ณ กาลครั้งหนึ่ง ไปกราบสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่อินเดีย [๕] สารนาท-พาราณสี-สุวรรณภูมิ
โดย วันชัย๒๕๐๔  23 พ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 14315

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้งสี่และพระวิหารเชตวัน ที่อินเดียและเนปาล จะสิ้นสุดลงในสองวันสุดท้ายนี้ ที่พาราณสี คณะของเราได้เดินทางออกจากสาวัตถี มุ่งหน้าทางใต้สู่เมืองพาราณสีในเวลาเช้าตรู่ของวันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นวันที่เจ็ดของการเดินทาง การเดินทางจากสาวัตถีไปยังเมืองพาราณสี จะใช้เวลาในการเดินทาง (ด้วยรถบัส) ตลอดวันเต็มของวันนี้ โดยการแวะพักระหว่างทางเพียงการรับประทานอาหารกล่องและการเข้าห้องน้ำ (ธรรมชาติข้างทาง) เท่านั้น

เรามีกำหนดการที่จะพบกับคณะของท่านอาจารย์ (ที่เดินทางในประเทศโดยเครื่องบิน) ที่สารนาถ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองพาราณสี ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ในตอนเย็น ที่สารนาถแห่งนี้ เป็นสังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งการแสดงธรรมในครั้งนี้ ทำให้เกิดพระรัตนตรัยขึ้นโดยสมบูรณ์ครั้งแรกของโลก

" ... การเห็นมีอยู่ประจำโลก ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็มีเห็น แต่การเห็นของเราในสถานที่ ที่พระพุทธองค์ เคยตรัสไว้ว่าเป็นสถานที่ที่ "ควรเห็น" นี้ เป็นการได้เห็นที่ยอดเยี่ยมครั้งหนึ่ง ในสังสารวัฏฏ์ เป็นการเห็นภายนอก ที่เป็นปัจจัยให้การ "เห็นภายใน" เกิดขึ้นตามฐานะ ตามการสะสมของแต่ละบุคคล ... "

(ภาพธัมเมกขสถูป ที่มองจากด้านข้างประตูพระมูลคันธกุฎี)

(ภาพภายในพระมูลคันธกุฎี)

(ภาพ ธัมเมกขสถูป ที่สารนาถ พาราณสี)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ ๔๒๐

ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

๑. ปฐมตถาคตสูตร

[ทรงแสดงพระธรรมจักร]

[๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ : สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุดสองอย่างนั้นเป็นไฉน คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ. ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมมเทวดาได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศแล้วณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มารพรหมหรือใครๆ ในโลกประกาศไม่ได้ ... "

ข้าพเจ้า ขอแสดงข้อความบางตอน ที่ท่านอาจารย์ได้สนทนา ณ ธัมมเมกสถูป ในวันนั้นดังนี้ " ... เพราะฉะนั้น คนที่เริ่มฟังใหม่ๆ สงสัยอะไรก็ขอเชิญนะคะ ก็อยากให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน คือได้เข้าใจธรรมะ เพราะว่าได้ยินคำนี้มาบ่อยมาก แต่ว่าขณะนี้เอง ... เป็นธรรมะ ... กว่าจะเข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรมะแต่ลักษณะนี่ ก็ต้องอาศัย ... การฟังบ่อยๆ ... "

ถาม ท่านอาจารย์ครับ ที่ว่าทรงแสดงธัมจักกัปปวัตนสูตรแล้ว พระปัญจวัคคีย์ คือท่านพระอัญญาโกณทัญญะ ได้เห็นธรรม ที่เห็นคือเห็นอย่างไรครับ

" ... ก่อนได้ฟังพระธรรม ไม่มีใครที่จะสามารถเข้าใจได้ ว่าขณะนี้เป็นแต่เพียงธรรมะ แต่ละลักษณะ จริงๆ เพราะฉะน้ัน ในขณะที่กำลังพูดถึงสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ผู้ที่อบรมเจริญปัญญามาแล้ว ก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของธรรมะแต่ละอย่าง แล้วก็หมดความสงสัย แล้วก็ละ การที่เคยติดข้องในสภาพธรรมนั้นๆ ด้วยความสงสัย ด้วยความไม่รู้ สภาพธรรมะ ก็ปรากฏตามความเป็นจริง จนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจจธรรมสี่ คือสิ่งที่มีในขณะนี้เอง

เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่ากำลังมีอยู่ แต่กว่าจะรู้ลักษณะของสิ่งที่มีอยู่จริงๆ นี้ ก็ต้องเข้าใจเพิ่มขึ้น ทีละเล็ก ... ทีละน้อย ... "

" ... ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ ชนเหล่าใดรู้สิ่งอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ ... "



ความคิดเห็น 1    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 23 พ.ย. 2552

คาถาธรรมบท

"...ผู้มีบุญอันตนทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเพลิดเพลิน เขาย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง เขาย่อมเพลิดเพลินว่า เราทำบุญไว้แล้ว สู่สุคติย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น..."

