[เล่มที่ 54] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 482
เถรีคาถา มหานิบาต
สุเมธาเถรีคาถา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 54]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 482
เถรีคาถา มหานิบาต
สุเมธาเถรีคาถา
[๔๗๔] พระสุเมธาเถรี กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานคาถาว่า
ข้าพเจ้าเป็นธิดาของพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกญจะ กรุงมันตาวดี ชื่อว่า สุเมธา อันพระอริยะทั้งหลายผู้ทำตามคำสั่งสอนทำให้เลื่อมใสแล้ว พระนางสุเมธามีศีล กล่าวธรรมได้วิจิตร เป็นพหูสูต ถูกแนะนำในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เข้าเฝ้าพระชนกชนนีกราบทูลว่า ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์ โปรดตั้งพระทัยสดับคำของลูก.
ลูกยินดีอย่างยิ่งในพระนิพพาน ภพถึงแม้ว่าจะเป็นทิพย์ ก็ไม่ยั่งยืน จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้งหลายซึ่งเป็นของว่างเปล่า อร่อยน้อย คับแค้นมาก.
กามทั้งหลายเผ็ดร้อน เปรียบด้วยงูพิษ ที่พวกคนเขลาพากันจมดักดาน คนเขลาเหล่านั้นแออัดกันในนรก ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์เป็นเวลาช้านาน.
พวกคนเขลา ผู้ไม่สำรวมกายวาจาใจ ทำกรรมที่เป็นบาป พอกพูนแต่บาป ย่อมเศร้าโศกในอบายทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 483
คนเขลาเหล่านั้น ไม่มีปัญญา ไม่มีเจตนา ถูกทุกข์และสมุทัยปิดไว้ เมื่อไม่รู้อริยธรรมที่ท่านแสดงก็ไม่ตรัสรู้อริยสัจ.
ทูลกระหม่อมแม่เจ้าขา คนเขลาเหล่าใดเมื่อไม่รู้สัจจะทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้ว ยังชื่นชมภพ กระหยิ่มการเกิดในหมู่เทพทั้งหลาย คนเขลาเหล่านั้นมีจำนวนมากกว่าเพคะ.
เมื่อภพไม่เที่ยง ความเกิดในหมู่เทพทั้งหลายก็ไม่ยั่งยืน พวกคนเขลา ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อคนที่ต้องเกิดบ่อยๆ.
อบาย ๔ สัตว์ทั้งหลายย่อมได้กันสะดวก ส่วนคติ ๒ ได้กันลำบาก, ในนรกของเหล่าสัตว์ที่เข้าถึงอบาย ไม่มีการบวชดอกเพคะ.
ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์ โปรดทรงอนุญาตให้ลูกบวชในธรรมวินัยของพระทศพลเถิดเพคะ ลูกจักขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติและมรณะ.
จะมีประโยชน์อะไร ด้วยโทษคือกายที่ไร้สาระนั้น ซึ่งพวกคนเขลาชื่นชมนักหนา ขอทรงโปรดอนุญาตเถิด ลูกจักบวชเพื่อดับภวตัณหา ความอยากในภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 484
ความอุบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลายลูกได้แล้ว อขณะก็เว้นไปแล้ว ขณะลูกก็ได้แล้ว ลูกจะไม่ประทุษร้ายศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต.
พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า ลูกยังเป็นคฤหัสถ์ จักไม่เสวยอาหาร จักยอมตายเพคะ พระชนนีทรงเป็นทุกข์ ทรงกันแสง พระชนกของพระนางสุเมธานั้น พระอัสสุชลก็นองทั่วทั้งพระพักตร์ ทั้งสองพระองค์ทรงพากเพียรเกลี้ยกล่อมพระนางสุเมธา ซึ่งฟุบลงที่พื้นปราสาทว่า
ลูกเอ๋ย ลุกขึ้นสิ จะเศร้าโศกไปทำไม พ่อยกลูกให้ที่กรุงวารณวดีแล้วนะลูก พระเจ้าอนิกรัตตะทรงงามสง่า พ่อยกลูกถวายพระองค์แล้ว.
ลูกจักเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอนิกรัตตะ ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำได้ยากนะลูกนะ.
อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุข ในราชสมบัติ ทั้งลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคกามเถิด. ลูกจงวิวาหะเสียนะลูกนะ.
พระนางสุเมขากราบทูลพระชนกชนนีนั้นว่า อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ อย่ามีมาเลย เพราะภพหาสาระมิได้ การบวชหรือความตายเท่านั้นจักมีแก่ลูก ลูกไม่ยอมวิวาหะแน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 485
กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาดกลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนึ่งบรรจุซากศพ เป็นด้วยของไม่สะอาด ไหลออกอยู่เป็นนิตย์ อันคนเขลายึดถืออยู่.
ลูกรู้จักซากศพนั้นเป็นเหมือนอะไร เป็นเหมือนของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อและเลือดเป็นที่อยู่ของลูกหลานหนอน เป็นอาหารของแร้งกา ทำไม ทูลกระหม่อมจึงพระราชทานกเฬวรากซากศพ แก่พระราชาพระองค์นั้นเล่าเพคะ.
ไม่ช้าร่างกายที่ปราศจากวิญญาณ อันหมู่ญาติผู้เกลียดทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขาก็พากันนำไปป่าช้า.
บิดามารดาของตนยังเกลียด ครั้นเอาซากศพนั้นไปทิ้งให้เป็นอาหารสัตว์อื่นในป่าช้าแล้ว กลับมาก็ต้องอาบน้ำดำเกล้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่ชนทั่วๆ ไปเล่า.
หมู่ชนยึดถืออยู่ในซากศพที่ไม่มีแก่นสาร เป็นร่างของกระดูกและเอ็น เป็นกายอันเน่า เต็มไปด้วยน้ำลาย น้ำตา และอุจจาระ.
ผู้ใดพึงชำแหละร่างกายนั้นเอาข้างในมาไว้ข้างนอก ก็จะทนกลิ่นเหม็นของร่างกายนั้นไม่ได้ แม้แต่มารดาของตนก็ยังเกลียด.
บัณฑิตทั้งหลาย เลือกเฟ้นโดยอุบายอันแยบคายว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วเป็นทุกข์ที่มีชาติเป็นมูล ทำไมลูกจึงยังจะปรารถนาวิวาหะเล่าเพคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 486
หอก ๓๐๐ เล่ม ใหม่เอี่ยม จะพึงตกต้องที่กายทุกๆ วัน ทิ่มแทงอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ยังประเสริฐกว่าหากว่าความสิ้นทุกข์จะพึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ชนใด รู้คำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างนี้ พึงยอมรับการทิ่มแทง [ดังกล่าว] ยังประเสริฐกว่า เพราะสังสารวัฏฏ์ย่อมยืดยาวสำหรับชนเหล่านั้นซึ่งเดือดร้อนอยู่ร่ำไป.
ในเทวดา มนุษย์ ในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน หมู่อสุรกาย เปรตและสัตว์นรก การทำร้ายกันยังปรากฏอยู่หาประมาณมิได้.
สำหรับสัตว์อยู่ในอบาย ที่กำลังถูกเบียดเบียนยังมีการทำร้ายกันเป็นอันมากในนรก แม้ในเทวดาทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ สุขนอกจากสุขคือพระนิพพานไม่มีเลย.
ชนเหล่าใด ประกอบอยู่ในพระธรรมวินัยของพระทศพล ขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติมรณะ ชนเหล่านั้นก็ถึงพระนิพพาน.
ทูลกระหม่อมพ่อเพคะ วันนี้นี่แหละลูกจักออกบวช ประโยชน์อะไรด้วยโภคะทั้งหลายที่ไม่มีแก่นสาร กามทั้งหลายลูกเบื่อหน่ายแล้ว ลูกทำให้เสมอด้วยรากสุนัข ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 487
ภายหลัง พระนางสุเมธาทรงทราบว่า พระเจ้าอนิกรัตตะเสด็จมา จึงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำสนิทที่รวบไว้ อ่อนสลวย ทรงปิดปราสาท เข้าปฐมฌาน
พระนางสุเมธานั้น เข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น พระเจ้าอนิกรัตตะก็เสด็จถึงพระนคร พระนางสุเมธาทรงเจริญอสุภสัญญาอยู่ในปราสาท.
พระนางสุเมธานั้นกำลังทรงมนสิการ พระเจ้าอนิกรัตตะทรงแต่งพระองค์ด้วยมณีและทอง ก็รีบเสด็จขึ้นปราสาท ทรงประคองอัญชลี ทูลวอนพระนางสุเมธาว่า
อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขในราชสมบัติ ขอมอบถวาย พระน้องนางก็ยังสาวอยู่ขอเชิญบริโภคกามสมบัติ กามสุขหาได้ยากในโลกนะพระน้องนาง.
ราชสมบัติพี่สละให้พระน้องนางแล้ว ขอพระน้องนางโปรดบริโภคโภคะ ถวายทานทั้งหลายเถิด พระน้องนางอย่าทรงเสียพระทัยเลย พระชนกชนนี้ของพระน้องนางทรงเป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 488
เพราะเหตุนั้น พระนางสุเมธา ผู้ไม่ต้องการด้วยกามทั้งหลาย ทรงปราศจากโมหะแล้วจึงทูลพระเจ้าอนิกรัตตะว่าอย่าทรงเพลิดเพลินกามเลย โปรดทรงเห็นโทษในกามทั้งหลายเถิดเพคะ.
พระเจ้ามันธาตุราช เจ้าทวีปทั้ง ๔ ทรงเป็นยอดของผู้บริโภคกามทั้งหลายยังไม่ทันทรงอิ่ม ก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว ความปรารถนาของพระองค์ ก็ยังไม่เต็ม.
เทวดาแห่งฝนพึงหลั่งฝนคือรัตนะ ๗ ลงมาโดยรอบทั้ง ๑๐ ทิศ ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายก็ไม่มี นรชนทั้งหลาย ทั้งที่ยังไม่อิ่มก็พากันตายไป.
กามทั้งหลาย เปรียบด้วยดาบและหลาว เปรียบด้วยหัวงูเห่า เปรียบด้วยคบเพลิง ตามเผาอยู่ เปรียบด้วยร่างกระดูก.
กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก เป็นมูลแห่งทุกข์ มีทุกข์เป็นผลเหมือนก้อนเหล็กที่ร้อนโชน.
กามทั้งหลายเปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เป็นทุกข์ กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝันหลอกลวง เปรียบด้วยของที่ยืมเขามา.
กามทั้งหลาย เปรียบด้วยหอกและหลาวเป็นโรค เป็นฝี เป็นทุกข์ เป็นความลำบาก เสมือนหลุมถ่านเพลิง เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นภัย เป็นเพชฆฆาต [ผู้ฆ่า]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 489
กามทั้งหลายมีทุกข์มากดังกล่าวมานี้ บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่าทำอันตราย เชิญเสด็จกลับไปเสียเถิดหม่อมฉันไม่พิศวาสในความมีโชคของพระองค์ดอกเพคะ.
เมื่อไฟกำลังไหม้ศีรษะของหม่อมฉันอยู่ คนอื่นจะช่วยอะไรหม่อมฉันได้ เมื่อชรามรณะติดตามอยู่ ก็ควรพยายามทำลายชรามรณะนั้นเสีย.
ข้าพระองค์เห็นพระชนกชนนี และพระเจ้าอนิกรัตตะเสด็จยังไม่ทันถึงพระทวาร ก็ประทับนั่งที่พื้นดินทรงพระกันแสง จึงกราบทูลดังนี้ว่า สังสารวัฏฏ์ ย่อมยืดยาวสำหรับ พวกคนเขลา ที่ร้องไห้บ่อยๆ เพราะบิดาตาย พี่ชายถูกฆ่า เพราะตัวเองถูกฆ่า ในสังสารวัฏฏ์ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว.
โปรดทรงระลึกถึงสังสารวัฏฏ์ ที่ประกอบด้วยน้ำตา น้ำนม และน้ำเลือด โดยความเป็นสังสารวัฏฏ์ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ที่ตามไปไม่รู้แล้ว โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกทั้งหลาย ของเหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่.
โปรดทรงระลึกถึงมหาสมุทรทั้ง ๔ ในน้ำตา น้ำนมและน้ำเลือด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมนำมาเปรียบเทียบ โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกทั้งหลายในกัปหนึ่งที่เทียบเท่าภูเขาวิปุลบรรพต.
โปรดระลึกถึงแผ่นดินชมพูทวีป ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบสังสารวัฏฏ์ ของสัตว์ที่ท่อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 490
เที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว แผ่นดินทั้งหลายทำเป็นก้อนขนาดเมล็ดพุทรา ก็มากไม่พอกับจำนวนแม่และยายทั้งหลาย.
โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมนำมาเปรียบเทียบเพราะสังสารวัฏฏ์มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว ท่อนไม้ทั้งหลาย ขนาด ๔ องคุลี ก็มากไม่เท่ากับจำนวนพ่อและปู่ทั้งหลาย.
โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอด และซ่องแอก อันหมุนไปทิศบูรพา และทิศอื่นๆ อีกในมหาสมุทร มาสวมหัวเต่าตาบอดตัวนั้น เปรียบเทียบในการได้อัตภาพเป็นมนุษย์.
โปรดทรงระลึกถึงโทษคือกาย ที่ไม่มีแก่นสารเปรียบด้วยก้อนฟองน้ำ โปรดทรงเห็นขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยง โปรดทรงระลึกถึงนรกทั้งหลาย ที่มีความคับแค้นมาก.
โปรดทรงระลึกถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่พากันทำให้รกป่าช้าในชาตินั้นๆ เรื่อยไป โปรดทรงระลึกถึงภัยคือจระเข้ ความเห็นแก่ปากท้อง โปรดทรงระลึกถึงอริยสัจ ๔.
เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ จะต้องการอะไรด้วยของเผ็ดร้อน ๕ อย่าง ที่พระองค์ทรงดื่มแล้ว เพราะว่าความยินดีกามทุกอย่าง เผ็ดร้อนกว่าของเผ็ดร้อน ๕อย่าง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 491
เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ พระองค์จะทรงต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่เร่าร้อน เพราะความยินดีกามทุกอย่าง อันไฟติดโพลงแล้ว ให้เดือดแล้ว ให้หวั่นไหวแล้ว เผาให้ร้อนแล้ว.
เมื่อเนกขัมมะที่ไม่มีข้าศึกมีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีข้าศึกมาก กามทั้งหลาย มีภัยอยู่ทั่วไปคือราชภัย อัคคีภัย อุทกภัยและอัปปิยภัย [ภัยคือคนร่วมมรดกที่ไม่ถูกกัน] ชื่อว่ามีข้าศึกมาก.
เมื่อโมกขธรรมมีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลาย ที่มีการฆ่าการจองจำเล่า เพราะว่าการฆ่าการจองจำมีอยู่ในกามทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่กาม ย่อมเสวยทุกข์ทั้งหลาย
กามทั้งหลาย เหมือนคบเพลิงที่ลุกโพลง ย่อมไหม้คนถือที่ไม่ยอมปล่อย เพราะว่ากามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง ย่อมจะไหม้คนที่ไม่ยอมปล่อยคบเพลิง.
