[เล่มที่ 19] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 108
๖. มหาสัจจกสูตร
สัจจกนิคันถบุตรทูลถามปัญหา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 19]
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 108
๖.มหาสัจจกสูตร
สัจจกนิคันถบุตรทูลถามปัญหา
[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา (เรือนยอดกว้างใหญ่) ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี. ก็แล สมัยนั้น ตอนเช้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตรและจีวร มีพระพุทธประสงค์จะเสด็จเข้าไปทรงบาตร ณ กรุงเวสาลี. ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถบุตรเมื่อเดินเที่ยวไปมาอยู่ ่ ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ถึงกูฏาคารศาลา. พระอานนท์ได้เห็นสัจจกนิคันถบุตรกําลังมาแต่ไกลก่อน ครั้นเห็นแล้วจึงได้ทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิคันถบุตรผู้นี้เป็นคนพอใจนั่งสนทนาด้วยลัทธินั้นๆ กล่าวยกตนว่าเป็นคนเจ้าปัญญา มหาชนสมมติว่า เป็นคนมีความรู้ดีมาอยู่ณ บัดนี้. พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิคันถบุตรผู้นี้แลใคร่จะติเตียนพระพุทธเจ้า, พระธรรม, พระสงฆ์, พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดประทับนั่งสักครู่ เพื่อทรงอนุเคราะห์จะเป็นการดีพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ปูไว้. ครั้งนั้นแล สัจจกนิคันถบุตร ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า, ครั้นเข้าไปถึงแล้วได้บันเทิง,ปราศรัยแต่ล้วนถ้อยคําที่น่าบันเทิง น่าระลึกกับด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง
[๔๐๖] ครั้นสัจจกนิคันถบุตรนั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่พระโคดมสมณพราหมณ์พวกหนึ่งประกอบเพียรแต่กายภาวนาอยู่, แต่ไม่ประกอบจิตตภาวนา พระโคดม สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ก็ย่อมถูกต้องทุกขเวทนาอันเกิดในสรีระ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 109
พระโคดม เรื่องนี้เคยมีแล้ว เมื่อบุคคลที่ทุกขเวทนาเกิดในสรีระ. ถูกต้องแล้ว ชื่อว่าการเมื่อยขาบ้างก็จักมี, ชื่อว่าหัวใจบ้างจักแตกไป, โลหิตที่ร้อนบ้าง จักออกจากปาก, จักถึงกะเป็นบ้าเสียจิตไปบ้าง, พระโคดม จิตนี้ย่อมเนื่องด้วยกาย, เป็นไปด้วยอํานาจของกายของบุคคลนั้นแล. ข้อนั้น เพราะอะไรเพราะยังไม่ได้อบรม. มีอยู่พระโคดม ส่วนว่า สมณะและพราหมณ์พวกหนึ่ง ประกอบความเพียรทางจิตตภาวนาอยู่ แต่ไม่ประกอบกายภาวนา.พระโคดม สมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ก็ย่อมถูกต้องทุกขเวทนาทางจิตและเจตสิก. พระโคดม เรื่องนี้เคยมีแล้วเมื่อบุคคล ที่ทุกขเวทนาเป็นไปในจิตถูกต้องแล้ว ชื่อว่า การเมื่อยขา จักมี, ชื่อว่าหัวใจบ้างจักแตกไป,โลหิตที่ร้อนบ้างจักออกจากปาก, จักถึงกะเป็นบ้าเสียจิตไปบ้าง, พระโคดม กายนี้เนื่องด้วยจิต เป็นไปด้วยอํานาจของจิตของบุคคลนั้นแล. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะกายยังไม่ได้อบรม. พระโคดม ความสําคัญของข้าพเจ้านั้น มีอยู่อย่างนี้ว่า "เหล่าสาวกของพระโคดม คงจะประกอบเพียรแต่จิตตภาวนาอยู่ ไม่ประกอบกายภาวนา อย่างแน่นอน"
[๔๐๗] พ. ก็กายภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วว่ากะไร
ส. พระโคดม ก็ท่านผู้มีชื่อเหล่านี้คือชื่อนันทะเป็นวัจฉโคตร ชื่อกีสะเป็นสังกิจจโคตร ชื่อมักขลิเกิดในโรงโค ๑, ล้วนถือเพศเปลือยไร้มารยาทเลียมือ, ไม่รับภัตตาหาร ที่บุคคลร้องว่ามานี่เจ้าข้า...หยุดก่อนเจ้าข้า,ไม่รับภัตตาหาร ที่บุคคลตรงเข้ามาให้...ที่บุคคลเจาะจงให้..ที่บุคคลนิมนต์,ท่านเหล่านั้น ไม่รับภัตตาหารแต่ปากหม้อ...แต่ก้นกะทะ...ที่ยืนคร่อมประตูให้...ที่ยืนคร่อมท่อนไม้ให้...ที่ยืนคร่อมสากให้...เมื่อชนทั้งสองกําลังบริโภคอยู่...ของหญิงมีครรภ์...ของแม่ลูกอ่อนกําลังให้ลูกดื่มน้ำนมอยู่...ของหญิงไปสู่ชายชู้แล้ว, ไม่รับภัตตาหารทั้งหลายที่เรี่ยไรไม่รับภัตตาหารในที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 110
สุนัข มีสุนัขปรากฏ ... ในที่แมลงวันตอมเป็นหมู่ไม่รับปลา ... เนื้อ, ไม่ดื่มสุรา ... เมรัย ... น้ำเจือด้วยแกลบ (น้ำอุ) คือ ท่านเหล่านั้น รับเรือนเดียว บริโภคคําเดียวบ้าง, รับสองเรือน บริโภคสองคําบ้าง ฯลฯ รับเจ็ดเรือน บริโภคเจ็ดคําบ้าง. ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยถาดใบเดียวบ้าง, ด้วยถาดสองใบบ้าง, ฯลฯ ... เจ็ดใบบ้าง, นําอาหารมาวัน ๑ บ้าง, ... ๒ วันบ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง,ท่านประกอบความเพียรด้วยการบริโภคตามวาระ สิ้นกาลประมาณกึ่งเดือนบ้างอยู่ด้วยประการดังนี้.
พ. อัคคิเวสสนะก็ท่านเหล่านั้น ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยการบริโภคภัตตาหารเพียงเท่านั้นหรือ
ส. ข้อนี้หามิได้เลย, พระโคดม บางคราว ท่านก็ขบฉันของควรขบฉันที่ประณีตๆ ฉันโภชนะที่ประณีตๆ ลิ้มของลิ้มที่ประณีตๆ ดื่มน้ำควรดื่มที่ประณีตๆ ท่านเหล่านั้น ชื่อว่ายังกายนี้ให้ถือเอากําลัง ชื่อว่า ให้เติบโตให้เกิดไขมัน.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านเหล่านั้น ละการทําสิ่งที่ยากมีในก่อนเสียแล้ว ทําให้อิ่มหนําสําราญในภายหลัง ความเจริญแลความเสื่อมย่อมมีแก่กายนี้อย่างนี้.
ว่าด้วยกายภาวนา และจิตตภาวนา
[๔๐๘] อัคคิเวสสนะ ก็จิตตภาวนา ท่านได้ฟังมาแล้วว่ากระไรเล่าสัจจกนิคันถบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามในจิตตภาวนาแล้วไม่สามารถจะกราบทูลได้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้กะสัจจกนิคันถบุตรว่า "อัคคิเวสสนะ ถึงกายภาวนาใด มีอยู่แต่ก่อนที่ท่านได้เจริญแล้วแม้กายภาวนานั้น ไม่เป็นธรรม ในอริยวินัย อัคคิเวส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 111
สนะ แม้แต่กายภาวนา ท่านยังไม่รู้เสียแล้ว, ไหนท่านจะรู้ไปถึงจิตตภาวนาได้เล่า. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ว่า อย่างไรจะไม่ใช่เป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วก็ดีจะไม่ใช่เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วก็ดี, จะเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วก็ดีจะเป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วก็ดี, ท่านจงฟังอย่างนั้น ทําไว้ในใจ ให้สําเร็จประโยชน์,เราจักกล่าวให้ฟัง, สัจจกนิคันถบุตร ยอมรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้นแลพระองค์.
[๔๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า อัคคิเวสสนะอย่างไร จะเป็นผู้ชื่อว่าไม่ใช่ผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย จะไม่ใช่เป็นผู้ชื่อว่าผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย อัคคิเวสสนะ เมื่อปุถุชน ณ โลกนี้ ไม่ใช่เป็นผู้สดับแล้ว สุขเวทนา เกิดขึ้น, เขาเป็นผู้ถูกสุขเวทนาถูกต้อง ย่อมเป็นผู้มีความกําหนัดต่อสุขเวทนาแล ถึงความเป็นผู้มีความกําหนัดต่อสุขเวทนาด้วย, สุขเวทนานั้นของเขาดับไป, เพราะสุขเวทนาดับไป, ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น, เขาเป็นผู้ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมเศร้าใจลําบากร่ําไรคร่ําครวญทุบอก ถึงความหลงใหลไป, สุขเวทนานั้น แม้เกิดขึ้นแล้วแก่เขา ก็ครอบงําจิตตั้งอยู่ เพราะความที่ภายเป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้, ทุกขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้วก็ครอบงําจิต ตั้งอยู่ เพราะความที่จิตเป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้วก็ครอบงําจิต ตั้งอยู่ เพราะความที่กายเป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้, ทุกขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้วก็ครอบงําจิต ตั้งอยู่ เพราะความที่จิตเป็นของที่ตนไม่ได้เจริญไว้. อัคคิเวสสนะ อย่างนี้แลเป็นผู้ชื่อว่าไม่ใช่เป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วยไม่ใช่เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย.
อัคคิเวสสนะก็อย่างไรเล่า ชื่อว่าเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย อัคคิเวสสนะ เมื่ออริยสาวก ผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ สุขเวทนาเกิดขึ้น, เธอถูกสุขเวทนาถูกต้อง มิได้เป็นผู้มีความกําหนัดสุขเวทนา มิได้ถึงความเป็นผู้มีความกําหนัดสุขเวทนา สุขเวทนาของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 112
เธอนั้นดับไป, เพราะสุขเวทนาดับไป ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ไม่เศร้าใจไม่ลําบากไม่ร่ําไรไม่คร่ําครวญทุบอก ไม่ถึงความหลงใหลไป. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนานั้น แม้เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ได้เพราะความที่กายเป็นของที่เธอได้เจริญไว้, ทุกขเวทนา แม้เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ได้เพราะความที่จิตเป็นของที่เธอได้เจริญไว้. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้วเป็นสองฝ่ายแก่ใครๆ อย่างนี้ก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ได้เพราะความที่กายเป็นของที่ตนได้เจริญไว้. ทุกขเวทนาแม้เกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่ครอบงําตั้งอยู่ได้ เพราะความที่จิตเป็นของที่ตนได้เจริญ. อัคคิเวสสนะอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย ชื่อว่าเป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย.
ส. ข้าพเจ้าได้เลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้ว่า อันที่จริง พระโคดม ได้เป็นผู้มีกายอันเจริญแล้วด้วย เป็นผู้มีจิตอันเจริญแล้วด้วย.
ทรงชี้แจงเรื่องเวทนา
[๔๑๐] พ. อัคคิเวสสนะ วาจานี้ ท่านนําเข้ามาพูดกระทบอย่างแน่แท้ก็แต่ว่า เราจักพยากรณ์แก่ท่าน, อัคคิเวสสนะ เมื่อใดแลเราได้ปลงผมแลหนวดครองกาสาวพัสตร์ออกจากเรือน บวช สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงําจิตของเราตั้งอยู่หรือ หรือทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นแล้วจักครอบงําจิตของเราอยู่หนอดังนี้ นี่มิใช่ฐานะอันจะมีได้.
