อภิญญา 5 และ อภิญญา 6 ต่างกันอย่างไร
โดย TSP  16 ก.พ. 2550
หัวข้อหมายเลข 2840

เพื่อการเข้าใจในการศึกษาธรรม และทำให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 16 ก.พ. 2550

อภิญญา ๕ และ อภิญญา ๖ ต่างกัน คือ อภิญญา ๕ เป็นโลกียอย่างเดียว ส่วนอภิญญา ๖ มีทั้งโลกียและโลกุตระ เฉพาะอภิญญาที่ ๖ (อาสวักขยญาณ) เป็นโลกุตระ

[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 682

อรรถกถาโสฬสปัญญานิเทศ พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศดังต่อไปนี้.

บทว่า ฉนฺนํ อภิญฺญานํอภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธ (แสดงฤทธิได้) ๑ ทิพยโสต (หูทิพย์) ๑ เจโต-ปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๑ ปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติได้) ๑ ทิพยจักขุ (ตาทิพย์) ๑ อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น) ๑


ความคิดเห็น 2    โดย TSP  วันที่ 17 ก.พ. 2550

อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น) ต้องหมายถึง การเป็นพระอรหันต์อย่าง เดียวหรือเปล่าครับ


ความคิดเห็น 3    โดย study  วันที่ 17 ก.พ. 2550

อาสวักขยญาณ ญาณนี้ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น


ความคิดเห็น 4    โดย เบน  วันที่ 19 ก.พ. 2550

เจโตปริยญาณ บุคคลเช่นไร ถึงสามารถกระทำได้


ความคิดเห็น 5    โดย study  วันที่ 19 ก.พ. 2550

ปุถุชน พระเสกขบุคคล พระอรหันต์ ผู้ที่ได้ฌาน ๘ สามารถมีอภิญญาจิต ประเภท เจโตปริยญาณ ได้


ความคิดเห็น 6    โดย big  วันที่ 22 ก.พ. 2550

อยากทราบว่าจะทำอย่างไรถึงได้อภิญญา ทั้ง ๖ ประการ รบกวนตอบด้วยนะครับ


ความคิดเห็น 7    โดย สัมภเวสี  วันที่ 22 ก.พ. 2550

ขอชี้แจงเพิ่มเติมตามความรู้ที่ได้ศึกษามาครับ

อาสวักขยญาณ [อาสวะ คือ อกุสลธรรมหมวดหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุปมาด้วยโวหารัตถเทสนาว่า เหมือนสิ่งหมักดอง..เป็นต้น ขย แปลว่า สิ้นไป และ ญาณ คือ ปัญญา ซ้อน ก เข้าไป จึงได้รูปศัพท์ว่า อาสวักขยญาณ] เป็นความรู้ยิ่งอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนาจึงทรงแสดงในหมวด อภิญญา ครับ (อภิ แปลว่า ยิ่ง , ญา ธาตุ ด้วยอรรถว่า รู้ครับ)

อาสวักขยญาณ องค์ธรรม คือ อรหัตตมัคคปัญญา (ปัญญาเจตสิก หรือสัมมาทิฏฐิเจตสิกที่สัมปยุตต์กับอรหัตตมัคคจิตตุปบาท ตั้งแต่ปถมฌานจนถึงปัญจมฌาน) ทำหน้าที่ปหานอาสวะที่เหลือ 5 ที่อนาคามิมรรคมิได้ละ ซึ่งถ้าจำแนกตาม พระธัมมสังคณีปกรณ์แล้ว สามารถสงเคราะห์หมวดธรรมได้มากมาย แต่ที่ต้องรู้คือ เป็นโลกุตตรธรรม และหากสงเคราะห์ตามกถาวัตถุปกรณ์ และยมกปกรณ์แล้ว อา-สวักขยญาณ หรือ อรหัตตมัคคจิตตุปบาท เป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งการบัญญัติ (บัญญัติปถธรรม, อธิวจนปถธรรม, นิรุตติปถธรรม) ของคำว่า อรหัตตมัคคบุคคล โดยสมันนาคตบัญญัติ (ไม่ใช่เป็นเหตุแห่งการบัญญัติอรหัตตผลบุคคล หรือ พระ- อรหันตบุคคลครับ) เพราะอรหัตตผลบุคคลหรือพระอรหันตบุคคลนั้น อาศัยบัญญัติ ปถธรรมคือ อรหัตตผลญาณหรืออรหัตตผลจิตตุปบาทเป็นเหตุแห่งการบัญญัติ โดย ทั้งสมันนาคตบัญญัติและปฏิลาภบัญญัติครับ

อาสวักขยญาณนี้ เป็นหมวดธรรมที่มีความน่าสนใจมากจริงๆ ครับ เป็นเหตุแห่งการบัญญัติพระนามว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยครับ ลองศึกษาดูใน โพธิยาพุทโธติกถา ในกถาวัตถุปกรณ์ครับ หากศึกษาแล้วจะเห็นความวิจิตรแห่ง พระสัพพัญญุตญาณของพระองค์อย่างแท้จริงครับผม

อนุโมทนาครับ