ธาตุเห็น กับจักขุวิญญาณ
โดย พล.ต.อินทวัชร ลี้จินดา  23 ส.ค. 2562
หัวข้อหมายเลข 31125

พระพุทธเจ้า​ตรัส "ธรรม" ด้วยภาษาบาลี, ภาษาบาลี คือคำที่พระพุทธ​เจ้าทรงใช้เรียกชื่อ "ธรรม" ทรงใช้แทน "อรรถะ ของธรรม​นั้น อันเป็น "พระธรรม" คือคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมขอเรียนถามท่านว่า

การเห็นทางตา อันคำบาลีว่า "จักขุวิญญาณ" กับ ธาตุเห็น อันคำบาลีว่า "ปส ธาตุ" นั้น ทั้งสองคำนี้ เกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไรครับท่าน



ความคิดเห็น 1    โดย khampan.a  วันที่ 23 ส.ค. 2562

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่า เป็นธรรม ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ
เมื่อกล่าวถึง เห็น (จักขุวิญญาณ) ก็เป็นธรรม ด้วย เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริง อย่างนั้น จะใช้ภาษาใด ความเป็นจริงของเห็น ก็ไม่เปลี่ยน จึงทรงแสดงด้วยคำว่า ธาตุ (สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ไม่เปลี่ยนแปลง) เป็น จักขุวิญญาณธาตุ แปลเป็นไทย ก็คือ เห็น ซึ่งเป็นจิตประเภทหนึ่ง ที่ทำกิจหน้าที่เห็นซึ่งสิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น เป็นจิตที่มีการอาศัยตาในการรู้แจ้งสี เป็นลักษณะ
ส่วน คำที่ท่านผู้ถามกล่าวถึง คือ "ปส ธาตุ" ในความหมายว่า เห็น ตรงนี้ จะกว้างขวางมาก เพราะ เห็น ด้วยปัญญญา ก็มี หรือ มุ่งหมายถึง เห็น ทางตา ก็ได้ด้วย ดังนั้น จึงไม่สำคัญที่คำ แต่สำคัญที่ว่า ในแต่ละที่นั้น ทรงมุ่งหมายถึง เห็น ในลักษณะใด และ เป็นสภาพธรรมใด แต่ ถ้ากล่าวถึง จักขุวิญญาณ แล้ว ต้องมุ่งหมายถึง จิตเห็น เท่านั้น ไม่ได้หมายถึงสภาพธรรมอย่างอื่น ครับ
...อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 2    โดย พล.ต.อินทวัชร ลี้จินดา  วันที่ 23 ส.ค. 2562

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 24 ส.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย ธนฤทธิ์  วันที่ 24 ส.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 4 ก.ย. 2562

สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าแสดงธรรมด้วยภาษาบาลี แต่ไม่ว่ายุคใดสมัยใดจะศึกษาธรรมให้เข้าใจด้วยภาษาของตนๆ เช่น ภาษาไทย อังกฤษ จีน เห็นคือเห็น แต่ที่ยากที่สุดคือการเข้าใจธรรมะว่าเห็นไม่ใช่เราค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย chatchai.k  วันที่ 20 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