ส. สุขเวทนาเห็นปานใด ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงครอบงําจิตตั้งอยู่, สุขเวทนาเห็นปานนั้น จะไม่เกิดขึ้นแก่พระโคดมเลยเป็นแน่, ทุกขเวทนาเห็นปานใด ที่เกิดขึ้นแล้ว พึงครอบงําจิตตั้งอยู่, ทุกขเวทนา เห็นปานนั้น จะไม่บังเกิดขึ้นแก่พระโคดมเลยเป็นแน่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 113
[๔๑๑] พ. อัคคิเวสสนะ ทําไมจะไม่พึงมีเล่า, อัคคิเวสสนะ ในโลกนี้ ก่อนแต่ตรัสรู้เทียว เมื่อเรายังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ทีเดียวความปริวิตกเรื่องนี้ได้มีแก่เราว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลีเครื่องหมองใจ ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสอันแจ้ง การที่ผู้อยู่ครองเรือนประพฤติพรหมจรรย์ให้เต็มที่ส่วนเดียว บริสุทธิ์ส่วนเดียว ดังสังข์ที่ขัดแล้วนี้ จะทําได้มิใช่ง่าย. ถ้ากระไร เราพึงปลงผมแลหนวด ครองผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือน บวช อัคคิเวสสนะโดยสมัยอื่น เรากําลังหนุ่ม เกสายังดําสนิท ยังบริบูรณ์พร้อมด้วยเยาว์ เครื่องเจริญชั้นปฐมวัยอยู่ทีเดียวเมื่อมารดาบิดาไม่ประสงค์จะให้บวช พากันร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ เราได้ปลงผมแลหนวดครองผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชแล้วเราบวชแล้วแสวงอยู่แต่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาทางสงบอันประเสริฐที่ไม่มีสิ่งไรยิ่งกว่าคือพระนิพพาน, ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร จึงได้กล่าวข้อประสงค์อันนี้กะอาฬารดาบส กาลามโคตรว่า ท่านกาลามะเราปรารถนาประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย. อัคคิเวสสนะครั้นเรากล่าวอย่างนั้นแล้วอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้กล่าวตอบเราว่า เชิญอยู่เถิดท่าน ถ้าเป็นบุรุษผู้รู้แจ้งธรรมนี้เป็นเช่นท่าน ไม่ช้าเลย พึงทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตน เข้าไปหาอาจารย์ของตนแล้วแลอยู่ได้ อัคคิเวสสนะ เรานั้น ได้เล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวแท้ ไม่นานเลย. อัคคิเวสสนะเรานั้นแล กล่าวญาณวาทะ แลเถรวาทะ ด้วยอาการเผยริมฝีปากพูดเท่านั้นอนึ่ง เราย่อมปฏิญญาได้ว่า เรารู้เราเห็น ดังนี้, ใช่แต่เราผู้เดียวถึงพวกอื่น ก็กล่าวแลปฏิญญาได้เหมือนกัน. อัคคิเวสสนะ ปริวิตกได้มีแก่เราว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรไม่ประกาศธรรมนี้เพียงศรัทธาอย่างเดียวว่า เรากระทําให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งของตนเข้าถึงอยู่ อาฬารดาบสกาลามโคตรคงรู้เห็นอยู่ แต่เพียงธรรมนี้เท่านั้นเป็นแน่ อัคคิเวสสนะเราตก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 114
อยู่ ณ ระหว่างปริวิตกฉะนี้ จึงได้เข้าไปหา อาฬารดาบส กาลามโคตร,จึงได้กล่าวคํานี้กะอาฬารดาบส กาลามโคตรว่า ท่านกาลามะ ท่านได้รู้แจ้ง จนถึงที่เองแล้วแลบอกให้รู้ได้แต่ธรรมนี้ เพียงเท่านี้ดอกหรืออัคคิเวสสนะครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงได้บอกให้รู้ถึง อากิญจัญญายตนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราอีกว่า "ศรัทธา จะได้มีแต่ของอาฬารดาบส กาลามโคตร ผู้เดียวหามิได้, ถึงศรัทธาของเราก็มี,วิริยะ...สติ...สมาธิ... ปัญญาจะได้มีแต่ของอาฬารดาบส กาลามโคตรผู้เดียวหามิได้, ถึงวิริยะ...ถึงสติ...ถึงสมาธิ...ถึงปัญญา ของเราก็มีอยู่.ถ้ากระไรเราต้องตั้งความเพียรเพื่อจะทําให้แจ้ง เรื่องธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตร ปฏิญญาว่า เราได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่ เสียให้ได้ อัคคิเวสสนะ เราครั้งนั้นก็ได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ได้เองแล้วแลอยู่ ฉับไวแท้ ไม่นานเลย อัคคิเวสสนะ ครั้นแล้วเราได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรได้กล่าวคํานี้กะอาฬารดาบส กาลามโคตรว่า ท่านกาลามะ ท่านได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแล บอกให้รู้ทั่วถึงได้เพียงเท่านี้ดอกหรือ.
อา. เพียงเท่านี้แล เราได้รู้ แจ้ง เข้าไปถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแล บอกให้รู้ทั่วถึงได้. แม้เราก็ได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลอยู่ได้เพียงเท่านี้เหมือนกัน.
พ. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว มิเสียแรงเราได้เห็นท่านซึ่งเป็นเพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เช่นท่าน. เรารู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมใดเองแล้วแล ประกาศให้รู้ทั่วไป, ท่านก็มารู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้วแลอยู่, เราก็รู้ แจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไปอย่างนี้. เรารู้ธรรมใดนั้น ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใดเราก็รู้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 115
ธรรมนั้นอย่างนี้. เราเช่นใดท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น อย่างนี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปกครองคณะนี้ด้วยกัน. อัคคิเวสสนะอาฬารดาบส กาลามโคตร เมื่อเป็นอาจารย์เรา ตั้งเราเป็นศิษย์ให้เสมอกับตน ยังให้บูชาเราด้วยการบูชาที่ยิ่ง ดังนี้. อัคคิเวสสนะ เราได้ปริวิตกต่อไปว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกําหนัดเพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพื่อเพียงอุปบัติแห่งอากิญจัญญายตนะ เท่านั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้นเบื่อจากธรรมนั้นหลีกไปเสีย.
[๔๑๒] อัคคิเวสสนะ ครั้นเราหลีกไปจากสํานักอาฬารดาบสกาลามโคตรแล้วเป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาทางสงบอันประเสริฐไม่มีสิ่งไรยิ่งกว่าได้เข้าไปหาอุททกดาบสรามบุตรได้กล่าวกะอุททกดาบสรามบุตรว่า ท่านรามะเราปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส รามบุตรจึงกล่าวกะเราว่า เชิญอยู่เถิดท่านถ้าเป็นบุรุษรู้แจ้งในธรรมเช่นท่านไม่นานเลยคงรู้จริงแจ้งกะจิต เข้าไปหาอาจารย์ของตนแล้วแลอยู่ได้ อัคคิเวสสนะเรานั้น ได้เล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวแท้ไม่นานเลย. อัคคิเวสสนะเรานั้นแล กล่าวญาณวาทะ แลเถรวาทะด้วยอาการเผยริมฝีปากพูดเท่านั้น. อนึ่งเราปฏิญญาได้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ใช่แต่เราผู้เดียวถึงพวกอื่นก็กล่าวแลปฏิญญาได้เหมือนกัน อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราว่า อุททกดาบส รามบุตร ไม่ประกาศธรรมนี้เพียงศรัทธาว่า เรารู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่" อุทกกกดาบส รามบุตร คงรู้เห็นอยู่แต่เพียงธรรมนี้เท่านั้นเป็นแน่. อัคคิเวสสนะ เราจึงได้เข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตรได้กล่าวคํานี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า ท่านรามะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 116
ท่านได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลบอกให้รู้ได้แต่ธรรมนี้เพียงเท่านี้ดอกหรือ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส รามบุตร จึงได้บอกถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรารู้ดังนั้น จงเกิดปริวิตกอีกว่า ศรัทธา จะได้มีแต่ของท่านรามะผู้เดียวก็หาไม่ถึงศรัทธาของเราก็มี วิริยะ...สติ...สมาธิ... ปัญญาจะได้มีแต่ของท่านรามะผู้เดียว ก็หาไม่ ถึงวิริยะ...ถึงสติ...ถึงสมาธิ...ถึงปัญญาของเราก็มีอยู่ ถ้ากระไรเราต้องตั้งความเพียรเพื่อจะการทําให้แจ้ง เรื่องธรรมที่ท่านรามะปฏิญญาว่า เรารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่" ดังนี้นั้นเสียให้ได้ อัคคิเวสสนะ เรานั้นก็ได้รู้จริงแจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้วแล อยู่ฉับไวแท้ไม่นานเลย. ครั้นแล้วเราได้เข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตรได้กล่าวคํานี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า ท่านรามะ ท่านได้รู้จริงแจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไปได้ เพียงเท่านี้ดอกหรือ".
อุ. เพียงเท่านี้นั้นแลเราได้รู้จริงแจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไป แม้เราก็ได้รู้จริงแจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลอยู่ ได้เพียงนี้เท่านั้นเหมือนกัน.
พ. เป็นลาภของเราแล้วเราได้ดีแล้ว มิเสียแรงเราได้เห็นท่านผู้เป็นเพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เช่นท่าน รามะได้รู้จริงแจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมใดเองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไป, ท่านก็มารู้จริงแจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมใดเองแล้วแลอยู่รามะก็ได้รู้จริงแจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมนั้นเองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไป อย่างนี้. รามะได้รู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น อย่างนี้, ท่านได้รู้ธรรมใดรามะก็ได้รู้ธรรมนั้น รามะได้เป็นเช่นใด ท่านก็ได้เป็นเช่นนั้นท่านเป็นเช่นใดรามะก็ได้เป็นเช่นนั้นดังนี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปกครองคณะนี้กันเถิดอัคคิเวสสนะ อุททกดาบส รามบุตรเมื่อเป็นพรหมจารีของเราได้ตั้งเราในฐานะเป็นอาจารย์ยังให้บูชาเราด้วยการบูชาที่ยิ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 117
อย่างนี้. อัคคิเวสสนะความปริวิตกได้มีแก่เราต่อไปว่า ธรรมนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกําหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงอุปบัติแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้นเอง. อัคคิเวสสนะ เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไปเสีย.
[๔๑๓] อัคคิเวสสนะครั้นเราหลีกไปจากสํานักอุททกดาบสรามบุตรแล้ว เป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าสิ่งไรเป็นกุศล ค้นหาส่วนที่เป็นสิ่งประเสริฐที่ไม่มีสิ่งไรยิ่งกว่า เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลําดับ ในมคธชนบททั้งหลายได้อยู่ที่อุรุเวลาประเทศเสนานิคม ได้เห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวเป็นทิวเป็นที่โปร่งใจ, แม่น้ำกําลังไหล สีขาวจืดสนิทมีท่าอันดีน่ารื่นรมย์บ้านโคจรคามตั้งอยู่รอบ. อัคคิเวสสนะ ความปริวิตกได้มีแก่เราว่า" ภูมิประเทศนี้ ราบรื่นจริงหนอ แนวป่าเขียวเป็นทิว เป็นที่โปร่งใจแม่น้ำกําลังไหล สีขาวจืดสนิทมีท่าอันดี เป็นที่รื่นรมย์บ้านโคจรคามก็ตั้งอยู่รอบ. ที่อันนี้สมควรเพื่อจะเป็นที่ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ตั้งความเพียรได้" อัคคิเวสสนะ เราครั้งนั้น ได้หยุดพักอยู่ที่นั้น ด้วยคิดเห็นว่า" ที่นี้พอแล้วเพื่อจะตั้งความเพียร
อุปมา ๓ ข้อ
[๔๑๔] อัคคิเวสสนะ ที่ตรงนี้มีเรื่องอุปมา ๓ ข้อไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อนได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะ เหมือนหนึ่งว่าไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง บุคคลตัดแช่น้ำไว้, ยังมีบุรุษหนึ่ง พึงมาเอาไปทําเป็นไม้สีไฟ ด้วยคิดว่า เราจักสีให้ไฟเกิด ทําเตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความที่ว่านั้นเป็นไฉน. บุรุษนั้นเมื่อถือเอาไม่สดชุ่มอยู่ด้วยยางที่บุคคลตัดแช่น้ำไว้โน้น ทําเป็นไม้สีไฟ สีอยู่ จะพึงให้เกิดไฟ ทําเตโชธาตุให้ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 118
ส. ไม่ได้เลยข้อนี้ พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระโคดม เพราะว่า โน้นก็เป็นไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง มิหนําแช่น้ำไว้อีก, บุรุษนั้นมิใยสีไป ก็จะมีแต่ส่วนเหนื่อยกายคับใจเท่านั้นเอง.
พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็อย่างสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งแต่เพียงกายก็ยังหลีกออกจากกาม (คือวัตถุที่น่ารักใคร่) ทั้งหลายไปไม่ได้แล้วแลอยู่ บรรดากิเลสทั้งหลาย อันมีกามเป็นที่ตั้ง ความพอใจในกาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายในกาม ส่วนใดของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ยังไม่ได้ละเสียด้วยดี ยังไม่ได้ระงับซ้ำเสียด้วยดี ณ ภายใน. ถึงหากว่าท่านสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวย ซึ่งทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะให้เกิดญาณทัสสนะคือ ปัญญาตรัสรู้อันยอดเยี่ยมขึ้นไปเลย ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ นี้เป็นอุปมาข้อแรกที่ไม่น่าอัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.
[๔๑๕] อัคคิเวสสนะยังอุปมาอื่นอีกเป็นข้อที่สองไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะเหมือนหนึ่ง ว่า ไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง บุคคลตัดไว้บนบกไกลน้ำ ยังมีบุรุษคนหนึ่ง พึงเอาไปทําเป็นไม้สีไฟสีอยู่ ด้วยคิดว่า เราจักสีให้เกิดไฟทําเตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความที่ว่านั้นเป็นไฉน บุรุษนั้น เมื่อถือเอาไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง ที่บุคคลวางไว้บนบกไกลน้ำโน้น ทําเป็นไม้สีไฟ สีอยู่ ยังจะให้ไฟเกิด ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือ.
ส. ไม่ได้เหมือนกัน ข้อนี้ พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระโคดม เพราะว่า โน้นก็ยังเป็นไม้สดชุ่มอยู่ด้วยยาง ต่างแต่ที่วาง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 119
ไว้บนบกไกลน้ำก็จริงถึงดังนั้น บุรุษนั้น ก็จะมีแต่ส่วนเหนื่อยกายคับใจเท่านั้นเอง.
พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็อย่างสมณะและพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งได้หลีกออกเสียจากกามแต่เพียงกายอย่างเดียวแล้วแลอยู่, บรรดากิเลสทั้งหลายอันมีกามเป็นที่ตั้งคือ ความพอใจในกาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายในกามส่วนใดของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ยังหาละได้เสียด้วยดี ยังหาระงับได้เสียด้วย ณ ภายในไม่. ถึงหากว่าสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะให้เกิดญาณทัสสนะคือปัญญาตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมขึ้นได้ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ นี่เป็นอุปมาข้อที่ ๒ ที่ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.
[๔๑๖] อัคคิเวสสนะยังอุปมาอื่นอีกเป็นข้อที่สาม ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว. อัคคิเวสสนะเหมือนหนึ่งว่าไม้แห้งผาก บุคคลวางไว้บนบกแต่ไกลน้ำยังมีบุรุษคนหนึ่ง พึงไปเอามาทําเป็นไม้สีไฟ ด้วยคิดว่า เราจะสีให้ไฟเกิด ทําเตโชธาตุให้ปรากฏ ดังนี้ฉันใด. อัคคิเวสสนะ ท่านจะสําคัญความที่ว่านั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งผาก ที่วางไว้บนบกไกลแต่น้ำโน้น ทําเป็นไม้สีไฟ สีอยู่คงจะให้ไฟเกิด ทําไฟให้ปรากฏขึ้นได้มิใช่หรือ.
ส. อย่างนั้น พระโคดม. ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร พระโคดม เพราะว่าโน้นก็เป็นไม้แห้งผากไม้นั้น ยังวางอยู่บนบกไกลแต่น้ำอีก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 120
พ. อัคคิเวสสนะ อุปมัยก็เหมือนสมณะและพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง หลีกออกจากกามทั้งหลายส่วนกายได้แล้วแลอยู่ บรรดากิเลสทั้งหลายที่มีกามเป็นที่ตั้งคือความพอใจในกาม ความเยื่อใยในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความกระหายในกาม ความกระวนกระวายในกามส่วนใดของสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น ส่วนนั้น ก็ละเสียด้วยดีระงับซ้ำเสียเป็นอันดีณ ภายในแล้ว. ถ้าหากว่าสมณะและพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยหรือมิได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี สมณะหรือพราหมณ์นั้น ก็ควรแท้จริงเพื่อญาณทัสสนะคือปัญญาตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมได้ อัคคิเวสสนะ นี่เป็นอุปมาข้อที่สาม ไม่น่าอัศจรรย์เราไม่เคยได้ฟังมาแต่กาลก่อน ได้แจ่มแจ้งกะเราแล้ว.
[๔๑๗] อัคคิเวสสนะเราะนั้นได้เกิดปริวิตกว่า ถ้ากระไรเราพึงขบฟันไว้ด้วยฟัน, กดเพดานไว้ด้วยลิ้น, ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่นให้ร้อนจัดอยู่อัคคิเวสสนะเมื่อเรากําลังขบฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดอยู่ฉะนั้น เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. อัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนบุรุษมีกําลัง พึงจับบุรุษอันถอยกําลังกว่า ที่ศีรษะหรือที่คอแล้วจับบีบไว้แน่นให้ร้อนจัด ฉันใด. อัคคิเวสสนะเมื่อเราแลกําลังขบฟันไว้ด้วยฟัน กดเพดานไว้ด้วยลิ้น ข่มจิตไว้กับจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้ฉันนั้นเหมือนกัน. อัคคิเวสสนะ. ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงอยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้สติที่เราได้ตั้งไว้แล้วจะได้ฟันเฟือนไปหามิได้ก็แต่กายที่เราได้เริ่มตั้งไว้แล้วย่อมไม่สงบ, เมื่อกําลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทง (ครอบงํา) แล้ว เราก็มีสติอยู่.อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรายังไม่ครอบงําจิตเราตั้งอยู่ได้. อัคคิเวสสนะ. เรานั้นได้มีปริวิตกว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌานเอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์ทีเดียว อัคคิเวสสนะเราครั้นปริวิตกดังนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 121
แล้วจึงได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูกคือหายใจออกและหายใจเข้า. อัคคิเวสสนะครั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่เรากลั้นทางปากและทางจมูกแล้วเสียงลมที่ออกตามช่องหูดังเหลือประมาณ เสียงลมในลําสูบแห่งนายช่างทองกําลังสูบไปมาอยู่ฉันใด อัคคิเวสสนะครั้นลมที่เรากลั้นทางปากและทางจมูกแล้วเสียงลมที่ออกตามช่องหู ดังเหลือประมาณก็ฉันนั้น.อัคคิ-เวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้ จะได้ฟันเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ย่อมไม่สงบได้, เมื่อกําลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นนั่นแลเจาะแทงเราอยู่.อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงําจิตเราตั้งอยู่ได้. อัคคิเวสสนะ เรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า "ถ้ากระไร เราพึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์นั่นแล." อัคคิเวสสนะครั้นเราปริวิตกฉะนั้นแล้วได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ ทั้งทางปากทางจมูกและช่องหู. อัคคิเวสสนะเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ทางปากทางจมูกและช่องหูแล้วลมกล้าเหลือประมาณ ก็ไปดังในสมอง. อัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนบุรุษมีกําลัง เอาเหล็กแหลมอันคมทิ่มสมองฉันใด. อัคคิเวสสนะ. เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางหูแล้วลมกล้าเหลือประมาณ ก็ดังในสมองฉันนั้น. อัคคิเวสสนะก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้ว คงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะได้ฟันเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ย่อมไม่สงบ, เมื่อกําลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรายังไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 122
ความต่างกันในการบําเพ็ญทุกกรกิริยา
[๔๑๘] อัคคิเวสสนะเรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะครั้นเราปริวิตกฉะนั้นแล้วได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ทั้งทางปากทางจมูกและทางหู. อัคคิเวสสนะเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน. อัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนบุรุษมีกําลัง พึงรัดศีรษะด้วยเส้นเชือกแน่นฉันใด อัคคิเวสสนะเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทางปากทางจมูกและทางหูแล้ว ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน.ฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วคงที่อยู่จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะได้ฟันเฟือนไปก็หามิได้แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ย่อมไม่สงบ, เมื่อกําลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั่นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ยังไม่ครอบงําจิตเราตั้งอยู่ได้.
[๔๑๙] อัคคิเวสสนะเรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์อยู่นั่นแล. อัคคิเวสสนะครั้นเรามีปริวิตกฉะนั้นแล้วได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะไว้ทางปากทางจมูกและทางหู. อัคคิเวสสนะเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ. ทั้งทางปากทางจมูกทางหูแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้อง. อัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนนายโคฆาฏ หรือลูกมือนายโคฆาฏ ที่เป็นคนฉลาด พึงเชือดพื้นอุทรด้วยมีดสําหรับเชือดโคอันคม ฉันใด. อัคคิเวสสนะเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทางจมูกและทางหู ลมกล้าเหลือประมาณก็เสียดแทงท้องฉันนั้น. อัคคิเวสสนะก็แต่ความเพียรที่เราได้เริ่มไว้แล้วยังคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราตั้งไว้จะได้ฟันเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 123
ไว้ย่อมไม่สงบ เมื่อกําลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรายังไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ได้.
[๔๒๐] อัคคิเวสสนะเรานั้นได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน เอาความไม่หายใจเป็นอารมณ์นั่นแล. อัคคิเวสสนะครั้นเราปริ-วิตกฉะนั้นแล้ว ได้กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทางจมูกและทางหูอยู่ ก็ให้เกิดความร้อนเหลือทนขึ้นทั่วกาย. อัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนบุรุษมีกําลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษที่ถอยกําลังกว่าคนเดียวเข้าที่แขนข้างละคน ลนย่างรมไว้ที่หลุมอันเต็มไปด้วยถ่านเพลิง ฉันใด.
[๔๒๑] อัคคิเวสสนะเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะทางปากทางจมูกและทางหู ก็ให้เกิดความร้อนเหลือทนขึ้นทั่วกายฉันนั้น. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ความเพียรที่เราเริ่มตั้งไว้แล้วคงที่อยู่ จะได้ย่อหย่อนไปหามิได้, สติที่เราได้ตั้งไว้จะฟันเฟือนไปก็หามิได้, แต่กายที่เราเริ่มตั้งไว้ย่อมไม่สงบ, เมื่อกําลังความเพียรที่ให้เกิดทุกข์นั้นแลเจาะแทงเราอยู่. อัคคิเวสสนะ ทุกขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรายังไม่ครอบงําจิตเราตั้งอยู่ได้
[๔๒๒] อัคคิเวสสนะยังไม่ทันไรสิเทวดาทั้งหลายได้เห็นเราแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะโคดมทํากาละเสียแล้ว เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังไม่ได้ทํากาละก่อน, แต่จะทํากาละ. เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทํากาละแล้วหรือกําลังทํากาละก็ไม่ใช่ ด้วยว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ที่อยู่ก็อย่างนั้นเองดังนั้นพระอรหันต์ย่อมมีวิหารธรรมเป็นอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 124
[๔๒๓] อัคคิเวสสนะเรานั้นได้ปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติเสียด้วยประการทั้งปวงเถิด อัคคิเวสสนะครั้งนั้น เทพยดาทั้งหลายได้เข้ามาใกล้เราแล้วกล่าวคําท้วงว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าได้ปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียด้วยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านพึงปฏิบัติ เพื่อจะตัดอาหารเสียด้วยประการทั้งปวงให้ได้ เราทั้งหลายจะแทรกโอชะ อันเป็นทิพย์ลงตามขุมขนทั้งหลายของท่าน ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชะนั้น. อัคคิเวสสนะเรานั้น ได้มีปริวิตกเรื่องนี้ว่า เราเองพึงปฏิญญาการบริโภคด้วยประการทั้งปวงไว้เอง และเทวดาเหล่านี้ จะพึงแทรกโอชะลงตามขุมขนของเราและเราจะพึงยังชีวิตให้เป็นไปด้วยโอชะนั้น อันนั้นก็จะพึงเป็นเท็จแก่เราไป อัคคิเวสสนะเรานั้นแลได้บอกห้ามเทวดาเหล่านั้นเสียว่า "อย่าเลย"ดังนี้.
[๔๒๔] อัคคิเวสสนะเรานั้นแลได้มีปริวิตกถึงเรื่องนี้ว่า กระนั้นเราพึงบริโภคอาหารให้น้อยลงๆ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้างเท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เยื่อถั่วดําบ้าง เยื่อในเม็ดบัวบ้าง. อัคคิเวสสนะ ครั้นเราบริโภคอาหารให้น้อยลงดังนั้น เท่าฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เยื่อถั่วดําบ้าง เยื่อในเม็ดบัวบ้าง กายเราก็ถึงความเป็นขอดเป็นเกลียวยิ่งนัก. อังคาพยพน้อยใหญ่ของเราย่อมเป็นประหนึ่งเถาวัลย์ที่มีข้อมาก ๘๐ข้อ หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดําฉะนั้น, เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว, ก้นกบแห่งเราแฟบเข้า มีอาการสัณฐานเหมือนกีบเท้าอูฐฉะนั้นก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. กระดูกสันหลังแห่งเราผุดขึ้นระกะ ราวกะเถาวัลย์ชื่อวัฏฏนา ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว.เปรียบซี่โครงแห่งเรานูนเป็นร่องๆ ดังกลอนในศาลาเก่าชํารุดทรุดโทรมฉะนั้น, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. เปรียบเหมือนดวงตาแห่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 125
เราปรากฏกลมลึกเข้าในกระบอกตา ดูประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. หนังศีรษะบนศีรษะแห่งเราสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้งไป ประหนึ่งผลน้ำเต้าขม ที่บุคคลตัดมาแต่ยังสด ถูกลมและแดดก็เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวสสนะ เราเอง คิดว่าจะคลําหนังท้อง ก็จับถึงกระดูกสันหลังตลอดไป, เราคิดว่าจะคลํากระดูกสันหลัง ก็จับถึงหนังท้อง, อัคคิเวสสนะ หนังท้องของเราเหี่ยวแห้ง จนติดกระดูกสันหลัง ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวสสนะ เรานั้นแลคิดว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก็ซวนเซล้มอยู่ที่นั้นเอง, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวสสนะ เรานั้นแล เมื่อจะให้กายนี้ มีความสบายบ้าง จึงนวดไปตามตัว ด้วยฝ่ามือ, อัคคิเวสสนะเมื่อเรานวดไปตามตัวด้วยฝ่ามือนั้น ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็ร่วงตกจากกาย, ก็เพราะโทษที่อาหารน้อยนั้นอย่างเดียว. อัคคิเวสสนะ ยังไม่ทันไร มนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้ว จึงกล่าวว่า พระสมณโคดมดําไป. มนุษย์บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ดํา เป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม จะว่าดําไปก็ไม่ใช่จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ พระสมณโคดมมีพระฉวีพร้อยไปเท่านั้น. อัคคิเวสสนะผิวพรรณของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพียงนั้นมาถูกกําจัดออกไปเสียแล้ว ก็เพราะโทษที่มีอาหารน้อยนั้นอย่างเดียว.
[๔๒๕] อัคคิเวสสนะเรานั้นได้ปริวิตกว่า ในสมนะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เสวยทุกขเวทนาเจ็บปวด กล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียงนี้ ไม่ได้ยิ่งไปกว่านี้แล้ว. กาลในอนาคต สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจักเสวยทุกขเวทนาเจ็บปวดกล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียงนี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. ในกาลบัดนี้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 126
เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนา เจ็บปวด กล้าแข็ง เผ็ดร้อน เป็นอย่างยิ่งอยู่เพียงนี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้. ก็แต่เราไม่ได้บรรลุญาณทัสสนะวิเศษ เพื่อเป็นอริยบุคคลอุตตริมนุสธรรม ด้วยทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ พึงมีทางอื่นเพื่อตรัสรู้.อัคคิเวสสนะเราได้ปริวิตกว่า ก็เรายังจําได้ว่า ในงานของพระบิดา เราได้นั่งแล้ว ณ ร่มเงาต้นหว้าเป็นที่ร่มเย็น ได้สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลายได้เข้าถึงฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจารปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้. อัคคิเวสสนะเรานั้น ได้มีความรู้สึกอันแล่นไป ตามสติว่า นี่แล หนทางแห่งการตรัสรู้. อัคคิเวสสนะเรานั้นได้ปริวิตกว่า เราจะกลัวความสุข ซึ่งเป็นความสุขนอกจากกามทั้งหลาย นอกจากอกุศลธรรมแลหรือ. อัคคิเวสสนะเรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า เราไม่ควรกลัวต่อสุขซึ่งเป็นสุขนอกจากกามทั้งหลาย นอกจากอกุศลธรรมเช่นนั้นเลย.
[๔๒๖] อัคคิเวสสนะเรานั้นได้ปริวิตกเรื่องนี้อีกว่า การบรรลุถึงความสุขด้วยกายอันถึงความลําบากกระทําได้มิใช่ง่าย, ถ้ากระไรเราพึงกลืนกินอาหารที่หยาบ คือข้าวสุกและขนมสดเถิด. อัคคิเวสสนะ เราจึงกลืนกินอาหารที่อาบัติ คือข้าวสุกและขนมสด. อัคคิเวสสนะโดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ๕ รูป เป็นผู้บํารุงอยู่ ด้วยตั้งใจว่า พระสมณโคดม จักบรรลุถึงธรรมใดจักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. อัคคิเวสสนะ ตั้งแต่เราได้กลืนกินอาหารหยาบ มีข้าวสุกและขนมสดแล้ว ภิกษุทั้ง ๕ รูปเหล่านั้น ก็พากันหน่ายเรา หลีกไปเสีย ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดม เป็นคนมักมากคลายจากความเพียร เวียนมาเพื่อเป็นคนมักมากไปเสียแล้ว.
[๔๒๗] อัคคิเวสสนะเรานั้นครั้นกลืนกินอาหารหยาบ พาให้มีกําลังขึ้นแล้ว ได้สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียวได้สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 127
หลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง มีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่.อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มิได้ครอบงําจิต เข้าฌานที่สอง อันยังใจให้ผ่องใส ณ ภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจารเพราะความสงบแห่งวิตกและวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิเข้าฌานที่สาม เข้าฌานที่สี่. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็มิได้ครอบงําจิต ตั้งอยู่ได้. เรานั้น เมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้วได้น้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อน. เรานั้นได้ตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อนได้หลายประการ. คือ ตามระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง ฯลฯ เราตามระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่แล้วในภพก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทสด้วยประการฉะนี้ ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชาที่หนึ่ง กําจัดอวิชชาเสียได้วิชาก็เกิดขึ้น กําจัดความมืดเสียได้ แสงสวางก็เกิดขึ้น สมกับเมื่อเป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรให้กิเลสร้อน มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ฉะนั้นอัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็มิได้ครอบงําจิตเราตั้งอยู่.
[๔๒๘] เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตควรแก่การงานตั้งอยู่ ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อมไปเพื่อญาณในจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นมีจักษุทิพย์ หมดจดวิเศษล่วงจักษุของมนุษย์ แลเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติอยู่ ผู้อุบัติอยู่ ผู้เลวทราม ผู้ประณีต ผู้มีวรรณะงาม ผู้มีวรรณะทราม ผู้ถึงสุข ผู้ถึงทุกข์ เรารู้ชัดสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงตามกรรมอย่างไรว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้หนอ ประ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 128
กอบด้วยกายทุจริต ประกอบด้วยวจีทุจริต ประกอบด้วยมโนทุจริตกล่าวติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ สมาทานกรรมด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกไป ได้เข้าถึงอบายในทุคคติ วินิบาต นรกแล้ว ฝ่ายสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต ประกอบด้วยวจีสุจริต ประกอบด้วยมโนสุจริต ไม่กล่าวติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิสมาทานกรรมด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตก ตายไป ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์แล้ว เรามีจักษุทิพย์ หมดจดวิเศษล่วงจักษุของมนุษย์แลเห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้จุติอยู่ ผู้อุบัติอยู่ ผู้เลวทราม ผู้ประณีต ผู้มีวรรณะงาม ผู้มีวรรณะทราม ผู้ถึงสุข ผู้ถึงทุกข์ เรารู้ชัดสัตว์ทั้งหลาย ผู้เข้าถึงตามกรรมอย่างนี้. นี้เป็นวิชาที่ ๒ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชาที่ ๒ กําจัดอวิชาเสียได้ วิชาก็เกิดขึ้น กําจัดความมืดเสียได้ แสงสว่างก็เกิดขึ้น สมกับเป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรให้กิเลสร้อนมีตนส่งไปแล้วแลอยู่ฉะนั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่.
[๔๒๙] เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนั้นแล้ว น้อมจิตไปเพื่อญาณในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย. เราได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาดําเนินถึงความดับทุกข์ ได้รู้ตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะทั้งหลาย นี้เหตุให้อาสวะทั้งหลายเกิดขึ้น นี้ความดับอาสวะทั้งหลาย นี้ปฏิปทาดําเนินถึงความดับอาสวะทั้งหลาย. เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ ทั้งจากอวิชชาสวะเมื่อจิตหลุดพ้นก็มีญาณหยั่งรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจอื่นอีก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 129
เพื่อความเป็นเช่นนี้ไม่มีดังนี้. อัคคิเวสสนะ วิชาที่สาม เราได้บรรลุในยามที่สุดแห่งราตรี กําจัดอวิชาเสียได้ วิชาก็เกิดขึ้น กําจัดความมือเสียได้ แสงสว่างก็เกิดขึ้น สมกับที่เป็นบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาถึงปานนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราก็ไม่ครอบงําจิตตั้งอยู่ได้.
[๔๓๐] อัคคิเวสสนะเราแลเป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อยยังจําได้คนหนึ่งๆ ย่อมสําคัญเราอย่างนี้โดยแท้ว่า พระสมณโคดม ปรารภเราทีเดียวแสดงธรรม ดังนี้. อัคคิเวสสนะข้อนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนี้ ตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ด้วยอาการอันชอบแท้ในที่สุดเพียงเพื่อให้รู้แจ้งเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ ในที่สุดคาถานั้นๆ เรานั้นยังจิตอันเป็นภายในอย่างเดียว ให้ตั้งพร้อมอยู่ ในสงบ ให้ตั้งมั่น ทําสมาธิเป็นธรรมมีอารมณ์เป็นอันเดียวผุดขึ้นในสมาธินิมิต ที่เราอยู่ตลอดกัปเป็นนิจ
ส. นี่คําของพระโคดม ควรเชื่อได้ สมเป็นคําของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น. พระโคดมทรงจําได้อยู่หรือ เรื่องทรงบรรทมหลับกลางวัน.
