การนั่งสมาธิ
โดย napasrun  18 ก.ค. 2560
หัวข้อหมายเลข 29005

ดิฉันเคยไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมตามคำชวนของพี่ที่รู้จักค่ะ เค้าให้เหตุผลว่าเป็นการไปละไปวางความเป็นตัวตน ไปเพื่อจะรู้ประจักษ์แจ้งเห็นจริงว่าตัวตนเรานั้นเป็นเพียงธาตุทึ่ประกอบกันขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดและดับไปเป็นธรรมดาและการศึกษาพระธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เป็นพื้นฐานที่ดีทึ่จะนำเราไปในทิศทางที่ถูกต้อง แต่ก็เป็นเพียงความเข้าใจในระดับหนึ่งเท่านั้น

จากการที่ได้ไปมา ก็ได้รู้การเกิดดับจริงของทุกขเวทนาความเจ็บปวดทางกายว่า จริงๆ แล้วมันเกิดขึ้นและดับไปเป็นภาวะที่บังคับไม่ได้ จะให้หายก็ไม่ได้ สุขเวทนาก็เกิดและก็หายไป จะให้คงอยู่ก็ไม่ได้ ได้พิจารณากายว่าจริงๆ แล้วมันไม่ใช่เราเลย เรานั้นไม่มี แต่รู้ตัวเองว่าลึกๆ เรามีความคาดหวังในการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา อยากให้เกิดอย่างที่เคยเกิดอยากจะรู้ในสิ่งที่เคยรู้

จนกระทั่งได้มาฟังธรรมจากอาจารย์สุจินต์แล้วรู้สึกว่ามีเหตุและผลดี และเป็นความตรงและละเอียดจริงๆ ตั้งแต่เริ่มต้นที่คำว่าธรรมะคืออะไร แต่ติดสงสัยว่าถ้าการฝึกวิปัสสนาโดยการนั่งสมาธิ เดินจงกรมนั้นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์แล้ว คำตรัสที่ว่า "ให้นั่งตัวตรง ดำรงสติให้มั่น หายใจเข้ายาวก็รู้ เข้าสั้นก็รู้ ......" เป็นการฝึกวิปัสสนาโดยการนั่งสมาธิหรือไม่คะ

อีกคำถามคือ พระเถระที่น่ายกย่องเคารพว่าประพฤติปฏิบัติดีงามหลายๆ รูป ท่านก็นั่งสมาธิเป็นการฝึกตนด้วยเช่นกัน จากตรงนี้เลยทำให้ติดข้องในใจอยู่ค่ะ

คำถามสุดท้ายสำหรับคราวนี้คือ การสวดมนต์เพื่อสรรเสริญหรือระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นควรทำหรือไม่เพราะมันจะมีความอยากสวดแฝงอยู่ว่าสวดแล้วดีน่ะค่ะ

ยังมีข้อสงสัยอีกหลายประการแต่คราวนี้ขอรบกวนเท่านี้ก่อนค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ🙏🏻🙏🏻



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 18 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจตั้งแต่คำว่า สมาธิ ว่าสมาธิ คือ อะไร? สมาธิเป็นความตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมหนึ่งที่จะต้องเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท ไม่มีเว้น ดังนั้น ทุกขณะมีสมาธิเกิดแน่นอน แต่ที่น่าพิจารณาคือ ถ้าเกิดกับอกุศล ก็เป็นมิจฉาสมาธิ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดกับกุศล ก็เป็นสัมมาสมาธิ เพราะเป็นความถูกต้อง ในขณะที่เป็นกุศล จะเป็นอกุศลไม่ได้

สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว เป็นเจตสิกประการหนึ่งที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ และก็จะต้องมีสมาธิซึ่งเป็นเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกครั้งทุกขณะ ไม่เว้นเลย ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ ดังนั้น ไม่ว่าจะนั่ง จะยืน จะนอน จะเดิน จึงไม่ปราศจากสมาธิเลย เพราะเกิดกับจิตทุกขณะ

