[เล่มที่ 81] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๒
ทุติยปัณณาสก์
วรรคที่ ๑๓
กัปปัฏฐกถาและอรรถกถา 1513/359
กุสลจิตตปฏิลาภกถาและอรรถกถา 1515/364
อนันตราปยุตตกถาและอรรถกถา 1518/366
นิยตัสสนิยามกถาและอรรถกถา 1521/371
นีวุตกถาและอรรถกถา 1523/374
สัมมุขีภูตกถาและอรรถกถา 1526/378
สมาปันโน อัสสาเทติกถาและอรรถกถา 1529/381
อสาตราคกถาและอรรถกถถ 1531/385
ธัมมตัณหาอัพยากตาติกถาและอรรถกถา 1534/388
ธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถาและอรรถกถา 1543/392
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 81]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 359
วรรคที่ ๑๓
กัปปัฏฐกถา
[๑๕๑๓] สกวาที บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. กัลป์ ดำรงอยู่ได้ด้วย พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ได้ด้วย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กัลป์ ดำรงอยู่ได้ด้วย สงฆ์แตกกันได้ด้วย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย บุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกรรมอัน เป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์ได้ด้วย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย บุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกาละได้ ด้วย หรือ? ป ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัลป์ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 360
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอดีต พึงดำรงอยู่ ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอนาคต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พึงดำรงอยู่ตลอด ๒ กัลป์ พึงดำรงอยู่ตลอด ๓ กัลป์ พึงดำรงอยู่ตลอด ๔ กัลป์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เมื่อกัลป์ถูกไฟไหม้อยู่ ไปไหน?
ป. ไปสู่โลกธาตุอื่น.
ส. เป็นผู้ตายแล้วไปหรือว่าไปสู่เวหาสได้?
ป. เป็นผู้ตายแล้วไ
ป.
ส. กรรมอันเป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์ เป็นกรรมให้ผล ในภพต่อๆ ไป หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ไปสู่เวหาสได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เป็นผู้มีฤทธิ์ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 361
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เป็นผู้มีฤทธิ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ ได้เจริญฉันทอิทธิบาท ได้เจริญ วิริยอิทธิบาท ได้เจริญจิตตอิทธิบาท ได้เจริญวิมังสาอิทธิบาท หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๑๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะ พึงดำรงอยู่ได้ตลอด กัลป์หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะ คือ ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ผู้ยินดี ในการแยกพวก ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมคลาดจากธรรมเป็นแดนเกษม จากโยคะ เขายังสงฆ์ซึ่งพร้อมเพรียงกันให้แตกกันแล้วจะหมกไหม้อยู่ ในนรกตลอดกัลป์ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กัปปัฏฐะก็พึงดำรงอยู่ได้ตลอด กัลป์ น่ะสิ. อรรถกถากัปปัฏฐกถา จบ
๑. วิ. จุ. ๗/๔๐๘.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 362
อรรถกถากัปปัฏฐกถา
ว่าด้วย ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้กัปปัฏฐะ คือผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายราชคิริกะทั้งหลายว่า ผู้ ทำสังฆเภทย่อมตั้งอยู่ในนรกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ดังนี้ เพราะถือเอา พระสูตรว่า ผู้ทำสังฆเภทนั้นย่อมไหม้อยู่ในนรกตลอดกัลป์เพราะทำลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน คำถามของสกวาทีว่า ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ดังนี้ โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
คำนี้ว่า กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกด้วย สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงความไม่มีสังฆเภท โดยเว้นจากการอุบัติขึ้น ของพระพุทธเจ้า. คำว่า กัลป์ดำรงอยู่ได้ด้วย สงฆ์แตกกันได้ด้วย เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ถ้าว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้นย่อมตั้งอยู่ ตลอดกัลป์ทั้งสิ้นไซร้ เขาก็ต้องทำกรรมนั้นตั้งแต่กัลป์ที่กำลังสร้างขึ้น มาแล้วก็เกิดในนรกนั้น. คำว่า พึงดำรงอยู่ตลอดกัลป์ส่วนที่เป็นอดีต เป็นต้น มีอธิบายดุจคำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ในปัญหาว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์เป็นผู้มีฤทธิ์หรือ ปรวาที ตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา. แต่ยอม ตอบรับรองในลัทธิของปรวาที หมายเอาฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยการเกิดของ ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น. คำว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ได้เจริญฉันทิทธิบาท เป็นต้น คำนี้สักว่าเป็นลัทธิว่า ชื่อว่าผู้มีฤทธิ์เพราะฤทธิ์อันสำเร็จด้วย การเกิด ดังนี้ สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงว่า ถ้าว่า ฤทธิ์ของผู้มีฤทธิ์อันสำเร็จ ด้วยการเกิดมีไซร้ บุคคลเหล่านี้ก็พึงเจริญอิทธิบาทได้ ดังนี้. พระสูตร
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 363
ว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน จะต้องไปอบาย จะต้องไปนรก ท่าน กล่าวหมายเอาอายุกัลป์ คือว่า ท่านแบ่งกัลป์หนึ่งออกเป็น ๘๐ ส่วน สัตว์นรกนั้น พึงตั้งอยู่สิ้นกาลประมาณส่วนหนึ่งจาก ๘๐ ส่วนนั้น เพราะ ฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ในเรื่องนี้ ดังนี้แล.
อรรถกถากัปปัฏฐกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 364
กุสลจิตตปฏิลาภกถา
[๑๕๑๕] สกวาที บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต.
[๑๕๑๖] ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้จีวร ฯลฯ พึงให้บิณฑบาต ฯลฯ พึงให้เสนาสนะ ฯลฯ พึงให้คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร พึงให้ของขบเคี้ยว พึงให้ของกิน พึงให้น้ำดื่ม พึงไหว้พระเจดีย์ พึงยกขึ้นซึ่งดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่พระเจดีย์ ฯลฯ พึงทำการประทักษิณพระเจดีย์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงทำการประทักษิณพระเจดีย์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงกลับได้กุศลจิต ดังนี้ ฯลฯ
[๑๕๑๗] ป. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงกลับได้กุศลจิต หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงกลับได้กุศลจิต อันเป็นการออก จากอกุศลจิต เป็นเหตุตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พึงกลับได้กุศลจิตที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ที่เป็นอรูปาวจร
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 365
ฯลฯ ที่เป็นโลกุตตร หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กุศลจิตตปฏิลาภกถา จบ
อรรถกถากุสลจิตตัปปฏิลาภกถา
ว่าด้วย การกลับได้กุสลจิต
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการกลับได้กุสลจิต ของผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์. ใน เรื่องนั้น บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์ ได้แก่ ผู้เกิดในนรก ในลัทธิของสกวาที ย่อมได้เฉพาะกามาวจรจิตเท่านั้น ก็บุคคลใดไม่พึงปิดกั้นการเกิดในนรก นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ได้เฉพาะมหัคคตกุศล หรือโลกุตตรกุศล อนึ่ง ชน เหล่าใดไม่ทำการวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลาย ว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ตลอดกัลป์นั้น คือผู้เกิดในนรก ย่อมไม่ได้กุศลจิตโดย ไม่แปลกกันเลย ดังนี้ คำถามของสกวาทีเพื่อทำลายลัทธินั้นด้วยการ แสดงวิภาค คือการแยกประเภทกุศลแต่ละอย่าง แห่งกุสลจิตเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อรรถกถากุสลจิตตัปปฏิลาภกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 366
อนันตราปยุตตกถา
[๑๕๑๘] ปรวาที บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่ สัมมัตตนิยามได้ หรือ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ป. พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม และสัมมัตตนิยามได้ทั้ง สองอย่าง หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กรรมนั้น ได้ใช้ให้ทำแล้ว ก่อความรำคาญใจให้แล้ว ให้เกิดความวิปฏิสารขึ้นแล้ว มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว
ป. หากว่า กรรมนั้นได้ใช้ให้ทำแล้ว ก่อความรำคาญ ใจให้แล้ว ให้เกิดความวิปฏิสารขึ้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ใช้ให้ ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้.
[๑๕๑๙] ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลงชีวิตบิดา ได้ปลงชีวิต พระอรหันต์ ได้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตแห่งพระตถาคตให้ห้อ ได้ ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 367
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควร เพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ได้ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ได้ยัง สงฆ์ให้แตกจากกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกาาร ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควร เพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กรรมนั้นได้ล้มเลิกแล้ว ความรำคาญใจก็ได้บรรเทา แล้ว ความวิปฏิสารก็ได้กำจัดแล้ว มิใช่หรือ? ป.ถูกแล้ว.
ส. หากว่า กรรมนั้นได้ล้มเลิกแล้ว ความรำคาญใจก็ ได้บรรเทาแล้ว ความวิปฏิสารก็ได้กำจัดแล้ว ก็ต้องไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ ได้แล้ว กำจัดความวิปฏิสารได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม
[๑๕๒๐] ป. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตต- นิยาม หรือ? ส.ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 368
ป. เขาได้ใช้ให้ทำกรรมนั้นแล้ว มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า เขาได้ใช้ให้ทำกรรมนั้นแล้ว ก็ต้องไม่กล่าว ว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม พึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้.