"...ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ พระตถาคตเหล่าใดย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มาเฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา กังขาเรวตเถรคาถา

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ หน้าที่ ๖๓

[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม

ข้อความบางตอนจาก ...

นัตถิปุตตสมสูตร

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๘๐

"...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข..."


ความคิดเห็น 2    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 23 พ.ย. 2552

จากธัมเมกสถูป ท่านอาจารย์ได้เดินนำพวกเราไปยังสมาคมมหาโพธิ์ สารนาถ เพื่อนำโคมประทีปทั้งหมดที่เรานำมา ไปถวายไว้เพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่าอื่นต่อไป

"...ตราบใดที่ยังไม่ศึกษาพระธรรม ชื่อว่าผู้นั้นยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า และไม่เข้าใจพระธรรม ถ้าเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม ต้องศึกษา ต้องฟัง ถึงแม้ว่าจะยาก เมื่อเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องค่อยๆ ฟัง เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ควรเห็นประโยชน์ของปัญญา ผู้มีทรัพย์มากก็ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องมีความทุกข์ ไม่มีใครพ้นไปได้เลย..."

"...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ เป็นไฉน คือ ให้ของสะอาด ๑ ให้ของประณีต ๑ให้ตามกาล ๑ให้ของสมควร ๑ เลือกให้ ๑ให้เนืองนิตย์ ๑ เมื่อให้จิตผ่องใส ๑ ให้แล้วดีใจ ๑ ..."

ขออนุโมทนาพี่แก้วตา อเนกพุฒิ ผู้ให้ของอันควรนี้ ณ กาลนี้ด้วยครับ

"...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ (สิ่งยอดเยี่ยม) ๖ นี้ คือ ทัศนานุตริยะ (การเห็นยอดเยี่ยม) สวนานุตริยะ (การฟังยอดเยี่ยม) ลาภานุตริยะ (การได้ยอดเยี่ยม) สิกขานุตริยะ (การศึกษายอดเยี่ยม) ปาริจริยานุตริยะ (การปรนนิบัติอันยอดเยี่ยม) อนุสตานุตริยะ (การระลึกยอดเยี่ยม) นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ..."

"...ชีวิตของแต่ละท่านก็ผ่านมาตั้งแต่เด็กจนถึงขณะนี้ ก่อนจะถึงวัยนี้ ก็ไม่รู้ว่าถึงวัยนี้ในลักษณะใด สำหรับพรุ่งนี้ก็มืดสนิท ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดบ้างแน่นอน ถ้าศึกษาพระธรรมก็จะเริ่มเข้าใจทุกอย่าง ตรงตามความเป็นจริง รู้เหตุของความทุกข์ สุข จนกระทั่งสามารถที่จะดับเหตุของความทุกข์ สุข นั้นได้ ตามพระธรรม นี่คือ ประโยชน์ของการฟังพระธรรม แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น..."


ความคิดเห็น 3    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 23 พ.ย. 2552

ในช่วงเช้ามืดของวันที่ ๘ ของการเดินทาง คณะของเราได้ไปล่องเรือชมวิถีชีวิตของผู้คนชาวอินเดีย ริมฝั่งแม่น้ำคงคา

"...เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด..."

"...บุคคลผู้ที่จะข้ามกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่ได้อย่างเด็ดขาดนั้น ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์ ดังนั้น จึงไม่มีทางอื่นที่จะทำให้เป็นผู้หมดจดจากกิเลส ไม่จมลงอยู่ในกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่อีกต่อไป นอกจากการอบรมเจริญปัญญา เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะนอกจากปัญญาแล้วไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะมาดับกิเลสได้เลย เพราะฉะนั้น จึงควรที่จะเป็นผู้เห็นประโยชน์สูงสุดของปัญญา ซึ่งต้องเริ่มอบรมเจริญจากการศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ..."

