๒. ปฐมปหานสูตร ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง
โดย บ้านธัมมะ  10 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37134

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 27

๒. ปฐมปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 27

๒. ปฐมปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวงนั้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง.

จบ ปฐมปหานสูตรที่ ๒


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 28

อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ ๒

ในปฐมปหานสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพํ ปหาย แปลว่า ละซึ่งสิ่งทั้งปวง. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ ได้แก่ เวทนาที่สัมปยุตด้วยสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะและชวนะ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำสหชาตธรรมที่มีจักษุสัมผัสเป็นมูลให้เป็นปัจจัย แต่ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักษุวิญญาณไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. แม้ในธรรมที่มีเวทนาเป็นปัจจัยมีโสตทวารเป็นต้นเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ บทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ อารมณ์. บทว่า มโนวิญฺาณํ ได้แก่ ชวนจิตที่เกิดพร้อมกับอาวัชชนจิต. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ ผัสสะที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต. บทว่า เวทยิตํ ได้แก่ เวทนาที่เกิดพร้อมกับชวนจิต. แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต ก็ย่อมเป็นไปพร้อมกับอาวัชชนจิต เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ เทศนาที่เป็นคำสอนต่อเนื่องกัน ชื่อว่า บัญญัติ.

จบ อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ ๒