วันสูปนายิกขันธกะ
โดย บ้านธัมมะ  12 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42811

[เล่มที่ 6] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวรรค

เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑

วัสสูปนายิกขันธกะ

เรื่องภิกษุหลายรูป 205/511

การจําพรรษา ๒ อย่าง 206/512

พระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกทุกเวลา 207/512

พระฉัพพัคคีย์ไม่จําพรรษา 208/513

เลื่อนกาลฝน 209/513

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธกะ 514

เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ 517

ทายกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย 210/517

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเพราะสหธรรมิก ๕ 211/529

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุ 530

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษณุ ี 533

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา 536

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณร 537

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี 538

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเพราะกิจสงฆ์ 213/540

อรรถกถาธุระเป็นไปด้วยสัตตาหกรณียะ 541

อันตรายของภิกษุผู้จําพรรษา 544

ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนเป็นต้น 214/544

จําพรรษาในสถานที่ต่างๆ 217/550

จําพรรษาในสถานที่ไม่สมควร 218/551

ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา 220/552

จําพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง 221/553

ปฏิญาณจําพรรษาต้น 555

ปฏิญาณจําพรรษาหลัง 222/557

หัวข้อประจําขันธกะ 223/560

อรรถกถาอันตรายเป็นเหตุหลีกไป 561


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 6]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 511

วัสสูปนายิกขันธกะ

เรื่องภิกษุหลายรูป

[๒๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวพุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติการจำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นเป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพัก ยังอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านี้เล่า ก็ยังทำรังบนยอดไม้ และพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่าง ๑ ซึ่งชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ จำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษา.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 512

การจำพรรษา ๒ อย่าง

[๒๐๖] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราพึงจำพรรษาเมื่อไรหนอ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในฤดูฝน.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายคิดกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วันหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษานี้มี ๒ คือ ปุริมิกา วันเข้าพรรษาต้น ๑ ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้ววัน ๑ พึงเข้าพรรษาต้น ๑ เมื่อพระจันทร์เพ็ญเสวยฤกษ์อาสาฬหะล่วงไปแล้วเดือน ๑ พึงเข้าพรรษาหลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันเข้าพรรษามี ๒ วันเท่านี้แล.

พระฉัพพัคคีย์เที่ยวจาริกทุกเวลา

[๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์จำพรรษาแล้ว ยังเที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาเช่นนั้นแหละว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ มีจำนวนมากให้ถึงความวอดวายเล่า ก็พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านี้เป็นผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกเหล่านั้นเล่า ก็ยังทำรังบนยอดไม้แล้วพักอาศัยอยู่ประจำตลอดฤดูฝน ส่วนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านั้น เที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีวะ ยังสัตว์เล็กๆ ซึ่งมีจำนวนมากให้ถึงความวอดวาย ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา บรรดาที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 513

โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จำพรรษาแล้ว จึงได้เที่ยวจาริกในระหว่างพรรษาเล่า จึงภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับส่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนต้น หรือ ๓ เดือนหลัง ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก รูปใดหลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระฉัพพัคคีย์ไม่จำพรรษา

[๒๐๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่ประสงค์จะจำพรรษา ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจะไม่จำพรรษาไม่ได้ รูปใดไม่จำพรรษา ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ ไม่ประสงค์จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา แกล้งล่วงเลยอาวาสไปเสีย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับส่งห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ประสงค์จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษา ไม่พึงแกล้งล่วงเลยอาวาสไปเสีย รูปใดล่วงเลยไปเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.

เลื่อนกาลฝน

[๒๐๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อนกาลฝนออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้ากระไร ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายพึงจำพรรษาในชุณหปักษ์อันจะมาถึง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คล้อยตามพระเจ้าแผ่นดิน.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 514

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธกะ

วินิจฉัยในเรื่องวัสสูปนายิกขันธกะ พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า อปฺปญฺตฺโต ได้แก่ ยังมิได้ทรงอนุญาต หรือว่ายังมิได้ทรงจัด.

สองบทว่า เตธ ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายนั้น. อิธ ศัพท์ เป็น เพียงนิบาต.

สัตว์ทั้งหลายผู้อาจไปในอากาศชื่อว่านก.

บทว่า สงฺกาสยิสฺสนฺติ ความว่า นกทั้งหลาย ก็จักขวนขวายน้อย อยู่ประจำที่.

สองบทว่า สงฺฆาตํ อาปาเทนฺตา ได้แก่ ให้ถึงความพินาศ.

หลายบทว่า วสฺสาเน วสฺสํ อุปคนฺตุํ ความว่า เพื่อเข้าจำพรรษาตลอด ๓ เตือนในฤดูฝน.

หลายบทว่า กติ นุ โข วสฺสูปนายิกา ความว่า วันเข้าพรรษามีเท่าไรหนอ?

วินิจฉัยในคำว่า อุปรชฺซุคตาย อาสาฬฺหิยา พึงทราบดังนี้:-

วัน ๑ แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น ซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่า มีวัน ๑ ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้ววัน ๑ อธิบายว่า ในวันแรมค่ำ ๑


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 515

แม้ในนัยที่ ๒ ก็มีความว่า เดือน ๑ แห่งดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นซึ่งล่วงไปแล้ว เพราะเหตุนั้น ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้น จึงชื่อว่ามีเดือน ๑ ล่วงไปแล้ว. เมื่อดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะนั้นล่วงไปแล้ว คือก้าวล่วงแล้วเดือน ๑ อธิบายว่า เมื่อเดือน ๑ เต็มบริบูรณ์. เพราะเหตุนั้น ในวันแรมค่ำ ๑ ซึ่งถัดจากวันกลางเดือน ๘ หรือในวันแรมค่ำ ๑ ซึ่งถัดจากวันกลางเดือน ๙ จากเพ็ญเดือน ๘ นั่นแล อันภิกษุผู้จะจำพรรษา พึงจัดแจงวิหารแล้วทั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ พึงทำสามีจิกรรมมีกราบไหว้พระเจดีย์เป็นต้นทั้งปวงให้เสร็จแล้ว พึงเปล่งวาจาว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ดังนี้ ครั้ง ๑ หรือ ๒ ครั้งแล้ว จำพรรษาเถิด.

วินิจฉัยในคำว่า โย ปกฺกเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-

พึงทราบว่า ต้องอาบัติ เพราะไม่มีอาลัย หรือเพราะให้อรุณขึ้นในที่อื่น.

วินิจฉัยในคำว่า โย อติกฺกเมยฺย นี้ พึงทราบดังนี้:-

พึงทราบว่า เป็นอาบัติหลายตัว ด้วยนับวัด.

ก็ถ้าว่า ในวันนั้น เธอเข้าไปยังอุปจารวัด ๑๐๐ ตำบลแล้วเลยไปเสีย พึงทราบว่า เป็นอาบัติ ๑๐๐ ตัว แต่ถ้าว่าเลยอุปจารวัดไปแล้ว แต่ยังไม่ทันเข้าอุปจารวัดอื่น กลับมาเสีย พึงทราบว่า ต้องอาบัติตัวเดียวเท่านี้นั้น. ภิกษุผู้ไม่จำพรรษาต้น เพราะอันตรายบางอย่างต้องจำพรรษาหลัง.

