ผู้ที่มีความศรัทธา ตั้งใจที่ช่วยงานด้านศาสนา และลาออกจากงานไปอยู่วัดเพื่อช่วยเหลืองานทางวัด โดยบวชเป็นแม่ชี เพื่อเป็นผู้ดูแลพระในวัดและจัดกิจกรรมต่างๆ ให้วัด ซึ่งวัดนี้ ยังไม่มีแม่ชี มีแต่พระอยู่ประมาณ 4 - 5 รูป ซึ่งกรณีนี้สามารถทำได้หรือไม่
การบวชเป็นแม่ชีเพื่อดูแลพระและกิจกรรมต่างๆ ในวัด ไม่ทราบว่าจะตรงกับจุดประสงค์จริงๆ ในการรักษาศีล ๘ ของแม่ชีหรือเปล่านะครับ คิดว่าคงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าเพียงประสงค์ที่จะช่วยดูแลพระท่านด้วยความเห็นใจ หรือมีความประสงค์ที่จะขัดเกลาอกุศลของตนด้วย ส่วนตัวเห็นว่า การเป็นอุบาสิกาที่ดี ก็รักษาศีล ๘ ได้ตามโอกาสอำนวยอาจจะดีกว่าการที่เข้าไปอาศัยอยู่ในวัดทั้งกลางวันกลางคืน สำหรับผู้ที่เป็นสตรีซึ่งก็ไม่ใช่ภิกษุณี ดูแล้วคงจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไร ความจริงบางคราวที่เราอาจจะรักษาศีล ๘ ไม่ได้ ก็ขวนขวายช่วยงานด้านต่างๆ ของพระศาสนาได้อยู่นะครับ
กรณีคนที่มีศรัทธาต้องการบวช ถ้าเป็นสำนักแม่ชี ซึ่ง ไม่มีพระภิกษุ น่าจะไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ี
ปัญหาอยู่ที่บวชเพื่ออะไรครับ ตัวบุคคลที่จะบวชนั้น ควรรู้อยู่แก่ใจของตัวเอง เพราะถ้าไม่เป็นเหตุเป็นผลจริงๆ แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะลงเอยด้วย"ความอยาก"ที่จะบวช ด้วยเหตุนี้การที่เราจะกระทำสิ่งใดก็ตาม ถ้าเป็นผู้ที่พิจารณาเสียหน่อย มีเหตุมีผล ตรงต่อกุศลมีความเข้าใจถูก มีปัญญารู้หนทางก็จะไม่มีปัญหาใดๆ ในภายหลัง แต่ถ้ากระทำด้วยความอยาก และความไม่รู้ปัญหาก็ย่อมเกิดแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าบวชเป็นชีแล้ว ได้ศึกษาพระธรรมโดยทางผิดหรือถูก ประพฤติปฏิบัติตามโดยทางผิดหรือถูก พอกพูนมิจฉาทิฏฐิหรือเจริญสัมมาทิฏฐิ จะทำอะไรก็ขอให้เป็นไปโดยชีวิตปกติแล้วก็เจริญกุศลขึ้นด้วยความเป็นปกติครับ อย่าคิดว่าถ้าทำผิดแปลกจากปกติแล้วนั่นเป็นกุศล เป็นศรัทธา การกระทำของผู้อื่นที่เราเห็นแล้วคิดว่าดี ไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งบอกเสมอไปว่า ผู้นี้กำลังเจริญกุศล ครับ
แม่ชีก็คืออุบาสิกาคนหนึ่งที่ถือศีล ๘ อยู่บ้านหรือที่ไหนก็รักษาศีลได้ ที่สำคัญกุศลก็มี ๑๐ อย่าง เช่น การให้ธรรมทาน การฟังธรรม การอุทิศส่วนกุศล การอบรมเจริญสติปัฏฐาน
การบวชชี น่าจะได้รับอิทธิพลจากทางวรรณะพราหมณ์ที่อินเดียนะครับ คือนุ่งขาวห่มขาวโดยเกี่ยวข้องกับศาสนา แต่ว่าในไทยจะปลงผม และอยู่วัดถือศีล ๘ มีการนุ่งขาวห่มขาวเพื่อแสดงเพศนักบวช (แต่ก็ยังเป็นอุบาสิกาครับ)
ถ้าไม่ได้ปลงผมก็จะเรียกว่า ชีพราหมณ์ ซึ่งก็เห็นวัยรุ่นสมัยนี้นิยมกัน เป็นกิจกรรมพักผ่อนอบรมจิตใจ (แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเดินจงกรม นั่งสมาธิ)
