"สัพพโลเกอนภิรตสัญญา" (สับ - พะ - โล -เก - อะ - นะ -พิ - ระ - ตะ - สัน - ยา)
สำหรับ สัญญาที่ ๔ คือ การเจริญ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา คือ ไม่เห็นว่าสิ่งใดๆ ในโลกเป็นที่น่ายินดี ย่อมทำให้จิตหวนหลับ งอกลับ ถอยกลับจากความวิจิตรของโลก หรือความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก ซึ่งตามปกติแล้ว ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลกซึ่งเพิ่มขึ้นทุกวันตามความคิดที่วิจิตรขึ้น บางท่านตื่นเช้า อ่านรายการสินค้าแล้วนะคะว่าที่ประเทศไหน ผลิตสินค้าอย่างไหน แล้วก็จะออกจำหน่ายเมื่อไร เริ่มตั้งแต่เช้าทีเดียว ก็เริ่มมีรายการสินค้าต่างๆ ซึ่งวิจิตรยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ของใช้ต่างๆ แต่ถ้าเป็นผู้ที่เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ไม่เห็นว่าสิ่งใดๆ ในโลกเป็นที่น่ายินดี ไม่ได้เป็นผู้ที่สนใจที่จะต้องตามความวิจิตรของโลก
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการเจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น คือไม่เห็นว่าสิ่งใดๆ ในโลกเป็นที่ยินดี ตามที่ชาวโลกกำลังยินดี ไปตามความวิจิตรที่เพิ่มขึ้น
อสุภสัญญา - สัญญาที่ ๑
มรณสัญญา - สัญญาที่ ๒
อาหาเรปฏิกูลสัญญา - สัญญาที่ ๓
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา - สัญญาที่ ๔
อนิจจสัญญา - สัญญาที่ ๕
อนิจเจทุกขสัญญา - สัญญาที่ ๖
ทุกเขอนัตตสัญญา - สัญญาที่ ๗
...บรรยายโดย...
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
สังฆาทิเสส เป็นอาบัติหนัก ต้องปลงอาบัติ เช่น ต้องบอกโทษของตนกับภิกษุอื่นถูกจำกัดที่ แต่ ถ้าสึกเป็นคฤหัสถ์แล้ว อาบัติไม่ติดตัวมา ไม่กั้นสวรรค์ และ นิพพาน ค่ะ พระอรหันต์ ไม่ได้มีเฉพาะ โวฎฐัพพนะวาระ แต่ เกิด ชวนจิตได้ ด้วยจิต 2 ชาติ กิริยาจิต และวิบากจิต ท่านจึงยังมีวาระอื่นๆ มี ชวนวาระได้ ค่ะ
ขออนุโมทนาสาธุด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