคตโดยความตาย พวกเห็นว่า ตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ กล่าวว่า สัตว์มีขันธ์ส่วนอดีตโดยกำเนิด.

บทว่า อนนฺตวา (ไม่มีที่สุด) คือทิฏฐิของผู้ได้กสิณหาประมาณมิได้ แต่พวกมีวาทะว่าเที่ยง ย่อมกล่าวว่า สัตว์ไม่มีขันธ์ส่วนอดีตและส่วนอนาคต ด้วยเหตุนั้น ตนและโลกจึงไม่มีที่สุด.


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 71

พวกเห็นว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ กล่าวว่า ไม่มีที่สุดด้วยขันธ์ส่วนอนาคต.

บทว่า อนฺตวา จ อนนฺตวา จ (มีที่สุดก็มีไม่มีที่สุดก็มี) คือทิฏฐิของผู้มีกสิณขึ้นๆ ลงๆ ไม่เจริญ เจริญไปอย่างขวางๆ.

บทว่า เนว อนฺตวา น อนนฺตวา (มีที่สุดก็หามิได้ไม่มีที่สุดก็หามิได้) ต่อทิฏฐิของผู้มีความซัดส่ายไม่ตายตัว.

จบอรรถกถาโลกวาทปฏิสังยุตตทิฏฐินิเทศ

อรรถกถาภววิภวทิฏฐินิเทศ

พระสารีบุตรเถระ ไม่ทำการนิเทศภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ต่างหาก เพราะไม่มีการถือผิดต่างหากจากทิฏฐิตามที่กล่าวแล้ว และไม่ทำการถามเพื่อแสดงอาการอย่างหนึ่งๆ คือความติดอยู่ ความแล่นเลยไป ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิตามที่กล่าวแล้วนั่นแล แล้วจึงกล่าวว่า ความถือผิดด้วยความติดอยู่เป็น ภวทิฏฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไปเป็น วิภวทิฏฐิ ดังนี้.

พึงทราบความในบทนั้นดังต่อไปนี้.

การถือผิดด้วยความติดอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เมื่อตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป.

ความว่า การถือผิดด้วยความเบื่อหน่ายจากนิพพาน ด้วยความสำคัญว่าเที่ยง.

การถือผิดด้วยความแล่นเลยไป ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชัง ด้วยภพนั่นเเล ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญ.

ความว่า การถือผิดด้วยความละเลยปฏิปทาอันนำไปสู่ความดับทุกข์ ด้วยสำคัญว่าสูญ.


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 72

บัดนี้ พระสารีบุตรเพื่อแสดงประกอบภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิไว้ในทิฏฐิทั้งปวง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อสฺสาททิฏฺิยา (อัสสาททิฏฐิ) ดังนี้.

ในบทนั้น เพราะผู้มีอัสสาททิฏฐิ อาศัยความเที่ยงหรือความสูญ ย่อมถือว่า โทษในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี ดังนี้ ฉะนั้น แม้อัสสาททิฏฐิมีอาการ ๓๕ ท่านก็กล่าวว่า เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี.

ในบทนั้น ทิฏฐิแม้อย่างหนึ่งๆ ก็เป็นภวทิฏฐิด้วยการถือว่าเที่ยง เป็นวิภวทิฏฐิด้วยการถือว่าสูญ ด้วยอัตตานุทิฏฐิย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเป็นวิภวทิฏฐิ ๕ (ปญฺจ วิภวทิฏฺฐิโย) เพราะถือว่าเมื่อขันธ์ ๕ เหล่านั้นสูญเพราะความที่ตนไม่เป็นอื่นจากรูปเป็นต้น ตนจึงสูญ.

ท่านกล่าวว่า เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ (ปณฺณรส ภวทิฏฺฐิโย) เมื่อฐานะ ๑๕ ที่เหลือ สูญเพราะความที่ตนเป็นอย่างอื่นจากรูปเป็นต้น เพราะถือว่าตนเที่ยง.

สำหรับมิจฉาทิฏฐิบุคคล ผู้ได้ฌานอันเป็นปริตตารมณ์และอัปปมาณารมณ์ในทิฏฐิมีที่สุดและไม่มีที่สุด เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อน (จุติ) จากรูปธาตุแล้วเกิดในที่อื่นด้วยทิพยจักษุ ย่อมถือเอาวิภวทิฏฐิ เพราะอำนาจแห่งความสูญว่า เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด (สพฺพาว ตา วิภวทิฏฺฐิโย) ฉะนั้น ในทิฏฐิเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี ดังนี้.

ในบทนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ (ย่อมเป็นอีกก็มีย่อมไม่เป็นอีกก็มี) โหติ จ (ย่อมเป็นอีกก็มี) เป็นภวทิฏฐิ บทว่า น จ โหติ (ย่อมไม่เป็นอีกก็มี) เป็นวิภวทิฏฐิ.

ในบทนี้ว่า เนว โหติ น น โหติ (ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้) บทว่า เนว โหติ (ย่อมเป็นอีกก็หามิได้) เป็นวิภวทิฏฐิ บทว่า น น โหติ (ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้) เป็นภวทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ในทิฏฐิเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา พึงเป็น (เป็นก็มี).


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 73

พวกที่เห็นว่าเที่ยงเป็นบางส่วนแห่งการตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต ย่อมบัญญัติว่าเที่ยงและบัญญัติว่าไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้งภวทิฏฐิ ทั้งวิภวทิฏฐิ.

พวกที่เห็นว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด ๔ จำพวก ย่อมบัญญัติตนว่ามีที่สุดและไม่มีที่สุด เพราะฉะนั้น ทิฏฐินั้นจึงเป็นทั้งภวทิฏฐิ ทั้งวิภวทิฏฐิเช่นเดียวกับอัตตานุทิฏฐิ.

พวกที่มีความเห็นซัดส่ายไม่ตายตัว ๔ จำพวก อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านทางวาจา ส่วนที่เหลือเป็นภวทิฏฐิ.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา หมายถึง ทิฏฐินั้นๆ พวกที่กล่าวว่าสูญ ๗ จำพวกแห่งความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตเป็นวิภวทิฏฐิ ที่เหลือเป็นภวทิฏฐิ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สิยา เพราะหมายถึงทิฏฐินั้นๆ ท่านกล่าวว่า สิยา แห่งสัญโญชนิกาทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิทั้งปวง สำหรับทิฏฐิอันกางกั้น (ผูกพัน) ด้วยมานะว่า เป็นเรา เพราะถือจักษุเป็นต้นว่าเป็นเรา ตัวตนเป็นอันพินาศไปในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทั้งหมดนั้นเป็นวิภวทิฏฐิ.

ตนย่อมไม่พินาศไปแม้ในเพราะความพินาศแห่งทิฏฐิเหล่านั้น เพราะทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ดุจอัตตานุทิฏฐิเป็นอื่นจากจักษุเป็นต้นของตน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทั้งหมดเป็นภวทิฏฐิ.

ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิแห่งทิฏฐิปฏิสังยุต (สัมปยุต) ด้วยวาทะปรารภโลก (โลกวาทะ) ปรากฏแล้ว เพราะท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า ตนและโลกเที่ยง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงความถือผิดทิฏฐิ ๑๖ มีอัสสาททิฏฐิเป็นเบื้องต้น มีวิภวทิฏฐิเป็นที่สุด และแสดงถึงความถือผิดทิฏฐิ ๓๐๐.

อัตตานุทิฏฐิ สักกายทิฏฐิและทิฏฐิปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะ ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นอันเดียวกันโดยปริยายมี ๓ อย่าง แต่ทิฏฐิแม้ทั้งหมดโดยมีประเภทไม่แน่นอน (โดยประเภทแห่งการกำหนด) เป็นสัญโญชนิกาทิฏฐิ.


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 74

บัดนี้ บทมีอาทิว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺฐิโย อสฺสาททิฏฺิโย (ทิฏฐิทั้งหมดนั้นเป็นอัสสาททิฏฐิ) เป็นการเทียบเคียงทิฏฐิตามที่ประกอบไว้โดยปริยายอื่น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาว ตา ทิฏฺิโย (ทิฏฐิทั้งหมดเหล่านั้น) ได้แก่ ทิฏฐิที่ไม่มีเหลือตามที่กล่าวแล้ว ทิฏฐิอันสงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด ๗ เหล่านี้ คือชื่อว่า อัสสาททิฏฐิ เพราะยินดีด้วยทิฏฐิราคะ และเพราะอาศัยความพอใจด้วยตัณหา ชื่อว่า อัตตานุทิฏฐิ เพราะไปตามความเสน่หาในตน ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะความเห็นวิปริต ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งขันธ์ ชื่อว่า อันตคาหิกทิฏฐิ เพราะถือเอาที่สุดอย่างหนึ่งๆ ชื่อว่า สังโยชนิกาทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ เพราะประกอบด้วยอัตตวาทะ ส่วนทิฏฐิ ๙ ที่เหลือไม่สงเคราะห์เข้าในทิฏฐิทั้งหมด.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระย่อทิฏฐิเหล่านั้นทั้งหมดที่กล่าวไว้โดยพิสดาร ลงในทิฏฐิ ๒ อย่าง เมื่อจะแสดงถึงธรรมเป็นที่อาศัยของทิฏฐิ ๒ หมวดแก่สัตว์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถามีอาทิว่า ภวญฺจ ทิฏฺฐิํ (ภวทิฏฐิ) จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิ.