กระผมคิดว่า สตรีที่บวชชีพราหมณ์ อาจจะเห็นว่า เส้นผมนั้นต้องคอยมาทำความสะอาด ต้องคอยรักษา ต้องมัด ต้องทำทรง จึงเสี่ยงที่จะผิดศีลข้อประดับตกแต่ง ก็เลยมีการปลงผมขึ้นมาเพื่อแสดงตนว่าตัดขาดจากทางโลก (คือทางพราหมณ์เขาจะถือว่าถ้าปลงผมคือตั้งใจงดเว้นกามอย่างสิ้นเชิง) ด้วยเหตุนี้ ก็เลยมีการมาอยู่ประจำที่วัดแบบเดียวกับพระภิกษุ จากชีพรามณ์ก็เปลี่ยนเป็นแม่ชี แต่ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นอุบาสิกาไม่ใช่ภิกษุณี ก็เลยถือศีลเพียง ๘ ข้อครับ ปัจจุบันนี้วัดบางที่ แม่ชีถือศีลมากกว่า 8 ข้อด้วยครับ เช่นเพิ่มข้อไม่รับเงินรับทอง
ถึงจะเป็นการบวชที่มีศรัทธาบริสุทธิ์ แต่ถ้าหากต้องอยู่ในวัดที่มีข้อวัตรปฏิบัติที่เห็นผิด เช่น ให้เดินจงกรม นั่งสมาธิ ไม่ศึกษาพระธรรม ก็อาจจะเป็นการเข้าไปคลุกคลีกับความเห็นผิดได้ครับ และสตรีที่ยังเป็นปุถุชน ก็ย่อมจะมีความจุกจิกในเรื่องส่วนตัวกันได้เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในเวลานานๆ หากถือบวชแล้ว ควรจะเผื่อใจไว้หน่อยว่า แม่ชีส่วนใหญ่ที่มาอยู่ร่วมกับท่านก็ยังเป็นปุถุชน อาจมีสภาวะที่ต้องแก่งแย่งชิงดี เป็นโลภะมากกว่าเมตตา หรือติฉินนินทากัน (ทั้งหมดนี้คือปกติของปุถุชนครับ) เพราะเคยคุยกับบางคนที่เคยไปบวชชีมา ก็ผิดหวังที่คนนุ่งขาวห่มขาวอยู่รวมกันในวัด มีปกติคล้ายคนในสังคม และถ้าสมมติมีเหตุให้แม่ชีนั่งคุยกับพระ ๒ ต่อ ๒ หรือมีแม่ชีเพียง ๑ คนนอกนั้นเป็นพระ ก็ไม่ควรบวชชีเลยครับ เป็นอุบาสิกาแต่งกายปกติจะดีกว่า และหาเพื่อนไปหลายๆ คนถ้าจะช่วยงานพระ
ข้อดีบางอย่างในการบวชชีเมื่อเปรียบเทียบกับการถือศีล 8 ที่บ้าน กระผมคิดว่า อย่างน้อยตรงที่มีการปลงผมทำให้ไม่ต้องมาคอยพะวงกับเส้นผมมาก แล้วก็ไม่ต้องมาจัดทรงให้เข้ากับรูปหน้า ซึ่งถ้าหากมีผมยาวอยู่จะต้องมีการตกแต่ง เสริมความงามได้ (ตามปกติของสตรี) นอกจากนี้ก็คือ ได้อยู่ในสถานที่ซึ่งสงัดจากกาม (ซึ่งต้องเลือกให้ดีๆ และอย่าอยู่ปนกับพระ) และได้ศึกษาพระธรรม ไม่ต้องหาเลี้ยงชีพให้วิตกกังวล ฝึกให้เป็นผู้มักน้อยในโภชนะ (ส่วนใหญ่แม่ชีจะรอพระฉันเสร็จ เพื่อทานอาหารที่เหลือครับ)
ส่วนข้อดีในการถือศีล ๘ อยู่บ้าน ก็สามารถเลือกวันได้ ไม่ต้องถือทุกวัน เพราะคงทำได้ยาก เนื่องจากมีภาระการงานหาเลี้ยงชีพและสามารถเจริญกุศลอื่นๆ ได้ด้วย นะครับ
ขอบพระคุณทุกท่านมากค่ะ ที่ให้รายละเอียดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันวัดส่วนใหญ่ก็จะจัดกิจกรรมเน้นไปในเรื่องของการเดินจงกรม นั่งสมาธิ กรณีนี้ เป็นการสมควรหรือไม่ เพราะทำให้คนหลงผิด คิดว่าการไปบวชชีนั้นจะได้บุญมาก โดยที่ไม่ใส่ใจที่จะศึกษาพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า
จากความเห็นที่ 9
บุคคลใดย่อมเผยแพร่ แนะนำในสิ่งที่ผิดพระธรรมวินัยย่อมมีโทษมากเป็นบาปมาก ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เหมือนกับเข็มทิศหรือหางเสือให้พัดไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย เมื่อมีปัญญาการกระทำทางกาย วาจาและใจย่อมเป็นไป ในทางที่ถูกต้อง แม้ในเรื่องข้อปฏิบัติก็เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสในหนทางที่ถูกต้อง ซึ่งก็ คือ การระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ไม่มีทางอื่นจริงๆ ครับ
