พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477
๖. ธีตุสูตร
ว่าด้วยสตรีก็เป็นผู้ประเสริฐได้
[๓๗๖] สาวัตถีนิทาน.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น ราชบุรุษเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วกราบทูล ณ
ที่ใกล้พระกรรณของพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
พระนางมัลลิกาเทวีประสูติพระธิดาแล้ว.
เมื่อบุรุษกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่ทรงเบิกบาน
พระทัย.
[๓๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลไม่ทรงเบิกบานพระทัย จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่า
ปวงชน แท้จริง แม้สตรีบางคนก็เป็นผู้
ประเสริฐ พระองค์จงชุบเลี้ยงไว้ สตรีที่
มีปัญญา มีศีล ปฏิบัติแม้ผัวพ่อผัวดัง
เทวดา จงรักสามี.
บุรุษที่เกิดจากสตรีนั้น ย่อมเป็นคน
แกล้วกล้า เป็นเจ้าแห่งทิศได้ บุตรของ
ภริยาดีเช่นนั้น ก็ครองแม้ราชสมบัติได้.
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478
อรรถกถาธีตุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในธีตุสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้จัดเรือน
ประสูติ เวลาพระนางมัลลิกาเทวีประสูติ พระราชทานการอารักขาแล้วเสด็จ
ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อนตฺตมโน อโหสิ ความว่า ทรง
เสียพระทัยว่า เราให้อิสริยะอย่างใหญ่ แก่ธิดาของตระกูลที่เข็ญใจ ถ้านาง
ได้ลูกชาย ก็จักประสบสักการะอย่างใหญ่แน่แท้ บัดนี้ นางสูญสิ้นจากสักการะ
นั้นไปเสียแล้ว. บทว่า เสยฺยา ความว่า สตรีบางคนถึงจะเสมอกับผู้มีปัญญา
ชักช้า ก็ยังประเสริฐกว่าลูกเป็นใบ้. บทว่า โปส แปลว่า โปรดทรงชุบเลี้ยงไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระราชาผู้ปกครองประชาชนว่า ชนาธิป. บทว่า
สลฺสุเทวา ได้แก่ แม่ผัวและพ่อผัวเป็นดังเทวดา. บทว่า ทิสมฺปติ
ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในทิศ. บทว่า ตาทิสา สุภริยา แปลว่า ของภริยาที่ดี
เช่นนั้น.
จบอรรถกถาธีตุสูตรที่ ๖
สาธุ