(คัดจากกระดาน ธรรมทัศนะ)

หลังจากได้ชมแม่น้ำคงคาแล้ว คณะของเราได้กลับไปยังสมาคมมหาโพธิ์ สารนาถ เพื่อกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเดินทางกลับ

[เล่มที่ 24] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒

โอฆตรณสูตร

[ว่าด้วยการข้ามโอฆะ]

[๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะ ได้อย่างไรเล่า.

พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้ว อย่างนี้แล.

หลังจากท่านอาจารย์ถวายสิ่งของต่างๆ แด่ท่านพระเรวัตตะแล้ว ท่านก็ได้มอบสิ่งของที่ระลึก แก่ท่านอาจารย์ด้วยเช่นกันครับ

กราบอนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 23 พ.ย. 2552

คำปรารภ

ก่อนอื่น ข้าพเจ้าใคร่ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ และ สหายธรรมทุกท่าน ที่ร่วมเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้งสี่แห่ง และ พระวิหารเชตวันครั้งนี้ เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ รวมถึงทุกๆ ท่าน ที่ได้ติดตามอ่านเรื่อง และ ชมภาพการเดินทาง จนถึงตอนสุดท้ายนี้ด้วยครับ การได้มีโอกาสเดินทางไปกับท่านอาจารย์ และ สหายธรรมที่มูลนิธิฯ เป็นความใฝ่ฝันของข้าพเจ้า นับแต่ที่ได้เข้ามาศึกษาพระธรรมจากท่านอาจารย์ เมื่อประมาณ ห้าปีที่แล้ว และความใฝ่ฝันนั้น ได้ประสบผลแล้วในครั้งนี้ด้วยดี

ความที่ข้าพเจ้าชอบการถ่ายรูป เพื่อจุดประสงค์ในการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อไว้เตือนความทรงจำในอดีต ที่ไม่หวนกลับมาแม้เพียงขณะเดียว ในสังสารวัฏฏ์นี้ หากการถ่ายภาพของข้าพเจ้า ทำให้ท่านที่ถูกถ่าย หรือ ทำให้ท่านที่ไปด้วย เกิดอกุศลขึ้นประการใด ขอได้โปรดอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยนะครับ

จุดประสงค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าสละช่วงเวลา ณ ขณะหนึ่ง ในการฟังพระธรรม และ ขณะที่กำลังเวียนประทักษิณ แต่มิได้สละอีกโอกาสหนึ่ง ในการบันทึกภาพเหตุการณ์อันน่าปีติโสมนัสนั้น เพื่อนำมาฝากทุกๆ ท่าน ที่มิได้มีโอกาสไปร่วมเจริญกุศลด้วยในครั้งนี้ เพื่ออาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทุกๆ ท่านที่ได้ชม เกิดกุศลจิต และ ความเข้าใจในพระธรรม ตามควรแก่ฐานะ ซึ่งเจตนานั้น จะทำให้ท่านได้ประสบผลหรือไม่ มากน้อยประการใด ทุกๆ ท่าน ย่อมรู้ได้ด้วยตน

กราบอนุโมทนาทุกๆ ท่านครับ

ขอเชิญคลิกชมตอนที่ผ่านมาทั้งหมดได้ที่นี่ ...

ณ กาลครั้งหนึ่ง ไปกราบสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่อินเดีย [๑] พุทธคยา

ณ กาลครั้งหนึ่ง ไปกราบสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่อินเดีย [๒] ราชคฤห์-นาลันทา-เวสาลี-ปัฏนะ

ณ กาลครั้งหนึ่ง ไปกราบสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่อินเดีย [๓] กุสินารา-ลุมพินี

ณ กาลครั้งหนึ่ง ไปกราบสังเวชนียสถานทั้งสี่ที่อินเดีย [๔] สาวัตถี


ความคิดเห็น 5    โดย paderm  วันที่ 23 พ.ย. 2552

เหนือสิ่งอื่นใดคือความเข้าใจพระธรรม ขอบพระคุณในกุศลจิต ทุกคนสะสมอัธยาศัยแตกต่างกันไป เป็นไปตามการสะสม แต่ผู้ที่มีความเห็นถูกที่สะสมมาด้วย ก็ไม่ทิ้งการอบรมปัญญาเพื่อที่จะเข้าใจความจริง ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการอนุโมทนาบุญในกุศลครั้งนี้ด้วยนะครับ ที่ดีเป็นอย่างยิ่งคือนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าประกอบกับรูปภาพที่ถ่ายมาได้เป็นอย่างดี ทำให้อ่านแล้วทำให้เจริญในอริยทรัพย์ได้ดีจริงๆ ครับ คงมีกระทู้ดีๆ อันมีภาพประกอบธรรมของคุณวันชัยอีกครั้ง ที่ประเทศศรีลังกา