อนันตราปยุตตกถา จบ
อรรถกถาอนันตราปยุตตกถา
ว่าด้วย บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม คือผู้สั่งให้ทำ อนันตริยกรรม. ในเรื่องนั้น บุคคลใดสั่งให้ทำอนันตริยกรรมมีการฆ่า มารดาเป็นต้นอันให้ผลโดยไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่างโดยประเภทแห่งขันธ์ บุคคลนั้นชื่อว่าผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ในเรื่องนี้ สกวาทีทำการสันนิษฐาน คือลงความเห็นในลัทธิของตนว่า บุคคลใดจักกระทำกรรมนั้นที่เขาสั่ง ด้วยคำสั่งที่แน่นอน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิด เขาย่อมเป็นผู้ ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะความที่เจตนาที่ยังประโยชน์ให้ สำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ว่าบุคคลใดจักกระทำซึ่งกรรมที่เขาสั่งนั้นด้วย คำสั่งที่ไม่แน่นอน บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิด เขาย่อมเป็น ผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามเพราะความที่เจตนาอันให้สำเร็จประโยชน์ นั้นยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้.
ชนเหล่าใด มีความเห็นผิด ดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามทั้งนั้น แม้คำสั่ง แน่นอนก็ตาม ไม่แน่นอนก็ตาม ดังนี้ เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 369
สกวาทีจึงให้ปรวาทีถามตนก่อนว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น คำถามแรกในปัญหานี้จึงเป็นของปรวาที คำตอบ รับรองหมายเอาความไม่มีเจตนาที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นของสกวาที. จากนั้นปรวาทีสำคัญอยู่ว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิดเพราะการ สั่งให้ทำกรรมมีการฆ่ามารดาเป็นต้นนั่นเทียว เพราะฉะนั้น จึงถาม ปัญหาว่า (เขา) พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม เป็นต้น สกวาทีตอบปฏิเสธ ว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น โดยหมายเอาการไม่ก้าวลงสู่นิยามทั้ง ๒ ของ บุคคลผู้เดียว คำว่า กรรมนั้น ได้แก่ อนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดา เป็นต้น. ในปัญหานั้น สกวาทีตอบรับรองว่า ใช่ หมายเอาคำสั่งที่ไม่ แน่นอน. เพราะว่าความรำคาญใจ และความเดือดร้อน ย่อมเกิดขึ้นแก่ ผู้ชักนำทำคำสั่งอันไม่แน่นอนว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรแล้วทีเดียว ดังนี้. คำว่า หากว่า เป็นต้น ที่ปรวาทีกล่าวก็เพื่อจะให้ลัทธิตั้งไว้ด้วย การถือเอาซึ่งเหตุสักว่าความเกิดขึ้นแห่งความรำคาญใจ.
บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะถือเอาบุคคลนั้นนั่นแหละ ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธถึงการก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามของผู้ชักนำในการ ทำอนันตริยกรรมแม้ด้วยคำสั่งอันไม่แน่นอน. คำตอบรับรองของปรวาที ย่อมมีด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาที นั้นว่า บุคคลผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามเป็นทำกรรมมีการฆ่ามารดา เป็นต้น ก็กรรมเหล่านั้นอันบุคคลนั้นทำแล้วหรือ จึงกล่าวคำว่า เขาได้ ปลงชีวิตมารดา เป็นต้น. ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทำเช่นนั้น เพราะ ความไม่เบียดเบียนชนเหล่านั้น จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 370
คำว่า ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว ท่านกล่าวหมายเอากรรมอันเป็น คำสั่งที่ไม่แน่นอน อธิบายว่า บุคคลผู้ห้ามคำสั่งอยู่ว่า ก็กรรมนั้นแล. เราสั่งแล้ว ขอท่านอย่าทำ ดังนี้ ชื่อว่า คำสั่งนั้นอันตนล้มเลิกเสียแล้ว เพราะความที่คำสั่งนั้นอันตนถอนเสียแล้วนั่นแหละ จึงชื่อว่าตนกำจัด ความรำคาญใจ และความเดือดร้อนใจได้ในปัญหานี้ แม้ครั้นเมื่อความ เป็นอย่างนี้มีอยู่ ปรวาทีสำคัญอยู่ซึ่งความที่คำสั่งแรกเท่านั้นเป็นคำสั่ง แน่นอน ในปัญหานั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ทีนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาที รับคำซึ่งความที่กรรมนั้นเป็นกรรมอันถอนแล้ว จึงกล่าวคำว่า หากว่า เป็นต้น เพื่ออันยังลัทธิของตนให้ตั้งไว้. ในปัญหาที่สุดว่า บุคคลผู้ใช้ให้ ทำอนันตริยกรรม อีกเป็นคำถามของปรวาทีซึ่งเหมือนปัญหาแรก คำ ตอบรับรองเป็นของสกวาที. คำซักถามว่า เขาได้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม นั้นแล้วมิใช่หรือ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองสกวาทีหมายเอา การชักนำแล้วในกาลก่อนแต่การถอนคำ. การตั้งลัทธิของปรวาทีด้วย คำว่า หากว่า เป็นต้น ได้แก่ ด้วยอำนาจคำสั่งที่ไม่แน่นอนเพราะถือ เอาเหตุสักว่าความเป็นผู้สั่งก่อนของผู้ชักนำ. ก็ลัทธินี้ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เลย เพราะตั้งไว้โดยไม่พิจารณา ดังนี้.
อรรถกถาอนันตราปยุตตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 371
นิยตัสสนิยามกถา
[๑๕๒๑] สกวาที บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทางแน่นอน (นิยาม) หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้แน่นอนแล้วในมิจฉัตตะ ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ได้ บุคคลผู้แน่นอนแล้วในสัมมัตตะ ก็ก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลแน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทางแน่นอน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ยังมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่ทางแน่นอน (นิยาม) ในภายหลัง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่โสดาปัตตินิยามในภายหลัง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ยังสกทาคามิมรรค ฯลฯ ยังอนาคามิมรรค ฯลฯ ยัง อรหัตตมรรคให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่อรหัตตนิยาม ในภายหลัง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลยังสติปัฏฐาน ฯลฯ ยังสัมมัปปธาน ฯลฯ ยัง อิทธิบาท ฯลฯ ยังอินทรีย์ ฯลฯ ยังพละ ฯลฯ ยังโพชฌงค์ให้เกิดก่อนแล้ว จึงก้าวลงสู่ทางแน่นอนในภายหลัง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 372
[๑๕๒๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ย่อมก้าวลงสู่ทาง แน่นอน หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระโพธิสัตว์ ไม่เป็นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมใน ชาตินั้นหรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้แน่นอนแล้ว ก็ย่อมก้าวลงสู่ทาง แน่นอน น่ะสิ.
นิยตัสสนิยามกถา จบ
อรรถกถานิยตัสส นิยามกถา
ว่าด้วย นิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนิยามของบุคคลผู้แน่นอนแล้ว. ในเรื่องนั้น นิยาม คือความแน่นอน มี ๒ คือ อนันตริยกรรม ชื่อว่า มิจฉัตตนิยาม และอริยมรรค ชื่อว่า สัมมัตตนิยาม เว้นนิยาม ๒ นี้แล้ว ธรรมอื่นชื่อว่านิยาม ย่อมไม่มี. จริงอยู่ เตภูมิกธรรม คือธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ที่เหลือแม้ ทั้งปวงชื่อว่า อนิยตธรรม คือธรรมอันไม่แน่นอน แม้แต่ธรรมที่ประกอบ ด้วยเตภูมิกธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นอนิยตธรรมทั้งสิ้น. อนึ่ง พระพุทธเจ้า ทั้งหลายไม่พยากรณ์การก้าวลงสู่นิยามธรรมด้วยคำว่า สัตว์นี้จักบรรลุ โพธิญาณในอนาคตกาล ด้วยกำลังแห่งพระองค์ แต่พระโพธิสัตว์ท่าน เรียกว่า นิยตบุคคล เพราะความเป็นผู้มีบุญมาก. ชนเหล่าใด มีความ เห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะและอปรเสลิยะทั้งหลายว่า พระโพธิสัตว์
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 373
ย่อมก้าวลงสู่นิยาม ดังนี้ เพราะประสงค์เอาคำว่า พระโพธิสัตว์ผู้เกิด ในภพสุดท้ายเป็นผู้สามารถเพื่อจะตรัสรู้ในชาตินั้น โดยถือเอาโวหาร นี้ด้วยประการฉะนี้ คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที.