สองบทว่า วสฺสํ อุกฺกฑฺฒิตุกาโม ความว่า มีพระประสงค์จะเลื่อนเดือนต้นฤดูฝนออกไป อธิบายว่า มีพระประสงค์จะไม่นับเดือน ๙ จะให้นับเป็นเดือน ๘ อีก.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 516

สองบทว่า อาคเม ชุณฺเห มีอธิบายว่า ในเดือนอธิกมาส.

วินิจฉัยในข้อว่า อนุซานามิ ภิกฺขเว ราซูนํ อนุวตฺติตุํ นี้พึง ทราบดังนี้:-

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่ออนุวัตรตาม ด้วยทรงทำในพระหฤทัยว่า ชื่อว่าความเสื่อมเสียสักนิดหน่อย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะเลื่อนกาลฝนออกไป. เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอนุวัตรตาม ในกรรมที่เป็นธรรมอย่างอื่นได้ แต่ไม่ควรอนุวัตรตามแก่ใครๆ ในกรรมอันไม่เป็นธรรมฉะนี้แล.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 517

เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ

ทายกสร้างวิหารเป็นต้นถวาย

[๒๑๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว. เสด็จจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับลุถึงพระนครสาวัตถี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถุนั้น

ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสกชื่ออุเทนได้ให้สร้างวิหารอุทิศต่อสงฆ์ไว้ในโกศลชนบท เขาได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายจงมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายตอบไปอย่างนี้ว่า ท่านอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุจำพรรษา ไม่อยู่ให้ตลอด ๓ เดือนต้น หรือ ๓ เดือนหลัง ไม่พึงหลีกไปสู่จาริก ขออุบาสกอุเทนจงรออยู่ชั่วระยะเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจำพรรษา ออกพรรษาแล้วจึงจักไปได้ แต่ถ้าท่านจะมีกรณียกิจรีบด่วน จงให้ประดิษฐานวิหารไว้ในสำนักภิกษุเจ้าถิ่น ในโกศลชนบทนั้นนั่น แหละ

อุบาสกอุเทนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนเมื่อเราส่งทูตไปแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ไม่มาเล่า เราก็เป็นทายก เป็นผู้ก่อสร้าง เป็นผู้บำรุงสงฆ์

ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 518

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวก ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แม้เมื่อเขาไม่ส่งมา เราไม่อนุญาต บุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกนี้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา เราไม่อนุญาต พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุบาสกในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสกในศาสนานี้ ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียวอุทิศสงฆ์ ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฏี ...


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 519

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ให้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงน้ำ ...

... ได้ให้สร้างเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ...

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสกในศาสนานี้ได้ไห้สร้างวิหารอุทิศ ภิกษุมากรูปด้วยกัน ...

... ได้ให้สร้างวิหารอุทิศภิกษุรูป ๑ ...

... ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 520

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ให้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ...

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับ ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุบาสกในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศภิกษุณีสงฆ์ ...

... อุทิศภิกษุณีมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศภิกษุณีรูป ๑ ...


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 521

... อุทิศสิกขมานามากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสิกขมานารูปหนึ่ง ...

... อุทิศสามเณรมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสามเณรรูปหนึ่ง ...

... อุทิศสามเณรีมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสามเณรีรูปหนึ่ง ...

... ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ให้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 522

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสกในศาสนานี้ได้ไห้สร้างนิเวศน์เพื่อประโยชน์ตน ...

... ได้ให้สร้างเรือนนอน ...

... ได้ให้สร้างโรงเก็บของ ...

... ได้ให้สร้างร้าน ...

... ได้ให้สร้างโรงกลม ...

... ได้ให้สร้างร้านค้า ...

... ได้ให้สร้างโรงร้านค้า ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงครัว ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 523

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ อนึ่ง จะมีการมงคลแก่บุตรก็ดี จะมีการมงคลแก่ธิดาก็ดี เขาเจ็บไข้ก็ดี จะกล่าวพระสุตตันตะที่รู้เฉพาะก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา จักได้เรียนพระสุตตันตะนี้ไว้ โดยวิธีที่พระสุตตันตะนี้ จะไม่เสื่อมสูญไปเสีย หรือว่าเขามีกิจหรือกรณียะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหะกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว อุทิศสงฆ์ ...


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 524

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ไห้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 525

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศภิกษุมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศภิกษุรูปหนึ่ง ...

... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ...

... อุทิศภิกษุณีมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศภิกษุณีรูปหนึ่ง ...

... อุทิศสิกขมานามากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสิกขมานารูปหนึ่ง ...

... อุทิศสามเณรมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสามเณรรูปหนึ่ง ...

... อุทิศสามเณรีมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสามเณรีรูปหนึ่ง ...

... ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 526

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ให้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงเรือนไฟ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า

ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ให้สร้างนิเวศน์เพื่อประโยชน์ตน ...

... ได้ให้สร้างเรือนนอน ...

... ได้ให้สร้างโรงเก็บของ ...

... ได้ให้สร้างร้าน ...

... ได้ให้สร้างโรงกลม ...

... ได้ให้สร้างร้านค้า ...

... ได้ให้สร้างโรงร้านค้า ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 527

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างโรงครัว ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ให้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ให้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

... ได้ให้สร้างอารามวัตถุ อนึ่ง จะมีการมงคลแก่บุตรก็ดี จะมีการมงคลแก่ธิดาก็ดี เขาเจ็บไข้ก็ดี จะกล่าวพระสุตตันตะที่รู้เฉพาะก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา จักได้เรียนพระสุตตันตะนี้ไว้ โดยวิธีที่พระสุตตันตะนี้จะไม่เสื่อมสูญไปเสีย หรือว่าเขามีกิจหรือกรณียะอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อ นางไม่ส่งมาก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 528

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์

... ภิกษุณีได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ...

... สิกขมานาได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ...

... สามเณรได้ไห้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ...

... สามเณรีได้ให้สร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ...

... อุทิศภิกษุมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศภิกษุรูปหนึ่ง ...

... อุทิศภิกษุณีสงฆ์ ...

... อุทิศภิกษุณีมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศภิกษุณีรูปหนึ่ง ...

... อุทิศสิกขมานามากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสิกขมานารูปหนึ่ง ...

... อุทิศสามเณรมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสามเณรรูปหนึ่ง ...

... อุทิศสามเณรีมากรูปด้วยกัน ...

... อุทิศสามเณรีรูปหนึ่ง ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สามเณรีในศาสนานี้ได้สร้างวิหารเพื่อประโยชน์ตน ...

... ได้ให้สร้างเรือนมุงแถบเดียว ...

... ได้ให้สร้างเรือนชั้น ...

... ได้ให้สร้างเรือนโล้น ...

... ได้ให้สร้างถ้ำ ...

... ได้ให้สร้างบริเวณ ...


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 529

... ได้ให้สร้างซุ้ม ...

