[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 471
เถรคาถา เอกนิบาต
วรรคที่ ๑๑
๓. พันธุรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพันธุรเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 50]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 471
๓. พันธุรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพันธุรเถระ
[๒๔๐] ได้ยินว่า พระพันธุรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราไม่มีความต้องการด้วยลาภ คือ อามิสนั้น มีความสุขพอแล้ว เป็นผู้อิ่มเอิบแล้ว ด้วยรสแห่งธรรม ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศเช่นนี้แล้ว จะไม่กระทำความสนิทสนมด้วยรสอื่น อีก.
อรรถกถาพันธุรเถรคาถา
คาถาของท่านพระพันธุรเถระ เริ่มต้นว่า นาหํ เอเตน อตถิโก. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เป็นผู้คุ้มครองในพระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่งในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ในวันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 472
พร้อมด้วยบริษัทเสด็จผ่านสนามหน้าพระราชวัง มีจิตเลื่อมใสเก็บดอกชบาไปบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นบุตรแห่งเศรษฐี ในสีลวดีนคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า พันธุระ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว ไปในกรุงสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง แล้วไปสู่พระวิหาร พร้อมด้วยอุบาสกทั้งหลาย ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก เพราะเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เชษฐบุรุษของโลก เสด็จดำเนินไปสู่พระนคร เราเป็น พระสาวกทั้งหลาย เสด็จดำเนินไปสู่พระนคร เราเป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้คุ้มครอง ในภายในพระราชวัง เราเข้าไปในปราสาท ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำของโลก จึงถือเอาดอกชบา ไปโปรยลงในภิกษุสงฆ์ แยกพระพุทธเจ้าไว้แผนกหนึ่ง โปรยดอกชบาลงบูชา ยิ่งกว่านั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๘๗ แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีนามว่า มหิทธิกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 473
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีกตัญญู ไปสู่พระนครสีลวดี เพื่อสนองพระคุณพระราชา ผู้มีอุปการะแก่ตน เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ประกาศสัจจะทั้งหลายแล้ว. ในเวลาจบสัจจะ พระราชาเป็นพระโสดาบัน ให้สร้างวิหารใหญ่ ชื่อว่า สุทัสสนะ ในพระนครของพระองค์ มอบถวายแก่พระเถระ. พระเถระ ได้เป็นผู้มีลาภสักการะอย่างใหญ่หลวง.
พระเถระมอบวิหาร และลาภสักการะทั้งหมด แก่สงฆ์ (ส่วน) ตนเอง เที่ยวบิณฑบาตยังอัตภาพให้เป็นไป โดยทำนองก่อนนั่นแล พักอยู่ในสีลวดีนครนั้น สิ้นวันเล็กน้อย ได้เป็นผู้มีความประสงค์จะไปสู่พระนครสาวัตถี.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ ถ้าบกพร่องด้วยปัจจัยทั้งหลาย พวกข้าพเจ้าจักยังปัจจัยนั้นให้บริบูรณ์. พระเถระเมื่อจะแสดงความ ให้ทราบว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยอันโอฬาร เรายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เราเป็นผู้มีความพอใจด้วยรสพระธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาว่า
เราไม่มีความต้องการด้วยลาภ คืออามิสนั้น มีความสุขพอแล้ว อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ครั้นได้ดื่มรสอันล้ำเลิศเช่นนี้แล้ว จะไม่กระทำความสนิทสนมด้วยรสอื่นอีก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ เอเตน อตฺถิโต ความว่า ท่านทั้งหลายมีความประสงค์จะให้เราอิ่มหนำ ยินดีด้วยอามิสใด จึงกล่าวว่า พวกข้าพเจ้า จักทำปัจจัยให้บริบูรณ์ เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคืออามิสนี้ อันมีอามิสคือปัจจัยเป็นรส เราคำนึงอยู่ว่า เราไม่มีความต้องการด้วยลาภคือ อามิสนี้ (เพราะ) ความสันโดษเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ จึงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้า 474
บัดนี้พระเถระเมื่อจะประกาศเหตุอันเป็นหลัก ในความไม่ต้องการ ด้วยลาภคืออามิสนั้น จึงกล่าวว่า เรามีความสุขพอเพียงแล้ว อิ่มเอิบแล้วด้วยรสพระธรรม ดังนี้. อธิบายว่า เราอิ่มเอิบแล้ว คือยินดีแล้ว คือถึงความสุข ได้แก่ มีความพอใจโดยมีสุข ด้วยรสแห่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และด้วยรสแห่งโลกุตรธรรม ๙.
บทว่า ปิตฺวา รสคฺคมุตฺตมํ ความว่า ดื่มรสแห่งพระธรรมอันสูงสุด ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า เลิศ คือประเสริฐที่สุดในรสทั้งปวงเท่านั้นดำรงอยู่แล้ว. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสแห่งพระธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ดังนี้. บทว่า น จ กาหามิ วิเสน สนฺถวํ ความว่า การดื่มรสพระธรรม อันเป็นรสล้ำเลิศเห็นปานนี้ ตั้งอยู่แล้วจักไม่ทำความสนิทสนม คือ การคลุกคลีด้วยรสอื่น คือรสอันเป็นพิษ เช่นกับยาพิษ อธิบายว่า ไม่มีเหตุให้ต้องกระทำอย่างนั้น.
จบอรรถกถาพันธุรเถรคาถา