โปรดอย่าทรงละสุขอันไพบูลย์ เพราะเหตุแห่งกามสุขเล็กน้อยเลย อย่าทรงเป็นดุจปลากลืนเบ็ดแล้วต้องเดือดร้อนภายหลัง.
โปรดอย่าหมุนไปหมุนมาเพราะกามทั้งหลาย ดุจสุนัขถูกล่ามโซ่เลย เพราะกามทั้งหลาย จักทำผู้นั้นให้เป็นเหมือนคนจัณฑาล หิวจัด ได้สุนัขมาก็ทำให้พินาศได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 492
พระองค์ทรงประกอบด้วยกาม จักเสวยทุกข์อันหาประมาณมิได้ และความเสียใจอย่างมาก โปรดทรงสละกามอันไม่ยั่งยืนเสียเถิด.
เมื่อพระนิพพานที่ไม่มีความแก่มีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีความแก่เล่า ชาติทั้งปวง อันมรณะและพยาธิกำกับไว้ในภพทุกภพ.
พระนิพพานนี้ไม่แก่ พระนิพพานนี้ไม่ตาย พระนิพพานนี้เป็นบทอันไม่แก่และไม่ตาย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียน ไม่พลาดไม่น่ากลัวไม่มีความเดือดร้อน.
พระนิพพานนี้ พระอริยะเป็นอันมากบรรลุแล้ว อมตนิพพานนี้ อันผู้พยายามโดยแยบคายควรได้ในวันนี้นี่แหละ แต่ผู้ไม่พยายามหาอาจได้ไม่.
พระนางสุเมธาเมื่อไม่ทรงได้ความยินดีในสังขาร กำลังทรงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตตะ ก็ทรงโยนพระเกศาลงที่พื้นดิน.
พระเจ้าอนิกรัตตะ เสด็จลุกขึ้นประคองอัญชลีทูลวอนพระชนกของพระนางว่า ขอทรงโปรดปล่อยพระนางสุเมธาทรงผนวชเถิด เพราะว่าพระนางทรงเห็นวิโมกข์และสัจจะ
พระนางสุเมธานั้น อันพระชนกชนนีทรงปล่อยแล้ว ทรงกลัวภัยคือความโศก ทรงผนวชแล้ว เมื่อทรงศึกษาผลอันเลิศ ก็ทรงทำให้แจ้งอภิญญา ๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 493
พระนิพพานนั้น อัศจรรย์ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่พระนางสุเมธาราชธิดา พระสุเมธาเถรีได้พยากรณ์ปุพเพนิวาสจริต เหมือนดังที่กล่าวในเวลาปรินิพพานว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะเสด็จอุบัติในโลก เมื่อสร้างสังฆารามเสร็จใหม่ๆ ข้าพเจ้าได้เป็นหญิง ๓ คน เป็นสหายกัน [ธนัญชานีเขมา และข้าพเจ้า] ได้ถวายวิหารทาน.
ข้าพระองค์เกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง๑,๐๐๐ ครั้ง ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการเกิดในมนุษย์ ข้าพเจ้ามีฤทธิ์มากในหมู่เทวดา ไม่จำต้องกล่าวถึงฤทธิ์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเป็นมเหสีนารีรัตน์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีรัตนะ ๗ ประการ
การสร้างอารามถวายสงฆ์ เป็นวิหารทานครั้งนั้นเป็นเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งทิพยสมบัติ ข้อนั้นเป็นมูลเป็นการอดทนต่อการเพ่งธรรมในพระศาสนา เป็นที่รวมบุญครั้งแรก ข้อนั้นเป็นความดับทุกข์ สำหรับข้าพเจ้าผู้ยินดีในธรรม.
ชนเหล่าใด เชื่อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม ชนเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในภพ ครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด ดังนี้.
จบ สุเมธาเถรีคาถา
จบ มหานิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 494
เถรีคาถา มหานิบาต
๑. อรรถกถาสุเมธาเถรีคาถา
ในมหานิบาต คาถาว่า มนฺตาวติยา นคเร เป็นต้น เป็นคาถาของ พระสุเมธาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระเถรีแม้รูปนี้ ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ เพิ่มพูนสัมภารธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์โดยเคารพ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะก็บังเกิดในเรือนสกุล รู้เดียงสาแล้ว ก็มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกันกับเหล่ากุลธิดาสหายของตน ร่วมกันสร้างอารามใหญ่ มอบถวายภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพราะบุญกรรมนั้น เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ นางก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ณ สวรรค์ชั้นนั้น นางก็เสวยทิพยสมบัติจนตลอดอายุ จุติจากนั้นแล้วก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา จุติจากนั้นแล้วก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จากดุสิตสวรรค์ก็มาสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีก็มาสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี นางบังเกิดในสวรรค์กามพจรทั้ง ๕ ชั้นตามลำดับดังกล่าวมาฉะนี้ เป็นมเหสีของท้าวเทวราช [เทวดาเจ้าสวรรค์แต่ละชั้น] ในสวรรค์ชั้นนั้นๆ จุติจากนั้นแล้ว ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็เป็นธิดาของเศรษฐี ผู้มีสมบัติมาก รู้เดียงสาตามลำดับแล้ว ก็เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนาได้กระทำบุญกรรมอันโอฬารเฉพาะพระรัตนตรัย.
ในครั้งนั้น นางอาศัยธรรมหล่อเลี้ยงชีวิต ยินดีมั่นในกุศลธรรม จนตลอดชีวิต จุติจากนั้น แล้วก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 495
อยู่ในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดเป็นธิดาของพระเจ้าโกญจะ กรุงมันตาวดี พระชนกชนนีได้ขนานพระนามพระนางว่าสุเมธา สมัยพระนางเจริญพระชันษา ก็ทรงปรึกษาตกลงกันว่า จักถวายพระนางแด่พระเจ้าอนิกรัตตะ กรุงวารณวดี แต่นับตั้งแต่ยังทรงเป็นทาริกา พระนางพร้อมด้วยราชธิดา ที่มีวัยปูนเดียวกัน และเหล่าทาสี ก็พากันเสด็จไปสำนักภิกษุณี ฟังธรรมในสำนักภิกษุณีแล้ว ก็เกิดสังเวชในสังสารวัฏฏ์ เพราะบำเพ็ญบารมีมาเป็นเวลาช้านาน ทรงเลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา เมื่อทรงเจริญพระชันษา ก็ได้มีพระทัยหันกลับจากกามทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระนางได้สดับการปรึกษาของพระชนกชนนี พระประยูรญาติ จึงตรัสว่า ลูกไม่ประสงค์กิจฆราวาส ลูกจักบวชเพคะ พระชนกชนนีโปรดจะทรงประกอบพระนางไว้ในกิจฆราวาส แม้จะทรงอ้อนวอนโดยประการต่างๆ ก็ไม่สามารถจะทำพระนางให้ทรงยินยอมได้ พระนางทรงดำริว่า เราจะได้การบวชโดยวิธีนี้ แล้วคว้าพระขรรค์ตัดพระเกศาของพระองค์เอง ทรงปรารภพระเกศาเหล่านั้น เริ่มทรงมนสิการการใส่ใจโดยเป็นของปฏิกูล ทรงทำอสุภนิมิตให้เกิดขึ้น ก็บรรลุปฐมฌาน ณ ที่ตรงนั้นเอง เพราะทรงบำเพ็ญบารมีมาแล้วในชาตินั้น และเพราะทรงเคยสดับวิธีมนสิการมาในสำนักภิกษุณี. ก็แลพระนางบรรลุปฐมฌานแล้ว ทรงทำราชสกุลทั้งหมดทั้งอันโตชนและปริวารชน ตั้งต้นแต่พระชนกชนนีผู้ทรงเกลี้ยกล่อมไว้ในกิจฆราวาสด้วยพระองค์เอง ให้พากันเลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา เสด็จออกจากพระราชมณเฑียรไปยังสำนักภิกษุณี ทรงผนวช ครั้นทรงผนวชแล้ว ก็ทรงเริ่มตั้งวิปัสสนา มีพระญาณแก่กล้าโดยชอบโดยแท้ ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ เพราะธรรมทั้งหลายที่ช่วยอบรมบ่มวิมุตติ ทำให้บรรลุคุณวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 496
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ จึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทาน (๑) ว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะทรงอุบัติในโลก เมื่อสังฆารามสร้างเสร็จใหม่ๆ ข้าพเจ้าเป็นชน ๓ คนเป็นสหายกัน ได้ถวายวิหารทาน.ข้าพเจ้าเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ครั้ง ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่ต้องกล่าวถึงการเกิดในมนุษย์
ข้าพเจ้ามีฤทธิ์มากในหมู่เทวดา ไม่จำต้องกล่าวถึงในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเป็นพระมเหสีนารีรัตน์ ของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีรัตนะ ๗ ประการ.
ชน ๓ คน ก็คือ ธนัญชานี เขมาและข้าพเจ้าเป็นผู้สร้างสมกุศลในที่นี้ เป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง.
เราช่วยกันสร้างพระอารามเป็นอันดี ประดับด้วยทัพสัมภาระครบถ้วน มอบถวายแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พากันบันเทิงใจแล้ว.
ข้าพเจ้าเกิดในที่ไรๆ ด้วยอำนาจบุญกรรมนั้นก็เป็นเลิศทั้งในเทวดา ทั้งในมนุษย์.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะโดยพระโคตร ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ ผู้มียศมาก เป็นยอดของเหล่าศาสดา ทรงอุบัติแล้วในกัปนี้นี่แล.
พระเจ้ากาสี พระนามว่ากิกี ครองราชย์ ณ กรุงพาราณสีราชธานี ได้ทรงเป็นพระอุปฐากของพระกัสสปพุทธเจ้า ในครั้งนั้น.
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๔๑ สุเมธาเถรีอปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 497
ท้าวเธอมีพระราชธิดา ๗ พระองค์ พระราชธิดาเหล่านั้นเสวยสุข ยินดีในการบำรุงพระพุทธเจ้า พากันประพฤติพรหมจรรย์.
ข้าพเจ้าเป็นสหายของพระราชธิดาเหล่านั้น ตั้งอยู่ในศีล ถวายทานทั้งหลายด้วยความเคารพ ประพฤติวัตรถูกต้องในการครองเรือน.
ด้วยกรรมที่ทำมาดีและด้วยการตั้งมั่นชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุติจากดาวดึงส์ ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นยามา จากชั้นยามา ก็เข้าถึงชั้นดุสิต จากดุสิต ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี จากนิมมานรดี ก็เข้าถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.
ข้าพเจ้าพรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม เกิดในภพใดๆ ก็ครองความเป็นอัครมเหสี ของพระราชาทั้งหลายในภพนั้นๆ จุติจากภพนั้นๆ แล้ว ในอัตภาพเป็นมนุษย์ ก็ครองความเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ และของพระเจ้ามณฑลประเทศ.
ข้าพเจ้าเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ มีสุขในภพทุกภพ ท่องเที่ยวไปในชาติเป็นอันมาก.
นั้นเป็นเหตุ นั้นเป็นแดนเกิด นั้นเป็นมูล นั้นเป็นความอดทนในการเพ่งธรรมในพระศาสนา นั้นเป็นที่รวมบุญครั้งแรก นั้นเป็นความดับทุกข์สำหรับข้าพเจ้าผู้ยินดีในธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 498
กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทั้งหมดข้าพเจ้าก็ถอนแล้ว ข้าพเจ้าตัดเครื่องล่ามดังพระยาคชสารตัดเครื่องผูกฉะนั้น ไม่มีอาสวะอยู่.
ข้าพเจ้ามาดีแล้ว ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด วิชชา ๓ ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.
ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระสุเมธาเถรีพิจารณาทบทวน ข้อปฏิบัติประวัติความเป็นมาของตน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า
ข้าพเจ้าเป็นธิดาของพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกญจะกรุงมันตาวดี ชื่อว่าสุเมธา อันพระอริยะทั้งหลายผู้ทำตามคำสั่งสอนทำให้เลื่อมใสแล้ว พระนางสุเมธามีศีล กล่าวธรรมได้วิจิตร เป็นพหูสูต ถูกแนะนำในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เข้าเฝ้าพระชนกชนนีแล้ว กราบทูลให้ทั้งสองพระองค์โปรดตั้งพระทัยสดับคำของตนว่า
ลูกยินดีอย่างยิ่งในพระนิพพาน ภพถึงแม้ว่าจะเป็นทิพย์ ก็ไม่ยั่งยืน จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้งหลาย ซึ่งเป็นของว่างเปล่า อร่อยน้อย คับแค้นมาก
กามทั้งหลาย เผ็ดร้อน เปรียบด้วยงูพิษ ที่พวกคนเขลาพากันจมดักดาน คนเขลาเหล่านั้น แออัดกันในนรก ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์เป็นเวลาช้านาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 499
พวกคนเขลา ผู้ไม่สำรวมกายวาจาใจ ทำกรรมที่เป็นบาป พอกพูนแต่บาป ย่อมเศร้าโศกในอบายทุกเมื่อ.
คนเขลาเหล่านั้น ไม่มีปัญญา ไม่มีเจตนา ถูกทุกขสมุทัยปิดไว้ เมื่อไม่รู้อริยธรรมที่ท่านแสดง ก็ไม่ตรัสรู้อริยสัจ.
ทูลกระหม่อมแม่เพคะ คนเขลาเหล่าใด เมื่อไม่รู้สัจจะทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้ว ยังชื่นชมภพ กระหยิ่มการเกิดในหมู่เทพทั้งหลาย คนเขลาเหล่านั้น มีจำนวนมากกว่าเพคะ.
เมื่อภพไม่เที่ยง ความเกิดในหมู่เทพทั้งหลายก็ไม่ยั่งยืน พวกคนเขลา ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อคนที่ต้องเกิดบ่อยๆ.
อบาย ๔ สัตว์ทั้งหลายย่อมได้กันสะดวก ส่วนคติ ๒ ได้กันลำบาก ในนรกของเหล่าสัตว์ที่เข้าถึงอบาย ไม่มีการบวชดอกเพคะ.
ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์ โปรดทรงอนุญาตให้ลูกบวชในธรรมวินัยของพระทศพลเถิด ลูกจักขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติและมรณะ.
จะมีประโยชน์อะไรด้วยโทษคือกายที่ไร้สาระในภพ ซึ่งพวกคนเขลาชื่นชมนักหนา ขอทรงโปรดอนุญาตเถิด ลูกจักบวชเพื่อดับภวตัณหา ความอยากในภพ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 500
ความอุบัติของพระพุทธะทั้งหลาย ลูกได้แล้ว อขณะก็เว้นไปแล้ว ขณะลูกก็ได้แล้ว ลูกจะไม่ประทุษร้าย ศีลและพรหมจรรย์ตลอดชีวิต.
พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า ลูกยังเป็นคฤหัสถ์ จักไม่เสวยอาหาร จักยอมตายเพคะ
พระชนนีเป็นทุกข์ทรงกันแสง พระชนกของพระนางสุเมธานั้น พระอัสสุชลก็นองทั่วทั้งพระพักตร์ ทั้งสองพระองค์ทรงพากเพียรเกลี้ยกล่อมพระนางสุเมธา ซึ่งฟุบลงที่พื้นปราสาทว่า.
ลูกเอ๋ยลุกขึ้นเถิด จะเศร้าโศกไปทำไม พ่อยกลูกให้ที่กรุงวารณวดีแล้วนะ พระเจ้าอันกรัตตะทรงงามสง่า พ่อยกลูกถวายพระองค์แล้ว.
