ปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถีทำงานสลับกันอย่างไรครับและสัมพันธ์สัญญาเจตสิก
อย่างไรครับ ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปัญจทวารวิถีจิต คือ วิถีจิตทางทวาร ๕ หมายถึง วิถีจิตทุกดวงที่รู้อารมณ์ที่กำลัง
ปรากฏทางปัญจทวารทั้งหมด ๑๔ ขณะ ตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทวิปัญจ
วิญญาณ ๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ สันตีรณจิต ๑ โวฏฐัพพนจิต ๑ ชวนจิต ๗ ตทาลัมพณ
จิต ๒
มโนทวารวิถีจิต คือ วิถีจิตทางใจ หมายถึง วิถีจิตทุกดวงที่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ
ทางมโนทวาร ทั้งหมด ๑๐ ขณะ ตั้งแต่มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ชวนจิต ๗ ตทาลัมพณ
จิต ๒ (ถ้าเป็นอัปปนาวิถี จะมีวิถีจิตไม่ถึง ๑๐ ขณะ และถ้าเป็นขณะที่เข้าสมาบัติ จะ
มีวิถีจิตมากจนนับไม่ได้)
ซึ่ง โดยทั่วไปแล้ว เมื่อมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้ม การรู้กระทบ
สัมผัส ทาง ทวาร 5 แล้ว ยังไม่รู้ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ เมื่อปัญจทวารวิถีดับไป
มโนทวารวิถีจิตย่อมเกิดต่อ และ ทำให้คิดนึกเป็นรูปร่าง สัณฐานต่างๆ เป็นสัตว์
บุคคล รู้ความหมาย เพราะอาศัย มโนทวารวิถี ที่สืบต่อจากปัญจทวาร เป็นสำคัญ
ส่วน สัญญาเจตสิก ทำหน้าที่จำ และ เกิดกับจิตทุกดวง ทุกๆ ประเภท เพราะฉะนั้น
จิตแต่ละประเภท ที่เกิดทางปัญจทวาร และ มโนทวาร ล้วนแล้วแต่จะต้องมี สัญญา
เจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ตามหลักจิตนิยามคือ ความแน่นอนของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธาน
ในการรู้แจ้งอารมณ์ เมื่อวิถีจิตทางปัญจทวาร (จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ๕ ทวาร ทวาร
หนึ่งทวารใด คือทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย) เกิดขึ้นและดับไปแล้ววิถีจิตทาง
มโนทวารเกิดขึ้นรู้อารมณ์สืบต่อจากปัญจทวารทันทีและมีอารมณ์เดียวกันกับทาง
ปัญจทวาร คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตามควรแก่ทวารนั้นๆ
และแม้ไม่ได้มีจิตเกิดขึ้นทาง ๕ ทวารเลย วิถีจิตทางใจ ก็เกิดขึ้นเป็นไปได้ เช่น
คิดถึงเรื่องราวต่างๆ
และทุกขณะที่จิตเกิดขึ้นเป็นไป ไม่ว่าจะเป็นทางหนึ่งทางใด ก็จะไม่ปราศจากสัญญา
เจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่จำอารมณ์ เลย ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
สัญญาเจตสิก เกิดร่วมกับจิตอยู่แล้ว เพราะวิ ๓ เกิดขึ้นอย่างน้อย ต้องมีเจตสิก 7 ดวง
ปัญจทวาร กับ มโนทวาร จึงต้องมี สัญญาเจตสิกด้วย ค่ะ