พ. เราจําได้อยู่ อัคคิเวสสนะเมื่อเดือนท้ายฤดูคิมหะ เรากลับจากบิณฑบาตแล้ว ภายหลังภัตรให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น ลงแล้ว มีสติสัมปชัญญะอยู่ หยั่งลงสู่ความหลับ โดยข้างขวา.
ส. พระโคดม สมณพราหมณ์พวกหนึ่งก็ติเตียนข้อนั้นได้ในเพราะอยู่ด้วยความลุ่มหลง.
พ. อัคคิเวสสนะ บุคคลจะเป็นผู้หลงหรือไม่เป็นผู้หลง ด้วยอาการเพียงเท่านั้นก็หาไม่. อัคคิเวสสนะ ก็แต่ว่าบุคคลจะเป็นผู้หลง หรือไม่เป็นผู้หลง ด้วยอาการใด ท่านจงฟังอาการนั้น ทําไว้ในใจให้ดีเถิด. เรา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 130
จักกล่าว สัจจกนิคันถบุตร ได้รับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว.
ตรัสความเป็นผู้หลงและไม่หลง
[๔๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า "อัคคิเวสสนะก็บุคคลเป็นคนหลงนั้นอย่างไร อัคคิเวสสนะอาสวะเหล่าใดอันระคนด้วยความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุรายมีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติชรา มรณะ ต่อไป อันใครๆ ยังละเสียไม่ได้แล้วเรากล่าวว่าผู้นั้นเป็นคนหลงอัคคิเวสสนะด้วยว่าบุคคลจะชื่อว่าเป็นคนหลงก็เพราะยังละอาสวะทั้งหลายเสียไม่ได้. อัคคิเวสสนะอาสวะเหล่าใดอันระคนด้วยความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย มีทุกข์เป็นผล เป็นที่ตั้งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปอันใครๆ ละเสียได้แล้วเรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนไม่หลง อัคคิเวสสนะอาสวะเหล่าใดอันระคนด้วยความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความทุรนทุรายมีทุกข์เป็นผลเป็นที่ตั้งชาติ ชรามรณะต่อไป อันตถาคตละเสียแล้ว ทําใหม่มูลรากอันขาด ทําไม่ให้มีที่ตั้งดุจของตาล ทําไม่ให้เกิด มีอันเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดอันขาดเสียแล้วไม่ควรเพื่อจะงอกขึ้นได้อีกฉันใด อัคคิเวสสนะอาสวะเหล่าใดอันระคนด้วยความเศร้าหมอง นํามาซึ่งภพใหม่เป็นไปกับด้วยความทุรนทุราย มีทุกข์เป็นผลเป็นที่ตั้งชาติ ชรามรณะ ต่อไป อันตถาคตละเสียแล้ว ทําให้มีมูลรากอันขาด ทําไม่ให้มีที่ตั้งอยู่ได้ดุจของตาล ทําไม่ให้เกิด มีอันเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไปเป็นธรรมดา เหมือนกันฉะนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 131
สัจจนิคันถบุตรสรรเสริญ
[๔๓๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิคันถบุตรได้กล่าวคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดม น่าอัศจรรย์เรื่องนี้ไม่เคยมีพระโคดม. เมื่อพระโคดมถูกว่ากระทบอยู่ ถูกรุมด้วยถ้อยคําที่บุคคลนําเข้าไปกล่าว (ว่าเปรียบ) อยู่ ถึงเพียงนี้ ผิวพรรณคงผุดผ่อง สีพระพักตร์ก็ยังสดใสอยู่นั่นเอง สมกับเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระโคดม ข้าพระองค์ยังจําได้อยู่ เรื่องปรารภถ้อยคําด้วยถ้อยคํากับครู แม้ครูปูรณกัสสปะนั้น ถูกข้าพระองค์ปรารภถ้อยคําด้วยถ้อยคําเข้าแล้ว ได้โต้ตอบคําอื่นด้วยคําอื่น นําถ้อยคําหลีกออกภายนอกเสีย ได้ทําความโกรธด้วยความประทุษร้ายด้วยความแค้นด้วยให้ปรากฏ. ส่วนเมื่อพระโคดม ถูกว่ากระทบๆ อยู่ ถูกรุมด้วยถ้อยคําที่บุคคลนําเข้าไปกล่าวอยู่ อย่างนี้ ผิวพรรณยังผุดผ่อง สีพระพักตร์ก็ยังสดใสอยู่นั่นเอง สมกับเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระโคดม ข้าพระองค์ยังจําได้อยู่ เรื่องปรารภถ้อยคําด้วยถ้อยคํากับมักขลิโคสาล ... อชติเกสกัมพละ ... ปกุธะกัจจายนะ ... สัญชยเวลัฏฐบุตร ... นิคันถนาฏบุตร ... พระโคดม ข้าพระองค์จะขอทูลลาไปเดี๋ยวนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มีธุระมาก.
พ. อัคคิเวสสนะ ท่านสําคัญกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด.
ลําดับนั้น สัจจกนิคันถบุตร เพลิดเพลินอนุโมทนาพระพุทธภาษิตแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วหลีกไป.
จบ มหาสัจจกสูตร ที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 132
อรรถกถามหาสัจจกสูตร
มหาสัจจกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วย ๓ บทว่า เอกํ สมยํ ๑ เตน โข ปน สมเยน ๑ ปุพฺพณฺหสมยํ ๑ ท่านกล่าวเป็นสมัยหนึ่ง. ก็เวลาพวกภิกษุทําการปฏิบัติตน ล้างหน้า ถือบาตร และจีวร ไหว้พระเจดีย์แล้ว ยืนอยู่ในโรง วิตกว่าเราจักเข้าไปบ้านไหน. สมัยเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ้าแดง ๒ ชั้น รัดประคต ทรงจีวรบังสุกุล เฉวียงบ่า เสด็จจากพระคันธกุฏีอันหมู่ภิกษุห้อมล้อม ประทับยืนที่มุขพระคันธกุฏี. สัจจกนิคันถบุตร หมายเอาข้อนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า เอกํ สมยํ เตน โข ปน สมเยน ปุพฺพณฺหสนยํ ดังนี้. บทว่า ปวิสิตุกาโม ได้แก่ตกลงพระทัยอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปบิณฑบาต. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ถามว่า สัจจกนิคันถบุตรเข้าไปหาเพราะเหตุไร. ตอบว่า โดยอัธยาศัยเพื่อโต้วาทะ ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า คราวก่อนเราเพราะไม่ได้เป็นบัณฑิต จึงพาเอาเวสาลีบริษัททั้งสิ้น ไปยังสํานักของพระสมณโคดม จึงเป็นผู้เก้อในท่ามกลางบริษัท แต่คราวนี้ เราไม่ทําอย่างนั้น ไปผู้เดียวจักโต้วาทะ ถ้าเราจักสามารถให้พระสมณโคดมแพ้ได้ จักแสดงลัทธิของตนแล้ว กระทําการชนะ ถ้าพระสมณโคดมจักชนะใครๆ จักไม่รู้เหมือนฟ้อนรําในที่มืด จึงถือเอาปัญหาคนเปลือยเข้าไปหาโดยอัธยาศัยแห่งวาทะนี้.
บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ความว่าอาศัยความกรุณาแก่สัจจกนิคันถบุตร. ได้ยินว่า พระเถระได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพักสักครู่ เขาจักได้เฝ้าพระพุทธเจ้า และจักได้การฟังธรรม การเฝ้าพระพุทธเจ้า และการฟังธรรม จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 133
เขาตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น พระเถระทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พับจีวรบังสุกุลเป็น ๔ ชั้น ปูลาด จึงได้กราบทูลว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงประทับนั่งเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกําหนดว่า อานนท์กล่าวเหตุ จึงประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวาย. บทว่า ภควนฺตํ เอตทโวจ ความว่า นิครนถ์ ห่อปัญหาอันเป็นสาระถือเอามาวางเลี่ยงไปข้างๆ. กราบทูลคําเป็นต้นนั้นว่า โภ โคตม. บทว่า ผุสนฺติ หิ โภ โคตม ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถูกต้องคือย่อมได้ คือประสบทุกขเวทนา อันเกิดในสรีระกาย.บทว่า อุรุกฺขมฺโภ ความว่า ความขัดขา อธิบายว่า ขาแข็งที่ทื่อ ในที่นี้ด้วยอรรถว่า ทําให้งงงวยจึงทําเป็นคําอนาคตว่า ภวิสฺสติ.บทว่ากายนฺวยํโหติ คือ จิตไปตามกาย คือเป็นไปตามอํานาจกาย. ส่วน วิปัสสนาเรียกว่า กายภาวนา คนถึงความฟุ้งซ่านทั้งกายและจิต ย่อมไม่มี นิครนถ์กล่าวถึงที่ไม่มี ไม่เป็นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ สมถะเรียกว่า จิตภาวนาดังนี้ก็มี ความว่า ความขัดขาเป็นต้นของบุคคลที่ประกอบด้วยสมาธิย่อมไม่มี นิครนถ์ กล่าวเฉพาะสิ่งที่ไม่เป็นนี้ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคลกล่าวว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว ยังกล่าวคําเป็นต้นว่า ชื่อความขัดขาก็จักมี ซึ่งเป็นคําอนาคต ไม่ถูกฉันใด ความหมายก็ไม่ถูกฉันนั้น นิครนถ์กล่าวถึงสิ่งที่ไม่มี ไม่เป็น. บทว่า โน กายภาวนํ เขากล่าวหมายเอาการปฏิบัติตนให้ลําบากมีการทําความเพียร ๕ ประการเป็นต้น. นี้ชื่อกายภาวนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น. ถามว่าก็นิครนถ์นั้นเห็นอะไร จึงได้กล่าวอย่างนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า นิครนถ์นั้น มายังที่พักตอนกลางวัน ก็แลสมัยนั้น พวกภิกษุเก็บบาตรและจีวรแล้วเข้าไปเพื่อหลีกเร้นในที่พักกลางคืนและกลางวันของตนๆ เขาเห็นพวกภิกษุเหล่านั้นหลีกเร้น สําคัญว่า พวกภิกษุเหล่านั้น หมั่นประกอบเพียงจิตตภาวนา แต่กายภาวนาไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 134
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงย้อนถามนิครนถ์นั้น จึงตรัสถามว่าดูก่อนอัคคิเวสสนะ กายภาวนาท่านฟังมาแล้วอย่างไร. นิครนถ์นั้น เมื่อจะกล่าวกายภาวนานั้นให้พิสดาร จึงทูลคําเป็นต้นว่า คือท่านนันทะผู้วัจฉโคตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺโท เป็นชื่อของเขา บทว่าวจฺโฉเป็นโคตร. บทว่า กีโส เป็นชื่อ บทว่า สุกิจฺโจเป็นโคตร. ท่านมักขลิโคสาลมาในหนหลังแล้วแล. บทว่า เอเต ได้แก่ชน ๓ คนเหล่านั้น ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้บรรลุที่สุดแห่งตบะอันเศร้าหมอง บทว่าอุฬารานิ คือโภชนะอันประณีตๆ. บทว่า คาเหนฺติ นาม ชื่อว่าย่อมให้ร่างกายได้กําลัง. บทว่า พฺรูเหนฺติ คือให้เจริญ. บทว่า เมเทนฺติคือทําให้เกิดมันข้น. บทว่า ปุริมํ ปหายได้แก่ เลิกการทําความลําบากอย่างก่อน. บทว่า ปุจฺฉาอุปจินนฺติ ความว่า ให้อิ่มหนําคือให้เจริญด้วยของควรเคี้ยวอันประณีตเป็นต้น. บทว่าอาจยาปจโยโหติ คือความเจริญ และความเสื่อมย่อมปรากฏเพียงแต่ความเจริญและความเสื่อม กายนี้ก็มีความเจริญตามกาล ความเสื่อมตามกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงว่า กายภาวนา ไม่ปรากฏตรัสถามจิตตภาวนา ตรัสถามว่าดูก่อนอัคคิเวสสนะจิตตภาวนา ท่านฟังมาแล้วอย่างไร. บทว่า น สมฺปายาสิ ความว่าไม่อาจทูลให้สมบูรณ์ได้เหมือนพาลปุถุชน. บทว่ากุโต ปน ตฺวํ ความว่า ท่านผู้ใดไม่รู้ความเจริญของร่างกาย ที่อ่อนกําลัง เป็นส่วนหยาบอย่างนี้ ท่านผู้นั้น จักรู้จิตตภาวนาอันละเอียดสุขุมได้แต่ที่ไหนเล่า. ส่วนในที่นี้ พระโจทนาลยเถระคิดว่า บทนั้นชื่อพระพุทธพจน์ก็หามิได้วางพัดวีชนีหลีกไป. ย่อมาพระมหาสิวเถระอ้างพระพุทธพจน์นั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญบ้าง ความเสื่อมบ้าง ปฏิสนธิบ้างจุติบ้างของกายอันเป็นมหาภูต ๔ นี้ จักปรากฏ พระเถระฟังคํานั้นแล้ว กําหนดว่า ควรกล่าวว่า เมื่อกําหนดกายเป็นส่วนหยาบวิปัสสนาที่เกิดก็เป็นส่วนหยาบดังนี้. บทว่า สุขสาราคี คือผู้ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 135
