อยากอ่านเรื่อง พระโปฐิละ จะหาข้อมูลได้อย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ที่ถูกต้องแล้ว ต้องเป็น พระโปฐิละ ครับ พระโปฐิละ ท่านเป็นผู้เรียนมาก ศึกษามาก ซึ่งรู้เพียงปริยัติ แต่ยังไม่บรรลุมรรค ผล เพราะไม่ได้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกท่านว่า เป็นผู้มีใบลานเปล่า ภายหลังท่านเกิดความละอาย มีการปรารภความเพียรอบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเมื่อได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ย่อมไม่ได้ชื่อว่า ใบลานเปล่า อีกต่อไป
เรื่องราวของท่านพระโปฐิละ ขอเชิญศึกษาได้จาก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ หน้า ๑๑๘ หรือจะคลิกอ่านเพิ่มเิติมได้ที่หัวข้อต่อไปนี้ ก็ได้ครับ
เรื่องพระโปฐิลเถระ [ใบลานเปล่า ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด] ใบลานเปล่า - รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด [เรื่องพระโปฐิลเถระ] ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น คำว่าปฏิบัติที่ใช้กันในภาษาไทย กับปฏิบัติในภาษาบาลี ความหมายไม่ตรงกันกล่าวคือ โดยมากจะเข้าใจกันว่า เป็นการไปทำ แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่การไปทำเพราะเหตุว่า ปฏิบัติธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ ไม่ใช่การไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาแต่ธรรมเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของธรรม นั่นก็คือ สติ และ สัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริง ซึ่งจะต้องอาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรมสะสมความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติถูกต้อง ย่อมมีไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นความเข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับคำว่า ปฏิบัติธรรมนั้น ในพระไตรปิฎกแสดงถึงคำเต็มไว้ คือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมคือ สมควรแก่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุมรรค ผล นิพพาน ซึ่งถ้าเป็นผู้มีความเข้าใจในหนทางที่ถูกต้องแล้ว มีการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม และเจริญกุศลทุกประการอันสมควรแก่การบรรลุมรรคผล นิพพาน ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมหมายความว่าอย่างไรค่ะ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ผมแปลกใจอย่างนึงนะครับ
ทำไมคนสมัยนี้ถึงใช้คำว่า ใบลานเปล่า มาเป็นคำด่ากัน
ทั้งๆ ที่ ท่านพระโปฐิละ ก็มีคุณธรรมสูง และขณะที่ถูกเรียกว่าใบลานเปล่า
คือขณะที่อีกไม่นานจะบรรลุเป็นพระอรหันต์
ผมเชื่อว่าพระพุทธเจ้า ทรงเตือนเฉพาะบุคคล
ซึ่งบุคคลที่ถูกเตือนนั้นมีปัญญามากเหมาะสมกับคำๆ นั้น
ไม่เข้าใจคนสมัยนี้ชอบเอาคำว่า ใบลานเปล่า มาด่ากัน
เพียงเพราะ คาดหวังผลลัพธ์จากการฟังธรรมมากเกินไป
อีกอย่างก็คือ
คนสมัยนี้ ไม่เห็นว่าการศึกษาพระธรรมหรือการฟังธรรมมีประโยชน์
คิดว่าจะบรรลุธรรมง่ายๆ จากการไปทำอะไรที่ผิดปกติ
และส่วนมากก็เข้าใจว่าตนเองบรรลุธรรมแล้ว จากการกระทำผิดปกตินั้น
ผู้ที่ศึกษาธรรมจึงโดนด่าว่า "ใบลานเปล่า" ไปโดยปริยาย
เล่าให้ฟังนะครับ
ผมเคยมีกลุ่้มเพื่อนกลุ่มหนึ่ง เขาชอบไปนั่งสมาธิ เดินจงกรม
แล้วเรียกสิ่งนี้ว่า การปฏิบัติธรรม
ผมก็เอาหนังสือและซีดีของมูลนิธิไปให้พวกเขา แต่พวกเขาก็บอกว่า
"พวกใบลานเปล่า มัวแต่ศึกษา ก็เลยไม่บรรลุ"
นี่แหละครับ ผลของการศึกษาพระไตรปิฎก โดยไม่ละเอียด
กลายเป็นพวกปฏิเสธการศึกษาพระธรรม
และไปกระทำสิ่งผิดปกติ ซึ่งไม่ใช่ทางของพระพุทธศาสนา
เรียนความเห็นที่ 7 , 8 และ 9 ครับ
ใบลานเปล่า เป็นการแสดงถึงผู้ที่ศึกษาพระธรรมมาก แต่ไม่น้อมใจไปเพื่อดับกิเลส
ดังเช่น ท่านพระโปฐิละ แต่ไมjไ่ด้หมายความว่า ท่านพระโปฐิละ จะไม่ได้สะสมปัญญา
มาจากการศึกษาพระธรรมนะครับ เพราะภายหลัง ท่านพระโปฐิละ ท่านได้ฟังธรรมจาก
สามเณร ต่อมาท่านก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แสดงว่าท่านสะสมปัญญามากใน
อดีตกาล เพียงแต่ชาตินี้ ท่านก็ได้ศึกษาธรรม แต่ว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้ท่าระลึกไม่่ได้ใน
เรื่องการน้อมใจไปในการดับกิเลส เมื่อมีผู้เตือน เช่น พระพุทธเจ้า เตือนว่า ใบลาน
เปล่า ท่านก็รู้ตัวและระลึกได้ จึงอบรมปัญญา ดับกิเลสได้
ดังนั้น ถ้าไม่มีการสะสมปัญญามา ท่านจะไม่มีทางบรรลุเป็นพระอรหัน์เลยครับ การ
ศึกษาพะรธรรม ฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ด้วยจุดประสงค์ที่ถูก ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้น
และเห็นประโยชน์ของการละกิเลสเอง โดยไม่เป็นใบลานเปล่าครับ ขออนุโมทนาที่ร่วม
สนทนาครับ