[เล่มที่ 48] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 309
๑. อิตถิวิมานวัตถุ
ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓
๘. มัลลิกาวิมาน
ว่าด้วยมัลลิกาวิมาน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 48]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 309
๘. มัลลิกาวิมาน
ว่าด้วยมัลลิกาวิมาน
พระนารทเถระได้ถามนางมัลลิกาเทพธิดาว่า
[๓๖] ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง ประดับประดาด้วยเครื่องก็ล้วนเหลือง เธอถึงจะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงามเหลือง อร่ามเช่นนี้ ก็ยังงามโดยธรรมชาติ ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำธรรมชาติ แก้วไพฑูรย์ จินดา มีกายาปกคลุมไว้ด้วยร่างแหทองคำเหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้วสีต่างๆ สายแก้วเหล่านั้นล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ แก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ บางสายก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลายคล้ายตาแมว บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วแดงคล้ายสีเลือด บ้างก็สำเร็จด้วยแก้วอันสดใสเหมือนสีตานกพิราบ เครื่องประดับทั้งหมดที่ตัวของท่านนี้ทุกๆ สาย ยามต้องลมพัด มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง พญูาหงส์ทองหรือเสียงนกการเวก หรือมิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริยดนตรี ที่พวกคนธรรพ์พากันบรรเลงเป็นคู่ๆ อย่างไพเราะน่าฟังก็ปานกัน อนึ่ง รถของท่านงดงามมาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 310
หลากไปด้วยเนาวรัตนนานาพรรณ อันบุญกรรมจัดสรรมาให้จากธาตุนานาชนิด ดูมูลมองพิจิตรจรัสจำรูญ ยามท่านยืนอยู่เหนือสุพรรณรถขับไปถึงประเทศใด ที่ตรงนั้นก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน ดูก่อนนางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ท่านจงตอบอาตมาว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.
นางมัลลิกาเทพธิดาตอบว่า
พระคุณเจ้าขา ดีฉันมีร่างกายซึ่งปกปิดไว้ด้วยร่างแหทองคำวิจิตรไปด้วยแก้วแดงอ่อนๆ และแก้วมุกดา นับว่าดีฉันคลุมร่างไว้ด้วยตาข่ายทองเช่นนี้ ก็เพราะดีฉันมีจิตผ่องใส ได้บูชาพระโคดมบรมครูผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้ ซึ่งเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้ว ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว จึงสร่างโศก หมดโรคภัย ได้รับแต่ความสุขกาย สุขใจ รื่นเริงบันเทิงใจเป็นนิตย์.
จบมัลลิกาวิมาน
อรรถกถามัลลิกาวิมาน
มัลลิกาวิมาน มีคาถาว่า ปีตวตฺเถ ปีตธเช ดังนี้เป็นต้น. มัลลิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ เริ่มต้นทรงแสดงพระ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 311
ธัมมจักกปปวัตตนสูตร จนถึงทรงโปรดสุภัททปริพาชกแล้วปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในเวลาใกล้รุ่ง ณ วันเพ็ญ เดือน ๖ ในระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลราช ใกล้กรุงกุสินารา พวกเทวดาและมนุษย์ต่างพากันทำการบูชาพระสรีระของพระองค์ ในครั้งนั้น ราชบุตรีของกษัตริย์มัลละเป็นภรรยาของพันธุลมัลละ ในกรุงกุสินารา ชื่อ มัลลิกา เป็นอุบาสิกามีศรัทธาเลื่อมใส เอาน้ำหอมล้างเครื่องประดับมหาลดาของตน เช่นเดียวกับของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ขัดด้วยผ้าเนื้อดี และถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นต้น เป็นอันมากอย่างอื่นบูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนเรื่องนางมัลลิกาโดยพิสดารมาแล้วในอรรถกถาธรรมบท.
ครั้นต่อมา นางมัลลิกานั้นสิ้นชีพิตักษัยไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ด้วยอานุภาพแห่งการบูชานั้น นางมัลลิกาได้มีทิพยสมบัติอันโอฬาร ไม่สาธารณ์ด้วยผู้อื่น. วิมานประดับด้วยผ้ารุ่งเรืองด้วยแก้ว ๗ ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรัศมีสีทองผ่องใสยิ่งนัก ปรากฏเหมือนสายน้ำสีทองแดงเรื่อโปรยลงมาจากทุกทิศ.
