การศึกษาธรรมะประกอบด้วยปัญญาหลายระดับ เริ่มจากการฟังให้เข้าใจ แล้วน้อมนำมาพิจารณา จนกว่าสติปัญญาพร้อมที่จะเกิด ในการดำเนินชีวิตต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ทั้งที่ชอบและไม่ชอบ การศึกษาพระธรรมสอนให้พร้อมที่จะเรียนรู้สภาพธรรมทุกรูปแบบที่ผ่านมากระทบ โดยพิจารณาหลัก"อนัตตา" เมื่อชีวิตจริงเป็นอย่างนี้ ควรอย่างยิ่งที่จะสะสม "กำลัง" คือการเจริญกุศลทุกประการ และ "บารมี ๑๐" เพื่อเป็นเกราะและกำลังในการต่อสู้กับกระแสของกิเลสและอวิชชาที่สะสมมาเนิ่นนาน
ข้อสำคัญ การพิจารณา ขัดเกลากิเลสและเจริญกุศลต้องประกอบด้วย"ปัญญา" (ไม่มีเรา มีแต่สภาพธรรม) ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา ทุกอย่างจะเป็นเพียงความคิด เป็นเรื่องราว ไม่ใช่ทางสายเอก คือ "มรรคมีองค์ ๘" ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อดับกิเลสเป็นสมุทเฉจ ซึ่งแม้จะนานแสนนาน แต่ก็เป็นไปได้ หากเหตุสมควรแก่ผล
ท่านพระอานนท์แสดงเนื้อความนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ละเอียดโดยนัยต่างๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่างๆ ลึกซึ้งโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ มาสู่คลองโสตสมควรแก่ภาษาของตนๆ ของสัตว์โลกทั้งปวง ใครเล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าแม้ใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดให้เกิดความประสงค์ที่จะสดับ ก็ได้สดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับมาโดยอาการอย่างหนึ่ง
ขออนุโมทนา
อบรมบารมี ๑๐ และสติปัฏฐาน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้เลยครับ
ขออนุโมทนา
ถ้าเราไม่อาศัยการเจริญกุศลทุกประการ โดยเฉพาะกุศลในขั้นปัญญาคือการฟังธรรม หวังอย่างเดียวในการเจริญสติปัฏฐานก็เป็นไปไม่ได้ และการศึกษาธรรมก็ต้องเป็นไปตามลำดับคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้าการศึกษาไม่ตรงกับการปฏิบัติ การศึกษานั้นก็ไร้ประโยชน์ค่ะ
ขออนุโมทนา
ความรู้ที่ได้ในขั้นปฏิบัติและปฏิเวท ก็ต้องมาจากความรู้ในขั้นปริยัติทั้งสิ้น เพื่อเทียบเคียงกับสภาพธรรมะที่เกิดว่าตรงกับสิ่งที่ได้ศึกษามา ไม่ใช่การเดา หรือคิดเอาเอง โดยหลักการความน่าจะเป็น ความสำคัญจึงอยู่ที่การเป็นผู้ตรงต่อตนเองคือ เมื่อใช่ก็ใช่ (มีสติ) เมื่อไม่ใช่ก็ไม่ใช่ (หลงลืมสติ) เมื่อไม่แน่ใจ (สงสัยเพราะไม่รู้) ก็ต้องเพียรศึกษาพระธรรมต่อไปเพื่อให้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นตามลำดับ ครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