... ได้ให้สร้างโรงฉัน ...

... ได้ให้สร้างโรงไฟ ...

... ได้ให้สร้างกัปปิยกุฎี ...

... ได้ให้สร้างวัจจกุฎี ...

... ได้ให้สร้างที่จงกรม ...

... ได้ให้สร้างโรงจงกรม ...

... ได้ให้สร้างบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างโรงบ่อน้ำ ...

... ได้ให้สร้างสระโบกขรณี ...

... ได้ไห้สร้างมณฑป ...

... ได้ให้สร้างอาราม ...

ได้ให้สร้างอารามวัตถุ ถ้านางส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งมา ก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเพราะสหธรรมิก ๕

[๒๑๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูป ๑ อาพาธ เธอได้ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 530

สหธรรมิก ๕ แม้มิได้ส่งทูตมาเราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา สหธรรมิก ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสหธรรมิก ๕ นี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา แต่ต้องกลับ ใน ๗ วัน.

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุ

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความกระสันบังเกิดแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักระงับความกระสัน หรือจักวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความรำคาญบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักของภิกษุทั้งหลายว่า ความรำคาญบังเกิดแก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูต


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 531

มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความรำคาญ หรือจักวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความเห็นผิดบังเกิดแก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความเห็นผิดบังเกิดแก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักเปลื้องความเห็นผิด จักวานภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ต้องครุกาบัติควรอยู่ปริวาส ถ้าเธอพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองต้องครุกาบัติควรอยู่ปริวาส ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้ปริวาส จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ควรมานัต ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองเป็นผู้ควรมานัต ขออาราธนา


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 532

ภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้มานัต จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับภายใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองเป็นผู้ควรอัพภาน ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้อัพภาน จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อทำกรรมแก่กระผม ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ สงฆ์จึงจะไม่ทำกรรม หรือพึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา แต่ต้องกลับใน ๗ วัน. อนึ่งภิกษุนั้นได้ถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์ได้ทำกรรมแก่กระผมแล้ว ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าว


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 533

ไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ ภิกษุนั้นพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์จะได้ระงับกรรมนั้นเสีย แต่ต้องกลับ ใน ๗ วัน.

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยภิกษุณี

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองอาพาธ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภลัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่ภิกษุณีในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความกระสันบังเกิดแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักระงับความกระสัน หรือจักวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความรำคาญบังเกิดแก่ภิกษุณีในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความรำคาญบังเกิดแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อน


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 534

ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย เมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักบรรเทาความรำคาญ จักวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น แต่ต้องกลับ ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความเห็นผิดบังเกิดแก่ภิกษุณีในศาสนานี้ ถ้าเธอจะส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ความเห็นผิดเกิดแล้วแก่ดิฉัน ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักเปลื้องความเห็นผิด จักวานภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง หรือจักทำธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุณีในศาสนานี้เป็นผู้ต้องครุกาบัติควรมานัต ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองต้องครุกาบัติควรมานัต ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้มานัต แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุณีในศาสนานี้เป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม แต่ต้องส่งกลับใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 535

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุณีในศาสนานี้เป็นผู้ควรอัพภาน ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองเป็นผู้ควรอัพภาน ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายในอัพภาน แต่ต้องกลับ ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุณีในศาสนานี้ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์เป็นผู้ใคร่เพื่อทำกรรมแก่ดิฉัน ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ สงฆ์จึงจะไม่ทำกรรม หรือพึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา แต่ ต้องกลับใน ๗ วัน. อนึ่งภิกษุณีนั้นถูกสงฆ์ทำกรรมคือตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเชปนียกรรมแล้ว ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สงฆ์ได้ทำกรรมแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ ภิกษุณีนั้นพึงประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ สงฆ์จะได้ระงับกรรมนั้นเสีย แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 536

สัตตหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิกขมานาในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองอาพาธ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่สิกขมานาในคาสนา นี้ ...

... ความรำคาญบังเกิด ...

... ความเห็นผิดบังเกิด ...

... สิกขาของสิกขมานาในศาสนานี้กำเริบ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า สิกขาของดิฉันกำเริบแล้ว ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้สมาทานสิกขา แต่ต้องกลับ ใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สิกขมานาในศาสนานี้เป็นผู้ใคร่จะอุปสมบท ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองใคร่จะอุปสมบท ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้อุปสมบท จักช่วยสวดหรือจักคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 537

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณร

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามเณรในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่าจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่สามเณรในศาสนานี้ ...

... ความรำคาญบังเกิด ...

... ความเห็นผิดบังเกิด ...

สามเณรเป็นผู้ใคร่จะถามปี ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักถามหรือจักบอก แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สามเณรในศาสนานี้เป็นผู้ใคร่จะอุปสมบท ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมเองใคร่จะอุปสมบท ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้อุปสมบท จักช่วยสวดหรือจักเป็นคณะปูรกะ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 538

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามเณรีในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉันเองอาพาธ ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ความกระสันบังเกิดแก่สามเณรีในศาสนานี้ ...

... ความรำคาญบังเกิด ...

... ความเห็นผิดบังเกิด ...

... สามเณรีเป็นผู้ใคร่จะถามปี ...

สามเณรีเป็นผู้ใคร่จะสมาทานสิกขา ถ้าเธอพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ดิฉัน เองใคร่จะสมาทานสิกขา ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเธอมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเธอส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักทำการขวนขวายให้สมาทานสิกขา แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

[๒๑๒] ก็โดยสมัยนั้นแล มารดาของภิกษุรูป ๑ ได้ป่วยไข้ นางส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นบุตรว่า ดิฉันเองป่วยไข้ ดิฉันปรารถนาการมาของบุตร จึงภิกษุนั้นได้ดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคล ๗ จำพวกส่งทูตมา ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา จะไปไม่ได้ สำหรับสหธรรมิก ๕ แม้มิได้ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าว


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 539

ไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา ก็นี่มารดาของเรากำลังป่วยไข้ และท่านก็มิใช่อุบาสิกา เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวก แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไยเมื่อเขาส่งทูตมา บุคคล ๗ จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดาและบิดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ๗ จำพวกนี้แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปใยเมื่อเขาส่งทูตมา แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มารดาของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นบุตรว่า ดิฉันเองป่วยไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันปรารถนาการมาของบุตร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อนางมิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บิดาของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้เป็นบุตรว่า ฉันเองป่วยไข้ ขอบุตรของฉันจงมา ฉันปรารถนาการมาของบุตร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อเขามิได้ส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ จะต้องกล่าวไปไย เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พี่ชายน้องชายของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุผู้พี่ชายน้องชายว่า กระผมเองป่วยไข้ ขอพี่