ศัพท์ในบทนี้ว่า ภวญฺจ ทิฏฺฐิํ วิภวญฺจ ทิฏฺฐิํ รวมทิฏฐิเท่านั้น ไม่รวมธรรม (สัตว์) ที่อาศัย เพราะธรรม (สัตว์) อันหนึ่งมิได้อาศัยภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิทั้ง ๒ อย่าง สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้อาศัยภวทิฏฐิก็ดี เป็นผู้อาศัยวิภวทิฏฐิก็ดี ดังนี้.

บทว่า ตกฺกิกา (เป็นนักคิด) ชื่อว่า ตกฺกิกา เพราะกล่าวด้วยความตรึกตรอง (ความคิดคะเนเอา) เพราะเจ้าทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมเป็นไปด้วยความตรึกตรองอย่างเดียว เพราะไม่มีปัญญาแทงตลอดความเป็นจริง อนึ่ง ชนเหล่าใดได้ฌานก็ดี ได้อภิญญาก็ดี ย่อมถือทิฏฐิ แม้ชนเหล่านั้นก็เป็น ตักกิกา เพราะตรึก (คิด) แล้วถือเอา.


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 75

บทว่า นิสฺสิตา เส (ยึดถือ) ความว่า อาศัยแล้ว บทว่า เส บทเดียวเท่านั้นเป็นเพียงนิบาต.

บทว่า เตสํ นิโรธมฺหิ น หตฺถิ าณํ (ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น) นี้เป็นบทกล่าวถึงเหตุแห่งทิฏฐินิสัย (ผู้อาศัยทิฏฐิ) ความว่า เพราะญาณในการดับสักกายทิฏฐิ คือนิพพาน ไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ หิ อักษรในบทว่า น หิ อตฺถิ าณํ นี้ เป็นนิบาตลงในความแสดงถึงเหตุ.

บทว่า ยตฺถายํ โลโก วิปรีตสญฺี (สัตว์โลกนี้ยึดถือทิฏฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น) ความว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกนี้เป็นผู้มีสัญญาวิปริตในนิโรธอันเป็นสุขใดว่า เป็นทุกข์ พึงเชื่อม (โยง) ว่าญาณในนิโรธนั้น ย่อมไม่มี เพราะเป็นผู้มีสัญญาวิปริตว่า เป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า.

รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีประมาณเท่าใด โลกกล่าวว่า มีอยู่ อารมณ์ ๖ อย่างเหล่านี้ โลกพร้อมทั้งเทวโลกสมมติกันว่า เป็นสุข แต่ว่าธรรมเป็นที่ดับอารมณ์ ๖ เหล่านี้ ชนเหล่านั้นสมมติกันว่า เป็นทุกข์ ความดับแห่งเบญจขันธ์ พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นว่า เป็นความสุข ความเห็นขัดแย้งกันกับโลกทั้งปวงนี้ ย่อมมีแก่บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นอยู่ ชนเหล่าอื่นกล่าววัตถุกามใดโดยความเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าววัตถุกามนั้นโดยความเป็นทุกข์ ชนเหล่าอื่นกล่าวนิพพานใดโดยความเป็นทุกข์ พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งกล่าวนิพพานนั้นโดยความเป็นสุข


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 76

ท่านจงพิจารณาธรรมที่รู้ได้ยาก ชนพาลทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้ง พากันลุ่มหลงอยู่ในโลกนี้ ความมืดตื้อย่อมมีแก่ชนพาลทั้งหลาย ผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ผู้ไม่เห็นอยู่ ส่วนนิพพานเป็นธรรมชาติเปิดเผยแก่สัตบุรุษ ผู้เห็นอยู่ เหมือนอย่างแสงสว่างฉะนั้น ชนทั้งหลายเป็นผู้ค้นคว้า ไม่ฉลาดต่อธรรม ย่อมไม่รู้แจ้งนิพพานที่มีอยู่ในที่ใกล้ ชนทั้งหลายผู้ถูกภวราคะครอบงำแล้ว แล่นไปตามกระแสภวตัณหา ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นบ่วงแห่งมารเนืองๆ ย่อมไม่รู้ธรรมได้โดยง่าย นอกจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรจะรู้บท คือนิพพาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ดีแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้โดยชอบ ย่อมปรินิพพาน.

