[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้าที่ 57
บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต และวิญญาณนิมิต. พระโยคาวจรไม่มนสิการรวมกันซึ่งนิมิตเหล่านั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนั้นด้วยการรวมนิมิตทั้งปวง. เพราะฉะนั้น อารมณ์ของภวังคจิตอันใดมีอยู่การออกจากผลสมาบัติย่อมมีโดยมนสิการถึงอารมณ์นั้น พึงทราบการออกจากผลสมาบัตินั้นด้วยประการอย่างนี้ ท่านกล่าวว่า วิมุตติสุขํ ปฏิสํเวทีดังนี้ หมายเอาการเข้า การตั้งอยู่ และการออกจากผลสมาบัติ ดังกล่าวมานี้และละการกำหนดสังขารนิมิต อันตรงกันข้ามกับพระนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่าตทังคปหาน.
สุญญตวิโมกข์ เพราะว่างและพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้นเหล่านั้น อนึ่ง พระนิพพาน ชื่อว่า หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีนิมิตมีราคะ เป็นต้น และเพราะไม่มีสังขารนิมิต ท่านเรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้นเป็นนิมิตและว่างจากกิเลสเหล่านั้น พระนิพพานชื่อว่า หาที่ตั้งมิได้ เพราะไม่มีที่ตั้งมี
๑๐. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส ว่าด้วยโคตรภูญาณ
ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา โคตฺรภูญาณํ แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็นโคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้นท่านกล่าวว่า พหิทฺธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดานในภายใน. เพราะฉะนั้น โคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือ ตั้งอยู่ในเบื้องบน ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้น โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ, โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือ หันหลังให้ ฉะนั้น โคตรภูญาณนั้น จึงชื่อว่า วิวัฏฏนะ วุฏฐานะนั้นด้วยวิวัฏฏนะนั้นด้วยฉะนั้น จึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆสาจารย์จึงกล่าวว่า โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์ เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด แต่ออกจากนิมิตได้ เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เอกโตวุฏฐานะ คือ ออกจากสังขารนิมิตโดยส่วนเดียว ดังนี้.
แม้ที่กล่าวแล้วในก่อนว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญฺา - ปัญญาในการออกและหลีกจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้ง ๒