ลูกจักเป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าอันกรัตตะ ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำได้ยากนะลูกนะ.
อำนาจ ทรัพย์ ความเป็นใหญ่ โภคะ สุขในราชสมบัติ ทั้งลูกก็ยังเป็นสาว จงบริโภคถามเถิด ลูกจงวิวาหะเสียเถิด นะลูกนะ.
พระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีนั้นว่า อำนาจเป็นต้นเช่นนี้ อย่ามีมาเลย เพราะภพหาสาระมิได้ การบวชหรือความตายเท่านั้นจักมีแก่ลูก ลูกไม่ยอมวิวาหะแน่แท้.
กายอันเน่าเหมือนหนอน ไม่สะอาด กลิ่นเหม็นคลุ้งไป น่าสะพรึงกลัว ดุจถุงหนังบรรจุซากศพ เต็ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 501
ด้วยของไม่สะอาด ไหลออกอยู่เป็นนิตย์ อันคนเขลายึดถืออยู่.
ลูกรู้จักซากศพนั้นเป็นเหมือนอะไร เป็นเหมือนของปฏิกูล ฉาบด้วยเนื้อและเลือด เป็นที่อยู่ของลูกหลานหนอน เป็นอาหารของแร้งกา ทำไมทูลกระ-หม่อมจึงพระราชทานกเฬวระซากศพ แก่พระราชาพระองค์นั้นเล่า.
ไม่ช้า ร่างกาย ที่ปราศจากวิญญาณอันหมู่ญาติผู้เกลียดทอดทิ้งไปเหมือนท่อนไม้ เขาก็นำไปป่าช้า.
บิดามารดาของตนยังเกลียด ครั้นเอาซากศพนั้นไปทิ้งให้เป็นอาหารสัตว์อื่นในป่าช้าแล้ว กลับมาก็ต้องอาบน้ำดำเกล้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่ชนทั่วๆ ไปเล่า.
หมู่ชน ยึดถืออยู่ในซากศพที่ไม่มีแก่นสาร เป็นร่างของกระดูกและเอ็น เป็นกายอันเน่าเต็มไปด้วยน้ำน้ำตา และอุจจาระ.
ผู้ใด พึงชำแหละร่างกายนั้น เอาข้างในมาไว้ข้างนอก ก็จะทนกลิ่นเหม็นของร่างกายนั้นไม่ได้ แม้แต่มารดาของตน ก็ยังเกลียด.
บัณฑิตทั้งหลาย เลือกเฟ้นโดยอุบายแยบคายว่าขันธ์ ธาตุ อายตนะ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วเป็นทุกข์ที่มีชาติเป็นมูล ทำไมลูกยังจะปรารถนาวิวาหะเล่าเพคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 502
หอก ๓๐๐ เล่ม ใหม่เอี่ยม จะพึงตกต้องที่กายทุกๆ วัน ทิ่มแทงอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ยังประเสริฐกว่าหากว่าความสิ้นทุกข์ จะพึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้
ชนใดรู้คำสั่งสอนของพระศาสดาอย่างนี้ พึงยอมรับการทิ่มแทง [ดังกล่าว] สังสารวัฏฏ์ ย่อมยืดยาว สำหรับชนเหล่านั้น ซึ่งเดือดร้อนอยู่ร่ำไป.
ในเทวดา มนุษย์ ในกำเนิดสัตว์เดียรฉาน หมู่อสุรกาย เปรต และนรก การทำร้ายกันยังปรากฏอยู่หาประมาณมิได้.
สำหรับสัตว์อยู่ในอบายที่กำลังถูกเบียดเบียน ยังมีการทำร้ายกันเป็นอันมากในนรก แม้ในเทวดาทั้งหลาย ก็ช่วยไม่ได้ สุขนอกจากสุขคือพระนิพพานไม่มีเลย.
ชนเหล่าใด ประกอบอยู่ในธรรมวินัยของพระทศพล ขวนขวายน้อย พากเพียรเพื่อละชาติมรณะชนเหล่านั้น ก็ถึงพระนิพพาน.
ทูลกระหม่อมพ่อเพคะ วันนี้นี่แหละลูกจักออกบวช ประโยชน์อะไรด้วยโภคะทั้งหลายที่ไม่มีแก่นสาร กามทั้งหลายลูกเบื่อหน่ายแล้ว ลูกทำให้เสมอด้วยของที่คายแล้ว [รากสุนัข] ให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว.
พระนางสุเมธานั้น กราบทูลพระชนกอย่างนี้พระเจ้าอนิกรัตตะ ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระนางสุเมธานั้น ทรงแวดล้อมด้วยราชบริพารหนุ่ม ก็เสด็จเข้าสู่วิวาหะเมื่อเวลากระชั้นชิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 503
ภายหลัง พระนางสุเมธาทรงทราบว่าพระเจ้าอนิกรัตตะเสด็จมา จึงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศาอันดำสนิทที่รวบไว้ อ่อนสลวย ทรงปิดปราสาทเข้าปฐมฌาน.
พระนางสุเมธานั้นเข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น พระเจ้าอนิกรัตตะก็เสด็จถึงพระนคร พระนางสุเมธาทรงเจริญอสุภสัญญาอยู่ในปราสาท.
พระนางสุเมธานั้น กำลังมนสิการ พระเจ้าอนิกรัตตะทรงแต่งพระองค์ด้วยมณีและทอง ก็รีบเสด็จขึ้นปราสาท ทรงประคองอัญชลี ทูลวอนพระนางสุเมธาว่า
อำนาจ ทรัพย์ อิสริยะ โภคะ สุข ในราชสมบัติขอมอบถวาย พระน้องนางก็ยังสาวอยู่ ขอเชิญบริโภคกามสมบัติ กามสุขหาได้ยากในโลกนะพระน้องนาง.
ราชสมบัติพี่สละให้พระน้องนางแล้ว ขอพระน้องนางโปรดบริโภคโภคะ ถวายทานทั้งหลายเถิด พระน้องนางอย่าเสียพระทัยเลย พระชนกชนนีของพระน้องนางทรงเป็นทุกข์.
เพราะเหตุนั้น พระนางสุเมธา ผู้ไม่ต้องการด้วยกามทั้งหลายทรงปราศจากโมหะแล้ว จึงทูลพระเจ้าอนิกรัตตะว่า อย่าทรงเพลิดเพลินกามเลย โปรดทรงเห็นโทษในกามทั้งหลายเถิดเพคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 504
พระเจ้ามันธาตุราช เจ้าทวีปทั้ง ๔ ทรงเป็นยอดของผู้บริโภคกามทั้งหลาย ยังไม่ทันทรงอิ่ม ก็เสด็จสวรรคตไปแล้ว ความปรารถนาของข้าพเจ้าก็ยังไม่เต็ม.
เทวดาแห่งฝนพึงหลั่งรัตนะ ๗ ประการให้ตกลงมา โดยรอบทั้ง ๑๐ ทิศ ความอิ่มด้วยกามทั้งหลายก็ไม่มี นรชนทั้งหลายทั้งที่ยังไม่อิ่ม ก็พากันตายไป.กามทั้งหลาย เปรียบด้วยดาบและหลาว เปรียบด้วยหัวงูเห่า เปรียบด้วยคบเพลิง ตามเผาอยู่ เปรียบด้วยร่างกระดูก.
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก เป็นมูลแห่งทุกข์ มีทุกข์เป็นผล เหมือนก้อนเหล็ก ที่ร้อนโชน.
กามทั้งหลาย เปรียบด้วยผลไม้ เปรียบด้วยชิ้นเนื้อเป็นทุกข์ กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน หลอกลวง เปรียบด้วยของที่ขอยืมเขามา.
กามทั้งหลาย เปรียบด้วยหอกหลาว เป็นหัวฝี เป็นทุกข์ เป็นความลำบาก เสมือนหลุมถ่านเพลิง เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นภัย เป็นเพชฌฆาต [ผู้ฆ่า]
กามทั้งหลาย มีทุกข์มากดังกล่าวมานี้ บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทำอันตราย เชิญเสด็จกลับไปเสียเถิด หม่อมฉันไม่พิศวาสในความมีโชคของพระองค์ดอกเพคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 505
เมื่อไฟกำลังไหม้ศีรษะของหม่อมฉันอยู่ คนอื่นจะช่วยอะไรหม่อนฉันได้ เมื่อชราและมรณะติดตามอยู่ ก็ควรที่จะพยายามทำลายชรามรณะนั้นเสีย.
ข้าพเจ้า เห็นพระชนกชนนี และพระเจ้าอนิกรัตตะเสด็จยังไม่ทันถึงพระทวาร ก็ประทับนั่งที่พื้นดิน ทรงพระกันแสง จึงกราบทูลดังนี้ว่า สังสารวัฏฏ์ยืดยาว สำหรับเหล่าคนเขลาที่ร้องไห้บ่อยๆ เพราะบิดาตาย พี่ชายถูกฆ่า เพราะตัวเองถูกฆ่า ในสังสารวัฏฏ์ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ตามไปไม่รู้แล้ว.
โปรดทรงระลึกถึงสังสารวัฏฏ์ ที่ประกอบด้วยน้ำตา น้ำนม และนำเลือด โดยความเป็นสังสารวัฏฏ์ที่เงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกทั้งหลายของเหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่
โปรดทรงระลึกถึงมหาสมุทรทั้ง ๔ ในน้ำตา น้ำนม และนำเลือด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมนำมาเปรียบเทียบ โปรดทรงระลึกถึงกองกระดูกในกัปหนึ่ง ที่เทียบเท่ากับภูเขาวิปุลบรรพต.
โปรดทรงระลึกถึงแผ่นดินชมพูทวีป ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบสังสารวัฏฏ์ ของสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ แผ่นดินทั้งหลายทำเป็นก้อนขนาดเมล็ดพุทรา ก็มากไม่พอกับจำนวนแม่และยายทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 506
โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบ เพราะสังสารวัฏฏ์มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายที่ตามไปไม่รู้แล้ว ท่อนไม้ทั้งหลายมีขนาด ๔ องคุลี ก็มากไม่เท่ากับจำนวนบิดาและปู่ทั้งหลาย.
โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอด และช่องแอก อันหมุนไปทิศบูรพา และทิศอื่นๆ อีกในมหาสมุทร มาสวมหัวเต่าตาบอดตัวนั้น เปรียบเทียบในการได้อัตภาพเป็นมนุษย์.
โปรดทรงระลึกถึงโทษคือกาย ที่ไม่มีแก่นสารเปรียบด้วยก้อนฟองน้ำ โปรดเห็นขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยง โปรดทรงระลึกถึงนรกทั้งหลาย ที่มีความคับแค้นมาก.
โปรดทรงระลึกถึงสัตว์ทั้งหลาย ที่พากันทำให้รกป่าช้า ในชาตินั้นๆ เรื่อยไป โปรดทรงระลึกถึงภัยคือจระเข้ ความเห็นแก่ปากท้อง โปรดทรงระลึกถึงอริยสัจ ๔.
เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ จะต้องการอะไรด้วยของเผ็ดร้อน ๕ อย่าง ที่พระองค์ทรงดื่มแล้ว เพราะว่าความยินดีกามทุกอย่าง เผ็ดร้อนกว่าของเผ็ดร้อน ๕อย่าง.
เมื่ออมตนิพพานมีอยู่ พระองค์จะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่เร่าร้อน เพราะว่าความยินดีกามทุก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 507
อย่าง อันไฟติดโพลงแล้ว ให้เดือดแล้ว ให้หวั่นไหวแล้ว เผาให้ร้อนแล้ว.
เมื่อเนกขัมมะที่ไม่มีข้าศึกมีอยู่ พระองค์จะทรงต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลายที่มีข้าศึกมาก กามทั้งหลายมีภัยทั่วไป คือ โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัยและอัปปิยภัย [ภัยคือคนร่วมมรดกที่ไม่ถูกกัน] ชื่อว่ามีข้าศึกมาก.
เมื่อโมกขธรรมมีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งมีการฆ่าและการจองจำเล่า เพราะว่าการฆ่าการจองจำมีอยู่ในกามทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่กามย่อมเสวยทุกข์ทั้งหลาย.
กามทั้งหลายเหมือนคบเพลิงที่ลุกโพลง ย่อมไหม้คนถือที่ไม่ยอมปล่อย เพราะว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิง ย่อมจะไหม้คนที่ไม่ยอมปล่อยคบเพลิง.
โปรดอย่าทรงละสุขอันไพบูลย์ เพราะเทตุแห่งกามสุขอันเล็กน้อยเลย อย่าทรงเป็นดุจปลากลืนเบ็ดแล้วต้องเดือดร้อนกายหลัง.
โปรดอย่าหมุนไปหมุนมาเพราะกามทั้งหลาย ดุจสุนัขถูกล่ามโซ่เลย เพราะว่ากามทั้งหลายจักทำผู้นั้นให้เป็นเหมือนจัณฑาล หิวจัด ได้สุนัขก็ทำให้พินาศได้
พระองค์ทรงประกอบด้วยกาม จักเสวยทุกข์อันหาประมาณมิได้ และความเสียใจอย่างมาก โปรดทรงสละกามอันไม่ยั่งยืนเสียเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 508
เมื่อพระนิพพานที่ไม่มีความแก่มีอยู่ พระองค์ยังจะต้องการอะไรด้วยกามทั้งหลาย ที่มีความแก่เล่าชาติทั้งปวง อันมรณะและพยาธิกำกับไว้ ในภพทุกภพ.
ระนิพพานนี้ไม่แก่ พระนิพพานนี้ไม่ตายพระนิพพานนี้เป็นบทอันไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีความเศร้าโศก ไม่ถูกข้าศึกเบียดเบียน ไม่พลาด ไม่น่ากลัวไม่มีความเดือดร้อน.
พระนิพพานนี้ พระอริยะเป็นอันมากบรรลุแล้วอมตนิพพานนี้ อันผู้พยายามโดยแยบคาย ควรได้ในวันนี้นี่แหละ แต่ผู้ไม่พยายามหาอาจได้ไม่.
พระนางสุเมธา เมื่อไม่ทรงได้ความยินดีในสัง-ขาร กำลังทรงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตตะ พระนางสุเมธาก็ทรงเหวี่ยงพระเกศาลงที่พื้นดิน.
พระเจ้าอนิกรัตตะ เสด็จลุกขึ้นประคองอัญชลีทูลวอนพระชนกของพระนางว่า ขอทรงโปรดปล่อยทรงนางสุเมธาให้ทรงผนวชเถิด พระนางทรงเห็นวิโมกข์และสัจจะ.
พระนางสุเมธานั้น อันพระชนกชนนีทรงปล่อยแล้ว ทรงกลัวภัยคือความโศกทรงผนวชแล้ว เมื่อทรงศึกษาผลอันเลิศ ก็ทรงทำให้แจ้งอภิญญา ๖.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 509
พระนิพพานนั้น อัศจรรย์ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่พระนางสุเมธาราชธิดา พระสุเมธาเถรี ได้พยากรณ์ปุพเพนิวาสจริต เหมือนในเวลาสุดท้ายคือเวลาปรินิพพานว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะเสด็จอุบัติในโลก เมื่อสร้างสังฆารามเสร็จใหม่ๆ ข้าพเจ้าเป็นหญิง ๓ คนเป็นสหายกัน [ธนัญชานี เขมา และข้าพเจ้า ได้ถวายวิหารทาน.