บัดนี้ พระสารีบุตรประสงค์จะแสดงทิฏฐิทั้งหมดเป็น ๒ อย่าง และการถอนทิฏฐิโดยพระสูตร จึงนำพระสูตรมาว่า ทฺวีหิ ภิกฺขเว (ภิกษุทั้งหลาย ๒ อย่าง) ดังนี้ เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น แม้พรหมทั้งหลายท่านก็เรียกว่า เทว (เทวดา).

บทว่า โอลียนฺติ (ย่อมติดอยู่) คือกำไว้.

บทว่า อติธาวนฺติ (ย่อมแล่นเลยไป) คือล่วงเลยไป.

บทว่า จกฺขุมนฺโต (ผู้มีจักษุ) คือมีปัญญา.

ศัพท์มีเนื้อความเป็นอติเรก (ยิ่งขึ้นไปกว่า).


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 77

บทว่า ภวารามา (ผู้ชอบภพ) คือมีภพเป็นที่ยินดี เป็นที่อภิรมย์.

บทว่า ภวรตา คือยินดีในภพ.

บทว่า ภวสมฺมุทิตา (บันเทิงอยู่ในภพ) คือพอใจด้วยภพ.

บทว่า เทสิยมาเน (ที่เราแสดง) คือเมื่อธรรมอันพระตถาคตหรือพระสาวกของพระตถาคตแสดงอยู่.

บทว่า ปกฺขนฺทติ (ไม่แล่นไป) คือไม่เข้าถึงพระธรรมเทศนาหรือการดับภพ.

บทว่า น ปสีทติ (ไม่เลื่อมใส) คือไม่ถึงความเลื่อมใสในธรรมนั่น.

บทว่า น สนฺติฏฺติ (ไม่ตั้งอยู่) คือ ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น.

บทว่า นาธิมุจฺจติ (ไม่น้อมไป) คือไม่ถึงความแนบแน่นในธรรมนั้น.

ท่านกล่าวถึงสัสสตทิฏฐิด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

บทว่า อฏฺฏียมานา (อึดอัด) คือถึงความทุกข์.

บทว่า หรายมานา (ระอา) คือถึงความละอาย.

บทว่า ชิคุจฺฉมานา (เกลียดชังภพ) คือถึงความเกลียดชัง.

บทว่า วิภวํ อภินนฺทนฺติ (ยินดีความปราศจากภพ) คือยินดีอาศัยความสูญหรือปรารถนาความสูญ.

บทว่า กิร (ได้ยินว่า) เป็นนิบาต ลงในอรรถอนุสสวนะ (การได้ยินมา).

บทว่า โภ (ชาวเราเอ๋ย) เป็นคำร้องเรียก.

บทว่า สนฺตํ (ละเอียด) (* สนฺต แปลว่า สงบ) คือดับแล้ว.

บทว่า ปณีตํ (ประณีต) ความว่า ชื่อว่า ประณีตเพราะไม่มีทุกข์ หรือเพราะนำไปสู่ความเป็นประธาน.

บทว่า ยาถาวํ (ความไม่เป็นอีก) คือตามความเป็นจริง.

ท่านแสดงอุจเฉททิฏฐิด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

บทว่า อิธ (ในธรรมวินัยนี้) คือในศาสนานี้.

บทว่า ภูตํ (ภูตะ) ความจริง คือทุกข์ ได้แก่ขันธ์ ๕ อันเกิดแต่เหตุ.

บทว่า ภูตโต ปสฺสติ (เห็นโดยความเป็นจริง เป็นภูตะ) คือเห็นความจริง (ขันธ์ ๕) นี้ว่า เป็นทุกข์.

บทว่า นิพฺพิทาย (เพื่อความเบื่อหน่าย) คือเพื่อความเห็นแจ้ง.

บทว่า วิราคาย (เพื่อคลายกำหนัด) คือเพื่ออริยมรรค.

บทว่า นิโรธาย (เพื่อดับ) คือเพื่อนิพพาน.

บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ (ย่อมปฏิบัติ) คือเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานนั้น.

