๑. กวฬีการาหาร (อาหารที่ทำให้เป็นคำ)
๒. ผัสสาหาร (อาหาร คือ ผัสสะ)
๓. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
๔. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)
ไม่เข้าใจข้อ ๓ และข้อ ๔ ครับ
ยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือถ้าไม่อย่างนั้นอุปมาให้เข้าใจเป็นธรรมทานด้วยครับ
ขอบคุณครับ
เรื่องอาหาร ๔ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ถ้าท่านไม่ศึกษาพระธรรมส่วนอื่น ก็ไม่สามารถเข้าใจได้ โดยศัพท์ หมายถึง นำมา คือ เป็นปัจจัย
มโนสัญเจตนาหาร หมายถึง กรรม (เจตนา) ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม ย่อมนำมาซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ ขณะที่กระทำกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือให้ทาน รักษาศีล เป็นต้นย่อมเป็นปัจจัยให้ วิบาก คือการปฏิสนธิเกิดขึ้นตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ
วิญญาณาหาร หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ ย่อมนำมาซึ่งนามรูป เมื่อปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป ... โดยนัยของปฏิจจสมุปบาท
อ๋อ...
อาจารย์สมณโคดมเขาใช้คำว่า "อาหาร" แทนสิ่งที่เป็นตัวปัจจัยให้เกิดผลนั่นเอง
อธิบายปฏิจจสมุปบาทด้วย "อาหาร"
นัยคล้าย "อวิชชาสูตร"
เข้าใจแล้วครับ
ขอบคุณครับ
(ตอนแรกนึกว่ามีนัยอื่น)
ท่านคะ ...
เท่าที่ทราบ ... พวกนอกศาสนา ต่างลัทธิ (เช่น พวกพราหมณ์ อัญญเดียรถีร์ ฯลฯ) เท่านั้น ที่เรียกพระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "สมณโคดม"
พุทธบริษัทในครั้งพุทธกาลจะใช้คุณนาม แทนการเรียกชื่อของพระองค์โดยตรงค่ะ ซึ่งนอกจากเป็นการแสดงความเคารพต่อพระศาสดาแล้ว ยังเป็นการสรรเสริญพระคุณของพระองค์ด้วย
เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ 3 ค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...
อย่าเรียกพระตถาคตโดยระบุชื่อ [มหาวรรค]
ณ บัดนี้ผมเข้าใจซึ่งสาเหตุแล้วครับ
ขอขอบคุณคุณ paderm มากๆ ครับ
จากนี้ผมจะไม่เรียกอย่างนั้นอีกครับ
T_^ ขอบคุณคุณ paderm จริงๆ ครับ...
ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยการงาน
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา กำลังใจพึงรู้ได้ด้วยเมื่อมีอันตราย
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ผมจะพยายามศึกษาและเรียนรู้ให้มากครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