ข้าพเจ้าเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้น ๑,๐๐๐ครั้ง ๑๐,๐๐๐ ครั้ง ไม่จำต้องกล่าวในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้ามีฤทธิ์มากในเทวดา ไม่จำต้องกล่าวในหมู่มนุษย์ข้าพเจ้าเป็นมเหสีนารีรัตน์ ของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีรัตนะ ๗ ประการ.
การสร้างอารามถวายสงฆ์เป็นวิหารทานครั้งนั้นเป็นเหตุ เป็นแดนเกิดแห่งทิพยสมบัติ ข้อนั้นเป็นมูลเป็นการอดทนเพ่งธรรมในพระศาสนา เป็นที่รวมบุญครั้งแรก ข้อนั้นเป็นความดับทุกข์ สำหรับข้าพเจ้าผู้ยินดีในธรรม.
ชนเหล่าใดเชื่อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระบัญญัติไม่ทราม ชนเหล่านั้นย่อมกล่าวอย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายในภพ ครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 510
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนฺตาวติยา นคเร ได้แก่ นครมีซึ่งอย่างนี้ว่า มันตวดี. บทว่า รญฺโญ โกญฺจสฺส ความว่า ได้เป็นราชธิดาเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระนามว่าโกญจะ. บทว่าสุเมธา ได้แก่ พระนางสุเมธาโดยพระนาม. บทว่า ปสาทิตา สาสนกเรหิ ความว่า อันพระอริยะทั้งหลาย ผู้กระทำตามคำสั่งสอนพระศาสดา ทำให้เลื่อมใสในคำสั่งสอน คือทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้ว.
บทว่า สีลวตี ได้แก่ พรั่งพร้อมด้วยอาจาระมารยาทและศีล. บทว่าจิตฺตกถา ได้แก่ ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร. บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการสดับพระปริยัติธรรม ในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย. บทว่าพุทฺธสาสเน วินีตา ได้แก่ ถูกแนะนำ คือมีกายวาจาจิตสำรวมแล้ว ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะกิเลสทั้งหลายกลับไปแล้ว โดยตทังคปหานตาม โยนิโสมนสิการซึ่งดำเนินตามพระสูตรว่า อย่างนี้ ปวัตติ ความเป็นไป, อย่างนี้ นิวัตติ ความกลับไป, อย่างนี้ ศีล, อย่างนี้ สมาธิ, อย่างนี้ปัญญา. บทว่า อุภโย นิสาเมถ ความว่า ขอพระชนกชนนีทั้งสองพระองค์โปรดตั้งพระทัยสดับคำของลูก ประกอบความว่า พระนางสุเมธาเข้าไปเฝ้าพระชนกชนนีแล้วตรัส.
บทว่า ยทิปิ ทิพฺพํ ความว่า ขึ้นชื่อว่าภพ แม้เนื่องด้วยเทวโลกหมดสิ้นล้วนไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปวนไปเป็นธรรมดา.บทว่า กิมงฺคํ ปน ตุจฺฉา กามา ความว่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงกามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์ กามเหล่านั้นแม้ทุกอย่าง ชื่อว่าว่างเปล่า เพราะไม่เป็นแก่นสาร ชื่อว่ามีรสอร่อยน้อย เหมือนหยาดน้ำผึ้งที่คมมีด ชื่อว่ามีความดับแค้นมาก เพราะมีทุกข์อย่างไพศาลทั้งปัจจุบันทั้งอนาคต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 511
บทว่า กฏุกา ได้แก่ ไม่น่าปรารถนา กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบด้วยงูพิษ เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้า. บทว่า มุจฺฉิตา แปลว่า หมกมุ่นแล้ว. บทว่า สมปฺปิตา ได้แก่ ติดแน่น ฟุ้งไป อธิบายว่า เกิดขึ้นแล้ว โดยประการทั้งปวงด้วยกรรมของตน. บทว่า หญฺญนฺเต ได้แก่ ถูกเบียดเบียน. บทว่า วินิปาเต ได้แก่ ในอบาย.
บทว่า อเจตนา ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีใจ เพราะไม่มีเจตนาทำประโยชน์เกื้อกูลสำหรับตน. บทว่า ทุกฺขสมุทโย รุทฺธา ได้แก่ ถูกปิดแล้วในสังสารวัฏฏ์ที่มีตัณหาเป็นนิมิต. บทว่า เทเสนฺเต ได้แก่ ธรรมอริยสัจ ๔ ที่ท่านแสดงอยู่. บทว่า อชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้ความ. บทว่า น พุชฺฌเรอริยสจฺจานิ ได้แก่ ไม่ตรัสรู้อริยสัจ มีทุกข์เป็นต้น.
ด้วยบทว่า อมฺม พระนางสุเมธาตรัสเรียกพระชนนีเป็นสำคัญ. บทว่า เต พหุตรา อชานนฺตา ประกอบความว่า ชนเหล่าใดเมื่อไม่รู้สัจจะที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้ว ย่อมชื่นชมภพ กระหยิ่มความเกิดในเทวดาทั้งหลาย ชนเหล่านั้นนั่นแหละมีจำนวนมากกว่าในโลกนี้.
บทว่า ภวคเต อนิจฺจมฺหิ ความว่า เมื่อภพทุกภพไม่เที่ยง ความเกิดในเทวโลกทั้งหลายก็ไม่เที่ยง เมื่อเป็นดังนั้น คนเขลาทั้งหลายก็ยังไม่หวาดไม่สะดุ้งไม่สลดใจ. บทว่า ปุนปฺปุนํ ชายิตพฺพสฺส ได้แก่ ผู้เกิดในภพต่อๆ ไป.
บทว่า จตฺตาโร วินิปาตา ได้แก่ คติที่ชื่อว่าวินิบาต เพราะก่อตั้งสภาพทั้ง ๔ ได้ง่าย คือนรก กำเนิดเดียรฉาน เปรตวิสัย กำเนิดอสูร ส่วนคติ ๒ ที่เข้าใจกันว่า การเกิดในมนุษย์และเทวดา สัตว์ได้มาทุลักทุเลคือยากลำบาก เพราะบุญกรรมเป็นของที่สัตว์ทำได้ยาก. บทว่า นิรเยสุได้แก่ อบายที่เว้นขาดจากสุข.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 512
บทว่า อปฺโปสฺสุกฺกา ได้แก่ ไม่มีความขวนขวายในกิจอย่างอื่น.บทว่า ฆฏิสฺสํ ประกอบความว่า ประโยชน์อะไรด้วยโทษ คือกายที่ไม่มีแก่นสารในภพ ซึ่งสัตว์ชื่นชมกันนักหนา ลูกจักพยายาม จักประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนา.
บทว่า ภวตณฺหาย นิโรธา ได้แก่ เพราะเหตุดับ คือเพื่อดับตัณหาที่ไปในภพ [ภวตัณหา].
ประกอบความว่า ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธะทั้งหลาย ลูกได้แล้วอขณะ ๘ อย่างมีการเกิดในนรกเป็นต้น ก็เว้นไปแล้ว ขณะที่ ๙ ชื่อว่าขณะลูกก็ได้แล้ว. บทว่า สีลานิ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔. บทว่า พฺรหฺมจริยํได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์. บทว่า น ทูเสยฺยํ ได้แก่ ไม่ทำให้กำเริบ.
บทว่า น ตาว อาหารํ อาหริสฺสํ คหฏฺฐา ประกอบความว่าพระนางสุเมธากราบทูลพระชนกชนนีอย่างนี้ว่า ก่อนอื่น ลูกเป็นคฤหัสถ์ก็จักไม่แตะต้องอาหาร ถ้าลูกไม่ได้บวช ก็จักผอมตายอย่างเดียวเพคะ.
บทว่า อสฺสา ได้แก่พระนางสุเมธา. บทว่า สพพฺโส สมภิหโตแปลว่า ทั่วพระพักตร์นองด้วยพระอัสสุชล. บทว่า ฆเฏนฺติ สญฺญาเปตุํความว่า พระชนกชนนี ทรงพากเพียรพยายามที่จะให้พระนางสุเมธา ซึ่งฟุบลงที่พื้นดิน ณ พื้นปราสาท. ยินยอมเป็นคฤหัสถ์. บาลีว่า ฆเฏนฺติ วายมนฺติ ก็มี ความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า กึ โสจิเตน ได้แก่ ประโยชน์อะไรด้วยความเศร้าโศกว่าเราไม่ได้บวช. บทว่า ทินฺนาสิ วารณวติมฺหิ แปลว่า [ลูก] พ่อได้ถวายไว้ที่วารณวดีนครแล้ว พระเจ้าโกญจะตรัสว่า พ่อได้ถวายแล้ว แล้วตรัสอีกว่า ลูกพ่อ ถวายแล้ว ก็เพื่อทรงแสดงอย่างหนักแน่นว่า ทรงมอบถวายพระเจ้าอนิกรัตตะแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 513
บทว่า รชฺเช อาณา ความว่า ลูกก็ย่อมจะใช้อำนาจในราชสมบัติพระเจ้าอนิกรัตตะได้. บทว่า ธนมิสฺสริยํ ได้แก่ พระราชทรัพย์และความเป็นใหญ่ ในราชตระกูลนี้ และในราชตระกูลพระราชสวามี. บทว่า โภคาสุขา อติวิย อิฏฺฐา โภคา ได้แก่ สิ่งนี้ทั้งหมดปรากฏตกอยู่ในพระหัตถ์ของลูกแล้ว. บทว่า ทหริกาสิ ได้แก่ ลูกก็ยังเป็นสาว เพราะฉะนั้น ขอลูกจงบริโภคกามสมบัติเถิด. ประกอบความว่า ลูกเอ๋ย ด้วยเหตุนั้น พ่อจึงข้อร้องลูกนะลูกนะ.
บทว่า เน ได้แก่พระชนกชนนี. บทว่า ม เอทิสิกานิ ความว่าอำนาจเป็นต้นในราชสมบัติเห็นปานนี้ จงอย่ามีมาเลย ถ้าจะถามว่าเพราะเหตุไร พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า ภพไม่มีแก่นสาร.
บทว่า กิมิว แปลว่า. เหมือนหนอน. บทว่า ปูติกายํ ได้แก่ซากศพที่เน่านี้. บทว่า สวนคนฺธํ ได้แก่ ที่กลิ่นเหม็นคลุ้งไป บทว่า ภยานกํ ได้แก่ นำมาซึ่งภัย สำหรับเหล่าคนเขลาที่ยังไม่ปราศจากราคะ บทว่า กุณปํ อภิสํวิเสยฺยํ ภสฺตํ ได้แก่ ถุงหนังที่เต็มด้วยซากศพ เต็มด้วยของไม่สะอาด ไหลออกมิใช่คราวเดียว คือเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ไหลออกอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ อันบุคคลยึดถือว่า นี้ของเรา.
ลูกรู้จักซากศพนั้นเหมือนหนอน. บทว่า วิกูลกํ ได้แก่ ปฏิกูลเหลือเกิน อันชิ้นเนื้อที่ไม่สะอาดและเลือดฉาบไว้ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายหมู่เป็นเหยื่อของฝูงแร้งกา. บาลีว่า กิมิกุลาลสกุณภติตํ ก็มี. ความว่า เป็นเหยื่อของหมู่หนอนและฝูกนกนอกนั้น. พระนางสุเมธาทรงแสดงว่า ลูกยืนหยัดรู้จักซากศพนั้น บัดนี้ ทูลกระหม่อมพระราชทานลูกนั้นแก่พระเจ้าอนิกรัตตะนั้น โดยทรงขอร้องทำไม คือเพราะเหตุชื่อไร ประกอบความว่า ก็การพระราชทานลูกนั้นแก่พระเจ้าอนิกรัตตะนั้น เหมือนอะไร คือ เป็นเหมือนอะไร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 514
บทว่า นิพฺพุยฺหติ สุสานํ อจิรํ กาโย อเปตวิญฺญาโณ ความว่าไม่นานนัก กายนี้ปราศจากวิญญาณแล้ว เขาก็จะช่วยกันยกผู้นำไปยังป่าช้า.บทว่า ฉุฑฺโฑ แปลว่า ทิ้งแล้ว. บทว่า กลิงฺครํ วิย ได้แก่ เสมือนชิ้นไม้ที่ไร้ประโยชน์. บทว่า ชิคุจฺฉมาเนหิ าตีหิ แปลว่า แม้อันคนที่เป็นญาติผู้เกลียดอยู่.
บทว่า ฉุทฺธูน นํ สุสาเน ได้แก่ ทิ้งศากศพนั้นไว้ในป่าช้า. บทว่า ปรภตฺตํ ได้แก่ เป็นอาหารของเหล่าสัตว์อื่นมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นบทว่า นฺหายนฺติ ชิคุจฺฉนฺตา ความว่า บิดามารดาเกลียดโดยเหตุเพียงว่ามาตามหลังซากศพนั้นกลับมาบ้าน ก็ต้องลงอาบน้ำดำเกล้า ไม่ต้องกล่าวถึงผู้ที่ถูกต้องซากศพดอก. บทว่า นิยกา มาตาปิตโร ได้แก่ แม้แต่บิดามารดาของตนเอง. บทว่า กึ ปน สาธารณา ชนตา ได้แก่ จะต้องกล่าวอะไรเล่าว่า ชุมชนนอกนี้ก็เกลียด.
บทว่า อชฺโฌสิตา ได้แก่ ยึดมั่นด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า อสาเรได้แก่ ที่เว้นจากสาระ มีความเที่ยงเป็นสาระเป็นต้น.
บทว่า วินิพฺภุชิตฺวา ได้แก่ ทำการแยกวิญญาณออกไป. บทว่า คนฺธสฺส อสหมานา ได้แก่ ทนกลิ่นของกายนั้นไม่ได้. บทว่า สกาปิมาตา ได้แก่ แม้แต่มารดาของตนก็เกลียด เพราะต้องทะนุถนอมอย่างดีโดยความเป็นของปฏิกูล เพราะแยกส่วนทั้งหลายออกไป.
บทว่า ขนฺธธาตุอายตนํ ความว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะอย่างนี้ คือ ปัญจขันธ์เหล่านั้น มีรูปขันธ์เป็นต้น ธาตุ ๑๘ เหล่านี้ มีจักขุธาตุเป็นต้น อายตนะ ๑๒ มี จักขายตนะเป็นต้น ธรรมชาติที่เป็นรูปและมิใช่รูป ดังกล่าวมานี้ทั้งหมด ชื่อว่าสังขตะ เพราะปัจจัยทั้งหลายประชุมรวมกันสร้างขึ้น ธรรมชาตินี้นั้น ที่เป็นไปอยู่ในภพนั้น ชื่อว่าเป็นทุกข์ ที่ชื่อว่ามี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 515
ชาติเป็นมูล เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ลูกใคร่ครวญครุ่นคิดโดยอุบายแยบคายดังกล่าวมานี้ ทำไม คือเพราะเหตุไร จึงจักปรารถนาวิวาหะที่ทรงขอร้องเลือกให้ของทูลกระหม่อมเล่าเพคะ.