บทว่า เอวํ ปสฺสนฺติ (ผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างนี้) คือเห็นด้วยโลกิยญาณในส่วนเบื้องต้น ด้วยโลกุตรญาณในกาลแทงตลอดด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 78

ท่านกล่าวสัมมาทิฏฐิด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระแสดงอานิสงส์แห่งสัมมาทิฏฐินั้นด้วยคาถา ๒ คาถา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย ภูตํ ภูตโต ทิสฺวา (ถ้าภิกษุใดเห็นภูตะโดยความเป็นภูตะแล้ว) คือเห็นความเป็นสัตว์ (* รูปธรรม นามธรรม) โดยความเป็นจริง ความว่า ตรัสรู้ทุกข์โดยตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้.

บทว่า ภูตสฺส จ อติกฺกมํ (เห็นความก้าวล่วงซึ่งภูตะแล้ว) ก้าวล่วงความเป็นสัตว์ ความว่า ตรัสรู้การดับทุกข์โดยตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง.

บทว่า ยถาภูเตธิมุจฺจติ (ย่อมน้อมใจไปใน ธรรมตามที่เป็นจริง) คือน้อมใจไปในความดับทุกข์ตามความเป็นจริงด้วยอำนาจแห่งการตรัสรู้ด้วยมรรคภาวนาว่า นี้สงบ (ละเอียด) นี้ประณีต.

บทว่า ภวตณฺหาปริกฺขยา (เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งภวตัณหา) ความว่า ด้วยการละเหตุให้เกิดทุกข์.

อนึ่ง เมื่อการตรัสรู้สัจจะต่างๆ ไม่มี พึงทราบว่าท่านกล่าวคำในตอนต้นว่า ทิสฺวา (เห็น) ด้วยโวหารพร้อมกับปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น เพราะไม่ใช่เห็นก่อนแล้วภายหลังจึงน้อมใจไป การตรัสรู้อริยสัจ ๔ ย่อมมีได้ตลอดกาลเสมอทีเดียว (พร้อมกันทีเดียว) อีกอย่างหนึ่ง บททั้งหลายที่กล่าวไว้ในตอนต้น ย่อมมีได้แม้ในกาลอันเสมอ (พร้อมกัน) เพราะเหตุนั้นจึงไม่เป็นโทษ (จึงไม่ผิด).

บทว่า ส เว (ภิกษุนั้น) คือพระอรหันต์นั้นโดยส่วนเดียว.

บทว่า ภูตปริญฺาโต (กำหนดรู้ความเป็นสัตว์ เป็นภูตะแล้ว) คือกำหนดรู้ทุกข์.

บทว่า วีตตณฺโห (เป็นผู้ปราศจากตัณหา) คือมีตัณหาไปปราศแล้ว.

บทว่า ภวาภเว คือในภพน้อยภพใหญ่.

บทว่า อภโว คือภพใหญ่ เพราะมี อักษรเป็นไปในอรรถว่า เจริญ พึงทราบภพน้อยภพใหญ่นั้นเพราะความเปรียบเทียบกัน.


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 79

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภเว (ในภพน้อย) ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ บทว่า วิภเว (ในภพใหญ่) ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ปราศจากตัณหา เพราะไม่มีทิฏฐิราคะแม้ในทิฏฐิสองอย่างนั้น.

บทว่า ภูตสฺส วิภวา (เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์) คือเพราะสูญ (ตัดขาด) วัฏทุกข์.

บทว่า นาคจฺฉติ ปุนพฺภวํ (ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่) ท่านกล่าวถึงปรินิพพานแห่งพระอรหันต์.

บทมีอาทิว่า ตโย ปุคฺคลา (บุคคล ๓ จำพวก) ท่านกล่าวเพื่อติเตียนผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ และเพื่อสรรเสริญผู้ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า มีทิฏฐิวิบัติ ( วิปนฺนทิฏฺฐี ) เพราะมีทิฏฐิถึงคือไปสู่ความน่าเกลียด ชื่อว่า มีทิฏฐิสมบัติ ( สมฺ ปนฺนทิฏฺฐี ) เพราะมีทิฏฐิถึงคือไปสู่ความดี.

บทว่า ติตฺถิโย (เดียรถีย์) ทิฏฐิท่านกล่าวว่า ลัทธิ เพราะปฏิบัติทิฏฐินั้นเป็นความดีในลัทธิ หรือชื่อว่า ติตถิยะ เพราะมีลัทธิ เข้าถึงการบรรพชาภายนอกศาสนานี้.

บทว่า ติตฺถิยสาวโก (สาวกเดียรถีย์) คือคฤหัสถ์ผู้ถึงทิฏฐานุคติ (มีความเห็นคล้อยตาม) ของเดียรถีย์เหล่านั้น.