และที่ควรพิจารณาคือ สมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิก เกิดกับอกุศล ก็เป็นอกุศลสมาธิ อกุศลสมาธิ เช่น การนั่งสมาธิ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรประกอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นไปกับด้วยความต้องการ อยากจะสงบ โดยที่ไม่รู้เลยว่า ความสงบ เป็นเรื่องของกุศลธรรม อกุศลสมาธิไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม มีปัญญาเป็นต้น มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้และอกุศลธรรมอื่นๆ ต่อไป

ในสมัยพุทธกาล อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นเพศฆราวาส ไม่ได้ทำอะไรให้ชีวิตผิดปกติ เพราะท่านเข้าใจว่า ธรรม เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน การเจริญอบรมปัญญา ความสงบจึงไม่ต้องไปทำอะไรให้ผิดปกติโดยการนั่งสมาธิ แต่ท่านเข้าใจถูกและอบรมปัญญาในชีวิตประจำวัน และก็ทำกิจการงาน ดังเช่น คฤหัสถ์ในปัจจุบันด้วย ดังเช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่เป็นพ่อค้า และ เป็นอริยสาวก และ อบรมปัญญาเจริญกุศลในชีวิตประจำวัน มีการให้ทาน รักษาศีล อบรมปัญญา โดยไม่ได้ไปปลีกวิเวก หาที่นั่งสงบเลย เพราะ ความสงบ คือ จิตใจที่เป็นกุศลที่เกิดได้ในชีวิตประจำวันเพราะจิตที่ดีสงบ ไม่ได้เลือก

ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องสมาธิ ในสมัยพุทธกาลว่า สมาธิ มี สองอย่าง คือ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ สมาธิใดที่เป็นความตั้งมั่น ที่ไม่ได้หมายถึง จะต้องไปนั่งสมาธิ แต่ขณะแม้เพียงขณะจิตเดียวก็มีสมาธิ แต่เป็นความตั่งมั่น ขณะจิตที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยที่รู้ความจริงที่เป็นวิปัสสนาภาวนา ขณะนั้นก็มีสมาธิด้วย และเป็นสัมมาสมาธิ ที่เป็น สมาธิที่ควรเจริญ

ส่วนการกระทำที่ได้แต่ความนิ่ง ไม่ทำให้เกิดปัญญาความรู้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่าเป็น มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เพราะเกิดกับอกุศลจิต มี โลภะ และโมหะ เป็นต้น คือ มีความต้องการที่จะทำ อยากที่จะสงบ อันเป็นความต้องการที่เป็นโลภะ และขณะที่นิ่งก็ไม่รู้อะไร ขณะนั้นก็มีโมหะเกิดร่วมด้วย พระพุทธเจ้าทรงติเตียนมิจฉาสมาธิว่าไม่ควรเจริญ ครับ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่ามนต์ก่อนครับ เพราะ มนต์ (ภาษาบาลี คือ มนฺต) หมายถึง ปัญญา บางครั้งก็มีคำว่า พุทธมนต์ (พระปัญญาของพระพุทธเจ้า) ด้วย และประการที่สำคัญ คือ มนต์ในทางพระพุทธศาสนา ต้องเป็นพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเท่านั้น เช่น พระสูตร ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ฟัง ไม่ศึกษา ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจเลย

การสวดมนต์จึงไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อขอพร จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะนั่นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้อง ไม่เป็นไปเพื่อละ สละขัดเกลากิเลส เพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องสวดมนต์โดยไม่เข้าใจ และ เพื่อหวังและอ้อนวอนเลย ครับ