อนุโมทนาครับ

"...ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ พระตถาคตเหล่าใดย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้มาเฝ้าถึงสำนักของพระองค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.

กังขาเรวตเถรคาถา [เล่มที่ 50]

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ หน้าที่ ๖๓


ความคิดเห็น 6    โดย aiatien  วันที่ 23 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 23 พ.ย. 2552

ชื่นชมและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย khampan.a  วันที่ 23 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย prachern.s  วันที่ 24 พ.ย. 2552

...ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน...

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย choonj  วันที่ 24 พ.ย. 2552

ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ติดตามอ่านและได้ประโยชน์ที่คุณวันชัยกล่าวว่า ย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง ครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย dron  วันที่ 24 พ.ย. 2552

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ และสหายธรรมทุกท่าน ในความวิริยะอุตสาหะ ในการเจริญกุศลธรรมเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง และสนทนาธรรม ขอขอบคุณ และอนุโมทนาคุณวันชัย ผู้นำเสนอกระทู้ครับ


ความคิดเห็น 12    โดย พุทธรักษา  วันที่ 24 พ.ย. 2552

ภาพสวย...ธรรมงามขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 13    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 24 พ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 14    โดย สุภาพร  วันที่ 24 พ.ย. 2552

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาทุกๆ ท่านค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย เมตตา  วันที่ 24 พ.ย. 2552

..ตราบใดที่ยังไม่ศึกษาพระธรรม ชื่อว่าผู้นั้นยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้าและไม่เข้าใจพระธรรม ...

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาคุณวันชัยค่ะ ภาพประกอบสวยงามมาก พระธรรมก็ไพเราะลึกซึ้ง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ ...


ความคิดเห็น 16    โดย supin.s  วันที่ 25 พ.ย. 2552

อนุโมทนาสำหรับธรรมที่ไพเราะและภาพสวยๆ ค่ะ


ความคิดเห็น 17    โดย pratin  วันที่ 25 พ.ย. 2552

ขออนุโมทนาในความเอื้อเฟื้อ และความเสียสละของท่าน วัตถุประสงค์ของท่านได้บรรลุแก่กระผมแล้วตามควร เมื่อได้ทัศนา และอ่านบรรยายของท่าน ขอบพระคุณครับ


ความคิดเห็น 18    โดย saifon.p  วันที่ 25 พ.ย. 2552

เห็นภาพประกอบกับธรรมบรรยายที่ไพเราะ อ่านแล้วซาบซึ้งเป็นเหตุให้คิดถึงกุศลจิตของทุกท่านขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณวันชัยและทุกๆ ท่านนะคะ


ความคิดเห็น 19    โดย wirat.k  วันที่ 25 ธ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 20    โดย ING  วันที่ 25 ม.ค. 2553
ขอขอบพระคุณท่านผู้นำเสนอ และขออนุโมทนากับท่านฯ และทุกๆ ท่านที่ได้กุศลจิตจากการนำเสนอนี้ทุกท่านค่ะ

ความคิดเห็น 21    โดย pairojj  วันที่ 27 ม.ค. 2553
อนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 22    โดย ตะวัน  วันที่ 28 ม.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 23    โดย orawan.c  วันที่ 29 ม.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 24    โดย คุณ  วันที่ 2 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 25    โดย สุภาพร  วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 26    โดย ชีวิตคือขณะจิต  วันที่ 5 ก.พ. 2553

ขออนุโมทนา

ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น เป็นไฉน คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งมั่นชอบ ข้อปฏิบัติ อันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไวยากรณ์ภาษิต นี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ... ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


ความคิดเห็น 27    โดย peem  วันที่ 25 ก.ค. 2556

กราบอนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 28    โดย papon  วันที่ 21 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 29    โดย chatchai.k  วันที่ 9 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