บทว่า โย จ มิจฺฉาทิฏฺิโก (บุคคลผู้มีทิฏฐิผิด) คือผู้เข้าถึงทิฏฐิทั้งสองอย่างนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า ตถาคโต (พระตถาคต) คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้เหมือนกัน.

บทว่า ตถาคตสาวโก (สาวกพระตถาคต) คือผู้บรรลุมรรคและผู้บรรลุผล.

บทว่า โย จ สมฺมาทิฏฺิโก (ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ) คือผู้พ้นจากทิฏฐิสองอย่างนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยสัมมาทิฏฐิของชาวโลก (โลกียสัมมาทิฏฐิ).

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้.

บทว่า โกธโน (เป็นคนมักโกรธ) คือคนที่มักโกรธเนืองๆ.

บทว่า อุปนาหี (มักผูกโกรธ) คือมีปกติเพิ่มความโกรธนั้นแล้วผูกไว้.

บทว่า ปาปมกฺขี (มีความลบหลู่ลามก) คือมีความลบหลู่อันเป็นความลามก.

บทว่า มายาวี (เจ้าเล่ห์) คือมีการปกปิดบาปที่กระทำแล้ว.

บทว่า วสโล (เป็นคนเลว) คือมีชาติแห่งคนเลว.


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 80

บทว่า วิสุทฺโธ (เป็นผู้ประเสริฐ) คือเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยญาณทัศนวิสุทธิ.

บทว่า สุทฺธตํ คโต (ถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์) คือถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์อันได้แก่มรรคผล.

บทว่า เมธาวี (มีปัญญา) คือผู้มีปัญญา ด้วยคาถานี้ ท่านสรรเสริญผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกุตระ.

บทว่า วิปนฺนทิฏฺิโย สมฺปนฺนทิฏฺิโย (ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิสมบัติ) พระสารีบุตรละโวหารว่า บุคคล กล่าวติเตียนและสรรเสริญธรรมเท่านั้น.

บทว่า เอตํ มมํ (นั่นของเรา) คือทิฏฐิด้วยอำนาจแห่งความสำคัญเพราะตัณหา.

บทว่า เอโสหมสฺมิ (เราเป็นนั่น) คือทิฏฐิมีความสำคัญด้วยมานะเป็นมูล.

บทว่า เอโส เม อตฺตา (นั่นเป็นตัวตนของเรา) คือมีความสำคัญด้วยทิฏฐินั่นเอง.

ท่านถามการจำแนก การนับและการสงเคราะห์กาลแห่งทิฏฐิวิบัติ ๓ ด้วยบทมีอาทิว่า เอตํ มมนฺติ กา ทิฏฺิ (ทิฏฐิอะไรว่านั่นของเรา คือทิฏฐิอะไร) แล้วกล่าวแก้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กา ทิฏฺิ (ทิฏฐิคืออะไร) ความว่า บรรดาทิฏฐิมากมาย ทิฏฐิอะไร.

บทว่า กตมนฺตานุคฺคหิตา (ตามถือส่วนสุดอะไร ชนิดไหน) ความว่า ในสองกาล คือกาลมีขันธ์เป็นส่วนอดีตและกาลมีขันธ์เป็นส่วนอนาคต ตามถือ (ตามผูกพัน) โดยกาลไหน.

เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นของเรา อ้างถึงวัตถุในอดีตว่า นั่นได้เป็นของเราแล้ว ได้เป็นของเราแล้วอย่างนี้ ได้เป็นของเราแล้วประมาณเท่านี้ แล้วลูบคลำ ฉะนั้น จึงเป็น ปุพพันตานุทิฏฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิ ปุพฺพนฺตานุคฺคหิตา (ตามถือขันธ์ส่วนอดีต).

เพราะเมื่อลูบคลำว่า เราเป็นนั่น ย่อมลูบคลำอาศัยผลในอนาคตว่า เราเป็นนั่น คือเราจักบริสุทธิ์ได้ด้วยศีล พรต ตบะ พรหมจรรย์นี้ ฉะนั้น จึงเป็น อปรันตานุทิฏฐิ (ตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) และทิฏฐิเหล่านั้นจึงเป็นทิฏฐิ อปรนฺตานุคฺคหิตา (ตามถือขันธ์ส่วนอนาคต).


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 81

เพราะเมื่อลูบคลำว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา อาศัยความสืบต่ออันเกิดขึ้นในอดีตและอนาคต ย่อมลูบคลำว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา และย่อมลูบคลำด้วยสักกายทิฏฐิ ฉะนั้นจึงเป็น สักกายทิฏฐิ และทิฏฐิเหล่านั้นเป็น ปุพฺพนฺตาปรนฺตานุคฺคหิตา (ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต).