คำว่า บุคคลผู้แน่นอนแล้วในมิจฉัตตะ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อแสดงความเป็นนิยามอย่างหนึ่งของผู้เที่ยงแล้วโดยนิยามอย่างหนึ่ง. คำว่า ยังมรรคให้เกิดก่อน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงประเภท แห่งนิยาม. คำว่า บุคคลยังสติปัฏฐาน เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดง ประเภทแห่งธรรมในนิยามแม้อย่างเดียว. คำว่า พระโพธิสัตว์ไม่เป็น ผู้ควร เป็นต้น ท่านแสดงความที่พระโพธิสัตว์เป็นสามารถตรัสรู้ อย่างเดียว มิใช่แสดงการก้าวลงสู่นิยามของนิยตบุคคล เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมิได้สำเร็จประโยชน์. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้ไม่แน่นอน ด้วยนิยตธรรมอย่างหนึ่งในปางก่อนมาแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ก้าว ลงสู่สัมมัตตนิยามแล้วด้วยการเห็นสัจจะที่โคนไม้โพธิ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถานิยตัสสนิยามกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 374
นีวุตตกถา
[๑๕๒๓] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้มีจิต อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็นผู้ มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลสหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะ เป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอัน เป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมเป็นอกุศล ธรรมมีโทษและ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 375
ธรรมไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอัน เป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้ ประการแรกที่ไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษจึง ไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ ธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน น่ะสิ.
[๑๕๒๔] ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อ จิตตั้งมั่นแล้ว เป็นจิตบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน มีอุปกิเลส ปราศไปแล้ว เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ ถึงความเป็นธรรมชาติ ไม่หวั่นไหวแล้ว อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ดังนี้๒ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีจิตอัน นิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์
๑. องฺ.จตุกฺก ๒๑/๒๗. ๒. ม.อุ. ๑๔/๒๖.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 376
[๑๕๒๕] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลเป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำ แล้วละนิวรณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุนั้น รู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ ฯลฯ จิตย่อม หลุดพ้นแม้จากอวิชชาสวะ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว ละนิวรณ์ น่ะสิ.
นีวุตกถา จบ
อรรถกถานีวุตกถา
ว่าด้วย ผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องของผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า บุคคล ผู้ถูกนิวรณ์ทั้งหลายครอบงำแล้ว ปกปิดแล้ว หุ้มห่อแล้วย่อมละนิวรณ์ เพราะความที่บุคคลบริสุทธิ์แล้วไม่มีสิ่งที่ควรทำให้บริสุทธิ์ ดังนี้ คำถาม ของสกวาทีว่า บุคคลผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว เป็นต้น หมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า บุคคลเป็นผู้มีจิต อันราคะย้อมแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโทษในการละนิวรณ์
๑. อภิ. ก. ๓๗/ ๗๖๐.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 377
ของผู้มีจิตอันนิวรณ์ครอบงำแล้ว. คำว่า บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงสมุจเฉทวิสุทธิแห่งผู้บริสุทธิ์แล้วนอกจาก วิขัมภนวิสุทธิ. คำว่า เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เป็นต้น ท่านย่อมแสดงความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ มิใช่แสดง ถึงการละนิวรณ์ของผู้มีจิตอันนิวรณ์กำลังครอบงำ เพราะฉะนั้น ข้อนี้ จึงไม่สำเร็จประโยชน์ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถานีวุตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 378
สัมมุขีภูตกถา
[๑๕๒๖] สกวาที บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ สัญโญชน์ได้หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตอันราคะย้อมแล้ว ละราคะ เป็นผู้ มีจิตอันโทสะประทุษร้ายแล้ว ละโทสะ เป็นผู้มีจิตหลงแล้ว ละโมหะ เป็น ผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ละกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลละราคะด้วยราคะ ละโทสะด้วยโทสะ ละโมหะ ด้วยโมหะ ละกิเลสด้วยกิเลส หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะก็สัมปยุตด้วยจิต มรรคก็สัมปยุตด้วยจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคะเป็นอกุศล มรรคเป็นกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มี โทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและ ธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 379
และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกันหรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการ เป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดิน นี้ประการแรก ที่ไกลกัน ไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษ จึงไกลกันจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศล และ ธรรมที่เป็นอกุศล ฯลฯ มาพบกัน
[๑๕๒๗] ส. บุคคลเป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อ จิตตั้งมั่นแล้ว ฯลฯ อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเครื่องสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลมีจิตพร้อมพรั่ง ด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์.
[๑๕๒๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละ สัญโญชน์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 380
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อภิกษุนั้น รู้อยู่ อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ ฯลฯ จิตย่อม หลุดพ้น แม้จากอวิชชาสวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็เป็นผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์ ละสัญโญชน์ น่ะสิ.
สัมมุขีภูตกถา จบ
อรรถกถาสัมมุขีภูตกถา
ว่าด้วย ผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผู้มีจิตพร้อมพรั่งด้วยสัญโญชน์. ในเรื่องนั้น บุคคลผู้มีสัญโญชน์ย่อมเป็นเข้าถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตพรั่งพร้อมต่อ สัญโญชน์ทั้งหลาย คือเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสัญโญชน์เหล่านั้น. คำที่เหลือ ในที่นี้เช่นกันเรื่องผู้ถูกนิวรณ์ครอบงำแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัมมุขีภูตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 381
สมาปันโน อัสสาเทติกถา
[๑๕๒๙] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดีรักใคร่ในฌาน มีฌานเป็นอารมณ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ฌานนั้น เป็นอารมณ์แห่งฌานนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ฌานนั้น เป็นอารมณ์แห่งฌานนั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นด้วยผัสสะนั้น เสวยเวทนานั้น ด้วยเวทนานั้น จำสัญญานั้นด้วยสัญญานั้น ตั้งเจตนานั้นด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นด้วยจิตนั้น ตรึกวิตกนั้นด้วยวิตกนั้น ตรองวิจารนั้นด้วยวิจาร นั้น ดื่มปีตินั้นด้วยปีตินั้น ระลึกสตินั้นด้วยสตินั้น รู้แจ้งปัญญานั้นด้วย ปัญญานั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความยินดีรักใคร่ในฌาน ก็สัมปยุตด้วยจิต ฌานก็ สัมปยุตด้วยจิต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ ฯลฯ แห่งจิต ๒ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความยินดีรักใคร่ในฌานเป็นอกุศล ฌานป็นกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมเป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 382
และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษ และธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาว อันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกันไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ฟ้าและแผ่นดินนี้ เป็นประการแรก ที่ไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะฉะนั้น ธรรมของ สัตบุรุษ จึงไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศลและ ธรรมที่เป็นอกุศล ธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ ธรรมเลวและ ธรรมประณีต ธรรมดำและธรรมขาวอันเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน.
[๑๕๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี ความยินดี รักใคร่ในฌาน มีฌานเป็นอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ เธอยินดีในฌานนั้น รักใคร่ฌานนั้น และประสบความปลื้มใจด้วย ฌานนั้น บรรลุทุติยฌาน ภายในผ่องใส เพราะวิตกและวิจารสงบ ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 383
บรรลุถึงตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ ฯลฯ เธอยินดีฌานนั้น รักใคร่ฌานนั้น และประสบความปลื้มใจด้วยฌานนั้น ดังนี้ เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เข้าสมาบัติก็ยินดี ความยินดีรักใคร่ ในฌาน ก็มีฌานเป็นอารมณ์ น่ะสิ.
สมาปันโน อัสสาเทติกถา จบ
อรรถกถาสมาปันโน อัสสาเทติกถา
ว่าด้วย ผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องผู้เข้าสมาบัติย่อมยินดี. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผู้เข้าฌานย่อมยินดี และ ความยินดีในฌานนั้นของผู้นั้นเป็นอารมณ์ของฌาน เพราะอาศัยพระบาลี ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ... บรรลุปฐมฌานอยู่ เธอยินดีในฌานนั้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ผู้เข้าสมาบัติ เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในปัญหาทั้งหลายว่า ฌานนั้นเป็นอารมณ์ ของฌานนั้นหรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นซึ่งความฌานนั้นนั่นแหละเป็น อารมณ์ของฌานนั้น จึงตอบปฏิเสธโดยกลัวผิดจากพระสูตร ย่อมตอบ รับรองด้วยคำในพระสูตรว่า บรรลุปฐมฌาน เธอยินดีในฌานนั้น ดังนี้. พระสูตรว่า เธอยินดีในฌานนั้น ความว่า ออกจากฌานแล้วจึงยังความ ยินดีในฌานให้สำเร็จได้ มิใช่หมายถึงความยินดีในฌานในขณะที่กำลัง
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 384
เข้าฌานมีฌานเป็นอารมณ์อยู่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า ผู้กำลังเข้าฌานซึ่งมีฌานนั้นเป็นอารมณ์มีความยินดีในฌานนั้นได้ เพราะ กำลังเข้าฌานก็มีอารมณ์ของฌานนั้นแล้ว จะมีอารมณ์เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันอีกไม่ได้ ดังนี้แล.
