จากความเข้าใจที่ฟังมาว่า พระอภิธรรม พระสูตร พระวินัย จะไม่ขัดแย้งกัน แต่สาระในสังโยชน์ 10 มี ๒ นัย คือ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมและ ตามนัยแห่งพระสูตร ต่างก็มีจำนวนนัยละ ๑๐ ประการเท่ากัน เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง เช่น อิสสาสังโยชน มัจฉริยสังโยชน ถูกแสดงในพระอภิธรรม แต่อุทธัจจสังโยชน ถูกแสดงในพระสูตรเท่านั้นครับ
คงจะมีนัยเหตุผลต่างกัน หรือว่าการศึกษาให้เอามารวมกัน แล้วไม่ต้องคิดเรื่องความแตกต่างครับ หมายเหตุ ที่เรียนถามอย่างนี้ถือเป็น วิจิกิจฉาสังโยชน อย่างหนึ่งด้วยไหมครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อน ว่า สังโยชน์ (บางครั้งก็เขียนเป็นสัญโญชน์) คืออะไร? สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่เป็นเครื่องผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ไม่ให้ออกไปจากวัฏฏะ แสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นนามธรรมฝ่ายที่เป็นอกุศลอย่างแน่นอน เมื่อเป็นธรรมที่มีจริงแล้ว ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใดก็ตาม ก็เพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงเหล่านี้ ตามความเป็นจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ทั้งโดยนัยพระสูตรและโดยนัยพระอภิธรรม ซึ่งมีความแตกต่างบางประการ เช่น โดยนัยพระสูตรใช้คำว่าสักกายทิฏฐิ นัยพระอภิธรรมใช้คำว่า ทิฏฐิ เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้วก็อย่างเดียวกัน นั่นก็คือ คือ ทิฏฐิเจตสิก (มิจฉาทิฏฐิ) ส่วนโลภะ โดยนัยพระสูตรใช้คำว่า รูปราคะอรูปราคะ นัยพระอภิธรรมใช้ว่า ภวราคะ โดยอรรถแล้วเหมือนกัน คือ ความติดข้องในภพหรือความติดข้องในฌาน สำหรับข้อแตกต่างข้ออื่น คือพระสูตรยกอุทธัจจะขึ้นแสดง นัยของพระอภิธรรม ยกอิสสาและมัจฉริยะขึ้นแสดง เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วทั้งหมดเป็นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกมัดเหล่าสัตว์ให้อยู่ในสังสารวัฏฏ์ทั้งนั้น แต่ทรงแสดงต่างสถานที่และต่างบุคคลตามอัธยาศัยผู้ฟัง ประโยชน์ของผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา คือ เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เห็นโทษเห็นภัยของอกุศลที่มีมากเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาทในการที่จะได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาจนกว่ากิเลสทั้งปวงจะถูกดับหมดสิ้นไป
ธรรม ไม่ได้พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลยแม้แต่ขณะเดียว ขณะที่เกิดความสงสัยลังเลใจในข้อธรรมข้อหนึ่งข้อใด ถึงความตัดสินใจไม่ได้ นั่น ก็เป็นลักษณะของวิจิกิจฉา ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรมที่มีลักษณะสงสัย ลังเลใจติดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง เหมือนอย่างตัวอย่างที่ท่านผู้ถามได้ถามมาซึ่งจะค่อยๆ บรรเทาได้ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ การสนทนาการสอบถามจากกัลยาณมิตรผู้มีปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ จนกว่าจะดับความลังเลสงสัยในสภาพธรรมได้เมื่อได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านสังโยชน์โดยนัยของพระสูตรและพระอภิธรรมได้ที่นี่ ครับ
ว่าด้วยสังโยชน์ ๑๐ ประการ[สังโยชนสูตร]
ธรรมเป็นสัญโญชน์เป็นไฉน[ ธรรมสังคณี]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
...ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ดูแล้วการจะพ้นไปจาก สังโยชน์ ๑๐ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ แม้บางท่านก็ไม่คาดคิดว่า การติดในการทำสมาธิ การติดในฌาน ก็ยังเป็นสังโยชน์ ต้องเป็นมรรคจิตแต่ละขั้นเท่านั้นจึงจะค่อยๆ ละอกุศลแต่ละอย่างเป็นเด็ดขาดใช่ไหมครับ
ขอขอบพระคุณครับ และอนุโมทนาครับ
ดูแล้วการจะพ้นไปจาก สังโยชน์ ๑๐ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ แม้บางท่านก็ไม่คาดคิดว่า การติดในการทำสมาธิ การติดในฌาน ก็ยังเป็นสังโยชน์ ต้องเป็นมรรคจิตแต่ละขั้นเท่านั้นจึงจะค่อยๆ ละอกุศลแต่ละอย่างเป็นเด็ดขาดใช่ไหมครับ
ขอขอบพระคุณครับ และอนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การดับสังโยชน์ ไม่ใช่เพราะการอบรมเจริญสมถภาวนา เพราะสมถภาวนาไม่สามารถดับกิเลสได้ เพียงแต่ระงับหรือข่มไว้ด้วยกำัลังแห่งฌานเท่านั้น แต่จะต้องเป็นมรรคจิตแต่ละขั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการอบรมเจริญปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) เท่านั้น ที่จะดับสังโยชน์ได้อย่างเด็ดขาด ดังนี้ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสา และ มัจฉิริยะ ดับได้ด้วยโสตาปัตติมรรคจิต กามราคะ ปฏิฆะ (โทสะ) ดับได้ด้วยอนาคามิมรรคจิต รูปราคะ อรูปราคะ (ภวราคะ) อุทธัจจะ มานะ อวิชชา ดับได้ด้วยอรหัตต-มรรคจิต ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้ถาม และ ทุกๆ ท่านด้วยครับ...
ขออนุโมทนาครับ