[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิก วิภังค์ เล่ม๒ ภาค๑ – หน้าที่ 407-410
ในอรรถกถาอินทริยวิภังคนิเทศ
อธิบายอรรถแห่งอินทรีย์ว่า
ที่ชื่อว่าอินทรีย์ มีอรรถว่า เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นใหญ่
มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่แสดงแล้ว
มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เห็นแล้ว
มีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่ประกาศแล้ว
และมีอรรถว่าอันผู้เป็นใหญ่เสพแล้ว
พระพุทธองค์ทรงแสดงจำนวนของอินทรีย์ทั้งหมด มี ๒๒ ประเภท
สภาพธรรมที่นอกจาก ๒๒ ประเภท ไม่กระทำหน้าที่โดยความเป็น อินทรีย์ (ความเป็นใหญ่) จึงไม่บัญญัติว่าเป็นอินทรีย์
สาธุ
อินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน) ๒๒ ประเภท คือ
๑. อินทรีย์คือตา (จักขุนทรีย์)
๒. อินทรีย์คือหู (โสตินทรีย์)
๓. อินทรีย์คือจมูก (ฆานินทรีย์)
๔. อินทรีย์คือลิ้น (ชิวหินทรีย์)
๕. อินทรีย์คือกาย (กายินทรีย์)
๖. อินทรีย์คือใจ (มนินทรีย์)
๗. อินทรีย์คือหญิง (อิตถินทรีย์)
๘. อินทรีย์คือชาย (ปุริสินทรีย์)
๙. อินทรีย์คือชีวิต (ชีวิตินทรีย์)
๑๐. อินทรีย์คือสุข (สุขินทรีย์-สุขกาย)
๑๑. อินทรีย์คือทุกข์ (ทุกขินทรีย์ - ทุกข์กาย)
๑๒. อินทรีย์คือโสมนัส (โสมนัสสินทรีย์-สุขใจ)
๑๓. อินทรีย์คือโทมนัส (โทมนัสสินทรีย์-ทุกข์ใจ)
๑๔. อินทรีย์คืออุเบกขา (อุเปกขินทรีย์-เฉยๆ ไม่ทุกข์ ไม่สุข)
๑๕. อินทรีย์คือความเชื่อ (สัทธินทรีย์)
๑๖. อินทรีย์คือความเพียร (วิริยินทรีย์)
๑๗. อินทรีย์คือความระลึกได้ (สตินทรีย์)
๑๘. อินทรีย์คือความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์)
๑๙. อินทรีย์คือปัญญา (ปัญญินทรีย์)
๒๐. อินทรีย์คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์)
๒๑. อินทรีย์คือการตรัสรู้สัจจธรรมด้วยมรรค (อัญญินทรีย์)
๒๒. อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว (อัญญาตาวินทรีย์)
นี้เรียกว่า อินทรีย์ ๒๒
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