อรรถกถาสมาปันโนอัสสาเทติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 385
อสาตราคกถา
[๑๕๓๑] สกวาที ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ มีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในทุกข์ มีอยู่บางพวก ที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาทุกข์ หมกมุ่นทุกข์ ตั้งอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในสุข มีอยู่บางพวกที่ ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข หมกมุ่นสุขตั้งอยู่ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ชื่นชมยิ่งในสุข มีอยู่บาง พวกที่ปรารถนา กระหยิ่ม แสวงหา ค้นหา เสาะหาสุข หมกมุ่นสุขตั้งอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ ดังนี้
[๑๕๓๒] ส. ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยนอน เนื่องอยู่ในทุกขเวทนา มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 386
ส. หากว่า ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย นอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ มีอยู่ ดังนี้.
[๑๕๓๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจมีอยู่ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า บุคคลนั้น ประสบ ความยินดีหรือความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลินบ่นถึง หมกมุ่นเวทนานั้น ตั้งอยู่ ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็มีอยู่ น่ะสิ
อสาตราคกถา จบ
อรรถกถาอสาตราคกถา
ว่าด้วย ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ คือความยินดีใน ทุกขเวทนา. ในเรื่องนั้น พระสูตรว่า บุคคล ... เสวยเวทนาอย่างใด อย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม เขาเพลิดเพลิน บ่นถึง หมกมุ่นเวทนานั้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถ แห่งความเพลิดเพลินในสิ่งที่บุคคลประสบมาแล้ว.
ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า
๑. ม.มู. ๑๒/๔๕๓.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 387
ความยินดีเพลิดเพลินแม้ในทุกขเวทนา ด้วยอำนาจแห่งความชอบใจใน ราคะ เพราะอาศัยคำในพระสูตรว่า บุคคลนั้นประสบความยินดียิ่ง มีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจก็ต้องมีอยู่ ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ โดยหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ ความว่า ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่ ด้วย สามารถแห่งลัทธิ เพราะกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมองในข้อว่า โอหนอ ความยินดีนั้นนั่นแหละพึงมีแก่เราในการเสวยทุกข์อันไม่ชอบใจ. คำที่เหลือ ในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
อนึ่ง ในพระสูตรว่า เขาเพลิดเพลินบ่นถึงหมกมุ่นเวทนานั้น อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า ความเกิดขึ้นแห่งราคะย่อมหมุนกลับมาปรารภ ทุกขเวทนานั่นแหละย่อมไม่มี แต่เมื่อถือเอาโดยส่วนรวมแล้ว บุคคลเมื่อ พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรมอันมีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ หรือซึ่ง ทุกขเวทนานั่นเทียวโดยความเป็นอัตตา เขาย่อมยินดีเวทนานั้นด้วยความ ยินดีต่อสิ่งที่ตนประสบแล้ว กล่าวคือในความรู้ต่อสิ่งที่ตนทราบแล้ว มิใช่ยินดีในความเปลี่ยนแปลงมาเป็นทุกขเวทนา บุคคลผู้ถูกทุกขเวทนา ครอบงำแล้วแม้ปรารถนาซึ่งกามสุขอันเป็นฝ่ายตรงข้ามกับทุกขเวทนา นั้น ก็ชื่อว่า ย่อมยินดีต่อทุกขเวทนา. ความยินดีในทุกขเวทนาแห่งปัญหานี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ ความยินดีในสิ่งที่ไม่ชอบใจ ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรกถาอสาตราคกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 388
ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา
[๑๕๓๔] สกวาที ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นวิบากอัพยากฤต เป็นกิริยาอัพยากฤต เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้นฯ
[๑๕๓๕] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รูปตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา รสตัณหา ฯลฯ โผฏ- ฐัพพตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๓๖] ส. รูปตัณหาเป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัททตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา เป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 389
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๓๗] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นกุศล มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ตัณหาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอกุศล ก็ต้องไม่กล่าวว่าธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต.
[๑๕๓๘] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความโลภพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นอกุศล และ ธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความโลภพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น อกุศล และธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ ก็ต้องไม่กล่าวว่าธัมมตัณหาเป็น อัพยากฤต.
[๑๕๓๙] ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือรูปตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหาเป็น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 390
อัพยากฤต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔๐] ส. โลภะคือรูปตัณหาเป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหาเป็น อกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือธัมมตัณหาเป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔๑] ส. ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตัณหานี้ใด ทำ ความเกิดอีก เป็นไปกับด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหาดังกล่าวนี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังนี้๑ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต.
