[เล่มที่ 56] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 551
๙. อุภโตภัตถชาดก
ว่าด้วยผู้เสียหายทั้งทางน้ำทางบก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 56]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 551
๙. อุภโตภัตถชาดก
ว่าด้วยผู้เสียหายทั้งทางน้ำทางบก
[๑๓๕] "ตาของเจ้าก็แตก ผ้าของเจ้าก็หาย ภรรยาของเจ้าก็ทะเลาะกับหญิงเพื่อนบ้าน การงานทั้งหลายเสียหายทั้งสองด้าน ทั้งในน้ำ ทั้งบนบก".
จบอุภโตภัตถชาดกที่ ๘
อรรถกถาอุภโตภัตถชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "อกฺขี ภินฺนา ปโฏ นฏฺโ" ดังนี้.
ได้ยินว่า ในครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ขอนไม้ไหม้ไฟทั้งสองข้าง ท่ามกลางเปื้อนคูถ ไม่อำนวยประโยชน์สมเป็นไม้ในป่า ไม่อำนวยประโยชน์สมเป็นไม้ในบ้าน แม้ฉันใดเล่า พระเทวทัตก็ฉันนั้นเหมือนกัน บวชแล้วในพระศาสนาอันประกอบด้วยธรรมเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ ยังพลาด เสื่อมถอยจากประโยชน์ทั้งสองด้านเสียได้ คือเสื่อมถอยจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ ทั้งไม่สามารถทำประโยชน์แห่งความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 552
สมณะให้บริบูรณ์ได้ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้นที่เทวทัตพลาดจากประโยชน์ทั้งสองด้าน แม้ในอดีตก็ได้เคยพลาดจากประโยชน์ทั้งสองด้านมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา ในครั้งนั้น พวกพรานเบ็ดอยู่กันเป็นชุมนุม ณ หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ครั้งนั้นพรานเบ็ดคนหนึ่งถือเบ็ดไปกับลูกชายรุ่นหนุ่ม ไปที่บึง ซึ่งพวกพรานเบ็ดพากันจับปลาโดยปกติอยู่ แล้วลงเบ็ด เบ็ดติดที่ตอๆ หนึ่งใต้น้ำ พรานเบ็ดไม่สามารถจะดึงขึ้นมาได้ ก็คิดว่า เบ็ดคงติดปลาตัวใหญ่ เราต้องส่งลูกชายไปหาแม่ ให้ก่อการทะเลาะกับพวกคนใกล้เคียง เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครๆ ก็จะไม่คอยจ้องจะเอาส่วนแบ่งจากปลาตัวนี้ แล้วบอกลูกชายว่า ไปเถิดลูก เจ้าจงไปบอกแม่ถึงเรื่องที่เราได้ปลาตัวใหญ่ ให้แม่เขาก่อการทะเลาะวิวาทกับคนใกล้เคียงเสีย ครั้นเขาส่งลูกไปแล้ว เมื่อไม่อาจจะดึงเบ็ดมาได้ เกรงสายเบ็ดจะขาด จึงแก้ผ้าวางไว้บนบก โดดลงน้ำ เพราะอยากได้ปลา หาได้พิจารณาว่าจะเป็นปลาหรือไม่ จึงกระทบเข้ากับตอ นัยน์ตาแตกทั้งสองข้าง ผ้านุ่งที่วางไว้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 553
บนบกเล่า ขโมยก็ลักไปเสีย เขาเจ็บปวดเอามือกุมนัยน์ตาทั้งสองข้างไว้ ขึ้นจากน้ำ ซมซานหาผ้านุ่ง ฝ่ายว่าภรรยาของเขาคิดว่า เราจักก่อการทะเลาะทำให้ใครๆ ไม่จ้องขอส่วนแบ่ง ดังนี้แล้วเอาใบตาลประดับหูข้างหนึ่งเท่านั้น ตาข้างหนึ่งก็มอมเสีย อุ้มลูกหมาใส่สะเอว เดินไปนั่งหัวบ้านท้ายบ้าน ครั้งนั้นหญิงเพื่อนกันคนหนึ่งคะนองอย่างนี้ว่า เจ้าเอาใบตาลมาประดับที่หูข้างเดียวเท่านั้น ตาข้างหนึ่งก็มอมเสีย อุ้มลูกหมาใส่สะเอว ปานประหนึ่งว่าเป็นลูกรัก เดินไปหัวบ้านท้ายบ้าน เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ นางกล่าวว่า ไม่ได้เป็นบ้า ก็เจ้ามาด่าว่าเราโดยหาเหตุมิได้ บัดนี้เราจักพาเจ้าไปหานายอำเภอ ให้ปรับเจ้าเสียแปดกษาปณ์ ครั้นทะเลาะกันอย่างนี้แล้ว คนทั้งสองก็พากันไปยังที่ว่าการอำเภอ เมื่อนายอำเภอชำระข้อพิพาทของหญิงทั้งสองนั้น ก็ปรับหญิงผู้เป็นภรรยาของพรานเบ็ดซ้ำเข้าอีก คนทั้งหลายก็มัดนาง เร่งรัดว่า จงให้ค่าปรับ แล้วเริ่มเฆี่ยน รุกขเทวดาเห็นพฤติกรรมนี้ของนางในบ้านและความฉิบหายของผัวนั้นในป่า ก็ยืนที่ค่าคบไม้ กล่าวว่า ดูก่อนเจ้าคนถ่อย การงานของเจ้าเสื่อมเสียหมดแล้ว ทั้งในน้ำ ทั้งบนบก เจ้าพลาดเสียแล้วจากประโยชน์ทั้งสองสถาน แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า.
"ตาของเจ้าก็แตก ผ้าของเจ้าก็หาย ภรรยาของเจ้าก็ทะเลาะกับหญิงเพื่อนบ้าน การงานทั้งหลายเสียหายทั้งสองด้าน ทั้งในน้ำ ทั้ง บนบก" ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 554
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สขีเคเห จ ภณฺฑนํ ความว่า หญิงผู้เป็นสหายชื่อว่า เพื่อน ขยายความว่า เมียของเจ้าทำความร้าวฉานในเรือนของหญิงผู้เป็นสหายนั้น ถูกจับมัดเฆี่ยนลงทัณฑ์.
บทว่า อุภโต ปทุฏฺา ความว่า การงานในฐานะทั้งสองของเจ้า เสียหายย่อยยับ อย่างนี้ทีเดียว.
ถามว่า ในฐานะทั้งสองอย่างไหนบ้าง.
ตอบว่า ทั้งทางน้ำและทั้งทางบก ได้แก่ การงานในน้ำเสียหายเพราะนัยน์ตาแตก และผ้านุ่งถูกขโมยลัก การงานบนบกเสียหายเพราะเมียทำความร้าวฉานกับเพื่อนบ้าน ถูกจับ มัดเฆี่ยนลงทัณฑ์.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พรานเบ็ดในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต ส่วนรุกขเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุภโตภัตถชาดกที่ ๙