๓. ภิกขุสูตรที่ ๑ ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กําหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36792

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 73

๓. ภิกขุสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กําหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 73

๓. ภิกขุสูตรที่ ๑

ว่าด้วยเหตุได้ชื่อว่าเป็นผู้กำหนัดขัดเคืองและลุ่มหลง

[๗๔] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอประทานวโรกาสพระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม แก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่เถิด.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 74

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลย่อมครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมถึงการนับเพราะสิ่งนั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ถึงการนับเพราะสิ่งนั้น.

ภิ. ข้าแต่่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ไม่ถึง การนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๗๕] พ. ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีนักแล ดูก่อนภิกษุ ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร ฯลฯ ถ้าครุ่นคิดถึง วิญญาณ ก็ย่อมถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ดูก่อนภิกษุ ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะรูปนั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 75

ฯลฯ ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ ก็ย่อมไม่ถึงการนับเพราะวิญญาณนั้น ดูก่อนภิกษุ เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อโดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๗๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม กระทำประทักษิณ แล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล เธอได้เป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไร ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๑

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑

ในภิกขุสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รูปญฺเจ ภนฺเต อนุเสติ ความว่า ครุ่นคิดถึงรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เตน สงฺขํ คจฺฉติ ความว่า ครุ่นคิดถึงรูปนั้นด้วยความครุ่นคิดอันใดในกามราคะเป็นต้น ด้วยความครุ่นคิดนั้นนั่นแล ย่อมถึงการนับคือบัญญัติว่า รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว. บทว่า น เตน สงฺขํ คจฺฉติ ความว่า ด้วยความครุ่นคิดตามที่เป็นจริงนั้น ย่อมไม่ถึงการนับว่า รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