ความยินดีด้วยความสุข บทว่า สุขาย เวทนาย นิโรธา อุปฺปชฺชติ ทุกฺขาเวทนาคือย่อมเกิดในลําดับ สําเร็จแล้วในคัมภีร์ปัฏฐาน เพราะทุกขเวทนานั้น เป็นอนันตรปัจจัยแก่สุขและทุกข์ แต่เพราะเมื่อสุขเวทนายังไม่ดับ ทุกขเวทนาก็ไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้. บทว่า ปริยาทาย ติฏติ ความว่าให้เวทนาสิ้นไป ยึดถือไว้. บทว่า อุภโต ปกฺขํ ความว่า เป็น ๒ ฝ่ายอย่างนี้คือสุขฝ่ายหนึ่ง ทุกข์ฝ่ายหนึ่ง. วินิจฉัยในบทนี้ว่า อุปฺปนฺนาปิ ฯเปฯ จิตฺตสฺสดังต่อไปนี้ กายภาวนา เป็นวิปัสสนา จิตตภาวนาเป็นสมาธิ ส่วนวิปัสสนาเป็นข้าศึกต่อสุขใกล้ต่อทุกข์สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ใกล้ต่อสุข. อย่างไรจริงอยู่ เมื่อพระโยคาวจรนั่งเริ่มวิปัสสนา เมื่อระยะกาลผ่านไปนานจิตของท่านย่อมเดือดร้อน ดิ้นรน ย่อมปรากฏเหมือนไฟที่ลุกโพลงในที่นั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้ เหมือนเกลียวความร้อนตั้งขึ้นแต่ศีรษะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ วิปัสสนาเป็นข้าศึกต่อสุขใกล้ต่อทุกข์. ก็เมื่อทุกข์ทางกายหรือทางจิตเกิดแล้ว ทุกข์ในขณะสมาบัติของท่านผู้ข่มทุกข์นั้นเข้าสมาบัติ ย่อมปราศจากทุกข์ หยั่งลงสู่สุขไม่น้อยเมื่อเป็นเช่นนี้ สมาธิ จึงเป็นข้าศึกต่อทุกข์ใกล้ต่อสุข. วิปัสสนา เป็นข้าศึกต่อสุขใกล้ต่อทุกข์ ฉันใด สมาธิหาเป็นฉันนั้นไม่. สมาธิเป็นข้าศึกต่อทุกข์ ใกล้ต่อสุขฉันใด ส่วนวิปัสสนาหาเป็นฉันนั้นไม่. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่าอุปฺปนฺนาปิ ฯเปฯ จิาตฺตสฺส. บทว่าอาสชฺช อุปนียได้แก่ เกี่ยวข้องและนําเข้าไปสู่คุณ. บทว่า ตํ วต เม ได้แก่ จิตของเรานั้นหนอ. บทว่ากิฺหิ โน สิยาอคฺคิเวสฺสน ความว่าดูก่อนอัคคิเวสสนะ อะไรจักไม่มี อะไรจักมี ท่านอย่าสําคัญอย่างนี้สุขเวทนาก็ดีทุกขเวทนาก็ดี ย่อมเกิดแก่เรา แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วเราจะไม่ให้ครอบงําจิต.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า มีประสงค์จะทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นที่มาแห่งความเลื่อมใสอย่างสูง เพื่อประกาศเนื้อความนั้น แก่นิครนถ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 136
นั้น จึงทรงปรารภมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งแต่ต้นในบทว่า อิธ ฯเปฯ ปธานายนั้น นี้ทั้งหมด พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตรหนหลัง.ส่วนความต่างกันดังนี้คือ การนั่งบนโพธิบัลลังก์นั้นเป็นการกระทําที่ทําได้ยากในข้อนี้. บทว่า อลฺลกฏํ คือไม้มะเดื่อสด. บทว่า สเสฺนหํ คือมียางเหมือนน้ำนม. บทว่ากาเมหิ คือจากวัตถุกาม. บทว่า อวูปกฏา คือไม่หลีกออก. กิเลสกาม ในบทเป็นต้นว่า กามฉนฺโท พึงทราบว่าฉันทะด้วยอํานาจทําความพอใจ สิเนทะ ด้วยอํานาจทําความเยื่อใย มุจฺฉา ด้วยอํานาจทําความสยบ ปิปาสาด้วยอํานาจทําความกระหาย ปริฬาห ด้วยอํานาจการตามเผา. บทว่า โอปกฺกมิกา คือเกิดเพราะความเพียร. บทว่า าณายทสฺสนาย อนุตฺตราย สมฺโพธาย ทั้งหมด เป็นไวพจน์โลกุตตรมรรค.
ก็ มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อนี้ดังนี้คือ บุคคลยังมีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้มะเดื่อสดมียาง เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่แช่ไว้ในน้ำการไม่บรรลุโลกุตตรมรรค ด้วยเวทนาอันเกิดเพราะความเพียรของบุคคลที่มีกิเลสกาม ยังไม่ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟไฟก็ไม่เกิด. การไม่บรรลุโลกุตตรมรรคของบุคคลเหล่านั้น เว้นจากเวทนาอันเกิดเพราะความเพียรเหมือนไม่สีไม้สีไฟ ไฟก็ไม่เกิด แม้อุปมาข้อที่ ๒ พึงทราบโดยนัยนี้แล. ส่วนความต่างกันดังนี้คือ ข้อแรกเป็นอุปมาของการบวชพร้อมกับบุตรและภรรยา ข้อหลัง เป็นอุปมาของการบวชของพราหมณ์ผู้ทรงธรรม. บทว่า โกลาปํ ในอุปมาข้อที่สาม ได้แก่ ผักที่ไม่มียาง บทว่า ถเลนิกฺขิตฺตํ คือที่เขาวางไว้บนภูเขา หรือบนพื้นดิน ก็มีอุปมาเปรียบเทียบในข้อนี้ดังนี้คือ ก็บุคคลมีกิเลสกามออกจากวัตถุกาม เหมือนไม้แห้งสนิท ไม่เปียกชุ่มด้วยกิเลสกาม เหมือนไม้ที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ การบรรลุโลกุตตรมรรคด้วยเวทนาแม้เกิดเพราะความเพียร มีการนั่งในกลางแจ้งเป็นต้นของบุคคลมีกิเลสกาม ออกจากวัตถุกาม เหมือนสีไม้สีไฟ ไฟก็เกิด การบรรลุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 137
โลกุตตรมรรค ด้วยสุขาปฏิปทาเว้นจากเวทนาอันเกิดเพราะความเพียร เหมือนเกิดไฟด้วยเพียงการสีกับกิ่งต้นไม้อื่น. อุปมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนํามาเพื่อประโยชน์แก่องค์. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงทุกกรกิริยาของพระองค์ จึงตรัสว่า ตสฺส มยฺหํ เป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทําทุกกรกิริยาแล้ว ไม่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้หรือ ทรงทําก็ตามไม่ทําก็ตาม สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้. ถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นทรงทําเพราะเหตุไร ตอบว่า เราจักแสดงความพยายามของตนแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกและคุณคือความย่ํายีด้วยความเพียรนั้น จักให้เรายินดีได้. จริงอยู่ กษัตริย์ประทับนั่งบนปราสาท แม้ทรงได้รับราชสมบัติสืบต่อตามพระราชประเพณี ไม่ทรงยินดีอย่างนั้น ราชสมบัติที่พาเอาหมู่พลไปประหารข้าศึก ๒ - ๓ คน ทําลายข้าศึกได้มาโสมนัสอันมีกําลังย่อมเกิดแก่พระองค์ผู้ได้เสวยสิริราชสมบัติอย่างนั้น ทรงแลดูบริษัท ทรงรําลึกถึงความพยายามของตนแล้ว ทรงดําริต่อว่า เราทํากรรมนั้น ในที่โน้น แทงอย่างนี้ ประหารอย่างนี้ ซึ่งข้าศึกโน้นและโน้น จึงได้เสวยสิริราชสมบัตินี้ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงดําริว่า เราจักแสดงความพยายามแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็ความพยายามนั้นจักให้เรายินดี ให้เกิดโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทําทุกกรกิริยาอีกอย่างหนึ่งแม้เมื่อจะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิดในภายหลัง ก็ได้ทรงกระทําเหมือนกัน หมู่ชนผู้เกิดในภายหลังจักสําคัญความเพียรที่ควรทําว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงบําเพ็ญพระบารมีตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ทรงตั้งความเพียร บรรลุพระสัพพัญุตญาณ จะป่วยกล่าวไปใย ถึงพวกเราเล่า เมื่อเป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดําริว่า หมู่ชนจักกระทําที่สุดแห่งชาติชราและมรณะได้เร็วพลัน เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงอนุเคราะห์หมู่ชนผู้เกิดภายหลัง จึงได้ทรงกระทําเหมือนกัน. บทว่า ทนฺเตหิ ทนฺตมาธายได้แก่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 138
กดพระทนต์บนด้วยพระทนต์ล่าง บทว่า จตสา จิตฺตํ ได้แก่ข่มอกุศลจิต ด้วยกุศลจิต. บทว่าอภินิคฺคณฺเหยฺยํ คือ พึงข่ม. บทว่าอภินิปฺปีเฬยฺยํคือพึงบีบคั้น. บทว่าอภินิสนฺตาเปยฺยํ ความว่า พึงทําให้เดือดร้อนแล้วทําลาย ย่ํายีด้วยความเพียร. บทว่า สารทฺโธ คือมีกายกระวนกระวาย. บทว่า ปธานาภิตุนฺนสฺส ความว่า มีสติอันความเพียรเสียดแทงคือแทงแล้ว.บทว่า อปฺปาณกํ คือไม่มีลมหายใจ. บทว่ากมฺมารคคฺคริยาได้แก่กระบอกสูบช่างทอง. บทว่า สีสเวทนา โหนฺติความว่า เวทนาเกิดแต่ศีรษะมีกําลังถูกลมอู้ออกไปจากไหนไม่ได้. บทว่า สีสเปฬํ ทเทยฺยได้แก่พึงรัดที่ศีรษะบทว่า เทวตา ความว่า เทวดาสถิตอยู่ในที่สุดจงกรมของพระโพธิ-สัตว์ และใกล้บริเวณบรรณศาลา. ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อความเร่าร้อนในพระวรกายอันมีประมาณยิ่งของพระโพธิสัตว์เกิดขึ้น หมดสติ พระองค์ประทับนั่งล้มบนที่จงกรม. เทวดาเห็นพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่าพระโพธิ-สัตว์ สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พวกเทวดาเหล่านั้น จึงไป กราบทูลต่อพระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า พระราชโอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชตรัสว่า บุตรของเรา เป็นพระพุทธเจ้าจึงทํากาละยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า จะไม่ทํากาลเทวดา. จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ล้มไปอยู่บนพื้นที่ทําความเพียรสิ้นพระชนม์ชีพเสียแล้ว พระเจ้าสุทโธทนมหาราช.เราไม่เชื่อ การสิ้นพระชนม์จะไม่มีแก่โอรสของเรา เพราะยังไม่บรรลุโพธิ-ญาณ. ในเวลาต่อมาเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังธรรมจักรให้เป็นไปเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลําดับ เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงรับบาตรนําเสด็จขึ้นสู่ปราสาท ถวายข้าวต้มและของขบเคี้ยวทูลเรื่องนั้น ในเวลาระหว่างภัตรว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาพระองค์ทรงทําความเพียรเทวดามาบอกว่าดูก่อนมหาราช โอรสของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนมหา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 139
บพิตร พระองค์ทรงเชื่อหรือ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าข้าพระองค์ไม่เชื่อ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนมหาบพิตร บัดนี้พระองค์ทรงเห็นอัศจรรย์ตั้งแต่ถือพระสุบิน ยังจักเชื่อหรือแม้อาตมาเป็น.พระพุทธเจ้าแม้มหาบพิตรก็ทรงเป็นพระพุทธบิดา ส่วนในกาลก่อน เมื่อญาณของอาตมายังไม่แก่กล้า บําเพ็ญโพธิจริยาอยู่ไปแล้วเพื่อศึกษาศิลปะแม้ในเวลาเป็นธรรมบาลกุมาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมหาธรรมปาลชาดก เพราะความอุบัติขึ้นแห่งเรื่องนี้ว่า ชนทั้งหลายนํากระดูกแพะมาแสดงว่าธรรมปาลกุมารบุตรของท่าน ทํากาละแล้ว นี้กระดูกของเขาดังนี้. ดูก่อนมหาบพิตร แม้ในกาลนั้น พระองค์ได้ตรัสว่า ชื่อว่า ความตายในระหว่างของบุตรเราย่อมไม่มี เราไม่เชื่อดังนี้.