ครั้งนั้น ท่านพระนารทะจาริกไปยังเทวโลกเห็นเทพธิดาจึงเข้าไปหา. เทพธิดาครั้นเห็นท่านพระนารทะ จึงยืนประคองอัญชลีนมัสการ. ท่านพระนารทะจึงถามเทพธิดานั้นว่า
ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่สีเหลือง เครื่องประดับก็ล้วนแต่สีเหลือง ท่านถึงไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงาม ก็ยังงาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 312
ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำ แก้วไพฑูรย์ จินดา มีกายปกคลุมด้วยร่างแหทองคำเหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้วต่างๆ สายแก้วเหล่านั้นล้วนสำเร็จด้วยทองคำ แก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ แก้วลายคล้ายตาแมว แก้วแดงคลายสีเลือด บางอย่างก็สดใสเหมือนสีตานกพิราบ เครื่องประดับทั้งหมดที่ตัวของท่านนี้ทุกๆ สาย ยามต้องลมพัดมีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง เสียงพญาหงส์ทอง เสียงนกการเวก มิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริยดนตรีที่พวกคนธรรพ์พากันบรรเลงเป็นคู่ๆ อย่างไพเราะน่าฟัง อนึ่ง รถ ของท่านก็งดงามมาก หลากไปด้วยรัตนะสีต่างๆ อันบุญกรรมจัดสรรมาให้จากธาตุนานาชนิด ดูงดงาม ยามท่านยืนอยู่บนรถขับไปถึงที่ใด ที่นั้นก็สว่างไสว ไปทั่ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีตวตฺเถ ได้แก่ มีผ้านุ่งห่มสีเหลือง เพราะมีแสงเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์. บทว่า ปีตธเช ได้แก่ มีธงสีเหลืองเพราะเป็นธงวิเศษสำเร็จด้วยทองซึ่งยกขึ้น ณ ประตูวิมานและบนรถ.
บทว่า ปีตาลงฺการภูสิเต ได้แก่ ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สีเหลือง ก็เครื่องอาภรณ์ของเทพธิดานั้นมีรัศมีสีเหลืองเป็นพิเศษ เพราะรุ่งเรืองด้วยข่ายมีรัศมีสีทองบริสุทธิ์ โดยเหตุที่เครื่องประดับเหล่านั้นเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 313
เพราะความประพฤติดีเช่นนั้นเป็นพิเศษ ในความวิจิตรด้วยรัตนะหลายอย่างล้วนรุ่งเรืองด้วยข่ายรัศมีนานาชนิด. บทว่า ปีตนฺตราหิ ได้แก่ ผ้าห่มสีเหลือง อันตรศัพท์ใช้ในผ้านุ่งห่มในบทมีอาทิว่า สนฺตรุตฺตรปรมํ เตน ภิกฺขุนา ตโต จีวรํ สาทิตพฺพํ ภิกษุนั้นพึงยินดีผ้านุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ใน อุตตริยะ ดุจในบทมีอาทิว่า อนฺตรสาฏกา ผ้านุ่ง. ศัพท์เหล่านี้คือ อนฺตรา (ผ้านุ่ง) อุตฺตริยํ อุตฺตราสงฺโค อุปสมพฺยานํ (ผ้าห่ม) เป็นปริยายศัพท์ (ศัพท์สำหรับพูด). บทว่า วคฺคูหิ ได้แก่ ด้วยเครื่องประดับอันงดงาม. บทว่า อปิลนฺธา ว โสภสิ ความว่า ท่านแม้ถึงจะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับเหล่านี้ก็งดงามด้วยรูปสมบัติของตนอยู่แล้ว แต่พอเครื่องประดับเหล่านั้นสวมสรีระของท่านก็งดงาม. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น แม้ถึงท่านไม่ประดับก็คล้ายกับประดับ.