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 540

ชายน้องชายของกระผมจงมา กระผมปรารถนาการมาของพี่ชายน้องชาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่พึงไป แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พี่หญิงน้องหญิงของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า ดิฉันเองป่วยไข้ ขอพี่ชายน้องชายของดิฉันจงมา ดิฉันปรารถนาการมาของพี่ชายน้องชาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมาก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แม้เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่พึงไป แต่ต้องกลับมาใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ญาติของภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า กระผมเองป่วยไข้ ขอพระคุณเจ้าจงมา กระผมปรารถนาการมาของพระคุณเจ้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่พึงไป แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุรุษผู้ภักดีต่อภิกษุในศาสนานี้ป่วยไข้ ถ้าเขาจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุว่า กระผมเองป่วยไข้ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาส่งทูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ก็ไม่พึงไป แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

ทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเพราะกิจของสงฆ์

[๒๑๓] ก็โดยสมัยนั้น มหาวิหารของสงฆ์ชำรุดลง อุบาสกคน ๑ ได้ให้ตัดเครื่องทัพพสัมภาระไว้ในป่า เขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้า


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 541

พระคุณเจ้าทั้งหลาย จะพึงขนเครื่องทัพพสัมภาระนั้นไปได้ กระผมขอถวายเครื่องทัพพสัมภาระนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปได้เพราะกรณียะของสงฆ์ แต่ต้องกลับใน ๗ วัน.

เรื่องทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะ จบ

วัสสาวาสภารวารที่ ๑ จบ

อรรถกถาธุระเป็นไปด้วยสัตตาหกรณียะ

วินิจฉัยในสัตตาหกรณียะทั้งหลาย พึงทราบดังต่อไปนี้:-

ตั้งแต่คำว่า ภิกฺขุนีสงฺฆํ อุทฺทิสฺส เป็นต้นไป ย่อมมีความเสื่อมตลอดไป ๓ อย่าง คือ เว็จกุฎี ๑ เรือนไฟ ๑ ศาลาเรือนไฟ ๑.

โรงเก็บสิ่งของเป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วทีเดียว ในสิกขาบททั้งหลาย มีอุทโทสิตสิกขาบทเป็นต้น.

ก็โรงครัว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าในวัสสูปนายิกขันธกะนี้ว่า รสวตี.

คำว่า วาเรยฺยํ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ในสัญจริตสิกขาบท.

หลายบทว่า ปุรายํ สุตฺตนฺโต น ปลุชฺชติ ความว่า ตราบเท่าที่พระสุตตันตะนี้จะไม่สาบสูญเสีย.

ข้อว่า ปญฺจนฺนํ สตฺตาหกรณีเยน ความว่า แม้เมื่อสหธรรมิกมิได้ส่งทูตมานิมนต์ ภิกษุก็ควรไป ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้พิสดารข้างหน้า โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักแสวงหาคิลานภัตหรือคิลานุ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 542

ปัฏฐากภัตหรือเภสัช แก่สหธรรมิกทั้ง ๕ มีภิกษุเป็นต้น เหล่านั้นบ้าง จักถามบ้าง จักพยาบาลบ้าง. แม้ในที่แห่งมารดาบิดา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

แต่ในอันธกอรรถกถาแก้ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดเป็นอุปัฏฐากของมารดาและบิดา ซึ่งเป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี แม้เมื่อชนเหล่านั้นมิได้ส่งทูตมานิมนต์ ภิกษุจะไปก็ควร. คำนั้นท่านมิได้กล่าวไว้เลย ทั้งในอรรถกถาและบาลี เพราะฉะนั้น ไม่ควรจะถือเอา.

บทว่า ภิกฺขุภติโก ได้แก่ บุรุษผู้อยู่กับภิกษุทั้งหลายในวัดเดียวกัน.

บทว่า อุทฺริยติ ได้แก่ ชำรุด.

สองบทว่า ภณฺฑํ เฉทาปิตํ ได้แก่ เครื่องทัพพสัมภาระที่เขาให้ตัดไว้แล้ว.

บทว่า อวหราเปยฺยุํ คือพึงให้ขนมา.

วินิจฉัยในคำว่า สงฺฆกรณีเยน นี้ พึงทราบดังนี้:-

กิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันภิกษุพึงทำในเสนาสนะทั้งหลาย มีโรงอุโบสถเป็นต้นก็ดี ในสถานที่ทรงอนุญาต มีฉัตรและไพทีแห่งพระเจดีย์เป็นต้นก็ดี โดยที่สุดแม้เป็นเสนาสนะเฉพาะตัวของภิกษุ ทุกอย่างเป็นกิจอันสงฆ์พึงทำทั้งนั้น. เพราะฉะนั้น เพื่อให้กิจนั้นสำเร็จ ภิกษุควรไปเพื่อขนทัพพสัมภาระเป็นต้นมา หรือเพื่อให้ไวยาวัจกรให้ค่าจ้างและรางวัลเป็นต้น แก่ชนทั้งหลาย มีช่างไม้เป็นต้น.

วินิจฉัยในรัตติเฉทซึ่งพ้นจากบาลี ในสัตตาหกรณียาธิการ พึงทราบดังต่อไปนี้:-

อันภิกษุอันเขามิได้นิมนต์เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม ไม่สมควรไป. แต่ถ้าว่าภิกษุได้กระทำการนัดหมายกันไว้ก่อนแล้ว ในอาวาสใหญ่แห่ง


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 543

หนึ่งว่า เราทั้งหลายพึงประชุมกันในวันชื่อโน้น ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้อันเขานิมนต์แล้วได้ จะไปก็ควร. จะไปด้วยคิดว่า เราจักซักย้อมจีวร ไม่ควร. แต่ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์ใช้ไปควรอยู่. วัดอยู่ในที่ไม่ไกลนัก เธอไปในวัดนั้น ด้วยตั้งใจว่า เราจักกลับมาในวันนี้ทีเดียว แต่ไม่สามารถจะมาให้ทันได้ ควรอยู่. ย่อมไม่ได้เพื่อจะไป แม้เพื่อประโยชน์แก่อุเทสและปริปุจฉาเป็นต้น. แต่ย่อมได้เพื่อจะไปด้วยคิดว่า เราจักเยี่ยมอาจารย์ ถ้าว่าอาจารย์กล่าวกะเธอว่า คุณจงอย่าไปในวันนี้เลย ดังนี้ จะไม่กลับก็ควร. ย่อมไม่ได้เพื่อจะไปเยี่ยมสกุลอุปัฏฐาก หรือสกุลของญาติ.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 544

อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา

ถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียนเป็นต้น

[๒๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท ถูกเหล่าสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้วถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน มันจับเอาไปได้บ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยความสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูกงูเบียดเบียน มันขบกัดเอาบ้าง หนีมันรอดมาได้บ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พวกโจรเบียดเบียน มันปล้นบ้าง รุมตีบ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ถูกพวกปีศาจรบกวน มันเข้าสิงบ้าง พาเอาไปบ้าง พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หมู่บ้านประสบอัคคีภัย ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 545

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เสนาสนะถูกไฟไหม้ ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่านั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หมู่บ้านประสบอุทกภัย ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยบิณฑบาต พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เสนาสนะถูกน้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายเดือดร้อนด้วยเสนาสนะ พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

[๒๑๕] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ชาวบ้านอพยพไปเพราะพวกโจรภัย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้าน ชาวบ้านแยกกันเป็น ๒ พวก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านที่มากกว่า ชาวบ้านที่มากกว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไปตามชาวบ้านทีมีศรัทธาเลื่อมใส.