บทว่า มา โข ตฺวํ มาริส ได้แก่พวกเทวดาผู้รักใคร่มากราบทูลไดยินว่าโวหารน่ารัก น่าชอบใจของพวกเทวดาคือมาริส. บทว่าอชชฺชิตํคือไม่ใช่โภชนะ. บทว่า หลนฺติวทามิคือเรากล่าวว่า พอละอธิบายว่าเราห้ามอย่างนี้ว่า ท่านอย่าทําอย่างนี้ด้วยบทนี้เราจักยังอัตตภาพให้เป็นไปได้. บทว่าองฺคุรจฺฉวีคือ มีพระฉวีพร้อย. บทว่า เอตาวปรมํ ความว่า ประมาณนั้น เป็นอย่างยิ่งคือสูงสุดแห่งเวทนาเหล่านั้น. บทว่า ปิตุสกฺกสฺส กมฺมนฺเต ฯ เปฯ ปมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตาความว่าได้ยินว่า ในวันนั้น ชื่อว่าเป็นวันวัปปมงคลของพระราชา พระราชาทั้งหลายจัดของควรเคี้ยวของกินเป็นอเนกประการ ล้างถนนพระนครให้สะอาดตั้งหม้อเต็มด้วยน้ำ ให้ยกธงแผ่นผ้าเป็นต้นขึ้น ประดับไปทั่วพระนคร เหมือนเทพวิมาน ทาสและกรรมกรเป็นต้นทั้งปวงนุ่งห่มผ้าใหม่ประดับด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในราชตระกูลในราชพิธี เขาประกอบคันไถพันหนึ่งแต่ในวันนั้นราชบุรุษประกอบคันไถ ๘๐๐ หย่อนหนึ่ง คันไถทั้งหมดพร้อมทั้งเชือกผูกโคหนุ่มหุ้มด้วยเงิน เหมือนรถของชานุโสณิพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 140
คันไถของพระราชามีพู่ห้อยย้อยหุ้มด้วยทองสุกปลั่ง เขาของโคหนุ่มก็ดี เชือกและปฏักก็ดี หุ้มด้วยทองคํา พระราชาเสด็จออกไปด้วยบริวารใหญ่ รับเอาโอรสไปด้วย ในที่ประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญ ได้มีต้นหว้าต้นหนึ่ง มีใบหนาทึบ มีร่มเงาร่มรื่นภายใต้ต้นหว้านั้น พระราชารับสั่งให้ปูที่บรรทมของกุมารข้างบนคาดเพดานขจิตด้วยดาวทองล้อมด้วยกําแพงม่านตั้งอารักขา ทรงเครื่องสรรพาลังการ แวดล้อมด้วยหมู่อํามาตย์ เสด็จไปสู่พระราชพิธีแรกนาขวัญ ณ ที่นั้น พระราชาทรงถือคันไถทอง พวกอํามาตย์ถือคันไถเงิน ๘๐๐ หย่อนหนึ่ง ชาวนาถือคันไถที่เหลือ. เขาเหล่านั้น ถือคันไถเหล่านั้นไถไปทางโน้นทางนี้. ส่วนพระราชา เสด็จจากข้างนี้ไปข้างโน้นหรือจากข้างโน้นมาสู่ข้างนี้. ในที่นี้เป็นมหาสมบัติ พระพี่เลี้ยงนั่งล้อมพระโพธิสัตว์คิดว่า เราจักเห็นสมบัติของพระราชา จึงพากันออกไปนอกม่าน พระโพธิสัตว์ทรงแลดูข้างโน้นข้างนี้ไม่เห็นใครๆ จึงรีบลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิกําหนดลมหายใจเข้าออก ยังปฐมฌานให้เกิด. พระพี่เลี้ยงมัวเที่ยวไปในระหว่างโรงอาหารช้าไปหน่อยหนึ่ง เงาของต้นไม้อื่น ก็คล้อยไป แต่เงาของต้นไม้นั้น ยังตั้งเป็นปริมณฑลอยู่. พระพี่เลี้ยงคิดว่า พระราชบุตรอยู่ลําพังพระองค์เดียว รีบยกม่านขึ้นเข้าไปภายในเห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิบนที่บรรทม และเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้วจึงไปกราบทูลพระราชาว่าข้าแต่พระองค์พระกุมารประทับอย่างนี้เงาของต้นไม้อื่นคล้อยไปเงาต้นหว้าเป็นปริมณฑลอยู่พระราชาเสด็จไปโดยเร็ว ทรงเห็นปาฏิหาริย์ทรงไหว้พระโอรสด้วยพระดํารัสว่า นี้เป็นการไหว้ลูกเป็นครั้งที่สอง. บทว่าปิตุสกฺกสฺส กมฺมนฺเต ฯเปฯ ปมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตา นี้ท่านกล่าวหมายเอาคํานี้. บทว่า สิยา นุโข เอโส มคฺโค โพธายความว่าอานาปานสติปฐมฌานนี้จะพึงเป็นทางเพื่อประโยชน์การตรัสรู้หนอ.บทว่า สตานุสาริวิาณํ ความว่าวิญญาณที่เกิดขึ้นในลําดับแห่งสติที่เกิด ๑ - ๒ ครั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 141
อย่างนี้ว่าการทําสิ่งทําได้ยากนี้ จักไม่เป็นทางเพื่อการตรัสรู้ แต่อานาปานสติปฐมฌานจักเป็นแน่ ชื่อว่า สาตานุสาริวิญญาณ. บทว่า ยํ ตํ สุขํ ได้แก่ ความสุขในอานาปานสติปฐมฌาน. บทว่า ปจฺจปฏิตา โหนฺติ ความว่าบํารุงด้วยการทําวัตรมีการกวาดบริเวณบรรณศาลาเป็นต้น. บทว่า พาหุลฺลิโกคือมักมากในปัจจัย. บทว่า อาวฏโฏ พาหุลฺลาย ความว่า เป็นผู้ติดในรส เวียนมาเพื่อต้องการอาหารที่ประณีตเป็นต้น. บทว่า นิพฺพิชฺช ปกฺกมึสุพวกปัญจวัคคีย์เบื่อหน่าย หลีกไป โดยธรรมนิยาม อธิบายว่าไปตามธรรมดาเพื่อให้โอกาสแก่พระโพธิสัตว์ได้กายวิเวกในกาลบรรลุพระสัมโพธิญาณ และเมื่อไปก็ไม่ไปที่อื่น ได้ไปเมืองพาราณสีนั้นเอง. เมื่อปัญจวัคคีย์ไปแล้ว พระโพธิสัตว์ได้กายวิเวก ตลอดกึ่งเดือน ประทับนั่งอปราชิตบัลลังก์ ณ โพธิมณฑล ทรงแทงตลอดพระสัพพัญุตญาณแล้ว. บทมีคําเป็นต้นว่า วิวิจฺเจร กาเมหิพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน ภยเภรวสูตร.
บทว่า อภิชานามิ โข ปนาหํ คือนี้เป็นอนุสนธิแผนกหนึ่ง. ได้ยินว่านิครนถ์คิดว่า เราทูลถามปัญหาข้อหนึ่งกะสมณโคดม พระสมณโคดมตรัสว่าดูก่อนอัคคิเวสสนะ เทวดาแม้อื่นอีกถามเราดูก่อนอัคคิเวสสนะเทวดาแม้อื่นอีกถามเรา เมื่อไม่ทรงเห็นที่สุด ตรัสอย่างนั้น พระองค์มีความกริ้วหรือลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อัคคิเวสสนะ เมื่อตถาคต แสดงธรรมอยู่ในบริษัทหลายร้อยแม้คนหนึ่งที่จะกล่าวว่า พระสมณโคดม กริ้วแล้ว มิได้มีอนึ่ง ตถาคตแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้เพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอดเมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงเริ่มพระธรรมเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าอารพฺภ คือหมายเอา. บทว่ายาวเทวคือเป็นคํากําหนดวิธีใช้ มีอธิบายว่า การยังบุคคลเหล่าอื่นให้รู้นั่นแหละเป็นการประกอบพระธรรมเทศนาของพระตถาคต เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 142
พระตถาคตจึงมิได้แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดียว ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้รู้ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า ตสฺมึ เยวปุริมสฺมึ นี้ ไว้อย่างไรได้ยินว่า สัจจกนิครนถ์ คิดว่า พระสมณโคดม มีพระรูปงาม น่ารัก พระทนต์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน การสนทนาก็ไพเราะเห็นจะเที่ยวยังบริษัทให้ยินดี. ส่วนเอกัคคตาจิตของพระสมณโคดมนั้น ไม่มีแก่พระองค์ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้เพื่อทรงแสดงว่า ดูก่อน อัคคิเวสสนะ พระตถาคตเที่ยวยังบริษัทให้ยินดีพระตถาคตทรงแสดงธรรมแก่บริษัททั่วจักรวาล พระตถาคตมีพระทัยไม่หดหู่ ไม่แปดเปื้อน ประกอบเนืองๆ ซึ่งผลสมาบัติเป็นสุญญตะ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่อย่างหนึ่ง ประมาณเท่านี้ดังนี้. บทว่าอชฺฌตฺตํ ได้แก่อารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น บทว่า สนฺนิสีทามิ คือยังจิตให้สงบ. จริงอยู่ในขณะใด บริษัทย่อมให้สาธุการในขณะนั้น พระตถาคตทรงกําหนดส่วนเบื้องต้น ทรงเข้าผลสมาบัติ เมื่อเสียงกึกก้องแห่งสาธุการยังไม่ขาด ออกจากสมาบัติแสดงธรรมอยู่ ตั้งแต่ที่พระองค์ทรงตั้งไว้แล้ว. ด้วยว่าการอยู่ในภวังค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเป็นไปเร็วพลัน ย่อมเข้าผลสมาบัติได้ในคราวหายใจเข้า ในคราวหายใจออก. บทว่า เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ ความว่า เราอยู่ด้วยผลสมาธิ อันเป็นสุญญตะได้ตลอดกาลเป็นนิตย์ คือแสดงว่า เราประคองจิตตั้งมั่นในสมาธินิมิตนั้น.บทว่า โอกปฺปนิยเมตํ นั้น เป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ.