บทว่า กา กมฺพุกายุรธเร ได้แก่ ดูก่อนเทพธิดา ผู้ประดับด้วยเครื่องประดับแล้วไปด้วยทองคำ หรือประดับด้วยกำไรแขนแล้วไปด้วยทองคำ ท่านเป็นใครเกี่ยวข้องกับหมู่เทพชั้นไหน. ท่านกล่าวบทว่า กมฺพุปริหารกํ ได้แก่ เครื่องประดับข้อมือ. กล่าวบทว่า กายรํ ได้แก่ เครื่องประดับแขน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กมฺพุ ได้แก่ ทองคำ. เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าผู้ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ที่แขนแล้วด้วยทองคำ ชื่อว่า กมฺพุกายูรธเร. บทว่า กญฺจนาเวฬภูสิเต ได้แก่ ประดับพวงมาลัยแล้วด้วยทองคำ. บทว่า เหมชาลกสญฺฉนฺเน ได้แก่ มีสรีระคลุมด้วยข่ายทองคำแกมแก้ว. บทว่า นานารตนมาลินี ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 314
พระนารทะถามว่า ท่านเป็นใครมีพวงมาลัยแก้วต่างๆ ล้วนเป็นสายแก้วสวมศีรษะในคืนข้างแรม ดุจสวมมาลัยประดับมุกด์ในนักขัตฤกษ์ (การเต้นรำ).
บทว่า โสวณฺณมยา ความว่า ท่านกล่าวว่า เทพธิดานั้นมีพวงมาลัยแก้วต่างๆ ล้วนเป็นพวกแก้วประดับ. ความเห็นเกี่ยวกับพวงมาลัยแก้วเหล่านั้นมีดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า โสวณฺณมยา ได้แก่ มาลัยสำเร็จด้วยทองคำ. บทว่า โลหิตงฺกมยา ได้แก่ มาลัยสำเร็จด้วยแก้วมณีสีแดงคล้ายแก้วสีทับทิมเป็นต้น. บทว่า มสารคลฺลา ได้แก่ มาลัยสำเร็จด้วยแก้วลายคล้ายตาแมว. บทว่า สหโลหิตงฺกา ความว่า มาลัยสำเร็จด้วยแก้วมณีคล้ายเพชรตาแมว กับมาลัยแล้วด้วยแก้วมณีสีแดง และมาลัยสำเร็จด้วยแก้วแดงคล้ายสีเลือด. บทว่า ปเรวตกฺขีหิ มณีหิ จิตฺตตา อธิบายว่า มาลัยแก้วที่ศีรษะและมือของท่านเหล่านี้ มีสภาพสวยงามทำด้วยแก้วมณี เช่นกับสีตานกพิราบ และแก้วมณีตามที่กล่าวแล้ว.
บทว่า โกจิ โกจิ ได้แก่ เครื่องประดับทุกๆ สาย. บทว่า เอตฺถ คือ ในพวงมาลัยเหล่านี้. บทว่า มยูรสุสฺสโร ได้แก่ มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง. บทว่า หํสสฺสรญฺโ ได้แก่ มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงพญาหงส์ คือ มีเสียงคล้ายกับเสียงพญาหงส์. บทว่า กรวิกสุสฺสโร ได้แก่ มีเสียงไพเราะดุจเสียงนกการเวก คือเสียงพวงมาลัยเหล่านั้นมีเสียงเหมือนเสียงนกยูง เสียงพญาหงส์ เสียงนกการเวก ได้ยินแต่เสียงไพเราะอ่อนหวานอย่างนี้. ถามว่า เหมือนอะไร ตอบว่า เหมือนเบญจางคิกดุริยดนตรีประโคม. อธิบายว่า เสียงของเครื่องประดับเหล่านั้นฟังไพเราะ เหมือนคนฉลาดประโคมเบญจางคิกดุริยดนตรีฉะนั้น บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 315
ปญฺจงฺคิกํ ตุริยมิวปฺปวาทิตํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.
บทว่า นานาวณฺณาหิ ธาตูหิ ได้แก่ จากธาตุอันมีส่วนต่างๆ เป็นต้นว่า เพลา ล้อ และงอนไถเป็นต้น. บทว่า สุวิภตฺโต ว โสภติ ได้แก่ งามดุจจัดสรรมาอย่างดี เพราะส่วนต่างๆ มีขนาดเหมาะเจาะกันและกัน ทั้งมีฝาพร้อม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุวิภตฺโต ว ได้แก่ แม้เกิดด้วยกรรมอย่างเดียวก็ยังงาม ดุจอาจารย์ศิลปะผู้เชี่ยวชาญบรรจงตกแต่งไว้ฉะนั้น.