มีข้อสงสัยว่า ในปัจจุบันมีวัดมากมายที่เน้นการสร้างห้องกรรมฐาน เพื่อให้คนไปปฏิบัติธรรมรักษาศีล เดินจงกรม นั่งสมาธิ ซึ่งดิฉันเองก็เคยไปปฏิบัติแบบนี้มาตั้งแต่ปี 2530 ไปแต่ละครั้งก็ดีเพราะได้รักษาศีล ๘ ครบทุกข้อ และได้ฟังธรรมเป็นการสะสมกุศล ถ้าอยู่บ้านก็ทำไม่ได้ จนถึงปัจจุบันได้ศึกษาพระอภิธรรม และมาฟังธรรมที่มูลนิธิฯ ทำให้เข้าใจมากขึ้น จึงเป็นห่วงคนอื่นที่ยังไปปฏิบัติตามสถานที่ต่างๆ พยายามชวนให้เขาฟังธรรมมากๆ แต่เขาบอกว่า การปฏิบัติโดยตรงได้ผลมากกว่า ซึ่งดิฉันก็เคยคิดแบบนั้นมาก่อน แต่พอฟังธรรมมากๆ จึงรู้ว่าไม่ใช่ กรณีนี้ แสดงว่าวัดที่เน้นกิจกรรมแบบนั้นก็ยังเข้าใจไม่ถูกต้องตรงตามพระธรรมวินัย จึงสร้างสถานที่ให้ฆราวาสไปปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะเพศหญิงที่เป็นข้าศึกต่อเพศพรหมจรรย์ของภิกษุ
สมัยที่ยังไม่ได้ฟังธรรม เคยคิดว่าถ้าเกษียณ จะไปบวชเป็นชี แต่เมื่อไปนุ่งขาวห่มขาว ถือศีล ๘ ที่วัด (ทั้งที่ดังและไม่ดัง) หลายครั้งเข้าจึงรู้ว่า อกุศล เกิดมากกว่ากุศลพอได้มาฟังธรรมแล้ว จึงยิ่งมั่นใจว่า ความประสงค์ที่จะขัดเกลากิเลสโดยการบวชเป็นชีนั้น ลำบากและเป็นไปได้ยากอย่างยิ่งทั้งการปฏิบัติผิดเพราะความเข้าใจผิดในอารามหลายแห่งก็มีมากขอให้ท่านผู้นั้นพิจารณาไตร่ตรองเหตุผลที่คิดอยากบวชชีให้ดีๆ อีกสักหลายๆ รอบนะคะคุณอุ้ม
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
คงสายไปแล้วค่ะ เพราะมีพี่ที่ทำงานเขาไปบวชชีเรียบร้อยแล้ว คิดว่าเขาคงสะสมเหตุปัจจัยมา จึงต้องไปออกบวชแบบนั้น ส่วนดิฉันเองก็เคยคิดว่าถ้าหมดภาระทางโลก ก็จะไปแบบนั้นเหมือนกัน แต่เป็นเรื่องของอนาคต อะไรๆ มันก็ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
จากความคิดเห็นที่ 8
"หรือมีแม่ชีเพียง ๑ คน นอกนั้นเป็นพระ" ถ้าหมายถึงมีพระ (หรือผู้ชายรวมอยู่ด้วย) ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป อันนี้ไม่ผิดหรอกครับ ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีพระอยู่ ๑ รูป นอกนั้นเป็นผู้หญิงทั้งหมด จะกี่คนก็ตาม อันนี้ผิดครับ ท่านว่ามาตุคามแม้จะมีมาก ก็คุ้มอาบัติของพระไม่ได้ ที่ว่ามานี้หมายถึงอยู่ในที่กำบัง ครับ
ขออนุโมทนา
คำถามของคุณ oom นี่ ต้องแยกประเด็นให้ดี และต้องคิดให้รอบด้านด้วยครับ กุศลเจตนาที่จะช่วยเป็นสิ่งที่ดีครับ
สำหรับความเห็นของอาจารย์ประเชิญ (ความคิดเห็นที่ ๑) ว่า "ผมคิดว่าไม่ต้องบวชเป็นเแม่ชีก็ช่วยงานต่างๆ ได้ แต่ไม่ควรไปค้างอยู่ที่วัด เพราะเพศสตรีเป็นข้าศึกของพรหมจรรย์ของพระภิกษุครับ"
