[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 339
ตติยปัณณาสก์
สมณสัญญาวรรคที่ ๑
๓. มิจฉัตตสูตร
ภิกษุอาศัยมิจฉัตตะ ๑๐ จึงพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 339
๓. มิจฉัตตสูตร
ภิกษุอาศัยมิจฉัตตะ ๑๐ จึงพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตะอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 340
ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งมั่นผิด ผู้มีความตั้งมั่นผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล.
จบมิจฉัตตสูตรที่ ๓
อรรถกถามิจฉัตตสูตรที่ ๓
มิจฉัตตสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิราธนา โหติ ความว่า พลาดจากสวรรค์และมรรค ย่อมมี. บทว่า โน อาราธนา ความว่า ความสำเร็จผลก็ไม่มี ความทำให้บริบูรณ์ ก็ไม่มี. บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมเป็นไป.
จบอรรถกถามิจฉัตตสูตรที่ ๓