[เล่มที่ 8] พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑
พระวินัยปิฏก
เล่ม ๖
จุลวรรค ปฐมภาค
กัมมขันธกะ
นิยสกรรมที่ ๒
เรื่องพระเสยยสกะ 43/25
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม 44/25
ทรงติเตียน 25
วิธีทํานิยสกรรม 26
กรรมวาจาทํานิยสกรรม 26
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด 45/28
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด 57/32
ข้อที่สงฆ์จํานง ๖ หมวด 69/35
วัตร ๑๘ ข้อในนิยสกรรม 75/37
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ 76/38
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 39
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด 80/41
วิธีระงับนิยสกรรม 83/43
คําระงับนิยสกรรม 43
กรรมวาจาระงับนิยสกรรม 43
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 8]
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 25
นิยสกรรม ที่ ๒
เรื่องพระเสยยสกะ
[๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเสยยสกะเป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่ สนควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเติม ให้มานัต อัพภานอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา ว่า ไฉนเล่าท่านพระเสยยสกะจึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มี มารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน อยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๔๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเสยยสกะเป็นพาล ไม่ ฉลาดมีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการ คลุกคลีอัน ไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติ เดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ กระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 26
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้น จึงได้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สนควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอัน ไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้ มานัต อัพภานอยู่เล่า การกระทำของโมฆบุรุษนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงทำนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก.
วิธีทำนิยสกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงทำนิยสกรรมอย่างนี้ คือชั้นต้น พึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วพึงให้เธอให้การ แล้วพึงปรับอาบัติ ครั้น แล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม วาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาทำนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ ผู้นี้เป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมา มีมรรยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้ มานัต อัพภานอยู่ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัย อีก นี่เป็นญัตติ.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 27
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้ นี้เป็นพาลไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร อยู่ คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ ปกตัตตะภิกษุทั้งหลายให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้ มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะคือ ให้กลับถือนิสัยอีก การทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะคือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้ นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะผู้นี้เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ทั้งที่ปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภานอยู่ สงฆ์ ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก การ ทำนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนินัยอีก ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ... .ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 28
นิยสกรรม อันสงฆ์ทำแล้วแก่พระเสยยสกะ คือ ให้กลับถือนิสัยอีก ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้อย่างนี้.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือทำลับหลัง ๑ ไม่ สอบถามก่อนแล้วทำ ๑ไม่ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๒
[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทศนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติ ที่แสดงแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี
หมวดที่ ๓
[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจท ก่อนแล้วทำ ๑ ไม่ให้จำเลยให้การแล้วทำ ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 29
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๔
[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ ลับหลัง ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๕
[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่สอบ ถามก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๖
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือไม่ทำ ตามปฏิญาณ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 30
หมวดที่ ๗
[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะไม่ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๘
[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำเพราะอาบัติมิใช่เทสนาคามินี ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรค ทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๙
[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีกเป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ทำ เพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 31
หมวดที่ ๑๐
[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หมวดที่ ๑๑
[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ให้ จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
หนวดที่ ๑๒
[๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี คือ ไม่ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑ ทำโดยไม่เป็นธรรม ๑ สงฆ์เป็นวรรคทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และระงับแล้วไม่ดี.
ลักษณะกรรมไม่เป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 32
ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด
หมวดที่ ๑
[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อหน้า ๑ สอบถาม ก่อนแล้วทำ ๑ ทำตามปฏิญาณ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๒
[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ ต้องอาบัติ ๑ ทำเพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้ แสดง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๓
[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน แล้วทำ ๑ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ๑ ปรับอาบัติแล้วทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 33
หมวดที่ ๔
[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำต่อ หน้า ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๕
[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ สอบถาม ก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรน เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๖
[๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำคาม ปฏิญาณ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๗
[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ ต้องอาบัติ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 34
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๘
[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ อาบัติเป็นเทสนาคามินี ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๙
[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ทำเพราะ อาบัติยังไม่ได้แสดง ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๐
[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ โจทก่อน แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 35
หมวดที่ ๑๑
[๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ให้จำเลย ให้การก่อนแล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว.
หมวดที่ ๑๒
[๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ แม้ อื่นอีก เป็นกรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว คือ ปรับอาบัติ แล้วทำ ๑ ทำโดยธรรม ๑ สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เป็น กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และระงับดีแล้ว. ลักษณะกรรมเป็นธรรม ๑๒ หมวด จบ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี อันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 36
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๒
[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ เป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติ ในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๓
[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมก็ได้ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนง จะพึงลงนิยสกรรมก็ได้.
หมวดที่ ๔
[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปคือ รูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มี อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการ คลุกคลีอันไม่สมควร ๑
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 37
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล.
หมวดที่ ๕
[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล รูปหนึ่ง เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในอติทิฏิฐิ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล.
หมวดที่ ๖
[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูปหนึ่งกล่าว ติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงจะพึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป นี้แล.
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด จบ
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรม
[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วต้อง ประพฤติโดยชอบ
วิธีประพฤติโดยชอบในนิยสกรรมนั้น ดังต่อไปนี้ :-
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 38
๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๑๘ ข้อ ในสิยสกรรม จบ
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ
[๗๖] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะแล้ว คือให้ กลับถือนิสัยอีก เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพคบหานั่งใกล้กัลยาณมิตรขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชอง ในคัมภีร์ ทรงธรรม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 39
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นลัชชี มี ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา เธอประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติ แก้ตัวได้ เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผม ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วได้ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไปภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า.
[๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ คือ :-
๑. ให้อุปสมบท
๒. ให้นิสัย
๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับนิยสกรรม.
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 40
หมวดที่ ๒
[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ:-
๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ต้องอาบัตินั้น
๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๔. ติกรรม
๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับนิยสกรรม.
หมวดที่ ๓
[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 41
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึง ระงับนิยสกรรม.
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด
หมวดที่ ๑
[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ:-
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม.
หมวดที่ ๒
[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก คือ :-
๑. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่ต้องอาบัตินั้น
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอัน เช่นกัน
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 42
๓. ไม่ต้องอาบัติเลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ติกรรม
๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม.
หมวดที่ ๓
[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ:-
๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ นิยสกรรม.
วัตรที่ควรระงับ ๑๘ ข้อ ๓ หมวด จบ
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 43
วิธีระงับนิยสกรรม
[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะนั้น พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวคำขอระงับนิยสกรรมนั้นอย่างนี้ว่าดังนี้ :-
คำระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับนิยสกรรม พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับนิยสกรรม
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม ถ้า ความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม แก่พระเสยยสกะ นี่เป็นญัตติ.
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะ รูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ - หน้า 44
เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ ระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอ สงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระเสยยสกะรูปนี้ ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ ตัวได้ บัดนี้ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ พระเสยยสกะ การระงับนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะ ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด.
นิยสกรรมอันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระเสยยสกะ ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ อย่างนี้.
จบ นิยสกรรม ที่ ๒