[๒๑๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในอาวาสแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท ไม่ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดังนี้:-


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 546

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ไม่ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ แต่ไม่ได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ และได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย แต่ไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้โภชนาหารอันเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์ตามต้องการ ได้โภชนาหารอันเป็นที่สบาย ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย แต่ไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร พวกเธอพึงหลีกไปด้วยสำคัญว่า นั่นแลอันตราย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว สตรีนิมนต์ว่า ขอท่านจงมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันจะถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยาของท่าน ดิฉันจะยอมเป็นภรรยาของท่าน หรือมิฉะนั้น จะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไป เสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 547

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว หญิงแพศยานิมนต์ ... หญิงสาวเทื้อนิมนต์ ... บัณเฑาะก์นิมนต์ ... พวกญาตินิมนต์ ... พระราชาทั้งหลายนิมนต์ ... พวกโจรนิมนต์ ... พวกนักเลงนิมนต์ว่า ขอท่านมาเถิด ขอรับ พวกข้าพเจ้าจักถวายเงิน ทอง นา สวน พ่อโค แม่โค ทาส ทาสีแก่ท่าน จะยกลูกสาวให้เป็นภรรยา หรือจะนำสตรีอื่นมาให้เป็นภรรยาของท่าน ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว พบทรัพย์ไม่มีเจ้าของ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอกเร็วนัก สักหน่อยจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราก็ได้ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว เห็นภิกษุมากรูปด้วยกันกำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเราอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาค.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้วได้สดับข่าวว่า ภิกษุมากรูปด้วยกันกำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก เมื่อเรายังอยู่พร้อมหน้า สงฆ์อย่าแตกกันเลย พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 548

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่าในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกันกำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้นภิกษุมากรูปด้วยกันกำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรกับเรา เราจักบอกกับภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาค.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้นถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 549

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้น เป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกท่านอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกันกำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกันกำลังตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นมิใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุเหล่านั้นเป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ย โสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 550

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น ภิกษุณีมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นล้วนเป็นมิตรของเรา เราจักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้จำพรรษาแล้ว ได้สดับข่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้นภิกษุณีมากรูปด้วยกันได้ทำลายสงฆ์แล้ว ในเรื่องนั้น ถ้าภิกษุจะคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุณีเหล่านั้นไม่ใช่มิตรของเราเลย แต่ภิกษุณีที่เป็นมิตรของภิกษุณีเหล่านั้นเป็นมิตรกับเรา เราจักบอกภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีที่เราบอกแล้วนั้น จักว่ากล่าวพวกเธอว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การทำลายสงฆ์เป็นกรรมหนักนัก พวกน้องหญิงอย่าพอใจทำลายสงฆ์เลย ดังนี้ พวกเธอจักทำตาม จักเชื่อฟังคำของเรา จักเงี่ยโสตลงสดับ พึงหลีกไปเสีย ไม่ต้องอาบัติ แต่พรรษาขาด.

อันตรายของภิกษุผู้จำพรรษา จบ

จำพรรษาในสถานที่ต่างๆ

[๒๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งใคร่จะจำพรรษาในหมู่โคต่าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่โคต่างได้ หมู่โคต่างย้ายไป ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดินทางไปกับหมู่โคต่างได้.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 551

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษา ใคร่จะเดินทางไปกับพวกเกวียน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่พวกเกวียนได้.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจวนถึงวันเข้าพรรษาใคร่จะเดินทางไปกับเรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จำพรรษาในเรือได้.

จำพรรษาในสถานที่ไม่สมควร

[๒๑๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในโพรงไม้ คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกปีศาจ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในโพรงไม้ รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาบนค่าคบไม้ คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพรานเนื้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาบนค่าคบไม้ รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๒๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในที่แจ้ง เมื่อฝนตก ก็พากันวิ่งเข้าไปสู่โพรงไม้บ้าง สู่ชายคาบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในที่แจ้ง รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายหาเสนาสนะไม่ได้ จำพรรษา เดือดร้อนด้วยความหนาวบ้าง ด้วยความร้อนบ้าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 552

ตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่จำพรรษา รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในกระท่อมผี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกสัปเหร่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในกระท่อมผี รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเข้าพรรษาในร่ม คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคนเลี้ยงวัว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในร่ม รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในตุ่ม คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกเดียรถีย์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจำพรรษาในตุ่ม รูปใดจำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

ตั้งกติกาไม่เป็นธรรมในระหว่างพรรษา

[๒๒๐] ก็โดยสมัยนั้นแล พระสงฆ์ในพระนครสาวัตถีได้ตั้งกติกาไว้ว่า ในระหว่างพรรษา ห้ามไม่ให้บรรพชา.

หลานชายของนางวิสาขามิคารมารดา ได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายบอกอย่างนี้ว่า คุณ พระสงฆ์ได้ตั้งกติกาไว้แล้วว่า ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพชา คุณจงรออยู่จนกว่าภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาเสร็จแล้วจึงจะบวชให้ ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาแล้ว ได้บอกหลาน


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 553

ชายของนางวิสาขามิคารมารดาว่า อาวุโส บัดนี้ท่านจงมาบวชเถิด เขาจึงเรียนอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ถ้ากระผมจักได้บวชแล้วไซร้ จะพึงยินดียิ่ง แต่เดี๋ยวนี้กระผมยังไม่บวชละ.

นางวิสาขามิคารมารดาจึงได้เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ตั้งกติกาไว้เช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพชา กาลเช่นไรเล่า จึงไม่ควรประพฤติธรรม.

ภิกษุทั้งหลายได้ยินนางเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตั้งกติกาเช่นนี้ว่า ในระหว่างพรรษาห้ามไม่ให้บรรพชา รูปใดตั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ.

จำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง

[๒๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุปนนทศากยบุตร ถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ท่านไปสู่อาวาสนั้น ในระหว่างทางได้พบอาวาส ๒ แห่ง มีจีวรมาก จึงคิดว่า ไฉนหนอเราจะพึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ จีวรเป็นอันมากก็จักบังเกิดแก่เรา ดังนี้ เราจึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระคุณเจ้าอุปนนทศากยบุตรให้ปฏิญาณแก่เราว่าจะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนการพูดเท็จ ทรงสรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จโดยอเนกปริยายมิใช่หรือ? ภิกษุทั้งหลายได้ยินท้าวเธอทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านพระอุปนนท


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 554

ศากยบุตรถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนการพูดเท็จ ทรงสรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จโดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ดังนี้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนนทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนนท์ ข่าวว่าเธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะอยู่จำพรรษา แล้วทำให้คลาดจริงหรือ?