[๑๕๔๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
๑. สํ. มหา. ๑๙/๑๖๖๕.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 391
ป. มันเป็นตัณหาในธรรม มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า มันเป็นตัณหาในธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต.
ธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา จบ
อรรถกถาธัมมตัณหา อัพยากตาติกถา
ว่าด้วย ธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมตัณหาเป็นอัพยากฤต. ในปัญหาเหล่านั้น บรรดาตัณหาทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ รูปตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา ตัณหาอัน เป็นข้อสุดท้ายแห่งตัณหาทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า ธัมมตัณหา เหตุใด เพราะเหตุนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลาย ว่า ธัมมตัณหาพึงเป็นอัพยากฤต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชน เหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. เนื้อความปัญหาที่เหลือทั้งหลาย พึงทราบตามพระบาลี. ตัณหาแม้ทั้ง ๖ ท่านแสดงย่อไว้เป็น ๓ ประเภท มีกามตัณหาเป็นต้น. ตัณหาที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ แม้มีรูปเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความยินดีในกามชื่อว่า กามตัณหา. ตัณหาที่เกิดพร้อม กับสัสสตทิฏฐิในความเห็นว่า "อัตตา และโลกจักมี" ดังนี้ชื่อว่า ภวตัณหา. ตัณหาที่เกิดพร้อมกับอุจเฉททิฏฐิในความเห็นว่า อัตตา และโลกจักไม่มี ดังนี้ชื่อว่า วิภวตัณหา. บทว่า มันเป็นตัณหาในธรรมมิใช่หรือ นี้ย่อม แสดงถึงความเป็นไปของตัณหาโดยปรารภธัมมารมณ์ มิใช่แสดงถึงความ ที่ธัมมตัณหานั้นเป็นอัพยากฤต เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่า ตัณหาเป็นอัพยากฤต ดังนี้แล.
อรรถกถาธัมมตัณหาอัพยากตาติกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 392
ธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา
[๑๕๔๓] สกวาที ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. รูปตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธัมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา รสตัณหา ฯลฯ โผฏ- ฐัพพตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔๔] ส. รูปตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธัมมตัณหาเป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 393
มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ตัณหาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ สมุทัย ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย
[๑๕๔๕] ส. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความโลภพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นทุกขสมุทัย และธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความโลภ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น ทุกขสมุทัย และธัมมตัณหาก็เป็นความโลภ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ธัมมตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย.
[๑๕๔๖] ส. โลภะคือธัมมตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือรูปตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โลภะคือธัมมตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือคันธตัณหา ฯลฯ คือ รสตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหา ไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔๗] ส. โลภะคือรูปตัณหา เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 394
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือธัมมตัณหา เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. โลภะคือสัททตัณหา ฯลฯ คือโผฏฐัพพตัณหา เป็น ทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โลภะคือธัมมตัณหา เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๕๔๘] ส. ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ตัณหานี้ใด กระทำ ความเกิดอีก เป็นไปกับด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ตัณหาดังกล่าวนี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาไม่เป็น ทุกขสมุทัย ดังนี้.
[๑๕๔๙] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. มันเป็นตัณหาในธรรม มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า มันเป็นตัณหาในธรรม ก็ต้องไม่กล่าวว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้า 395
ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย ดังนี้.
ธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา จบ
อรรถกถาธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา
ว่าด้วย ธัมมตัณหาไม่เป็นทุกขสมุทัย
บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องธัมมตัณหามิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. แม้ในเรื่องนี้ ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายปุพพเสลิยะทั้งหลายนั่นแหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตัณหานั้นเป็นธัมมตัณหา เหตุใด เพราะ เหตุนั้น ตัณหานั้นจึงมิใช่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำที่เหลือเช่นกับ เรื่องก่อนนั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาธัมมตัณหา นทุกขสมุทโยติกถา จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. กัปปัฏฐกถา ๒. กุสลจิตตปฏิลาภกถา ๓. อันตราปยุตตกถา ๔. นิยตัสสนิยามกถา ๕. นีวุตกถา ๖. สัมมุขีภูตกถา ๗. สมาปันโนอัสสาเทติกถา ๘. อาสาตราคกถา ๙. ธัมมตัณพาอัพยากตาติกถา ๑๐. ธัมมตัณหานทุกขสมุทโยติกถา.
วรรคที่ ๑๓ จบ