ประเด็นที่ ๑ "ไม่ต้องเป็นแม่ชีก็ช่วยงานต่างๆ ได้" ตรงนี้ถูกนะครับ แต่ถ้าพิจารณาในรายละเอียดต่างๆ เช่นเพื่อความสะดวกและประหยัดเวลาและเงินทองในการเดินทางรวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนี้ การอยู่วัดจะดีกว่ามากครับ
ประการที่ ๒ "แต่ไม่ควรไปค้างอยู่ที่วัด" ตรงนี้ต้องดูครับว่า การไปค้างอยู่ที่วัดนั้นค้างในลักษณะไหน กล่าวคือมีที่อยู่ค้างโดยเฉพาะแยกไกลออกไปจากพระภิกษุ รวมทั้งกฎเกณฑ์การปฏิบัติค้างแรม ผมไม่เห็นมีอะไรที่เสียหายครับ ถ้าเราถือว่าสตรีไปค้างแรมที่วัดเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ญาติโยมที่สมาทานอุโบสถศีลแล้วค้างอยู่ที่วัดคืนหนึ่งอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ก็คงเป็นเรื่องไม่ถูกเหมือนกัน ยิ่งไปกว่านี้ ในพระวินัยของภิกษุณี มีอยู่ข้อหนึ่งบังคับไว้ว่า "ภิกษุณีต้องจำพรรษาในอาวาสที่มีพระภิกษุอยู่ด้วย"เดี๋ยวนี้มีภิกษุณีแล้วล่ะที่เมืองไทย จะบวชถูกต้องตามพระวินัจหรือไม่นั้น ต้องมาพิจารณากันอีกที แต่ไม่เห็นท่านเอื้อเฟื้อพระวินัยข้อนี้เลยข้อสุดท้ายของอาจารย์ถูกต้องดีแล้วครับ ผมต้องขอประทานอภัยอาจารย์ประเชิญด้วยครับ ผมมีความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาของเราเพียงเล็กน้อย และก็อยู่ไกลด้วย คิดอยู่เสมอว่าสักวันหนึ่งเมื่อถึงเวลาอันควร คงจะได้เข้าร่วมศึกษาธรรมกับอาจารย์ และท่านอื่นๆ ก็ขอฝากตัวเป็นศิษย์คนหนึ่งด้วยครับ
ด้วยความเคารพครับ
ขออนุโมทนาครับ
ส่วนพระวินัยของพระภิกษุณีที่ว่าต้องอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุนั้น ต้องมีรายละเอียดอีกว่า อยู่ในอาวาสเดียวกัน แต่อยู่แยกกันคนละส่วน ทำกิจกรรมแยกกัน ไม่ปะปนกันและยังมีพระวินัยข้ออื่นๆ ประกอบในเรื่องนี้ด้วยครับ
ตามที่เราใช้คำสำหรับแม่ชีว่า "บวช" นี้ ถ้าพูดตามหลักการในคัมภีร์แล้วไม่ถูกต้องเลยเพราะไม่มีในคัมภีร์หลักๆ เลย คำว่า "บวช" ท่านใช้สำหรับสหธรรมิก ๕ เท่านั้นคือภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี และนางสิกขมานา อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าจะใช้คำว่าอย่างไรดี ที่ผมตั้งประเด็นนี้ขึ้นมา ก็เพียงต้องการความเป็นมาของการเกิดมีแม่ชีขึ้นเท่านั้นเอง ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดเป็นผู้ริเริ่ม และก็ไม่ได้มีเจตนาจะต่อต้าน ไม่เห็นด้วย หรือขัดขวางการเกิดมีแม่ชีอะไรหรอกครับ เหตุผลเรื่องที่ทำให้มีแม่ชีน่าจะเป็นเพราะว่า ในนิกายเถรวาทหมดภิกษุณีไป ทำให้สตรีที่มีศรัทธาอยากจะบวชก็พลอยหมดโอกาสไปด้วย ก็เลยคิดการบวชเป็นแม่ชีขึ้น เพื่อสนองความประสงค์ที่จะบวชไปได้ระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบันนี้ได้เกิดมี "ภิกษุณี" ขึ้นแล้วในประเทศไทย ผมคิดว่าจะมีประเด็นที่เข้ามาสู่การพิจารณากันอีกมาก และจะเป็นที่ยอมรับกันขนาดไหนนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง
ความเห็น ที่ 8 คุณ เกมส์ กระจ่างแท้จริง ครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