พระราชดำรัส
ธรรมะในพระพุทธศาสนา มีความหมดจดบริสุทธ์ และสมบูรณ์ด้วยเหตุผล ซึ่งบุคคลสามารถจะศึกษาและปฏิบัติด้วยปัญญา ความเพ่งพินิจ ให้เกิดประโยชน์ คือ ความเจริญ ความผาสุกแก่ตนได้อย่างเที่ยงแท้ตั้งแต่ประโยชน์ขั้นพื้นฐานคือ การตั้งตัวได้เป็นปรกติสุข จนถึงประโยชน์ขั้นปรมัตถ์คือ หลุดพ้นจากเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดทุกประการ
ข้อนี้เป็นลักษณะพิเศษในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนามีคุณค่าประเสริฐสุด
[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 18
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฐิโก
อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
อกาลิโก
ไม่ประกอบด้วยกาล
เอหิปสฺสิโก
ควรเรียกให้มาดู
โอปนยิโก
ควรน้อมเข้ามา
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน
ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่
นระใดไม่เชื่อง่าย (คาถาธรรมบท)
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ต้องเป็นความเข้าใจของตนเองโดยเริ่มจากการศึกษาที่ถูกต้อง ธรรมที่เข้าใจถูกต้องนั่นแหละก็จะทำให้มีความเห็นถูก เมื่อเห็นถูก คิดก็ถูก วาจาก็ถูก แต่ต้องไม่ลืมว่าความเข้าใจผิดก็มีคิดว่าเข้าใจถูก ดังนั้น ถ้าไม่ตรวจสอบกับพระธรรมและสอบถามผู้รู้ก็สำคัญผิดได้ ธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดและมีหลายระดับ ตราบใดที่ยังไม่ใช่ปัญญาของตน ก็ทำให้เข้าใจผิดได้
ดังนั้น การจะเข้าใจความจริงในพระพุทธศาสนา ก็ต้องเริ่มจากการศึกษาพระธรรม และเป็นความเข้าใจของตนเองทีละเล็กละน้อย และธรรมนั่นแหละจะขัดเกลา และเห็นผลกับตนเองจนเข้าใจว่า นี่แหละคือคุณค่าของพระพุทธศาสนา เพราะเข้าใจเท่าใดพระธรรมก็ขัดเกลาตามความเข้าใจเท่านั้น ประจักษ์ด้วยตนเองได้ครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
การอบรมอินทรีย์ ๕ เป็นอย่างไรคะ
การศึกษาธัมมะและการเจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าอบรมอินทรีย์ ๕
การสำรวมอินทรีย์ เพียรระวังไม่ให้อกุศลเกิด ขณะที่สติปัฏฐานเกิดชื่อว่า สำรวมอินทรีย์ค่ะ
เข้าใจแล้ว ... ขออนุโมทนาค่ะ
อินทรีย์ หมายถึง ความเป็นใหญ่ มีทั้งหมด ๒๒ อินทรีย์ ซึ่งมีทั้งรูปและนามสำรวมอินทรีย์ หรือสติสังวร หมายถึง สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อบรมอินทรีย์ ๕ คือ การอบรมให้มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา เพิ่มขึ้น
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