บทว่า กญฺจนพิมฺพวณฺเณ ได้แก่ บนรถนั้นเช่นกับรูปทอง เพราะมีแสงเหลืองอร่ามงามยิ่งนัก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กญฺจนพิมฺพวณฺเณ เป็นคำเรียกเทพธิดานั้น. อธิบายว่า เช่นกับรูปเปรียบทองคำที่เขาเอาน้ำหอมล้างแล้วขัดด้วยสีแดงชาด แล้วเอาผ้าเนื้อดีขัดอีก. บทว่า ภาสสิมํ ปเทสํ ได้แก่ ภูมิประเทศทั้งสิ้นนี้ย่อมสว่างไสวรุ่งโรจน์.
ครั้นพระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดาก็ตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดีฉันมีร่างกายปกคลุมไว้ด้วยข่ายทองคำวิจิตรไปด้วยแก้วมณีทองคำและแก้วมุกดา เพราะดีฉันมีจิตผ่องใส ได้บูชาพระโคดมผู้ทรงคุณหาประมาณมิได้ ซึ่งเสด็จปรินิพพานไปแล้ว.
ดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญไว้ จึงสร่างโศกถึงความสุขรื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 316
ในบทเหล่านั้น บทว่า โสวณฺณชาลํ ได้แก่ ข่ายสำเร็จด้วยทองคำ ทำให้พอดีกับสรีระ. บทว่า มณิโสณฺณจิตฺติตํ ได้แก่ วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำหลายอย่าง โดยเป็นเครื่องประดับมีสวมศีรษะและสวมคอเป็นต้น. บทว่า มุตฺตาจิตํ ได้แก่สวมสายแก้วมุกดาที่เกี่ยวพันกันเป็นลำดับๆ. บทว่า เหมชาเลน ฉนฺนํ ได้แก่ คลุมด้วยข่ายรัศมีสีทอง. ก็ข่ายนั้นวิจิตรด้วยแก้วนานาชนิดและด้วยทองคำ ตกแต่งด้วยสายแก้วมุกดาคลุมด้วยข่ายรัศมีสีทอง ส่องแสงยิ่งนักในเมื่อสัมผัสกับแสงอาทิตย์ มีแสงสว่างเป็นอันเดียว ตั้งอยู่ดุจกระจกทองคำ. บทว่า ปรินิพฺพุเต ได้แก่ ปริ- นิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. บทว่า โคตเม อ้างถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตร. บทว่า อปฺปเมยฺเย ได้แก่ ไม่สามารถจะประมาณได้โดยคุณานุภาพ. บทว่า ปสนฺนจิตฺตา ได้แก่ มีจิตเลื่อมใสด้วยศรัทธาอันเป็นวิสัยแห่งผลกรรมและพุทธารมณ์. บทว่า อภิโรปยึ ได้แก่ ดิฉันสวมใส่ไว้ที่สรีระเพื่อบูชา.
บทว่า ตาหํ ตัดบทเป็น ตํ อหํ. บทว่า กุสลํ ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ขจัดความน่าเกลียดออกไปเป็นต้น. บทว่า พุทฺธวณฺณิตํ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วด้วยบทมีอาทิว่า ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้าก็ดี มีสองเท้าก็ดี ประมาณเท่าใด ดังนี้. บทว่า อเปตโสกา ความว่า ชื่อว่าปราศจากความโศก เพราะไม่มีความพินาศแห่งโภคะเป็นต้น อันเป็นเหตุของความโศก. ด้วยบทนั้น เทพธิดากล่าวถึงความไม่มีทุกข์ใจ. บทว่า สุขิตา ได้แก่ มีสุขเกิดแล้ว คือ ถึงความสุข. ด้วยบทนี้เทพธิดากล่าวถึงความไม่มีทุกข์กาย. ก็เทพธิดานั้นถึงความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 317
บันเทิง เพราะไม่มีทุกข์ใจ. ความไม่มีโรค เพราะไม่มีทุกข์กาย. ด้วยเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า สมฺปโมทามนามยา ดิฉันบันเทิงเพราะไม่มีโรค. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อนึ่ง เนื้อความนี้ท่านพระนารทะได้แจ้งแก่พระธรรมสังคาหกาจารย์ ครั้งทำสังคายนาโดยทำนองเดียวกันกับที่คนและเทพธิดากล่าวแล้วในครั้งนั้น. พระธรรมสังคาหกาจารย์เหล่านั้นจึงยกคำบอกเล่านั้นขึ้นสู่การสังคายนา ด้วยประการนั้นเอง.
จบอรรถกถามัลลิกาวิมาน