พระชนกชนนีตรัสคำใดไว้ว่า ศีล พรหมจรรย์ บรรพชา ทำกันได้ยาก เมื่อจะทรงโต้ตอบคำนั้น พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า ทิวเส ทิวเส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวเส ทิวเส ติสตฺติสตานิ นวนวาปเตยฺยุํ กายมฺหิ ความว่า หอก ๓๐๐ เล่ม ใหม่เอี่ยม เพราะลับทาน้ำมันในขณะนั้นนั่นเอง พึงตกต้องไปที่ร่างกายทุกๆ วัน. บทว่า วสฺสสตมฺปิจ ฆาโต เสยฺโย ความว่า ความทิ่มแทงด้วยหอก ตามที่กล่าวแล้ว ตกต้องอยู่ทั้ง ๑๐๐ ปี ไม่ว่างเลย ยังประเสริฐกว่า. บทว่า ทุกฺขสฺส เจวํขโย ความว่า ถ้าว่า ความหมดสิ้นไปแห่งทุกข์ในวัฏฏะ จะพึงมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ไซร้ อธิบายว่า ควรอดกลั้นทุกข์ที่เป็นไปใหญ่หลวงอย่างนี้แล้วทำความอุตสาหะเพื่อบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า อชฺฌุปคจฺเฉ แปลว่า พึงยอมรับ. บทว่า เอวํ แปลว่าโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้พระดำรัสของพระศาสดา ที่แสดงถึงสังสารวัฏฏ์อันมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว และทุกข์ในวัฏฏะที่นับไม่ได้ ยืนหยัดอยู่ พึงยอมรับทุกข์เพราะการทิ่มแทงด้วยหอก ตามที่กล่าวแล้ว ถ้าหากว่าทุกข์ในวัฏฏะจะพึงหมดสิ้นไปได้ด้วยวิธีนั้น.ด้วยเหตุนั้น พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า สังสารวัฏฏ์ยืดยาว สำหรับชนเหล่านั้นซึ่งเดือดร้อนอยู่ร่ำไป อธิบายว่า สำหรับชนที่ถูกชาติชราพยาธิมรณะเป็นต้น เบียดเบียนอยู่ซ้ำแล้วซ้ำอีก.
บทว่า อสุรกาเย ได้แก่ หมู่เปรตและอสูรมีกาลกัญชิกเปรตเป็นต้น.บทว่า ฆาตา ได้แก่ การทำร้าย การเบียดเบียนกายและจิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 516
บทว่า พหู ได้แก่ การทำร้ายมากมาย ที่เขาให้เป็นไปโดยการลงโทษมีจองจำ ๕ ประการเป็นต้น. บทว่า วินิปาตคตสฺส ได้แก่ ผู้เข้าถึงวินิบาต กล่าวคืออบายที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว. บทว่า ปีฬิยมานสฺสได้แก่ ถูกเบียดเบียนด้วยการเข่นฆ่าเป็นต้น ในอัตภาพที่เป็นสัตว์เดียรฉานเป็นต้น. บทว่า เทเวสุปิ อตฺตาณํ ความว่า แม้ในอัตภาพที่เป็นเทวดาก็ช่วยไม่ได้ เพราะมีทุกข์มีความคับแค้น ด้วยความเร่าร้อนด้วยราคะเป็นต้น.บทว่า นินฺพานสุขา ปรํ นตฺถิ ความว่า ธรรมดาสุขอื่นคืออย่างอื่นที่ยอดเยี่ยมกว่าสุขในพระนิพพานไม่มี เพราะโลกิยสุขมีความแปรปรวนเป็นตัวปรุงมีทุกข์เป็นตัวสภาพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นิพฺพานํปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งดังนี้.
บทว่า ปตฺตา เต นิพฺพานํ ความว่า ชนเหล่านั้นชื่อว่าบรรลุพระนิพพานเลย อีกนัยหนึ่ง ชนเหล่านั้นนั่นแหละ บรรลุพระนิพพาน. บทว่าเย ยุตฺตา ทสพลสฺส ปาวจเน ความว่า ชนเหล่าใดขวนขวายในคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า นิพฺพินฺนา แปลว่า เบื่อหน่าย. บทว่า เม แปลว่า อันลูก [เรา]. บทว่า วนฺตสมา ได้แก่ เสมือนรากสุนัข. บทว่า ตาลวตฺถุกตาแปลว่า กระทำให้เป็นเสมือนที่ตั้งแห่งต้นตาล.
บทว่า อถ แปลว่า ภายหลัง พระนางสุเมธากำลังทรงทำพระชนกชนนีให้ทรงทราบอัธยาศัยของพระองค์อยู่ ก็ทรงสดับว่า พระเจ้าอนิกรัตตะเสด็จมาถึงแล้ว. บทว่า อสิตนิจิตมุทุเก ได้แก่ ชื่อว่าดำสนิทเพราะมีสีเหมือนดอกอินทนิลและแมลงภู่ ชื่อว่ารวบไว้ เพราะทำให้เป็นก้อนไว้ ชื่อว่าอ่อนสลวยเพราะมีสัมผัสนุ่มดังปุยงิ้ว. บทว่า เกเส ขคฺเคน ฉินฺทิย ได้แก่ ทรงเอามีดที่ลับคมตัดพระเกศาของพระองค์. บทว่า ปาสาทํ ปิทหิตฺวา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 517
ทรงปิดห้องอันมีสิริ บนปราสาทที่ประทับอยู่ของพระองค์ อธิบายว่า ทรงปิดพระทวารของห้องนั้น. บทว่า ปมชฺฌานํ สมาปชฺชิ ความว่าทรงวางพระเกศาของพระองค์ที่ทรงเอาพระขรรค์ตัดไว้เบื้องพระพักตร์ ทรงดำเนินการมนสิการความเป็นของปฏิกูลในพระเกศานั้น ทรงเข้าปฐมฌานที่เกิดขึ้นในนิมิตตามที่ปรากฏอยู่ ให้ถึงความชำนาญ.
อธิบายว่า พระนางสุเมธานั้นทรงเข้าฌานอยู่ในปราสาทนั้น. บทว่า อนิจฺจสญฺญํ สุภาเวติ ความว่า ทรงออกจากฌานแล้วทรงเริ่มวิปัสสนาทำฌานให้เป็นบาท ทรงเจริญด้วยดีซึ่งอนิจจานุปัสสนา โดยนัยเป็นต้นว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง. ด้วยอนิจจสัญญาศัพท์ในคำว่า อนิจฺจสญฺญํ ภาเวติ นี้ พึงทราบว่า เป็นอันท่านถือเอาทุกขสัญญาเป็นต้นด้วย.
บทว่า มณิกนกภูสิตงฺโค ได้แก่ ประดับพระองค์ด้วยเครื่องอลังการคือพวงมาลัยทอง ที่วิจิตรด้วยแก้วมณี.
คำว่า รชฺเช อาณา เป็นต้น เป็นคำแสดงอาการที่ทรงวอนขอ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาณา ได้แก่ ความเป็นอธิบดี. บทว่า อิสฺสริยํ ได้แก่ยศคือสมบัติความเจริญ. บทว่า โภคา สุขา ได้แก่ เครื่องอุปโภคที่เป็นกามอันน่าปรารถนา น่าพอใจ. บทว่า ทหริกาสิ ได้แก่ พระน้องนางก็เป็นสาวรุ่นแล้ว.
บทว่า นิสฺสฏฺฐํ เต รชฺชํ ความว่า ราชกิจหมดทั้ง ๓ โยชน์ของพี่สละถวายพระน้องนางแล้ว ขอพระน้องนางโปรดทรงปฏิบัติราชกิจนั้น บริโภคโภคะทั้งหลายเถิด ขออย่าทรงเสียพระทัยว่า พระราชาพระองค์นี้เชิญชวนเราด้วยกามทั้งหลายเลย. บทว่า เทหิ ทานานิ ความว่า โปรดทรงดำเนินการถวายทานเป็นอันมากในสมณพราหมณ์ทั้งหลายตามชอบพระทัยเถิด พระชนกชนนีของพระน้องนาง ทรงเป็นทุกข์ ทรงโทมนัส ทรงสดับความประสงค์ใน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 518
การทรงผนวชของพระน้องนางแล้ว เพราะฉะนั้นขอพระน้องนาง โปรดทรงบริโภคกาม ทรงบำรุงพระชนกชนนี เปลื้องจิตพระชนกชนนีเสียจากทุกข์เถิด บัณฑิตพึงทราบการประกอบความของบทในข้อนี้ดังกล่าวมาฉะนี้.
บทว่า มา กาเม อภินนฺทิ ได้แก่ อย่าทรงเพลิดเพลินวัตถุกามและกิเลสกาม โปรดทรงดูอาทีนพโทษในกามเหล่านั้น โปรดสำรวจด้วยญาณจักษุ ตามแนวถ้อยคำของหม่อมฉันด้วยเถิด.
บทว่า จาตุทฺทีโป ได้แก่ เป็นเจ้าแห่งทวีปทั้ง ๔ มีชมพูทวีปเป็นต้น.บทว่า มนฺธาตา ได้แก่ พระราชามีพระนามอย่างนี้ ทรงเป็นเลิศคือเป็นยอดของผู้บริโภคกามทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าราหูเป็นยอดของผู้มีอัตภาพทั้งหลาย พระเจ้ามันธาตุราชทรงเป็นยอดของผู้บริโภคกามทั้งหลาย. บทว่า อติตฺโต กาลงฺกโต ความว่า ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘๔,๐๐๐ ปี โดยทรงเป็นพระกุมารเล่น ๘๔,๐๐๐ ปี เป็นอุปราช ๘๔,๐๐๐ ปีเสวยโภคสมบัติเสมือนโภคสมบัติในเทวโลก ทั้งเสวยสวรรค์สมบัติในภพดาวดึงส์ ตลอดกาลเท่าอายุของท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์ ไม่ทันทรงอิ่มด้วยกามทั้งหลายก็เสด็จสวรรคต ทั้งที่ความปรารถนาของพระองค์ก็ยังไม่เต็ม คือความหวังในกามทั้งหลายของพระเจ้ามันธาตุราช ยังไม่บริบูรณ์.
บทว่า สตฺต รตนานิ วเสยฺย ความว่า แม้ผิว่าเทพแห่งฝนพึงหลั่งรัตนะทั้ง ๗ ลงมา ตามความชอบใจเต็ม ๑๐ ทิศโดยรอบ คือรอบๆ บุรุษเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ไม่อิ่มกามทั้งหลายเหมือนพระเจ้ามันธาตุราช นรชนทั้งหลายทั้งที่ยังไม่อิ่มก็พากันตายไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กเมสุ วิชฺชติ ถึงฝนจะตกลงมาเป็นกหาปณะ ความอิ่มในกามทั้งหลายก็ไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 519
กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและหลาว เพราะอรรถว่าคอยตัด เปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่ามีภัยเฉพาะหน้า เปรียบด้วยคบเพลิง คือคบเพลิงหญ้าเพราะอรรถว่าเผา ด้วยเหตุนั้น พระสุเมธาเถรีจึงกล่าว อนุทหนฺติ ย่อมเผาผลาญ เปรียบด้วยร่างกระดูก เพราะอรรถว่ามีรสอร่อยน้อย.
บทว่า มหาวิสา ได้แก่ เสมือนของมีพิษมาก มีพิษร้ายกาจเป็นต้น.บทว่า อฆมูลา ได้แก่ เป็นมูลเป็นเหตุแห่งความลำบาก คือทุกข์ ด้วยเหตุนั้นพระสุเมธาเถรีจึงกล่าวว่า ทุขปฺผลา มีทุกข์เป็นผล.
เปรียบด้วยผลไม้ เพราะอรรถว่าหักรานความงอกของอวัยวะน้อยใหญ่ของต้นไม้ เปรียบด้วยชิ้นเนื้อเพราะอรรถว่าเป็นของสาธารณะมาก เปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่าปรากฏขึ้นมานิดหน่อย เพราะลวงเหมือนมายา [พยับแดดหรือเล่นกล] ด้วยเหตุนั้น พระสุเมธาเถรีจึงกล่าวว่า วญฺจนียา อธิบายว่าหลอกลวง. บทว่า ยาจิตกูปมา ได้แก่ เสมือนสิ่งของที่ยืมเขามาเพราะอรรถว่า เป็นของชั่วคราว.
เปรียบด้วยหอกและหลาว เพราะอรรถว่า ทิ่มแทง. ชื่อว่าโรค เพราะอรรถว่าเสียดแทง เพราะเป็นทุกข์ได้ง่าย. ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดคือกิเลส. ชื่อว่า อฆะ ลำบาก เพราะอรรถว่าให้เกิดทุกข์. ชื่อว่า นิฆะ ยุ่งยาก เพราะให้ถึงตายได้. เสมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ทำให้ร้อนขนานใหญ่. ภัยชื่อว่า วธะ ผู้ฆ่า ประกอบความว่า กามทั้งหลายเพราะเป็นเหตุแห่งภัย และเพราะมากด้วยผู้ฆ่า.
บทว่า อกฺขาตา อนฺตรายิกา ได้แก่ อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้มีจักษุ ตรัสไว้ว่า ทำอันตรายแก่การถึงทางไปสวรรค์ และทางไปพระนิพพาน พระนางสุเมธาทรงปล่อยพระเจ้าอนิกรัตตะพร้อมทั้งบริษัทไปด้วยพระเสาวนีย์ว่า คจฺฉถ โปรดเสด็จกลับไปเสียเถิดเพคะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 520
บทว่า กึ มม ปโร กริสฺสติ ความว่า เมื่อศีรษะคือกลางกระหม่อมของตัวเอง ถูกไฟ ๑๑ กองเผาอยู่ ผู้อื่นใครเล่าจักทำประโยชน์อะไรแก่หม่อมฉันได้ ด้วยเหตุนั้น พระสุเมธาเถรีจึงกล่าวว่า เมื่อชราและมรณะติดตามอยู่ บุคคลควรพากเพียรพยายามกำจัดคือเพิกถอนชราและมรณะนั้น ซึ่งเป็นประดุจไฟเผาบนศีรษะเสีย.
บทว่า ทีโฆ พาลานํ สํสาโร ความว่า สงสารกล่าวคือความเป็นไปตามลำดับของขันธ์อายตนะเป็นต้นที่เป็นตัววัฏฏะ คือกิเลสกรรมและวิบาก ยืดยาว แม้แต่พระพุทธญาณก็กำหนดไม่ได้ สำหรับเหล่าคนเขลาเหมือนคนตาบอด ผู้ไม่กำหนดรู้วัตถุ [คืออวิชชา ๘ ประการ] จริงอยู่ เงื่อนต้นของการผูกติดไว้กับภพย่อมไม่ปรากฏ เพราะกำหนดอวิชชาตัณหาไม่ได้ เหตุตัดยังไม่ขาดอย่างใด แม้เงื่อนปลายก็ไม่ปรากฏอย่างนั้น. บทว่า ปุนปฺปุนํ จ โรทตํ ความว่า ผู้ร้องไห้ร้องแล้วร้องอีกโดยความโศกเศร้า. พระนางสุเมธาทรงชี้แจงความที่อวิชชาตัณหายังตัดไม่ขาด ด้วยบทนี้.
