ความแตกต่างของผู้ที่ปฏิสนธิจิตพร้อมกับสัมมาทิฐิกับผู้ที่ไม่มีสัมมาทิฐิ
โดย fam  15 ส.ค. 2554
หัวข้อหมายเลข 18944

อยากทราบความแตกต่างของผู้ที่ปฏิสนธิจิตพร้อมกับสัมมาทิฏฐิกับผู้ที่ปฏิสนธิจิตแต่

ไม่มีสัมมาทิฏฐิ นั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร และจะสังเกตได้หรือไม่ค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 15 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า อเหตุกบุคคลคือใคร ทวิเหตุกบุคคลคือใคร และ ติเหตุกบุคคล คือ ใคร? อเหตุกบุคคล คือ ผู้ที่ปฏิสนธิโดยที่ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลยไม่มีอโลภะ อโทสะ และ ปัญญาเกิดร่วมด้วย (สัมมาทิฏฐิ) เป็นผู้พิการ บ้า ใบ้ บอด

หนวก ตั้งแต่กำเนิด กุศลจิตสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน, ทวิเหตุกบุคคล คือ ผู้

ปฏิสนธิด้วยเหตุ ๒ คือ อโลภเหตุ กับ อโทสเหตุ แต่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย บุคคล

ประเภทนี้ ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในชาตินั้น แต่ สามารถสะสมอบรมเจริญ

ปัญญาต่อไปได้, ส่วน ติเหตุกบุคคล คือ ผู้ปฏิสนธิด้วยเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ คือปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) เพราะฉะนั้น ความแตกต่างของปฏิสนธิจิตที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย คือ ถ้าเป็น อเหตุกปฏิสนธิจิต

ก็ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลย ซึ่งถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะพิการ บ้า ใบ้ บอด หนวก ตั้งแต่กำเนิด ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ และโอกาสเข้าใจพระธรรมก็ยาก ไม่สามารถเจริญฌานและวิปัสสนาญาน และไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ส่วน ทวิเหตุบุคคล ที่เกิดด้วยปฏินธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ 2 แต่เว้นปัญญา อันนี้จะไม่บ้า ใบ้ บอด หนวก ตั้งแต่กำเนิด จะดีกว่าพวกอเหตุกบุคคลครับ และสามารถพอฟังพระธรรมเข้าใจได้บ้าง แต่เมื่อไม่มีปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) เกิดร่วมด้วยในขณะที่เกิด (ปฏิสนธิ) ก็ทำให้ไม่ว่าจะฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมมากเท่าไรก็ไม่สามารถได้ฌาน วิปัสสนาญาณ และไม่สามารถบรรลุธรรมครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

อเหตุกปฏิสนธิ

ทุเหตุกปฏิสนธิจิต

ติเหตุกปฏิสนธิ


ความคิดเห็น 2    โดย paderm  วันที่ 15 ส.ค. 2554

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกปฏิสนธิด้วยเหตุ 2 จะสนใจพระธรรมหรือไม่สนใจพระ

ธรรมนะครับ ส่วน ติเหตุกบุคคล คือ บุคคลที่ปฏิสนธิเกิดด้วยเหตุ 3 มีปัญญา สัมมา

ทิฏฐิเกิดร่วมด้วยในขณะที่เกิด ผู้นี้ถ้าได้ฟังธรรม เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สามารถบรรลุ

ธรรม ได้ฌาน ได้วิปัสสนาญาณได้ครับ ข้อนี้เอง ที่เป็นความแตกต่างระหว่างผู้ที่ไม่ได้

เกิดโดยมีปัญญาเกิดร่วมด้วย คือ ผู้ที่เกิดโดยมีปัญญาเกิดร่วมด้วย สามารถบรรลุธรรม

และได้ฌาน แต่ผู้ที่เกิดโดยไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย คือ เกิดด้วยทวิเหตุ และ อเหตุ--กปฏิสนธิ ไม่สามารถบรรลุธรรมและไม่สามารถได้ถึงฌานจิตครับ

และระหว่างอเหตุกบุคคลกับติเหตุกบุคคล ความแตกต่างอีกข้อหนึ่งคือ บ้า ใบ้ บอด

หนวกตั้งแต่กำเนิด กับไม่บ้า ใบ้ บอด หนวก ตั้งแต่กำเนิด (มนุษย์) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เกิดด้วยเหตุ 3 จะต้องสนใจธรรมทุกคน และก็ไมได้หมายความว่าผู้ที่เกิดด้วยเหตุ 3 เมื่อศึกษาธรรมแล้ว จะต้องได้ฌานและได้วิปัสสนาญาณ หรือได้บรรลุธรรม