ท่านอุปนนทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอถวายปฏิญาณแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่าจะจำพรรษา ไฉนจึงได้ทำให้คลาดเสียเล่า เราติเตียนการพูดเท็จ สรรเสริญกิริยาที่เว้นจากการพูดเท็จโดยอเนกปริยายแล้วมิใช่หรือ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น พบอาวาส ๒ แห่งมีจีวรมาก ในระหว่างทาง จึงคิดอย่างนี้ว่า ไฉนหนอเราจะพึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้จีวรเป็นอันมากก็จักบังเกิดแก่เรา ดังนี้ เธอจึงจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 555

ปฏิญาณจำพรรษาต้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ทั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร วันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ทั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอพักอยู่ ๒ - ๓วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 556

ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ ยังอีก ๗ วันจะถึงวันปวารณา เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว ...


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 557

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภาย ใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าสู่วิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ ยังอีก ๗ วัน จึงถึงวันปวารณา เธอมีกิจจำเป็นหลีกไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาต้นของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ปฏิญาณจำพรรษาหลัง

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง เธอไปสู่อาวาสนั้น ทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำ จึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 558

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน มีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง เธอไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถภายนอกวิหาร ถึงวันแรม ๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วันแล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง ...

... ยังอีก ๗ วัน จะครบ ๔ เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 559

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษาในวันเข้าพรรษาหลัง เธอเข้าไปสู่อาวาสนั้นทำอุโบสถ ถึงวันแรม ๑ ค่ำจึงเข้าวิหาร จัดเสนาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ กวาดบริเวณ เธอไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว ...

... เธอมีกิจจำเป็น หลีกไปเสียในวันนั้นทีเดียว ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน ไม่มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน มีกิจจำเป็น หลีกไปเสีย ...

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธออยู่ภายนอกพ้น ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของเธอไม่ปรากฏ และเธอต้องอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำ.

... เธอพักอยู่ ๒ - ๓ วัน แล้วหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ เธอกลับมาภายใน ๗ วัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ให้ปฏิญาณไว้ว่า จะจำพรรษา ในวันเข้าพรรษาหลัง ...

... ยังอีก ๗ วันจะครบ ๔ เดือน อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท เธอมีกิจจำเป็นหลีกไปเสีย. ดูก่อนภิกษุจักมาสู่อาวาสนั้นก็ตาม ไม่มาก็ตาม วันจำพรรษาหลังของภิกษุนั้นปรากฏ และเธอไม่ต้องอาบัติ เพราะรับคำ.

วัสสูปนายิกขันธกะที่ ๓ จบ


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 560

หัวข้อประจำขันธกะ

[๒๒๓] ๑. เรื่องจำพรรษา ๒. เรื่องจำพรรษาในเวลาไหน ๓. เรื่องวันเข้าพรรษามีเท่าไร ๔. เรื่องเที่ยวจาริกในระหว่างพรรษา ๕. เรื่องไม่ประสงค์จำพรรษา ๖. เรื่องแกล้งไม่จำพรรษา ๗ เรื่องทรงเลื่อนกาลฝน ๘. เรื่องอุบาสกสร้างวิหาร ๙. เรื่องภิกษุอาพาธ ๑๐. เรื่องมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง ญาติและบุรุษผู้ภักดีต่อภิกษุป่วยใช้ ๑๑. เรื่องวิหารชำรุด ๑๒. เรื่องสัตว์ร้ายเบียดเบียน ๑๓. เรื่องงูเบียดเบียน ๑๔. เรื่องพวกโจรเบียดเบียน ๑๕. เรื่องปีศาจรบกวน ๑๖. เรื่องหมู่บ้านประสบอัคคีภัย ๑๗. เรื่องเสนาสนะถูกไฟไหม้ ๑๘. เรื่องหมู่บ้านประสบอุทกภัย ๑๙. เรื่องเสนาสนะถูกน้ำท่วม ๒๐. เรื่องชาวบ้านพากันอพยพ ๒๑. เรื่องผู้ที่เป็นทายกมีจำนวนมากกว่า ๒๒. เรื่องไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีต ไม่ได้โภชนะและเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากที่สมควร ๒๓. เรื่องถูกสตรีนิมนต์ ๒๔. เรื่องถูกหญิงแพศยานิมนต์ ๒๕. เรื่องถูกหญิงสาวเทื้อนิมนต์ ๒๖. เรื่องถูกบัณเฑาะก์นิมนต์ ๒๗. เรื่องถูกพวกญาตินิมนต์ ๒๘. เรื่องถูกพระราชานิมนต์ ๒๙. เรื่องถูกพวกโจรนิมนต์ ๓๐. เรื่องถูกพวกนักเลงนิมนต์ ๓๑. เรื่องพบขุมทรัพย์ ๓๒. เรื่องทำลายสงฆ์ ๘ วิธี ๓๓. เรื่องจำพรรษาในหมู่โคต่าง ๓๔. เรื่องจำพรรษาในหมู่เกวียน ๓๕. เรื่องจำพรรษาในเรือ ๓๖. เรื่องจำพรรษาในโพรงไม้ ๓๗. เรื่องจำพรรษาบนค่าคบไม้ ๓๘. เรื่องจำพรรษาในที่แจ้ง ๓๙. เรื่องภิกษุไม่มีเสนาสนะจำพรรษา ๔๐. เรื่องจำพรรษาในกระท่อมผี ๔๑. เรื่องจำพรรษาในร่ม ๔๒. เรื่องจำพรรษาในตุ่ม ๔๓. เรื่องตั้งกติกา ๔๔. เรื่องให้ปฏิญาณ ๔๕. เรื่องทำอุโบสถนอก


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 561

วิหาร ๔๖. เรื่องวันจำพรรษาต้น ๔๗. เรื่องวันจำพรรษาหลัง ๔๘. เรี่องไม่มีกิจจำเป็นหลีกไป ๔๙่. เรื่องมีกิจจำเป็นหลีกไป ๕๐. เรื่องพักอยู่ ๒ - ๓ วัน ๕๑. เรื่องหลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะ ๕๒. เรื่องยังอีก ๗ วันจะถึงวันปวารณา จะมาก็ตาม ไม่มาก็ตาม.

พึงพิจารณาแนวฉบับ ตามลำดับหัวข้อเรื่อง.

ในขันธกะนี้มี ๕ เรื่อง

อรรถกถาอันตรายเป็นเหตุหลีกไป

บทว่า ปริปาเตนฺติปิ ความว่า พาลมฤดูทั้งหลายมาแล้วโดยรอบ ย่อมให้หนีไปบ้าง ยังความกลัวให้เกิดขึ้นบ้าง ปลงเสียจากชีวิตบ้าง.

บทว่า อาวิสนฺติ คือปีศาจทั้งหลาย ย่อมเข้าสิงสรีระ.

วินิจฉัยในข้อว่า เยน คาโม เตน คนฺตุํ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

ถ้าชาวบ้านเขาไปตั้งอยู่ไม่ไกล ภิกษุพึงเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้นแล้ว กลับมายังวัด จำพรรษาเถิด. ถ้าชาวบ้านไปไกล ก็พึงรับอรุณในวัดโดยวาระ ๗ วัน ถ้าไม่สามารถเพื่อจะรับอรุณในวัดโดยวาระ ๗ วันได้ ก็พึงอยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันในบ้านนั้นเถิด.