บทว่า อสฺสุ ถญฺญํ รุธิรํ ความว่า น้ำตาอันใดของเหล่าสัตว์ที่ความพินาศของญาติเป็นต้นกระทบแล้วร้องไห้อยู่ น้ำนมอันใด ที่เหล่าสัตว์ดื่มจากนมของมารดาเวลาเป็นทารก และน้ำเลือดอันใดของเหล่าสัตว์ ที่ถูกปัจจามิตรทำร้าย, ขอพระองค์โปรดระลึกถึงสงสารเพราะมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว คือการเวียนว่ายเที่ยวไปเที่ยวมาของเหล่าสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปโดยกาลอันยืดยาวนานนี้ เพราะสงสารมีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว คือเพราะสงสารมีเงื่อนงำที่ตามไปก็รู้ไม่ได้ ก็รู้แจ้งไม่ได้ด้วยญาณ โปรดทรงระลึกถึงน้ำตา น้ำนมและน้ำเลือดอันนั้นว่ามีมากเท่าไร โปรดระลึกนึกถึง อธิบายว่า ทบทวนถึงการสั่งสมแห่งกระดูกทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 521
บัดนี้ เพื่อจะแสดงถึงอาทีนพโทษมีมากด้วยข้ออุปมา พระสุเมธาเถรีจึงกล่าวคาถาว่า สร จตุโรทธี อุปนีเต อสฺสุถญฺญรุธิมฺหิ เป็นต้นบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สร จตุโรทธี ความว่า โปรดทรงระลึกนึกถึงทะเลทั้ง ๔ คือ ๔ มหาสมุทร ในน้ำตา น้ำนม และน้ำเลือด ของบรรดาเหล่าสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสงสารที่มีเงื่อนปลายตามไปไม่รู้นี้ คนหนึ่งๆ ซึ่งจะพึงเปรียบเทียบโดยประมาณคือจำนวน อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายเปรียบเทียบไว้แล้วโดยอุปมา. บทว่า เอกกปฺปมฺฐีนํ สญฺจยํ วิปุเลน สมํ ความว่า โปรดทรงระลึกถึงกองแห่งกระดูกทั้งหลาย ในกัปหนึ่งของบุคคลคนหนึ่งว่าเสมอคือนำมาเปรียบเทียบ กับภูเขาวิปุลบรรพต
ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า :-
พระผู้ทรงแสวงคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสไว้ว่า กองกระดูกของบุคคลคนหนึ่ง กัปหนึ่ง พึงเป็นกองเสมอด้วยภูเขา ก็แลภูเขาลูกนี้นั้น ท่านเรียกว่า วิปุลบรรพตเป็นภูเขาใหญ่ ยิ่งกว่าภูเขาคิชฌกูฏ อยู่ในกรุงราชคฤห์ปัญจคีรีนคร ราชธานีแห่งแคว้นมคธ.
โปรดทรงระลึกถึงแผ่นดินชมพูทวีปที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาเปรียบเทียบ. บทว่า โกลฏฺฐิมตฺตคุฬิกา มาตามาตุเสฺวว นปฺปโหนฺติ ความว่าเมื่อทำแผ่นดินผืนใหญ่ ที่เรียกกันว่าชมพูทวีป ให้เป็นก้อนขนาดเท่าเมล็ดโกละคือพุทรา จำแนกก้อนดินก้อนหนึ่งๆ ในชมพูทวีปนั้น อย่างนี้ว่า นี้มารดาเรา นี้ยายเรา ก้อนดินเหล่านั้นก็ไม่พอกับจำนวนมารดาและยาย เมื่อมารดาและยายยังไม่สิ้นไปเลย ก้อนดินเหล่านั้นก้อนสุดท้าย กลับจะหมดจะสิ้นสุดไปก่อน มารดาและยายของสัตว์ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ อันมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 522
เงื่อนต้นและเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว ก็ยังไม่หมดไม่สิ้นไป ขอพระองค์โปรดทรงกระทำแผ่นดินชมพูทวีปไว้ในใจน้อมนำมาเปรียบเทียบ โดยความยาวของสังสารวัฏฏ์ ดังกล่าวมาฉะนี้.
บทว่า ตณกฏฺฐสาขาปลาสํ ได้แก่ หญ้า ไม้และกิ่งไม้แห้ง. บทว่าอุปนีตํ แปลว่า นำเข้ามาเปรียบเทียบ. บทว่า อนมตคฺคโต ได้แก่ เพราะสังสารวัฏฏ์มีเงื่อนต้นและเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว. บทว่า จตุรงฺคุลิกา ฆฏิกาได้แก่ ชั้นไม้ขนาด ๔ องคุลี. บทว่า ปิตุปิตุเสฺวว นปฺปโหนฺติ ความว่าชิ้นไม้เหล่านั้นไม่พอกับจำนวนบิดาและปู่ทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า เมื่อทำหญ้า ไม้ และกิ่งไม้แห้งทั้งหมดในโลกนี้ ขนาดเท่า ๔ องคุลีแล้วจำแนกชิ้นไม้ชิ้นหนึ่งๆ ในบรรดาหญ้า ไม้และกิ่งไม้แห้งนั้น อย่างนี้ว่า นี้ บิดาเรานี้ปู่เรา ชิ้นไม้เหล่านั้นจะหมด จะสิ้นสุดไปก่อน บิดาและปู่ของสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์ที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว จะยังไม่หมดไม่สิ้นไป ขอพระองค์โปรดทรงระลึกถึงหญ้า ไม้ และกิ่งไม้แห้ง น้อมนำมาเปรียบเทียบ โดยความยาวของสังสารวัฏฏ์ ดังกล่าวมาฉะนี้.
ก็ในที่นี้ ควรนำ อนมตัคคะบาลี (๑) มาเป็นต้นว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว เงื่อนต้นไม่ปรากฏ สำหรับเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ซึ่งโลดแล่นท่องเที่ยวไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะสำคัญอย่างไร กะข้อที่ว่าน้ำตาใสที่ไหลพรากของเหล่าสัตว์ ผู้ครวญคร่ำร่ำไห้เพราะประจวบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ เพราะพลัดพรากจากอารมณ์ที่
๑. สํ.นิ. ๑๖/ข้อ ๔๒๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 523
น่าพอใจ โลดแล่นท่องเที่ยวไปด้วยกาลอันยาวนานนี้หรือน้ำใน ๔ มหาสมุทร อันไหนจะมากกว่ากัน.
บทว่า สร กาณกจฺฉปํ ความว่า โปรดทรงระลึกถึงเต่าตาบอดทั้งสองข้าง. บทว่า ปุพฺพสมุทฺเท อปรโต จ ยุคฉิทฺทํ ได้แก่ ช่องเดียวของแอก ที่หมุนไปหมุนมา เพราะแรงเร็วของลมในสมุทรด้านทิศบูรพา และด้านทิศอื่นๆ คือในสมุทรด้านทิศปัจฉิมทิศอุดรและทิศทักษิณ. บทว่า สิรํตสฺส จ ปฏิมุกฺกํ ความว่า โปรดทรงระลึกถึงศีรษะของเต่าตาบอด และการที่ศีรษะของเต่าตาบอดนั้น ซึ่งชูคอโดยล่วงไปทุกร้อยปี เข้าไปในช่องแอก.บทว่า มนุสฺสลาภมฺหิ โอปมฺมํ ความว่า โปรดทรงทำข้อนี้นั้นหมดทุกข้อให้เปรียบเทียบในความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เหมือนในพระธรรมเทศนาสมัยพุทธกาล แล้วใช้ปัญญาระลึกถึงความได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้น เป็นสภาพที่ได้ยากเหลือเกิน เพราะแม้ภัยแห่งความกำหนัดนัก [ร่าน] เป็นสภาพที่ล่วงไปแล้ว สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงซัดแอกที่มีช่องเดียวลงในมหาสมุทรฉันใด ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า สร รูปํ เผณปิณฺโฑปมสฺส ความว่า โปรดทรงระลึกถึงรูป ที่ไม่สะอาดมี่กลิ่นเหม็น มีภาวะเป็นของน่าเกลียดปฏิกูลของโทษ กล่าวคือกาย เพราะเป็นที่ประชุมแห่งที่ไม่มีประโยชน์เป็นอเนก เสมือนก้อนฟองน้ำเพราะไม่ทนต่อการกระทบ. บทว่า ขนฺเธ ปสฺส อนิจฺเจ ความว่า โปรดทรงระลึก คือตรวจด้วยญาณจักษุ ซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อัน ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะอรรถว่า มีแล้วไม่มี. บทว่า สราหิ นิรเย พหุวิฆาเต ความว่าโปรดทรงระลึกถึงมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม ที่มีความคับแค้นมากคือมีทุกข์มาก มีทุกข์ใหญ่หลวง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 524
บทว่า สร กฏสึ วฑฺเฒนฺเต ความว่า โปรดทรงรำลึกถึงเหล่าสัตว์ที่จะรกป่าช้า คือสุสานที่ฝังศพบ่อยๆ เพราะเกิดขึ้นร่ำไปคือไปๆ มาๆ ในชาตินั้นๆ. บาลีว่า วฑฺฒนฺโต ก็มี ประกอบความว่า พระองค์ทรงเพิ่มบทว่า กุมฺภีลภยานิ ได้แก่ ภัยคือความเห็นแก่ปากต้อง โดยความเป็นผู้ทำกิจที่ไม่ควร เพื่อเลี้ยงท้อง จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า กุมภีลภยํ นี้เป็นชื่อของความเห็นแก่ปากท้อง. บทว่า สราหิจตฺตาริ สจฺจานิ ความว่า โปรดทรงระลึกใคร่ครวญตามความเป็นจริง ซึ่งอริยสัจ ๔ คือ นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
พระราชบุตรี ครั้นทรงประกาศอาทีนพโทษในกามและสงสาร โดยระลึกถึงอาการและขันธ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงประกาศอาทีนพโทษนั้นเพิ่มเติม จึงตรัสคาถามีว่า อมตมฺหิ วิชฺชมาเน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมตมฺหิ วิชฺชมาเน ได้แก่ อันได้ชื่อว่า อมตสัทธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมนำมาเปรียบเทียบ ด้วยพระมหากรุณา บทว่า กึ ตว ปญฺจกฏุเกน ปีเตน ความว่า ประโยชน์อะไรของพระองค์ด้วยรสในกามคุณ ๕ ที่เป็นรสเผ็ด ๕ อย่าง ซึ่งทรงดื่มแล้ว เพราะมีทุกข์ มีความคับแค้น เหตุติดตามทุกข์ที่กล้าแข็งกว่า ในฐานะทั้ง ๕ คือการแสวงหาการหวงแหน การรักษา การบริโภค และวิบาก. บัดนี้เมื่อจะทรงทำความที่กล่าวแล้วให้ปรากฏชัดแจ้ง จึงตรัสว่า สพฺพา หิ กามรติโย กฏุกตราปญฺจกฏุเกน อธิบายว่า เผ็ดร้อนอย่างยิ่งกว่า.
บทว่า เย ปริฬาหา ความว่า กามเหล่าใด ชื่อว่ามีความเร่าร้อนมีความคับแค้นมาก ด้วยความเร่าร้อนด้วยกิเลสในปัจจุบัน และเร่าร้อนด้วยวิบากในอนาคต. บทว่า ชลิตา กุถิตา กมฺปิตา สนตาปิตา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 525
อันไฟ ๑๑ กอง ทำให้ลุกโพลงแล้ว เขย่า แผดเผา ผู้ที่พรักพร้อมด้วยกามนั้น.
บทว่า อสปตฺตมฺหิ ได้แก่ เมื่อเนกขัมมะที่เว้นจากศัตรู. บทว่าสมาเน แปลว่า มีอยู่ เป็นอยู่ พระนางตรัสว่า พหุสปตฺตา แล้วก็ตรัสว่า ราชคฺคิ เป็นต้น ก็เพื่อทรงแสดงภัยที่ให้มีศัตรูมาก พระนางตรัสอุปมาในภัยเหล่านั้น โดยทั่วๆ ไปด้วยพระราชา ไฟ โจร น้ำ ทายาทเป็นต้นที่ไม่รักกัน และด้วยราชภัย อัคคีภัย โจรภัย อุทกภัยและอัปปิยภัย.
บทว่า เยสุ วธมนฺโธ ความว่า แปลงโทษมีการทำให้ตาย การโบยเป็นต้น และการจำมีจำด้วยโซ่เป็นต้น เป็นเครื่องหมายกามในกามเหล่าใด คำว่า กาเมสุ เป็นต้น กระทำความที่กล่าวแล้วนั่นแลให้ปรากฏ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า เหตุ. เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยคือ ประสบทุกข์ในการฆ่าและจองจำ ฉะนั้น พระนางสุเมธาจึงตรัสว่า อสกามา อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่ากามเหล่านี้เป็นของไม่ดี เลว ทรามอีกอย่างหนึ่งบาลีว่า อหกามา ก็มี ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ความจริงศัพท์ว่า อห แปลว่าทราม เหมือนอหศัพท์ในประโยคว่า อหโลกิตฺถิโยขึ้นชื่อว่าสตรีในโลกทราม.
บทว่า อาทีปิตา แปลว่า โชติช่วงแล้ว. บทว่า ติณุกฺกา ได้แก่คบเพลิงที่ทำด้วยหญ้า. บทว่า ทหนฺติ เย เต น มุญฺจนฺติ ความว่า สัตว์เหล่าใดไม่ยอมปล่อยกามเหล่านั้น ชื่อว่ายึดถืออยู่โดยแท้ สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมร้อน ย่อมไหม้ทั้งในปัจจุบันทั้งในอนาคต.
บทว่า มา อปฺปกสฺส เหตุ ความว่า ขอพระองค์อย่าทรงละทิ้งโลกุตรสุขอันไพบูลย์ โอฬารและประณีต เพราะเหตุแห่งกามสุขเล็กน้อย ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 526
เป็นเสมือนรสอร่อยของดอกไม้. บทว่า มา ปุถุโลโมว พฬิสํ คิลิตฺวา ความว่า พระองค์ไม่ทรงสละกามทั้งหลายแล้ว ก็จะเดือดร้อนภายหลัง คือคับแค้นในภายหลัง เหมือนปลาที่ได้ชื่อว่าสัตว์ไม่มีขน กลืนเบ็ดด้วยความโลภเหยื่อก็ถึงความย่อยยับ ฉะนั้น.
บทว่า สุนโขว สงฺขลาพทฺโธ ความว่า สุนัขที่เขาล่ามเชือก เขาเอาเชือกผูกไว้ที่หลัก ก็ไปที่อื่นไม่ได้ หมุนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ฉันใด พระองค์ก็ถูกกามตัณหาผูกไว้ฉันนั้น บัดนี้ ขอพระองค์โปรดทรงบรรเทาความอยากในกามทั้งหลาย คือทรงฝึกอินทรีย์ทั้งหลายก่อน. ในบทว่า กาหินฺติ ขุ ตํกามา ฉาตา สุนขํว จณฺฑาลา ความว่า ขุ เป็นเพียงนิบาต. ความว่าก็กามเหล่านั้น จักทำผู้นั้นให้เป็นเหมือนคนจัณฑาล ที่หิวจัด ได้สุนัขมาก็ทำให้พินาศได้ฉะนั้น.