อนึ่ง เพราะทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน และทิฏฐิ ๖๒ ย่อมถึงการถอนด้วยการถอนสักกายทิฏฐินั่นแล ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ความว่า ทิฏฐิ ๖๒ ย่อมมีโดยทวารแห่งสักกายทิฏฐิ อันมีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน ปาฐะว่า สกฺกายทิฏฺิปฺปมุขานิ ดังนี้ ถูกต้องกว่า ชื่อว่า สกฺกายทิฏฺิปฺปมุขานิ (มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน) คือเป็นเบื้องต้น สักกายทิฏฐิเหล่านั้น คือทิฏฐิอะไร คือทิฏฐิ ๖๒.

อัตตานุทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิอะไร แก้ว่า คือสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐.

ด้วยคำถามว่า ทิฏฐิเท่าไร แก้ว่า ทิฏฐิ ๖๒ มีสักกายทิฏฐิเป็นประธาน.

อนึ่ง สักกายทิฏฐินั้นแล ท่านกล่าวว่า อัตตานุทิฏฐิ โดยคำสามัญว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เมื่อกล่าวถึงอัตตานุทิฏฐินั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ทิฏฐิที่ปฏิสังยุตด้วยอัตตวาท.

เพื่อแสดงการจำแนกบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ โดยสัมพันธ์กับบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ท่านจึงนำพระสูตรมามีอาทิว่า เย เกจิ ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง) ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิฏฺํ คตา (ถึงความเชื่อแน่) คือหมดความสงสัยด้วยสามารถแห่งมรรคญาณว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ปาฐะว่า นิฏฺาคตา เป็นบทสมาส ความอย่างเดียวกัน.

บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺนา (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) คือถึงความงามด้วยทิฏฐิ.


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 82

บทว่า อิธ นิฏฺา (สำเร็จในโลกนี้) เชื่อแน่ในธรรมนี้ คือการดับ (นิพพาน) ด้วยกามธาตุนี้.

บทว่า อิธ วิหาย นิฏฺา (ละโลกนี้ไปแล้ว) เชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ คือละกาม ภพนี้แล้ว ปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.

บทว่า สตฺตกฺขตฺตุปรมสฺส (สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน) คือพึงถืออัตภาพเกิดในภพ ๗ ครั้ง คือ ๗ คราวเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า สตฺตกฺขตฺตุปรโม คือไม่ถือเอาภพที่ ๘ อื่นไปจากภพที่อุบัติถืออัตภาพนั้น ได้แก่ พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบันนั้น.

บทว่า โกลงฺโกลสฺส (โกลังโกลโสดาบัน) ชื่อว่า โกลังโกละ เพราะไปสู่ตระกูลจากตระกูล ความว่า เพราะไม่เกิดในตระกูลต่ำจำเดิมแต่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ย่อมเกิดในตระกูลโภคสมบัติมากเท่านั้น ได้แก่ พระโกลังโกลโสดาบัน.

บทว่า เอกพีชิสฺส (เอกพีชีโสดาบัน) ท่านกล่าวว่า พืชคือขันธ์ โสดาบันมีพืชคือขันธ์หนึ่งเท่านั้น ถืออัตภาพหนึ่ง ชื่อว่า เอกพีชี ได้แก่ พระเอกพีชีโสดาบัน.

ชื่อของบุคคลเหล่านั้น เป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ เพราะบุคคลผู้ถึงฐานะประมาณเท่านี้ ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า โกลังโกละ ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า เอกพีชี เพราะเหตุนั้น จึงเป็นชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งให้แก่บุคคลเหล่านี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้ บุคคลนี้จักถึงฐานะประมาณเท่านี้ แล้วจึงทรงตั้งชื่อนั้นๆ แก่บุคคลเหล่านั้น.

จริงอยู่ พระโสดาบันผู้มีปัญญาน้อย เกิด ๗ ภพ จึงชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ มีปัญญาปานกลาง เกิดอีกไม่เกินภพที่ ๖ จึงชื่อว่า โกลังโกละ มีปัญญากล้าเกิดภพเดียว จึงชื่อว่าเอกพีชี การที่พระโสดาบันเหล่านั้น มีปัญญาน้อย ปานกลางและกล้านี้นั้น ย่อมกำหนดเพราะบุรพเหตุ พระโสดาบันแม้ ๓ เหล่านี้ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามภพ แต่ในรูปภพและอรูปภพย่อมถือปฏิสนธิแม้มาก.