สัจจกะนั้น รับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้มีเอกัคคตาจิต บัดนี้เมื่อจะนําปัญหาที่ตนซ่อนไว้ในพก มาทูลถาม จึงกล่าวว่า อภิชานาติปน ภวํ โคตโม ทิวา สุปิตา. เหมือนอย่างว่าขึ้นชื่อว่า สุนัขแม้กินอาหารข้าวปายาสที่หุงด้วยน้ำนมปรุงด้วยเนยใสจนเต็มท้อง เห็นคูถแล้วเคี้ยวกินไม่ได้ ก็ไม่อาจเพื่อจะไป เมื่อเคี้ยวกินไม่ได้ก็จะดมกลิ่นก่อนจึงไป ได้ยิน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 143
ว่า เมื่อมันไม่ได้ดมกลิ่นไป ก็ปวดหัวฉันใด พระศาสดาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ตั้งแต่การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ เช่นกับสุนัขเห็นข้าวปายาสที่เขาหุงด้วยน้ำนมล้วน ส่วนสัจจกะนั้นฟังพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้ ก็ไม่เกิดแม้เพียงความเลื่อมใสในพระศาสดา เพราะฉะนั้น เมื่อเขาไม่ทูลถามปัญหาที่ซ่อนไว้ในพกนํามาก็ไม่อาจเพื่อจะไป จึงได้กล่าวอย่างนั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะถีนมิทธะ ที่พระขีณาสพทั้งปวงละได้ด้วยอรหัตตมรรค. ก็ความกระวนกระวายทางกายย่อมมีในอุปาทินนกรูปบ้าง ในอนุปาทินนกรูปบ้างจริงอย่างนั้น ดอกบัวขาวเป็นต้น แย้ม ในเวลาหนึ่ง ตูม ในเวลาหนึ่ง ในเวลาเย็นใบไม้บางอย่างหุบ ในเวลาเช้าก็บาน. อุปาทินนกรูปเท่านั้น มีความกระวนกระวายก็ภวังคโสตที่เป็นไปด้วยความกระวนกระวาย ท่านประสงค์ว่าหลับในที่นี้ ภวังคโสตนั้น มีแก่พระขีณาสพ หมายเอาความหลับนั้น จึงกล่าวคําเป็นต้นว่าอภิชานามหํ. บทว่า สมโมหวิหารสฺมึวทนฺติอาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหวิหาโรแปลว่าอยู่ด้วยความหลง. บทว่า อาสชฺชอาสชฺช คือเสียดสีๆ บทว่าอุปนีเตหิคือที่ตนนํามากล่าว บทว่าวจนปเถหิแปลว่าถ้อยคํา. บทว่าอภินนฺทิตฺวาความว่ายินดีรับด้วยใจอนุโมทนาสรรเสริญด้วยถ้อยคํา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ พระสูตรนี้ แก่นิครนถ์นี้. พระสูตรต้นมีภาณวารเดียว พระสูตรนี้ มีภาณวารครึ่ง ถามว่า นิครนถ์นี้ แม้ฟัง ๒ ภาณวารครึ่งแล้วยังไม่บรรลุธรรมาภิสมัยยังไม่บวช ยังไม่ตั้งอยู่ในสรณะ ดังนี้แล้ว เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรมแก่เขาอีก ตอบว่า เพื่อเป็นวาสนาในอนาคต. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า บัดนี้อุปนิสัยของนิครนถ์นี้ ยังไม่มีแต่เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ ๒๐๐ ปี-เศษ ศาสนาจักประดิษฐานอยู่ตัมพปัณณิทวีป นิครนถ์นี้จักเกิดในเรือนมีสกุลในตัมพปัณณิทวีปนั้น บวชในเวลาถึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 144
พร้อมแล้วเรียนพระไตรปิฎก เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพ ชื่อว่ากาลพุทธรักขิต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุนี้จึงทรงแสดงธรรมเพื่อเป็นวาสนาในอนาคต.
เมื่อพระศาสนาประดิษฐานในตัมพปัณณิทวีปนั้น สัจจกะแม้นั้นเคลื่อนจากเทวโลกเกิดในสกุลแห่งอํามาตย์สกุลหนึ่ง. ในบ้านสําหรับภิกขาจารแห่งทักษิณาคิริวิหาร บรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม สามารถบรรพชาได้เรียนพระไตรปิฎก คือ พระพุทธพจน์บริหารคณะหมู่ภิกษุเป็นอันมากแวดล้อมไปเพื่อจะเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ลําดับนั้น อุปัชฌาย์ของเธอคิดว่าเราจักท้วงสัทธิวิหารริกจึงบุ้ยปากกับภิกษุนั้น ผู้เรียนพระไตรปิฎกคือพระพุทธพจน์มาแล้วไม่ได้กระทําสักว่าการพูด ภิกษุนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งไปสํานักพระเถระถามว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อกระผมทําคันถกรรมมาสํานักของท่าน เพราะเหตุไร ท่านจึงบุ้ยปากไม่พูดด้วยกระผมมีโทษอะไรหรือ. พระเถระกล่าวว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านทําความสําคัญว่า ชื่อว่าบรรพชากิจของเราถึงที่สุดแล้วด้วยคันถกรรมประมาณเท่านี้หรือ ท่านพุทธรักขิต. กระผมจะทําอะไรเล่าขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เธอจงละคณะตัดปปัญจธรรมไปสู่เจติยบรรพตวิหารกระทําสมณธรรมเถิด. ท่านตั้งอยู่ในโดยวาทขอพระอุปัชฌาย์กระทําอย่างนั้น จึงบรรลุพระอรหัตต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีบุญ พระราชาทรงบูชา มีหมู่ภิกษุเป็นอันมากเป็นบริวารอยู่ในเจติยบรรพตวิหาร.
ก็ในกาลนั้น พระเจ้าติสสมหาราช ทรงรักษาอุโบสถกรรม ย่อมอยู่ในที่เร้นของพระราชา ณ เจติยบรรพต ท่านได้ให้สัญญาแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระเถระว่า เมื่อใดพระผู้เป็นเจ้าของเราจะแก้ปัญหา หรือกล่าวธรรม เมื่อนั้นท่านพึงให้สัญญาแก่เราด้วย. ในวันธัมมัสสวนะวันหนึ่งแม้พระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 145
เถระอันหมู่ภิกษุแวดล้อม ขึ้นสู่ลานกัณฑกเจติยะ ไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงยืนอยู่ที่โคนต้นไม้มะพลับดํา. ครั้นนั้นพระเถระถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ถามปัญหากะท่านพุทธรักขิตนั้น ในกาลามสูตร. พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุวันนี้เป็นวันธัมมัสสวนะ มิใช่หรือ. ภิกษุนั้น เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญวันนี้เป็นวันธัมมัสสวนะขอรับ. พระเถระกล่าว ถ้าอย่างนั้น เธอจงนําเอาตั่งมา เราจักนั่งในที่นี้ แล้วจักกระทําการฟังธรรม. ลําดับนั้น พวกภิกษุจึงปูลาดอาสนะที่โคนไม้ ถวายพระเถระนั้น. พระเถระกล่าวคาถาเบื้องต้นแล้วจึงเริ่มกาลามสูตร. ภิกษุหนุ่มผู้อุปัฏฐากพระเถระนั้น จึงให้สัญญาแก่พระราชาพระราชาเสด็จไปถึง เมื่อคาถาเบื้องต้นยังไม่ทันจบ ก็ครั้นเสด็จถึงประทับยืนท้ายบริษัทด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จักเลย ประทับยืนทรงธรรมอยู่ตลอด ๓ ยามแล้ว ได้ประทานสาธุการในเวลาพระเถระกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคํานี้ดังนี้. พระเถระทราบแล้ว จึงถามว่า มหาบพิตรพระองค์เสด็จมาแต่เมื่อไร. พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในเวลาใกล้จะจบคาถาเบื้องต้นนั่นแหละ. พระเถระ. มหาบพิตร พระองค์ทรงทํากรรมที่ทําได้ยาก. พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้ไม่ชื่อว่ากระทําสิ่งที่ทําได้ยากความที่ข้าพเจ้าไม่ส่งใจไปในที่อื่น แม้ในบทหนึ่งตั้งแต่ที่พระผู้เป็นเจ้าเริ่มธรรมกถา ได้ทําปฏิญาณว่า ชื่อว่า ความเป็นเจ้าของของเราจงอย่ามี แก่ตัมพปัณณิทวีปในที่แม้เพียงจะทิ่มด้วยไม้ปฏัก ดังนี้.
ก็ในพระสูตรนี้ พระกาลพุทธรักขิต ได้แสดงพระพุทธคุณทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระพุทธคุณมีประมาณเท่านี้หรือ หรือว่า อย่างอื่นยังมีอยู่อีก. พระเถระ.มหาบพิตร พระพุทธคุณที่ยังไม่ได้กล่าวมีมากว่าที่อาตมากล่าวประมาณมิได้. พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงอุปมา. พระเถระ. มหาบพิตรข้าว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 146
สาลีที่ยังเหลือมีมากกว่ารวงข้าวสาลีรวงเดียว ในนาข้าวสาลี ประมาณพันกรีส ฉันใด พระคุณที่อาตมากล่าวแล้ว น้อยนัก ที่เหลือมีมากฉันนั้น พระราชา.ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอจงทําอุปมาอีก. พระเถระ. มหาบพิตร มหาคงคาเต็มด้วยห้วงน้ำ บุคคลพึงเทใส่ในรูเข็ม น้ำที่เข้าไปในรูเข็มมีน้อย น้ำที่เหลือมีมาก ฉันใด พระคุณที่อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมากฉันนั้น.พระราชา. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จงทําอุปมาอีก. พระเถระ. มหาบพิตร ธรรมดาว่านกเล่นลมเที่ยวบินเล่นในอากาศในโลกนี้ สกุณชาติตัวเล็กๆ สถานมีปรบปีกของนกนั้น ในอากาศมีมาก หรืออากาศที่เหลือมีมาก. พระราชา.ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวอะไร โอกาสเป็นที่ปรบปีกของนกนั้นน้อย ที่เหลือมีมาก พระเถระ. มหาบพิตรอย่างนั้นแหละ พระพุทธคุณที่อาตมากล่าวแล้วน้อย ที่เหลือมากไม่มีที่สุด ประมาณไม่ได้. พระราชาข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวดีแล้ว พระพุทธคุณ ไม่มีที่สุด ท่านอุปมาด้วยอากาศไม่มีที่สุดนั่นแหละ พวกข้าพเจ้าเลื่อมใส แต่ไม่อาจทําสักการะอันสมควรแก่พระผู้เป็นเจ้าได้. ข้าพเจ้าขอถวายราชสมบัติประกอบด้วยร้อยโยชน์ในตัมพปัณณิทวีปนี้ แก่พระผู้เป็นเจ้า นี้เป็นทุคตบรรณาการของข้าพเจ้า พระเถระ. มหาบพิตร บรรณาการอันมหาบพิตรทรงเลื่อมใส กระทําแล้ว อาตมาขอถวายราชสมบัติที่ทรงถวายแก่อาตมาคืนแก่มหาบพิตรทั้งหมด ขอมหาบพิตรจงทรงปกครองแว่นแคว้นโดยธรรม โดยสม่ําเสมอเถิดดังนี้แล.
จบ อรรถกถามหาสัจจกสูตรที่ ๖