ในความเป็นจริงแล้วในสมัยพุทธกาล บุคคลสมัยนั้นต่างก็พูดเป็นภาษาบาลีกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำพูดเมื่อจะกล่าวสรรเสริญใคร ยกย่องบุคคลใด รวมทั้งอธิบายในสิ่งใดให้ผู้อื่นเข้าใจก็ใช้คำบาลี การสวดมนต์ที่ปัจจุบันสวดกันนั้นก็เป็นภาษาบาลี มีการกล่าวยกย่องสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น รวมทั้งเป็นบทพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสูตรต่างๆ ในปัจจุบันก็นำมาสวดกัน เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ การสวดมนต์ก็จะถูกต้อง คือ เป็นไปเพื่อการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 19 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจตั้งแต่คำว่า สมาธิ ว่าสมาธิ คือ อะไร? สมาธิเป็นความตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมหนึ่งที่จะต้องเกิดร่วมกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท ไม่มีเว้น ดังนั้น ทุกขณะมีสมาธิเกิดแน่นอน แต่ที่น่าพิจารณาคือ ถ้าเกิดกับอกุศล ก็เป็นมิจฉาสมาธิ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดกับกุศล ก็เป็นสัมมาสมาธิ เพราะเป็นความถูกต้อง ในขณะที่เป็นกุศล จะเป็นอกุศลไม่ได้

สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว เป็นเจตสิกประการหนึ่งที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ และก็จะต้องมีสมาธิซึ่งเป็นเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกครั้งทุกขณะ ไม่เว้นเลย ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ ดังนั้น ไม่ว่าจะนั่ง จะยืน จะนอน จะเดิน จึงไม่ปราศจากสมาธิเลย เพราะเกิดกับจิตทุกขณะ

และที่ควรพิจารณาคือ สมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิก เกิดกับอกุศล ก็เป็นอกุศลสมาธิ อกุศลสมาธิ เช่น การนั่งสมาธิ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรประกอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นไปกับด้วยความต้องการ อยากจะสงบ โดยที่ไม่รู้เลยว่า ความสงบ เป็นเรื่องของกุศลธรรม อกุศลสมาธิไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม มีปัญญาเป็นต้น มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้และอกุศลธรรมอื่นๆ ต่อไป

ในสมัยพุทธกาล อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นเพศฆราวาส ไม่ได้ทำอะไรให้ชีวิตผิดปกติ เพราะท่านเข้าใจว่า ธรรม เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน การเจริญอบรมปัญญา ความสงบจึงไม่ต้องไปทำอะไรให้ผิดปกติโดยการนั่งสมาธิ แต่ท่านเข้าใจถูกและอบรมปัญญาในชีวิตประจำวัน และก็ทำกิจการงาน ดังเช่น คฤหัสถ์ในปัจจุบันด้วยดังเช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่เป็นพ่อค้า และ เป็นอริยสาวก และ อบรมปัญญาเจริญกุศลในชีวิตประจำวัน มีการให้ทาน รักษาศีล อบรมปัญญา โดยไม่ได้ไปปลีกวิเวก หาที่นั่งสงบเลย เพราะ ความสงบ คือ จิตใจที่เป็นกุศลที่เกิดได้ในชีวิตประจำวันเพราะจิตที่ดีสงบ ไม่ได้เลือก

ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องสมาธิ ในสมัยพุทธกาลว่า สมาธิ มี สองอย่าง คือ สัมมาสมาธิ และ มิจฉาสมาธิ สมาธิใดที่เป็นความตั้งมั่น ที่ไม่ได้หมายถึง จะต้องไปนั่งสมาธิ แต่ขณะแม้เพียงขณะจิตเดียวก็มีสมาธิ แต่เป็นความตั้งมั่น ขณะจิตที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยที่รู้ความจริงที่เป็นวิปัสสนาภาวนา ขณะนั้นก็มีสมาธิด้วย และเป็นสัมมาสมาธิ ที่เป็น สมาธิที่ควรเจริญ