ถ้าว่ามนุษย์ทั้งหลายถวายสลากภัตเป็นต้นตามที่เคยมา พึงบอกกะเขาว่า เรามิได้อยู่ในวัดนั้น. แต่เมื่อเขาพากันกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้ถวายแก่วัดหรือแก่ปราสาท พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าก็นิมนต์ฉันเถิด ดังนี้ ภิกษุพึงฉันได้ตามสบาย ภัตนั้นย่อมถึงพวกเธอแท้. ก็เมื่อทายกเขากล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงแจกกันฉันในที่อยู่ของพระผู้


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 562

เป็นเจ้าเถิด ดังนี้ ภิกษุอยู่ ณ ที่ใด พึงนำไป ณ ที่นั้น แล้วพึงแจกกันตามลำดับพรรษาฉันเถิด.

ถ้าพวกทายกถวายผ้าจำนำพรรษา ในเวลาที่ภิกษุปวารณาเสร็จแล้ว ผิว่าภิกษุทั้งหลายรับอรุณโดยวาระ ๗ วัน พึงรับเถิด. แด่ภิกษุผู้พรรษาขาด พึงบอกว่า เราทั้งหลายมิได้จำพรรษาในวัดนั้น เราขาดพรรษา ถ้าเขากล่าวว่า เสนาสนะของพวกข้าพเจ้า ท่านให้ถึงแก่พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใด พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นจงรับเถิด ดังนี้ ภิกษุควรรับ.

ส่วนของควรแจกกันได้ มีจีวรเป็นต้น ที่ภิกษุขนย้ายมาที่ในสถานใหม่นี้ด้วยคิดว่า เก็บไว้ในวัดจะฉิบหายเสีย ควรไปอปโลกน์แจกกันในวัดเดิมนั้น.

นัยแม้ในของสงฆ์อันเกิดขึ้นในวัดนั้นเป็นต้นว่า นาและสวนที่ทายกมอบให้ไว้แก่กัปปิยการกทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงถวายปัจจัย ๔ แก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจากมูลค่าแห่งนาและสวนนี้. ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ของสงฆ์ที่ควรแจกกันได้ จะอยู่ในภายในวัดหรือภายนอกสีมาก็ตามที ของที่ควรแจกกันได้นั้น ไม่ควรอปโลกน์แจกแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ภายนอกสีมา. แต่ของสงฆ์ซึ่งเป็นของควรแจกกันได้ อันตั้งอยู่ในเขตทั้ง ๒ สมควรแท้ที่จะอปโลกน์แจกแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในภายในสีมา.

วินิจฉัยในข้อว่า สงฺโฆ ภินฺโน นี้ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว กิจที่ควรไปทำย่อมไม่มี แต่คำว่า แตกกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาสงฆ์ที่ภิกษุระแวงว่า จะแตกกัน.

วินิจฉัยในข้อว่า สมฺพหุลาหิ ภิกฺขุนีหิ สงฺโฆ ภินฺโน นี้ พึง ทราบดังนี้:-


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 563

บัณฑิตไม่พึงเห็นว่า สงฆ์อันภิกษุณีทั้งหลายทำลายแล้ว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์หาได้ไม่. ความระแวงอยู่ว่า อันภิกษุทั้งหลายพึงอาศัยภิกษุณีเหล่านั้น กระทำพวกเธอให้เป็นกำลังอุดหนุนแล้ว พึงทำลายสงฆ์หมู่ใด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาสงฆ์หมู่นั้น ตรัสคำนี้ว่า สงฆ์อันภิกษุณีเป็นอันมากทำลายแล้ว.

สถานที่อยู่ของนายโคบาลทั้งหลาย ชื่อว่า พวกโคต่าง.

วินิจฉัยในข้อว่า เยน วโช นี้ พึงทราบดังนี้:-

เมื่อภิกษุไปกับพวกโคต่างไม่เป็นอาบัติเพราะพรรษาขาด.

บทว่า อุปกฏฺาย คือใกล้เข้ามาแล้ว.

วินิจฉัยในข้อว่า สตฺเถ วสฺสํ อุปคนฺตุํ นี้ พึงทราบดังนี้:-

ในวันเข้าพรรษา ภิกษุนั้นพึงบอกพวกอุบาสกว่า อาตมาได้กระท่อม จึงจะควร

ถ้าอุบาสกทำถวาย พึงเข้าไปในกระท่อมนั้น แล้วกล่าวว่า อิธ วสฺสํ อุเปมิ เราเข้าพรรษาในที่นี้ ดังนี้ ๓ ครั้ง.

ถ้าเขาไม่ทำถวายไซร้ พึงเข้าจำพรรษาในภายใต้เกวียน ที่ตั้งอยู่โดยท่วงทีอย่างศาลา. เมื่อไม่ได้แม้ซึ่งที่เช่นนั้น พึงทำความอาลัยเถิด. แต่จะเข้าจำพรรษาในหมู่เกวียนไม่ควร. เพียงจิตตุปบาทที่คิดว่า เราจักจำพรรษาในที่นี้ ก็จัดว่าอาลัย.

ถ้าว่าหมู่เกวียนยังเดินทางอยู่ ถึงวันปวารณาเข้า พึงปวารณาในหมู่เกวียนนั้นนั่นแล.

ถ้าหมู่เกวียนถึงที่ที่ภิกษุปรารถนาแล้วในภายในพรรษาแล้วเลยไป ภิกษุพึงอยู่ในที่ที่ตนปรารถนา แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นเถิด.


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 564

ถ้าแม้หมู่เกวียนหยุดอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งก็ดี แยกกันไปก็ดี ในระหว่างทางภายในพรรษานั้นเอง ก็พึงอยู่กับภิกษุทั้งหลายในบ้านนั้นแล แล้วปวารณาเถิด. ยังไม่ได้ปวารณา จะไปต่อไปจากที่นั้นไม่ควร.

แม้เมื่อจะจำพรรษาในเรือ ก็ควรเข้าจำในประทุนเหมือนกัน เมื่อหาประทุนไม่ได้ พึงทำความอาลัยเถิด.

ถ้าเรืออยู่เฉพาะในทะเลตลอดภายใน ๓ เดือน ก็พึงปวารณาในเรือนั้นเถิด.

ลำดับนั้น ถ้าเรือถึงฝั่งเข้า ฝ่ายภิกษุนี้เป็นผู้ต้องการจะไปต่อไป จะไปไม่ควร พึงอยู่ในบ้านที่เรือจอดนั้นแล แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายเถิด.

ถ้าแม้ว่าเรือจะไปในที่อื่นตามริมฝั่งเท่านั้น แต่ภิกษุอยากจะอยู่ในบ้านที่เรือถึงเข้าก่อนนั้นแล เรือจงไปเถิด ภิกษุพึงอยู่ในบ้านนั้นแล แล้วปวารณากับภิกษุทั้งหลายเถิด.