บทว่า อปริมิตฺตญฺจ ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์ทางกายในนรกเป็นต้นที่หาประมาณมิได้ คือที่มิอาจจะกำหนดได้ว่าเท่านี้. บทว่า พหูนิ จจิตฺตโทมนสฺสานิ ได้แก่ โทมนัสเป็นอันมากมิใช่น้อย ที่เขาได้รับอยู่ในจิต คือทุกข์ทางใจ. บทว่า อนุโภหิสิ แปลว่า จักเสวย. บทว่า กามยุตฺโตแปลว่า ผู้ประกอบด้วยกามทั้งหลาย คือผู้ไม่ยอมเสียสละกามเหล่านั้น. บทว่าปฏินิสฺสชฺช อทฺธุเว กาเม ความว่า โปรดทรงพราก คือหลีกไปจากกามทั้งหลาย ที่ไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยงเสียเถิด.
บทว่า ชรามรณพฺยาธิคหิตา สพฺพา สพฺพตฺถ ชาติโย ประกอบความว่า เพราะเหตุที่ชาติทั้งหลายในภพเป็นต้นทั้งหมด ซึ่งต่างโดยประเภทมีอย่างเลวเป็นต้น ถูกชรามรณะและพยาธิจับไว้ ไม่พ้นไปจากชรามรณะและพยาธินั้น ฉะนั้น เมื่อพระนิพพานที่ไม่ชรามีอยู่ พระองค์ยังจะได้ประโยชน์อะไรจากกามทั้งหลาย ที่ไม่พ้นไปจากชราเป็นต้นเล่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 527
พระนางสุเมธา ครั้นทรงประกาศอาทีนพโทษในกามและภพทั้งหลายโดยมุขคือการแสดงคุณของพระนิพพานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงประกาศคุณของพระนิพพานที่บังเกิดแล้วนี้แล จึงได้ตรัส ๒ คาถา โดยนัยว่า อิทมชรํ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทมชรํ ความว่า พระนิพพานนี้นั้นเท่านั้น ชื่อว่าไม่ชรา เพราะไม่มีชราในตัวเอง และเพราะเป็นเหตุไม่มีชราสำหรับท่านผู้ถึงพระนิพพานแล้ว. แม้ในบทว่า อิทมมรํ นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ด้วยบทว่า อิทมชรามรํ พระนางกล่าวชมเชย รวมบททั้งสองเข้าเป็นบทเดียวกัน. บทว่า ปทํ ชื่อว่า บท เพราะเป็นข้อที่ผู้ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะ พึงบวช พึงดำเนิน ชื่อว่าไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุแห่งความเศร้าโศก และไม่มีความเศร้าโศก ชื่อว่าไม่มีข้าศึก เพราะไม่มีธรรมที่ทำให้เป็นข้าศึก ชื่อว่าไม่มีความคับแค้น เพราะไม่มีความคับแค้นด้วยกิเลส ชื่อว่าไม่มีผิดพลาด เพราะไม่มีธรรมที่นับได้ว่าผิดพลาด ชื่อว่าไม่มีภัยเพราะไม่มีภัยมีการติตนเองเป็นต้น และภัยในวัฏฏะ ชื่อว่าไม่ร้อน เพราะไม่มีความร้อนด้วยทุกข์ ทั้งกิเลส พระนางตรัสคำนั้นทั้งหมด หมายเอาพระอมตมหานิพพานอย่างเดียว. ความจริงพระนางสุเมธานั้น เมื่อทรงบำรุงพระองค์เองโดยอาการที่สำเร็จด้วยการที่ทรงฟังเขามาเป็นต้น จึงตรัสว่า อิทํ นิพพานนี้เหมือนทรงแสดงชัดแจ้งแก่ชนเหล่านั้น [พระชนกชนนี พระญาติ และพระเจ้าอนิกรัตตะ].
บทว่า อธิคตมิทํ พหูหิ อมตํ ความว่า พระอมตนิพพานนี้ อันพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอันมาก อนันต์ นับไม่ถ้วน ต่างบรรลุ ตรัสรู้ ทำให้ประจักษ์แก่ตนมาแล้ว. พระนางมิใช่ตรัสหมายถึงอมตนิพพานที่พระอริยะเหล่านั้นบรรลุแล้วอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ แม้วันนี้ก็ควรจะได้ คือเดี๋ยวนี้ ก็ควรจะบรรลุ คืออาจบรรลุได้ หากจะถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 528
ใครควรจะได้พระนางจึงตรัสว่า โย โยนิโส ปยุญฺชติ ประกอบความว่า บุคคลใด ตั้งอยู่ในพระโอวาทที่พระศาสดาประทานไว้แล้ว พยายาม และทำการพากเพียรชอบ โดยแยบคาย โดยอุบาย อมตนิพพานอันบุคคลนั้น ควรจะได้. บทว่า น จ สกฺกา อฆฏมาเนน ความว่า ส่วนบุคคลใดไม่พยายามโดยแยบคาย บุคคลผู้ไม่พยายามนั้น ก็ไม่ควรจะได้ คือไม่อาจจะได้ไม่ว่าในกาลไรๆ.
บทว่า เอวํ ภณติ สุเมธา ความว่า พระนางสุเมธาราชธิดา ตรัสธรรมกถา อันแสดงความสังเวชของพระองค์ในสังสารวัฏฏ์ เป็นส่วนแห่งการชำแรกในกามทั้งหลาย อย่างนี้ โดยประการที่ตรัสมาแล้ว. บทว่า สงฺขารคเตรตึ อลภมานา ได้แก่ เมื่อไม่ทรงได้ความยินดีอย่างยิ่ง ในสังขารที่เป็นไปอยู่ แม้เพียงเล็กน้อย. บทว่า อนุเนนฺตี อนิกรตฺตํ ได้แก่ เมื่อทรงเกลี้ยกล่อมพระเจ้าอนิกรัตตะ. บทว่า เกเส จ ฉมํ ขิปิ ได้แก่ ก็ทรงโยนทิ้งพระเกศาที่ทรงตัดด้วยพระขรรค์ของพระองค์ไปที่พื้น.
บทว่า ยาจตสฺสา ปิตรํ โส ความว่า พระเจ้าอนิกรัตตะนั้นทูลวอนพระเจ้าโกญจะ พระชนกของพระนางสุเมธานั้น. หากจะถามว่า ทรงทูลวอนว่าอย่างไร พระเจ้าอนิกรัตตะตรัสว่า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยพระนางสุเมธาให้ทรงผนวชเถิด พระนางคงจะทรงเห็นวิโมกข์และสัจจะแน่ อธิบายว่า ขอพระองค์โปรดทรงปล่อยพระนางสุเมธาราชบุตรีเพื่อทรงผนวชเถิด ด้วยว่าพระนางทรงผนวชแล้ว คงจะทรงเห็นวิโมกข์และสัจจะ คือทรงเห็นพระนิพพานอันไม่วิปริต.
บทว่า โสกภยภีตา ได้แก่ทรงกลัวภัยในสังสารวัฏฏ์ทุกอย่าง เพราะมีความพลัดพรากจากญาติเป็นต้นเป็นเหตุ ทรงหวาดสะดุ้ง โดยพระญาณอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า สิกฺขมานาย ความว่า พระนางกำลังทรงศึกษาก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 529
ทรงกระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ ขณะนั้นนั่นเอง ก็ทรงกระทำให้แจ้งพระอรหัตซึ่งเป็นผลอันเลิศ.
บทว่า อจฺฉริยมพฺภุตํ ตํ นิพฺพานํ อาสิ ราชกญฺญาย ความว่าความดับสนิทจากกิเลสทั้งหลาย อันอัศจรรย์ ไม่เคยมี ก็ได้มีแก่พระนางสุเมธาราชบุตรี. หากจะถามว่า พระนางสุเมธา ทรงกระทำให้แจ้งอภิญญา ๖ หรือ พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ปุพฺเพนิวาสจริตํ ยถา พฺยากริ ปจฺฉิเมกาเล ความว่า พระนางทรงพยากรณ์จริยาที่นับเนื่องในปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ของพระองค์ในกาลสุดท้าย คือในเวลาดับขันธ์ปรินิพพานฉันใด บัณฑิตก็พึงทราบจริยานั้น ฉันนั้น.
ก็ปุพเพนิวาสญาณ พระนางทรงพยากรณ์แล้วโดยประการใด เพื่อทรงแสดงประการนั้น พระนางจึงตรัสว่า ภควติ โกนาคมเน เป็นอาทิ.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควติ โกนาคมเน ความว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก. บทว่า สงฺฆารามมฺหินวนิเวสมฺหิ ความว่า เมื่ออารามที่ข้าพระองค์สร้างอุทิศพระสงฆ์เสร็จใหม่ๆ.บทว่า สขิโย ติสฺโส ชนิโย วิหารทานํ อทาสิมฺห ความว่า เรา ๓สหาย คือ ธนัญชานี เขมา และข้าพระองค์ ได้ช่วยกันถวายวิหารเป็นอารามแด่พระสงฆ์.
บทว่า ทสกฺขตํตุํ สตกฺขตฺตุํ ความว่า ด้วยอานุภาพของวิหารทานนั่น เราเกิดในเทวดา ๑๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์แล้วเกิดในเทวดาอีก ๑๐๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์ แล้วเกิดในเทวดาอีก ๑๐๐ครั้ง ๑๐ หน คือ ๑,๐๐๐ ครั้ง ต่อจากนั้น ก็เกิดในมนุษย์ ๑๐,๐๐๐ ครั้ง จะป่วยกล่าวไปไยในมนุษย์ทั้งหลาย คือไม่มีถ้อยคำที่จะกล่าวในครั้งที่เกิดในมนุษย์ทั้งหลาย อย่างนั้น อธิบายว่า เราเกิดหลายพันครั้ง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 530
บทว่า เทเวสุ มหิทฺธิกา อหุมฺห ความว่า เรามีฤทธิมากมีอานุภาพมาก ในหมู่เทพนั้นๆ เวลาเกิดในเทวดาทั้งหลาย. บทว่า มานุสกมฺหิโก ปน วาโท ได้แก่ ไม่มีถ้อยคำที่จะกล่าวถึงความที่เรามีฤทธิ์มาก ในเวลาได้อัตภาพเป็นมนุษย์. บัดนี้ พระนางเมื่อทรงแสดงความอุกฤษฏ์ความมีฤทธิ์มาก ในเวลาได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้นนั่นแล จึงตรัสว่า สตฺตรตนสฺส มเหสี อิตฺถิรตนํ อหํ อาสํ เป็นต้น ในคำนั้น รัตนะ ๗ประการ มีจักรรัตนะเป็นต้น มีแก่พระราชานั้น เหตุนั้น พระราชานั้นชื่อว่า สัตตรัตนะ มีรัตนะ ๗ ประการ คือพระเจ้าจักรพรรดิ ของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีรัตนะ ๗ ประการนั้น ข้าพระองค์ได้เป็นรัตนะในอิตถีทั้งหลายเพราะประกอบด้วยคุณมีเป็นต้นอย่างนี้คือ เว้นจากโทษ ๖ มีความงาม ๕ มีผิวพรรณเกินผิวพรรณมนุษย์ มีพรรณะดังทิพย์ที่มนุษย์ไม่เคยพบ.
บทว่า โส เหตุ ความว่า กุศลคือวิหารทานที่ข้าพระองค์กระทำแด่พระสงฆ์ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ เป็นเหตุแห่งทิพยสมบัติตามที่กล่าวแล้ว. คำว่า โส ปภโว ตํ มูลํ เป็นคำบรรยายของคำว่า โส เหตุ นั้นนั่นแหละ. บทว่า สาว สาสเน ขนฺติ ความว่า นั้นนั่นแลเป็นความอดทนในการเพ่งธรรมในพระศาสนาของพระศาสดานี้. บทว่า ตํปฐมสโมธานํ ได้แก่ นั้นนั่นแล เป็นที่ชุมนุมครั้งแรก คือเป็นปฐมสมาคมโดยศาสนาธรรมของพระศาสดา. พระนางตรัสเหตุโดยใกล้ชิดผลว่า นั้นนั่นแหละเป็นนิพพานในที่สุด สำหรับข้าพระองค์ ซึ่งยินดีอย่างยิ่งในศาสนธรรมของพระศาสดา. ก็ ๔ คาถานี้ พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคายนาไว้แม้ในอปทานบาลี เพราะเป็นไปด้วยการชี้แจงอปทาน จริตที่ไม่ขาดสายของพระเถรี.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาสุดท้ายดังนี้. บทว่า เอวํ กโรนฺติ ความว่า ข้าพระองค์ทำการปฏิบัติในอัตภาพก่อนๆ และในอัตภาพนี้ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 531
แม้ชนเหล่าอื่นก็กระทำ คือปฏิบัติ ฉันนั้น. ถ้าจะถามว่าชนเหล่าไหนกระทำอย่างนี้ พระเถรีจึงกล่าวว่า เย สทฺทหนฺติ วจนํ อโนมปญฺญสฺส ความว่า. บุคคลเหล่าใดเชื่อพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาเต็มเปี่ยม เพราะทรงมีไญยปริยันติกญาณ คือเชื่อมั่นว่า นี้เป็นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้น ย่อมทำคือปฏิบัติอย่างนี้ บัดนี้ พระเถรี เพื่อแสดงความข้อนั้นแห่งการปฏิบัติที่เป็นไปอย่างอุกฤษฏ์นั้น จึงกล่าวว่า นิพฺพินฺทนฺติ ภวคเตนิพฺพินฺทิตฺวา วิรชฺชนฺติ. ข้อนั้นมีความว่า บุคคลเหล่าใด เชื่อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเป็นจริง บุคคลเหล่านั้น เมื่อปฏิบัติวิสุทธิปฎิปทา ย่อมเบื่อหน่ายด้วยวิปัสสนาปัญญา ในภพคือสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ทั้งหมด ก็แลครั้นเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัดโดยประการทั้งปวง ด้วยอริยมรรค ย่อมหลุดพ้นจากภพแม้ทั้งหมด อธิบายว่า เมื่ออริยมรรคที่เป็นวิราคธรรม อันบุคคลบรรลุแล้ว บุคคลผู้บรรลุนั้น ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นโดยแท้แล.
พระเถรีดังกล่าวมาเหล่านั้น มีพระเถริกาเป็นองค์ต้น มีพระสุเมธาเถรีเป็นองค์สุดท้าย พระสังคีติกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคายนา รวมไว้แห่งเดียวกันในที่นี้ โดยเป็นสภาคกันโดยคาถา มีจำนวน ๗๓ รูป (๑) แต่เมื่อกล่าวโดยภาณวารเถรีคาถามีจำนวน ๖๐๒ คาถา (๒). พระเถรีทั้งหมดนั้น ชื่อว่ามีประเภทเดียวโดยเป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉันใด มีประเภทเดียว โดยเป็นพระอเสขะ โดยถอนกิเลสดุจกลอนเหล็กได้แล้ว โดยกลบกิเลสดุจคูเสียแล้ว โดยเพิกถอนกิเลสเสียแล้ว โดยไม่มีกิเลสดุจลิ่มสลัก โดยปลงภาระลงแล้ว โดยไม่มีสังโยชน์แล้ว และโดยอยู่จบธรรมเครื่องอยู่ในอริยวาส ๑๐ แล้ว ก็ฉันนั้น.จริงอย่างนั้น พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่ามีประเภทเดียวโดยนัยเป็นต้นอย่างนี้คือ ผู้ละองค์ ๕ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ผู้มีเครื่องอารักขา ๑ ผู้มีอปัสเสน
๑. บาลีว่า ๗๑ รูป. ๒. ว่า ๕๙๔ คาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 532
ธรรม ๔ ผู้เป็นปณุนนปัจเจกสัจจะ (บรรเทาสัจจะเฉพาะอย่าง) ผู้เป็นสมวยสัฏเฐสนะ ผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว ผู้มีกายสังขารอันระงับแล้ว ผู้มีจิตหลุดพ้นด้วยดี และผู้มีปัญญาหลุดพ้นด้วยดี ชื่อว่ามี ๒ ประเภท ต่างโดยเป็นสาวิกาต่อหน้าและเป็นสาวิกาลับหลัง จริงอยู่ พระเถรีเหล่าใด เกิดในอริยชาติ [เป็นพระอริยะ] เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ มีพระมหาปชาบดีโคตมีเป็นต้นพระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่าสาวิกาต่อหน้า ส่วนพระเถรีเหล่าใดได้บรรลุคุณวิเศษภายหลังแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระเถรีเหล่านั้น แม้เมื่อพระธรรมสรีระของพระศาสดายังประจักษ์อยู่ ก็ชื่อว่าสาวิกาลับหลัง เพราะพระสรีระของพระศาสดา ไม่ประจักษ์แล้ว ชื่อว่ามี ๒ ประเภท โดยเป็นอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน แต่พระเถรีที่มาในพระบาลีนี้ เป็นอุภโตภาควิมุตติทั้งนั้น. ชื่อว่ามี ๒ ประเภทโดยต่างเป็นผู้มีอปทานและไม่มีอปทาน ก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ก็อปทานกล่าวคือความเป็นผู้บำเพ็ญบารมี โดยการกระทำบุญมาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในพระปัจเจกพุทธเจ้า และในพระสาวกพุทธะ ของพระเถรีเหล่าใดมีอยู่ พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่ามีอปทาน อปทานนั้นของพระเถรีเหล่าใดไม่มี พระเถรีเหล่านั้น ชื่อว่าไม่มีอปทาน. มี ๒ ประเภทคือ ผู้ได้อุปสมบทจากพระศาสดา ผู้ได้อุปสมบทจากสงฆ์ จริงอยู่ พระมหาปชาบดีโคตมี ผู้ได้อุปสมบท เพราะรับครุธรรม ชื่อว่าได้อุปสมบทจากพระศาสดา เพราะได้อุปสมบทจากสำนักพระศาสดา พระเถรีนอกนั้น ทั้งหมดชื่อว่าได้อุปสมบทจากสงฆ์ พระเถรีที่ได้อุปสมบทจากสงฆ์แม้เหล่านั้น ก็มี ๒ ประเภท คือผู้ได้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียว ผู้ได้อุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย บรรดาพระเถรีเหล่านั้น พระเถรีที่เป็นเจ้าหญิงศากยะ ๕๐๐ องค์ ออกผนวชพร้อมกับพระมหาปชาบดีโคตมีชื่อว่าได้อุปสมบทจากสงฆ์ฝ่ายเดียว เว้นพระมหาปชาบดีโคตมี เพราะได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 533
อุปสมบทจากภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว นอกจากนี้ ชื่อว่าได้อุปสมบทจากสงฆ์สองฝ่าย เพราะได้อุปสมบทจากอุภโตสงฆ์.
ในที่นี้ ไม่ได้หมวดสองสำหรับเอหิภิกขุนีเหมือนหมวดสองของเอหิภิกขุ เพราะเหตุไร เพราะการอุปสมบทอย่างนั้น ของภิกษุณีทั้งหลาย ไม่มี.ผิว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คำนั้นใด พระภัททากุณฑลเกสาเถรีกล่าวไว้ในเถรีคาถาว่า นิหจฺจ ชาณุํ วนฺทิตฺวา เป็นต้น แปลว่า
ข้าพเจ้าคุกเข่าถวายบังคม ทำอัญชลีต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่ามาเถิด ภัททา พระดำรัสสั่งนั้น เป็นอาสูปสัมปทา บวชโดยอาสาของข้าพเจ้า.
กล่าวคาถาไว้ในคัมภีร์อปทานว่า (๑) อายาจิโต ตทา อาห เป็นต้น แปลว่า
ครั้งนั้น พระผู้เป็นนายก ถูกข้าพเจ้าทูลวอนแล้วก็ตรัสสั่งว่า มาเถิดภัททา ครั้งนั้นข้าพเจ้าอุปสมบทได้เห็นน่าเล็กน้อย.
คำนั้น พระภัททากุณฑลเกสาเถรีกล่าวทำไม คำนี้พระเถรีมิได้กล่าวหมายถึงการอุปสมบท โดยเป็นเอหิภิกขุนีอุปสัมปทา แต่ท่านกล่าวเพราะเป็นเหตุแห่งการอุปสมบทว่า พระดำรัสสั่งของพระศาสดา เป็นอาสูปสัมปทาการบวชโดยอาสาของข้าพเจ้า.
จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า พระภัททากุณฑลเกสาเถรีกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า มาเถิด ภัททา ไปสำนักภิกษุณีบรรพชาอุปสมบทเสียในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย พระดำรัสสั่งของพระศาสดานั้นได้เป็นอุปสมบทของข้าพเจ้า เพราะเป็นเหตุแห่งการบวชของข้าพเจ้า บัณฑิตพึงเห็นว่า ท่านพรรณนาแม้ความแห่งอปทานคาถา โดยนัยอย่างนี้นี่แล.
๑. ขุ. ๓๓/ข้อ ๑๖๑ กุณฑลเกสีเถรีอปทาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 534
แม้เมื่อเป็นดังนั้น ในภิกขุนีวิภังค์ คำนี้ว่า มาเถิด ภัททา ท่านกล่าวทำไม คำนี้ เป็นคำส่องความไม่มีสภาพแห่งการบวชของภิกษุณีทั้งหลายว่าเป็นเอหิภิกขุนี เพราะการบวชอย่างนั้น ไม่มีแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ผิว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นทำไม ท่านจึงนิเทศคำอธิบาย ไว้ในวิภังค์ว่า เอหิภิกฺขุนี ก็เพราะการบวชนั้นตกอยู่ในกระแสแห่งเทศนานัย. จริงอยู่ ธรรมดาความที่การอุปสมบทตกอยู่ในกระแสนี้ มิใช่บังคับแก่เรื่องที่ได้อยู่ในที่ไหนๆ.
องค์ฌานแม้นี้ได้อยู่ ในมโนธาตุนิเทศ ในอภิธรรมท่านก็มิได้ยกขึ้นโดยความเป็นองค์ฌานที่ตกอยู่ในกระแสแห่งปัญจวิญญาณ เพราะไม่มีเทศนาไว้ในที่ไหนๆ ฉันใด หทัยวัตถุ ในวัตถุนิเทศในอภิธรรมนั้นนั่นแหละท่านก็มิได้ยกขึ้น โดยถือเอาหทัยวัตถุที่ไม่ได้อยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด ในฐิตกัปปินิเทศก็ฉันนั้น เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า (๑)
ก็ฐิตกัปปีบุคคลเป็นไฉน. คือบุคคลนี้ ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล มีอยู่ และเวลาไหม้ของกัปก็มีอยู่ กัปจะยังไม่ไหม้ไป ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งโสดาปัตติผล.
แม้ในที่นี้ บัณฑิตก็พึงทราบโดยการถือเอาการบวชที่ยังไม่ได้อยู่อย่างนั้น ก็คำนี้เป็นคำปริกัป ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงตรัสกะมาตุคาม [หญิง] โรๆ ซึ่งควรแก่ความเป็นภิกษุณีว่า เอหิ ภิกฺขุนี ไซร้ ความเป็นภิกษุณีก็จะพึงมีได้แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล. ถามว่า ก็เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสอย่างนี้. ตอบว่า เพราะไม่มีบุคคลผู้สร้างสมบารมีอย่างนั้น. แต่อาจารย์พวกใดกล่าวเหตุไว้ว่า เพราะบุคคลทั้งหลายอยู่ไม่ใกล้ชิด [พระพุทธเจ้า] แล้วกล่าว เพราะว่าพวกภิกษุเท่านั้น เที่ยวใกล้ชิด อยู่ใกล้ชิดพระศาสดา
๑. อภิ.ปุ. ๓๖/ข้อ ๓๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 535
เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงควรเรียกว่า เอหิภิกษุ พวกภิกษุณีไม่ควรเรียกว่า เอหิภิกขุนี คำนั้นก็เป็นเพียงมติของอาจารย์พวกนั้น. เพราะความเป็นผู้ใกล้และไกลพระศาสดา ไม่ทำให้สำเร็จความเป็นภัพพบุคคลและอภัพพบุคคลได้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า (๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่า ภิกษุพึงจับชายสังฆาฏิ ติดตามไปข้างหลัง สะกดรอยเท้าไป แต่ภิกษุนั้น มีอภิชฌามาก ร่านแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตคิดพยาบาท มีความดำริแห่งใจร้าย หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ใจไม่มั่นคง มีจิตหมุน มีอินทรีย์ไม่สำรวม โดยที่แท้ ภิกษุนั้นยังไกลเรา และเราก็ไกลภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ชื่อว่าไม่เห็นเรา.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่าภิกษุนั้น อยู่ไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ แต่ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่มีอภิชฌามาก ไม่ร่านแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตคิดพยาบาท ไม่ดำริแห่งใจร้าย มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว สำรวมอินทรีย์ ที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้เรา และเราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นเรา ดังนี้.
เพราะฉะนั้น ความที่บุคคลอยู่ใกล้และไกลพระศาสดา โดยเทศะไม่ใช่เหตุเลย ส่วนความที่ภิกษุณีทั้งหลาย ไม่คู่ควรในเรื่องเอหิภิกขุนีอุปสัมปทานั้น
๑. ขุ. อิติ ๒๕/ข้อ ๒๗๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 536
ก็เพราะภิกษุณีเหล่านั้น ไม่ได้สร้างสมบารมีไว้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าหมวดสองแห่งเอหิภิกขุนี ไม่ได้ในข้อนี้ พระเถรีมี ๒ ประเภทดังกล่าวมานี้.
พระเถรี มี ๓ ประเภท คืออัครสาวิกา มหาสาวิกา ปกติสาวิกาใน ๓ ประเภทนั้น พระเถรี ๒ รูป คือ พระเขมา พระอุบลวรรณา ชื่อว่าอัครสาวิกา พระเถรีผู้เป็นพระขีณาสพแม้ทุกรูป ทำศีลสุทธิเป็นต้นให้ถึงพร้อม มีจิตมั่นคงอยู่ในสติปัฎฐาน ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ทำกิเลสให้สิ้นไปไม่เหลือตามลำดับมรรค ดำรงอยู่ในผลอันเลิศก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นพระขีณาสวเถรีทั้งหลาย ชื่อว่ามหาสาวิกา ก็เพราะเป็นพระสาวิกา ผู้ยิ่งใหญ่ด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น เพราะคุณวิเศษอันดียิ่ง สำเร็จแล้วในสันดานของตน ด้วยความเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยอภินิหารและมีความยิ่งใหญ่โดยบุพ-ประโยค [บุพกรรม] เหมือนคุณวิเศษ ที่ปรารถนากัน สำเร็จด้วยความวิเศษแห่งการเจริญปุพภาคของทิฏฐิปัตตบุคคล โดยสัทธาวิมุ และของอุภโตภาควิมุตบุคคล โดยปัญญาวิมุต ฉะนั้น ก็พระขีณาสวเถรีแม้ทั้งสองรูปนั้น ชื่อว่าอัครสาวิกา ก็เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นเลิศ ด้วยคุณทุกอย่าง พร้อมทั้งความวิเศษ ด้วยการบรรลุบารมีชั้นอุกฤษฏ์ในปัญญาและสมาธิตามลำดับ ด้วยสัมมาปฏิบัติ ที่เกิดมาช้านาน ไม่ว่างเว้น โดยเคารพ เพราะเป็นผู้มีอภินิหารเกิดแต่สัมมาทิฏฐิสัมมาสมาธินั้น อันเหตุเกิดอานุภาพแห่งการทำที่ดียิ่งของสัมมาทิฏฐิและสัมมาสมาธิอันเป็นธุระ โดยเป็นประธานในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นนั่นแล ส่วนพระขีณาสวเถรีมีพระมหาปชาบดีโคตมีเป็นต้น ชื่อว่า มหาสาวิกา เพราะเป็นพระสาวิกาผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยคุณวิเศษที่ได้เพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยอภินิหาร และเพราะเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยบุพประโยค พระเถรีนอกนี้เป็นต้นอย่างนี้คือ พระเถรีกา พระติสสา พระวีรา พระธีรา ชื่อว่าปกติสาวิกา เพราะไม่มีคุณวิเศษ มีความเป็นผู้ยิ่งใหญ่โดยอภินิหารเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้า 537
ก็พระปกติสาวิกาเหล่านั้น ไม่นับเหมือนพระอัครสาวิกา และพระมหาสาวิกา ที่แท้พึงทราบว่าพระปกติสาวิกาเหล่านั้น มีจำนวนหลายร้อยหลายพัน. พระเถรี มี ๓ ประเภท โดยประเภทอัครสาวิกาเป็นต้น ดังกล่าวมาฉะนี้. มี ๓ ประเภท โดยประเภทสุญญตวิโมกข์เป็นต้น. ก็เหมือนอย่างนั้น มี๔ ประเภท โดยจำแนกตามปฏิปทาเป็นต้น. มี ๕ ประเภท โดยจำแนกตามความยิ่งด้วยอินทรีย์เป็นต้น. มี ๕ ประเภท โดยจำแนกตามข้อปฏิบัติเป็นต้นก็เหมือนอย่างนี้. มี ๖ประเภท มีอนิมิตตวิมุตติเป็นต้นต้น. มี ๗ ประเภท โดยประเภทอธิมุตติ. มี ๘ ประเภท โดยจำแนกตามธุรปฏิปทาเป็นต้น. มี ๙ ประเภทและ๑๐ ประเภท โดยจำแนกตามวิมุตติ. ก็พระเถรีเหล่านั้นๆ จำแนกโดยประเภทธุระ ตามที่กล่าวแล้ว ก็มี ๒๐ ประเภท. จำแนกโดยปฏิปทาก็มี ๔๐ประเภท. จำแนกตามประเภทแห่งปฏิปทา ตามประเภทแห่งธุระ ก็มีอีก ๘๐ประเภท. ก็หรือว่า จำแนกตามวิภาคแห่งสุญญตวิมุตติบุคคลเป็นต้น ก็มี ๒๔๐ ประเภท. จำแนกโดยวิภาคตามบุคคลที่ยิ่งด้วยวิริยะเป็นต้น ก็มี ๑,๒๐๐ ประเภท. บัณฑิตพึงทราบว่า พระเถรีเหล่านั้น ต่างกันมากประเภท ก็โดยคุณของตนอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. ความสังเขปในเถรีคาถาม มีดังกล่าวมานี้.ส่วนความพิศดาร พึงถือตามนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาเถรีคาถา ในหนหลังแล.
จบอรรถกถาสุเมธาเถรีคาถา
จบอรรถกถามหานิบาต
ในเถรีคาถามิรวมเป็นคาถา ๔๙๔ คาถา พระเถรี ๗๑ รูปนั้นล้วนแต่เป็นผู้สิ้นอาสวะ.
เถรีคาถาจบบริบูรณ์