เพราะผู้ที่เกิดด้วยเหตุ 3 หากปัญญายังไม่แก่กล้า ก็ยังไม่ได้วิปัสสนาญาณ ยังไม่ได้

บรรลุธรรมก็ได้ หรืออาจได้ฌานแต่ไม่ได้บรรลุธรรมก็ได้ เช่น พระเทวทัต เป็นต้นครับ

ส่วนการจะสังเกตว่าบุคคลใด เป็นผู้ประกอบด้วยเหตุ 3 มีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับไม่

ประกอบด้วยปัญญา ต้องเข้าใจครับว่า สภาพธรรมที่เป็นปัญญา เป็นสภาพธรรมที่เป็น

นามธรรม ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา แม้ผู้ที่ฟังธรรมเข้าใจ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมี

ปฏิสนธิประกอบด้วยปัญญา หากจะแน่ใจได้ว่าปฏิสนธิประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ ก็ต่อ

เมื่อได้ฌานแล้ว หรือได้วิปัสสนาญาณแล้วหรือได้บรรลุธรรม นั่นก็เท่ากับว่าเป็นครื่อง

พิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้ที่ปฏิสนธิประกอบด้วยปัญญา (ติเหตุกบุคคล) แน่นอนครับ ซึ่งผู้นั้นเองที่จะรู้เมื่อได้ฌาน วิปัสสนา หรือ บรรลุธรรมด้วยตนเองครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 3    โดย khampan.a  วันที่ 15 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปฏิสนธิจิต เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นผลของกรรมประเภทใด กล่าวคือ กุศลกรรมหรือ อกุศลกรรม กุศลกรรม ยังจำแนกเป็นกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา กับ ไม่ประกอบด้วยปัญญา ส่วน อกุศลกรรม นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีธรรมฝ่ายดี เกิดร่วมด้วย เมื่อกุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญาให้ผล ก็ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ประกอบด้วยปัญญา (สัมมาทิฏฐิ) เป็นปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโ่ทสะ และ อโมหะ คือ สัมมาทิฏฐิหรือปัญญา และประกอบด้วย ๒ เหตุ ก็ได้ คือ อโลภะ และ

อโทสะ ถ้าเป็นกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ไม่ประกอบ

ด้วยปัญญา เป็นปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วย ๒ เหตุ คือ อโลภะ กับ อโทสะ หรือ ไม่

ประกอบด้วยเหตุ คือ อเหตุกปฏิสนธิจิตก็ได้ แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้ว ทำให้

ปฏิสนธิจิตเกิด ในอบายภูมิเท่านั้น ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลย ผู้ที่ปฏิสนธิโดยที่ไม่มีเหตุใดๆ เกิดร่วมด้วยเลยนั้น และ ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยเหตุ ๒ ไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้ ส่วนติเหตุกบุคคล คือ ผู้ปฏิสนธิด้วยเหตุ ๓ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุคือ ปัญญา บุคคลประเภทนี้สามารถอบรมเจริญปัญญาถึงขั้นรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในชาตินั้นได้ แต่ไม่เสมอไป เช่น ท่านพระเทวทัต ปฏิสนธิด้วยเหตุ ๓ แต่เป็นผู้ถูกลาภสักการะครอบงำ กระทำอนันตริยกรรม ไปเกิดในอเวจีมหานรก ประการสำคัญที่ควรพิจารณา คือ เราไม่สามารถทราบได้ว่าเราปฏิสนธิประกอบด้วยเหตุ ๒ หรือ เหตุ ๓ แต่เมื่อมีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ก็ไม่ควรจะปล่อยโอกาสนั้นให้ล่วงเลยไป ควรอย่างยิ่งที่จะสะสมปัญญาต่อไป เพราะเราไม่สามารถที่จะรู้ได้เวลาของการฟังพระธรรม ในชาตินี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...


ความคิดเห็น 4    โดย pat_jesty  วันที่ 15 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 5    โดย fam  วันที่ 16 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งสองเป็นอย่างสูงค่ะที่ให้ความกระจ่าง

ความคิดเห็น 6    โดย bsomsuda  วันที่ 16 ส.ค. 2554

"...เมื่อมีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา

ก็ไม่ควรจะปล่อยโอกาสนั้นให้ล่วงเลยไป

เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเวลาของการฟังพระธรรมในชาตินี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม อ.คำปั่นและทุกท่านค่ะ