ใน ๓ สถาน คือ ในพวกโคต่าง ในหมู่เกวียน ในเรือ ไม่มีอาบัติ เพราะขาดพรรษา ทั้งได้เพื่อปวารณาด้วยปวารณาฉะนี้แล.

ส่วนในเรื่องทั้งหลาย มีเรื่องว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เดือดร้อนด้วยสัตว์ร้าย เป็นต้น มีสังฆเภทเป็นที่สุด ซึ่งมีมาแล้วในหนหลัง ไม่เป็นอาบัติอย่างเดียว แต่ภิกษุไม่ได้เพื่อปวารณา.

บทว่า ปีสาจิลฺลิกา คือปีศาจนั่นเอง ชื่อว่าปีศาจิลลิกา.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว รุกฺขสุสิเร นี้ พึงทราบดังนี้:-

จะจำพรรษาในโพรงไม้ล้วนเท่านั้นไม่ควร. แต่จะทำกุฎีมุงบังด้วยแผ่นกระดานติดประตูสำหรับเข้าออกในภายในโรงโพรงไม้ใหญ่แล้ว จำพรรษา ควรอยู่. แม้จะตัดต้นไม้ สับฟากปูเรียบไว้ ทำกระท่อมมีกระดานมุงบังบนตอไม้แล้วจำพรรษาก็ควรเหมือนกัน.


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 565

วินิจฉัยแม้ในข้อว่า รุกฺขวิฏปิยา นี้ พึงทราบดังนี้ว่า:-

จะจำพรรษาสักว่าบนค่าคบไม้ล้วนไม่ควร. แต่ว่าพึงผูกเป็นร้านบนค่าคบไม้ที่ใหญ่ แล้วทำให้เป็นห้องมุงบังด้วยกระดานบนร้านนั้นแล้วจำพรรษาเถิด.

บทว่า อเสนาสนเกน ความว่า เสนาสนะที่มุงแล้วด้วยเครื่องมุง ๕ ชนิด (๑) ชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดประตูสำหรับเปิดปิดได้ของภิกษุใดไม่มี ภิกษุนั้นไม่ควรจำพรรษา.

วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ฉวกุฏิกาย นี้ พึงทราบดังนี้:-

กระท่อมต่างชนิด มีเตียงมีแม่แคร่เป็นต้น ชื่อกระท่อมผี. จะจำพรรษาในกระท่อมผีนั้นไม่ควร. ก็แต่ว่าจะทำกระท่อมชนิดอื่นในป่าช้า แล้วจำพรรษา ควรอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในข้อว่า น ภิกฺขเว ฉตฺเต นี้ ดังนี้.

จะปักร่มไว้ใน ๔ เสา ทำฝารอบ ติดตะปูไว้แล้ว จำพรรษาก็ควร. กุฎีนั้นชื่อกุฎีร่ม.

วินิจฉัยแม้ในบทว่า จาฏิยา นี้ พึงทราบดังนี้:-

จะทำกุฎีด้วยกระเบื้องอย่างใหญ่ ตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องร่ม จำพรรษาก็ควร.

เนื้อความแม้ในข้อว่า เอวรูปา กติกา นี้ มีดังนี้:-

กติกาแม้อื่นที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้อันใด กติกานั้นไม่ควรทำ. ลักษณะแห่งกติกานั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในมหาวิภังค์.


๑. ฎีกาสารตฺถทีปนีว่า ปญฺจนฺนํ ฉทนานนฺติ ติณปณฺณอิฏฺ กสิลาสุธาสงฺขาตานํ ปญฺจนฺนํ ฉทนานํ.


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 566

ข้อว่า วสฺสาวาโส ปฏิสฺสุโต โหติ ปุริมิกาย มีความว่าพระอุปนนทศากยบุตร ได้ทำปฏิญญาว่า เราจักจำพรรษาในวันเข้าพรรษาต้น ณ อาวาสของท่านทั้งหลาย.

ข้อว่า ปุริมิกา จ น ปญฺายติ ความว่า การจำพรรษาในอาวาส ซึ่งได้ปฏิญญาไว้หาปรากฏไม่.

วินิจฉัยในข้อว่า ปฏิสฺสเว จ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นี้ พึงทราบ ดังนี้:-

ย่อมเป็นอาบัติเพราะรับคำนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงจำพรรษาในที่นี้ตลอด ๓ เดือนนี้ ดังนี้อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ย่อมเป็นอาบัติทุกกฏ เพราะรับคำนั้นๆ แม้โดยนัยเป็นต้น อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาตลอด ๓ เดือนนี้ ข้าพเจ้าแม้ทั้ง ๒ จักอยู่ในที่นี้ จักให้แสดงรวมกัน. ก็ปฏิสสวทุกกฏนั้นแล ย่อมมีเพราะเหตุคือแกล้งกล่าวให้คลาดในภายหลังของภิกษุผู้มีจิตบริสุทธิ์ในชั้นต้น. แต่สำหรับภิกษุผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ในชั้นเดิม ควรปรับทุกกฏกับปาจิตตีย์ คือทุกกฏเพราะรับคำ ปาจิตตีย์เพราะแกล้งกล่าวให้คลาด.

วินิจฉัยในข้อทั้งหลายมีข้อว่า โส ตทเหว อกรณีโย เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-

ถ้าว่าภิกษุไม่เข้าจำพรรษา หลีกไปเสียก็ดี เข้าจำพรรษาแล้วยัง ๗ วันให้ล่วงไปภายนอกอาวาสก็ดี วันเข้าพรรษาต้นของเธอไม่ปรากฏด้วย เธอต้องอาบัติเพราะรับคำด้วย. แต่ว่าไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้ว ไม่ทันให้อรุณขึ้น แม้หลีกไปด้วยสัตตาหกรณียะในวันนั้นทีเดียว กลับมาภายใน ๗ วัน ก็ถ้อยคำที่ควรกล่าวอะไร จะพึงมีแก่ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ๒ - ๓ วัน สัตตาหะไปเสียแล้วกลับมาภายใน ๗ วัน.


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 12 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 567

วินิจฉัยแม้ในข้อว่า ทฺวิหติหํ วสิตฺวา นี้ พึงทราบดังนี้:-

พึงทราบว่า ขาดพรรษาเพราะล่วงอุปจาระไป ด้วยทอดอาลัยไปเสีย ไม่คิดกลับเท่านั้น. ถ้ายังมีความอาลัยว่า เราจักอยู่ ณ ที่นี้ แต่ไม่เข้าพรรษา เพราะระลึกไม่ได้ เสนาสนะที่เธอถือเอาแล้ว ก็เป็นอันถือเอาด้วยดี เธอไม่ขาดพรรษา ย่อมได้เพื่อปวารณาแท้.

วินิจฉัยในข้อว่า สตฺตาหํ อนาคตาย ปวารณาย นี้ พึงทราบ ดังนี้:-

ย่อมควรเพื่อจะไป จำเดิมแต่วันขึ้น ๙ ค่ำ จะกลับมาก็ตาม ไม่กลับมาก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ. คำที่เหลือเป็นคำตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

อรรถกถาวัสสูปนายิกขันธก จบ