ส่วนการกระทำที่ได้แต่ความนิ่ง ไม่ทำให้เกิดปัญญาความรู้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่าเป็น มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เพราะเกิดกับอกุศลจิต มี โลภะ และโมหะ เป็นต้น คือ มีความต้องการที่จะทำ อยากที่จะสงบ อันเป็นความต้องการที่เป็นโลภะ และขณะที่นิ่งก็ไม่รู้อะไร ขณะนั้นก็มีโมหะเกิดร่วมด้วย พระพุทธเจ้าทรงติเตียนมิจฉาสมาธิว่าไม่ควรเจริญ ครับ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่ามนต์ก่อนครับ เพราะ มนต์ (ภาษาบาลี คือ มนฺต) หมายถึง ปัญญา บางครั้งก็มีคำว่า พุทธมนต์ (พระปัญญาของพระพุทธเจ้า) ด้วย และประการที่สำคัญ คือ มนต์ในทางพระพุทธศาสนา ต้องเป็นพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเท่านั้น เช่น พระสูตร ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ฟัง ไม่ศึกษา ย่อมไม่มีทางที่จะเข้าใจเลย

การสวดมนต์จึงไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อขอพร จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะนั่นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้อง ไม่เป็นไปเพื่อละ สละขัดเกลากิเลสเพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นที่จะต้องสวดมนต์โดยไม่เข้าใจ และ เพื่อหวังและอ้อนวอนเลย ครับ

ในความเป็นจริงแล้วในสมัยพุทธกาล บุคคลสมัยนั้ันต่างก็พูดเป็นภาษาบาลีกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำพูดเมื่อจะกล่าวสรรเสริญใคร ยกย่องบุคคลใด รวมทั้งอธิบายในสิ่งใดให้ผู้อื่นเข้าใจก็ใช้คำบาลี การสวดมนต์ที่ปัจจุบันสวดกันนั้ก็เป็นภาษาบาลี มีการกล่าวยกย่องสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น รวมทั้งเป็นบทพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสูตรต่างๆ ในปัจจุบันก็นำมาสวดกัน เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาพระธรรให้เข้าใจ การสวดมนต์ก็จะถูกต้อง คือ เป็นไปเพื่อการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ครับ ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 19 ก.ค. 2560

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทุกคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด พระบารมีทั้งหมดที่พระองค์ได้สะสมอบรมมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ก็เพื่อที่จะได้ทรงตรัสรู้และทรงแสดงความจริงให้สัตว์โลกได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ก็ขอให้ตั้งต้นที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เมื่อตั้งใจว่าจะศึกษาพระธรรม จริงๆ ก็ต้องตั้งต้นอย่างนี้ เป็นเหมือนผู้ที่ไม่เคยรู้มาก่อน เพื่อที่จะได้รู้ได้เข้าใจถูก เห็นถูก จากการได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จุดประสงค์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง ถ้าไม่เริ่มฟังพระธรรม ย่อมไม่มีทางที่จะมีความเข้าใจถูก เห็นถูกได้เลย

การสวดมนต์ ตลอดจนถึงการไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ เช่น นั่งสมาธิ เป็นต้น ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้และความเห็นผิดให้มากยิ่งขึ้น พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องฟัง ต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ จึงจะเข้าใจพระธรรม ทั้งหมดเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด ซึ่งจะต้องค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ที่สำคัญ คือจะขาดการฟังพระธรรม ไม่ได้เลยทีเดียว การที่ได้ฟังธรรม เข้าใจธรรม น้อมประพฤติตามธรรม นี้แหละคือการบูชาอย่างแท้จริงต่อพระรัตนตรัย แต่ถ้าไปทำอย่างอื่นในสิ่งที่ผิดๆ ไม่ใช่การบูชาเลย เพราะเป็นอกุศล ครับ

...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย p.methanawingmai  วันที่ 19 ก.ค. 2560

สาธุค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย peem  วันที่ 19 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย ประสาน  วันที่ 20 ก.ค. 2560

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 8    โดย วิริยะ  วันที่ 20 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย ํํญาณินทร์  วันที่ 21 ก.ค. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย napasrun  วันที่ 21 ก.ค. 2560

กระจ่างค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย lokiya  วันที่ 15 เม.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