ก็ทุกอย่างเกิดเพราะกรรม
โดย WS202398  3 ก.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 4720

ทุกอย่างเกิดเพราะกรรม แต่คนเราก็ต้องมีการระวังภัยอยู่เสมอ บางคนก็ว่า อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่ต้องระวังอะไร บางคนก็คิดแบบนี้คำว่า "แล้วแต่บุญแต่กรรม" เป็นคำพูดที่ถูกหรือไม่

คนเราปุถุชน ย่อมยินดีต่อกุศลวิบาก กลัวต่ออกุศลวิบาก ก็กรรมใด จะให้ผลเราก็ไม่อาจทราบได้ เช่นการเดินทาง อาจมีภัย เป็นความเสี่ยง ถ้าไม่เดินทางก็ไม่เสี่ยง แต่ถ้าการเดินทางมีประโยชน์ คนเราก็เสี่ยง จากนั้นก็กล่าวว่า แล้วแต่บุญแต่กรรมอกุศลวิบากทั้งหลาย มีความสัมพันธ์ในเชิงการปฏิบัติตนอย่างไร กับความระมัดระวัง มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะถ้าไม่สัมพันธ์กันก็ไม่รู้จะระวังไปทำไม ถ้าไม่นับว่าการไม่ระวังนั้น เป็นกรรมในปัจจุบันอันมีตนเป็นต้นเหตุชัดแจ้ง



ความคิดเห็น 1    โดย study  วันที่ 4 ก.ย. 2550

เมื่อกล่าวถึงคำว่ากรรม ผลของกรรม กล่าวโดยนัยของปรมัตถธรรม และขณะจิตย่อมชัดเจน และถูกต้องที่สุด กรรมคือกุศลเจตนา และอกุศลเจตนา ผลของกรรม คือ วิบากจิต วิบากเจตสิก กัมมชรูป สิ่งอื่นนอกจากนี้ ไม่ใช่ผลของกรรม แต่การให้ผลของกรรม ย่อมขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น คติ กาละ ปโยคะ อุปธิ เป็นต้น ดังนั้นผู้ที่เข้าใจกรรม และผลของกรรมตามความเป็นจริง ย่อมไม่เป็นผู้ประมาทในการประกอบกรรมดี และไม่คิดว่า "แล้วแต่บุญแต่กรรม" ย่อมกระทำสิ่งที่ดีที่สุด และย่อมเข้าใจสมมติของชาวโลกว่า ควรหลีกเลี่ยงภัยหรืออันตรายทั้งหลาย ส่วนใครจะได้รับสุขทุกข์ สิ่งใดก็เพราะ บุญกรรมของตนนั่นเอง สรุปคือ ปโยคะ ความเพียร การปฏิบัติตน ย่อมมีความสัมพันธ์ กับการได้รับผลของกรรม


ความคิดเห็น 2    โดย study  วันที่ 4 ก.ย. 2550

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

อธิบายกรรม ๑๖ อย่างตามแนวทางพระอภิธรรม


ความคิดเห็น 3    โดย ตุลา  วันที่ 4 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย WS202398  วันที่ 4 ก.ย. 2550

คติ อุปธิ กาล และปโยค แปลว่าอะไรครับ


ความคิดเห็น 5    โดย WS202398  วันที่ 4 ก.ย. 2550
ขอขอบคุณ ขออนุโมทนา

ความคิดเห็น 6    โดย ไตรสรณคมน์  วันที่ 4 ก.ย. 2550

คติ คือ การเกิด

คติสมบัติ คือ การเกิดในภพภูมิที่ดี เป็นสุคติภูมิ เช่น มนุษยโลก เทวโลก

คติวิบัติ คือ การเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี เป็นทุคติภูมิ เช่น อบายภูมิ

อุปธิ คือ ธรรมที่ทรงสภาพของทุกข์

อุปธิสมบัติ คือ ผลของกุศลที่ทำให้สัตว์บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์และความงามแห่งอวัยวะ

อุปธิวิบัติ ก็โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้อกุศลกรรมให้ผลมากกว่ากุศลกรรม

กาล คือ เวลา ยุค สมัย

กาลสมบัติ คือ ยุคสมัยที่บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข การเบียดเบียนกันย่อมน้อยลง

กาลวิบัติ ก็โดยนัยตรงกันข้าม

ปโยค คือ ความพยายามเป็นเครื่องประกอบ

ปโยคสมบัติ คือ ความรู้ความสามารถในการประกอบกิจการงานอันนำไปสู่ ความสำเร็จ

ปโยควิบัติ ก็โดยนัยตรงกันข้าม เช่น ถึงแม้ว่าจะเป็นคนดี แต่ขาดความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ ก็เป็นปโยควิบัติ


ความคิดเห็น 7    โดย wannee.s  วันที่ 4 ก.ย. 2550

อุปธิ นอกจากจะแปลว่า สภาพที่ทรงไว้ซึ่งทุกข์แล้ว ยังหมายถึงรูปร่างทรวดทรงด้วยค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย Komsan  วันที่ 5 ก.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 9    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 6 ก.ย. 2550

คำว่าต้องระวัง ต้องเข้าใจว่า ระวังในที่นี้ คือการเจริญกุศล ไม่ได้หมายความว่า ระวังอย่าประมาท เช่น ดูทางนั้น ทางนี้ ตราบใดที่อกุศลวิบากจะให้ผลต่อให้ระวัง ก็ต้องรับผลของกรรม แต่ระวังในที่นี้ หมายถึงการประกอบกรรมดีครับ


ความคิดเห็น 10    โดย WS202398  วันที่ 7 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 11    โดย pamali  วันที่ 9 ก.ค. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 5 ก.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