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 83

บทว่า สกทาคามิสฺส ชื่อว่า สกทาคามี เพราะมาสู่กามภพคราวเดียวด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ ได้แก่ พระสกทาคามีนั้น.

บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม อรหา พระอรหันต์ในปัจจุบัน คือพระอรหันต์ในอัตภาพนี้แล ปาฐะว่า อรหํ ดังนี้บ้าง.

บทว่า อิธ นิฏฺา (สำเร็จในโลกนี้) เชื่อในธรรมนี้ ท่านกล่าวหมายถึงผู้ท่องเที่ยวไปสู่กามภพ ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายเกิดในรูปภพและอรูปภพ ย่อมไม่เกิดในกามภพ ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายิสฺส (อันตราปรินิพพายีอนาคามี) ชื่อว่า อนฺตราปรินิพฺพายี เพราะจะปรินิพพาน (* หมายถึง กิเลสปรินิพพาน ถึงความเป็นพระอรหันต์) ด้วยการดับกิเลสในระหว่างกึ่งอายุ อนึ่ง พระอนาคามีนั้นมี ๓ จำพวก คือท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างใกล้เกิด (ในระหว่างเกิดแล้วไม่นาน) ๑ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง ๑ ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุถึงกึ่ง ๑ ได้แก่ พระอันตราปรินิพพายีอนาคามีนั้น.

บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายิสฺส (อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามี) ได้แก่ พระอนาคามีผู้พ้นอายุกึ่งหรือใกล้จะถึงกาลกิริยา แล้วนิพพานด้วยการดับกิเลส.

บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส (อสังขารปรินิพพายีอนาคามี) ได้แก่ พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา ผู้ไม่ต้องทำความเพียรมากนัก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก.

บทว่า สสงฺขารปรินิพฺพายิสฺส (สสังขารปรินิพพายีอนาคามี) ได้แก่ พระอนาคามีผู้ต้องทำความเพียรมาก แล้วปรินิพพานด้วยการดับกิเลส ต้องใช้ความเพียรยากลำบาก.

บทว่า อุทฺธํโสตสฺส อกนิฏฺคามิโน (อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี) ได้แก่ พระอนาคามีผู้มีกระแสเบื้องบน มีกระแสตัณหา กระแสวัฏฏะในเบื้องบน เพราะนำไปในเบื้องบน หรือมีกระแสในเบื้องบน คือกระแสมรรคในเบื้องบน เพราะไปในเบื้องบนแล้วพึงได้ ชื่อว่า อกนิฏฺคามี เพราะไปสู่อกนิฏฐภพ ได้เเก่ พระอนาคามี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีนั้น พระอนาคามีนี้มี ๔ ประเภท.


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้า 84

ท่านผู้ยังพรหมโลก ๔ ตั้งแต่ชั้นอวิหา ให้บริสุทธิ์ แล้วไปสู่อกนิฏฐาจึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.

ท่านผู้ยังพรหมโลก ๓ เบื้องต่ำให้บริสุทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในสุทัสสีพรหมโลกจึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.

ท่านผู้ไปสู่อกนิฏฐาจากโลกนี้ แล้วปรินิพพาน ไม่ชื่อว่า อุทธังโสโต ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.

ท่านผู้ปรินิพพานในที่นั้นๆ ในพรหมโลก ๔ เบื้องต่ำ ไม่ชื่อว่า อุทธังโสโต ไม่ชื่อว่า อกนิฏฐคามี.

พระอนาคามี ๕ เหล่านี้ ท่านกล่าวถือเอาชั้นสุทธาวาส ส่วนพระอนาคามีทั้งหลาย ยังหวังอยู่เพราะยังละรูปราคะอรูปราคะไม่ได้ ย่อมเกิดในรูปภพและอรูปภพที่เหลือ แต่พระอนาคามีทั้งหลายที่เกิดในชั้นสุทธาวาสไม่เกิดในที่อื่น.

บทว่า อเวจฺจปฺปสนฺนา (เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น) ได้แก่ รู้ คือตรัสรู้ด้วยอริยมรรคแล้ว เลื่อมใสด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว.

บทว่า โสตาปนฺนา (พระโสดาบัน) คือท่านผู้ถึงกระแสอริยมรรค แม้บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอริยผลทั้งปวง ท่านก็ถือเอาด้วยบทนี้.

จบอรรถกถาภววิภวทิฏฐินิเทศ

จบอรรถกถาทิฏฐิกถา

แห่งอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อว่า สัทธัมมปกาสินี